ฐานข้อมูล เรื่อง โละโค๊ะ เมือง 3 หมอกกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:32, 23 เมษายน 2564 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ==='''ชื่อเรียกทางการ'''=== วัดถ้ำเทพนม ==='...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเรียกทางการ

         วัดถ้ำเทพนม

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         ถ้ำเทพนม

ที่ตั้งที่/ค้นพบ

ภาพที่ 1 วัดถ้ำเทพนม.jpg

ภาพที่ 1 วัดถ้ำเทพนม

         ถ้ำเทพพนม อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจ้านวนมาก มีสภาพคล้ายถ้ำเขาพนัง ถ้ำเทพพนมอยู่ห่างจากที่ท้าการอุทยานแห่งชาติประมาณ 17 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติที่วังเจ้า หมู่ 5 บ้านโละโคะ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร 

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์

ภาพที่ 2 พิกัดทางภูมิศาสตร์อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า บ้านโละโคะ.jpg

ภาพที่ 2 พิกัดทางภูมิศาสตร์อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า บ้านโละโคะ

         แผนที่เส้นทางและแผนที่ผังบริเวณ
ภาพที่ 3 เส้นทางไปอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า.jpg

'ภาพที่ 3 เส้นทางไปอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า


รูปที่ 4 ผังบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า (ส่วนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2562) ตั้งอยู่บริเวณแนวเทือกเขาถนนธงชัย ประกอบด้วยภูเขาซับซ้อนทางทิศเหนือและใต้ มีพื้นที่ราบคล้ายแอ่งกระทะ เนื้อที่ประมาณ 3.2-8 ตารางกิโลเมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานคือยอดเขาเย็น ความสูง 1,898 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ขณะที่ความสูงโดยเฉลี่ยของเขตอุทยานอยู่ที่ 300-2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มแม่น้ำปิงโดยครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังเจ้า และอำเภอเมืองตากของจังหวัดตากและครอบคลุมพื้นที่อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอคลองลาน และ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2562)

สภาพธรณีวิทยา

พื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรปรากฏชนิดหินหลากหลายตามแนวภูเขาแทบทางด้านทิศตะวันตกที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยทอดตัวยาวต่อเนื่องลงมาจากจังหวัดตากคลอบคลุมพื้นที่อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอคลองลาน และต่อเนื่องลงไปถึงเขตอำเภอแม่วงศ์ของจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบไปด้วยหินอัคนีประเภทหินแกรนิตเป็นส่วนใหญ่ โผล่ปรากฏให้เห็นในพื้นที่ และบางส่วนหินแกรนิตเป็นหินฐานล่างไม่โผล่ปรากฏให้เห็น แต่ถูกปิดทับด้วยเห็นตะกอนประเภทหินปูน หินดินดาน หินทราย และหินแปรประเภทหินแกรนิตไนส์ หินไนส์ หินควอร์ตไซต์ หินชนวน และหินอ่อน ส่วนพื้นที่ทางด้านตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ในเขตอำเภอพรานกระต่ายหินส่วนใหญ่เป็นหินแปรประเภทหินฟิลไลต์ และหินอ่อน นอกจากนี้ยังพบหินอัคนีประเภทหินโรโอไลต์และหินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณเขาสนิท น้ำตกคลองวังชมพู ตำบลเพชรชมพู ส่วนพื้นที่ราบลุ่มทางด้านตะวันออกตะวันออกและด้านใต้ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง อำเภอลานกระบือ อำเภอไทรงาม อำเภอทรายทองพัฒนา อำเภอบึงสามัคคีและอำเภอขาณุวรลักษบุรี เป็นพื้นที่สะสมตัวของตะกอนในยุคปัจจุบันประกอบไปด้วยตะกอนดินเหนียว กรวด ทราย ซึ่งถูกพัดพามาสะสมตัวบนพื้นที่ราบลุ่มด้วยอิทธิพลของทางน้ำเป็นหลัก ต้นกำเนิดของตะกอนมาจากเห็นแข็งที่เป็นพื้นที่ภูเขาสูงที่อยู่ทางด้านตอนเหนือและทางด้านตะวันตกเป็นสำคัญ (กรมทรัพยากรธรณี, 2562) ประเภททรัพยากร อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าปกคลุมด้วยพื้นที่ป่า 5 ชนิด ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ เป็นสังคมพืชที่ปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากที่สุดประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ พบกระจายตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 200-1,000 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สัก รกฟ้า แดง ประดู่ และมะกอกเกลื้อน รักใหญ่ เสลา โมกมัน สะทิบ กางขี้มอด ปอตูบหูช้าง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไผ่ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ เป็นต้น เป็นแหล่งอาศัยและหลบภัยของ กระทิง เก้ง กวางป่า เสือปลา หมูป่า สัตว์ฟันแทะต่างๆ ไก่ป่า เป็นต้น ป่าดิบเขา พบกระจายบนเขาสูงชันทางด้านทิศตะวันตก ตลอดแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อใบเลื่อม ฝาละมี ค่าหด สารภีดอย พะวา โพบาย ก่อหม่น ทะโล้ ฯลฯ พืชพื้นล่างค่อนข้างแน่นทึบ เช่น เฟิน ปอ กระวาน อ้อ แขม หวาย เป็นต้น มีสัตว์ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ในบางฤดู เช่น กระทิง และยังมีสัตว์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ เช่น กระรอกบินเล็กแก้มขาว กระรอกบินจิ๋วท้องขาว นกพญาไฟใหญ่ นกพญาไฟเล็ก นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม เป็นต้น ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่บริเวณแนวหุบเขาตอนกลางของพื้นที่ ในระดับความสูงประมาณ 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ชุมแสงแดง เสลา ยมหิน กระโดงแดง เติม สะบันงา กระทุ่มน้ำ ลำพูป่า มะเดื่อ ตาว เต่าร้าง ค้อ ฯลฯ เป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหาร และหลบภัยของ กระทิง กวางป่า กระจงหนู เสือไฟ แมวดาว พญากระรอกท้องดำ นกกก นกเงือกกรามช้าง และนกตั้งล้อ เป็นต้น ป่าเต็งรัง พบกระจายเป็นหย่อมๆ ตามบริเวณยอดเขาหรือเนินเขาเตี้ยๆ ทางด้านตะวันออกและตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ ในระดับความสูงประมาณ 200-800 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กระท่อมหมู ก่อนก ก่อแพะ ส้านใหญ่ มะม่วงหัวแมงวัน ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบเป็นจำพวกหญ้า เช่น หญ้าเพ็ก โจด หญ้าคา หญ้าหนวดฤาษีเล็ก เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า เก้ง ตะกวด เต่าเหลือง เป็นต้น ป่าสนเขา พบกระจายเป็นหย่อมๆ ตามแนวสันเขาและบนยอดเขาบริเวณตอนกลางตามแนวเหนือ-ใต้ ที่ระดับความสูงประมาณ 900-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สนสามใบ มะก่อ ทะโล้ สารภีดอย ตำเสาหนู เป็นต้น มีสัตว์ป่าเข้าไปใช้ประโยชน์บางฤดู เช่น เลียงผา หมูป่า ลิงกัง ชะมดแผงหางปล้อง เม่นเล็กหางพวง หนูฟานเหลือง เป็นต้นบริเวณแหล่งน้ำและลำคลองต่างๆ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ นกเงือกกรามช้าง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกกะเต็นหัวดำ นกเป็ดผีเล็ก เขียดว้าก กบหนอง กบห้วยขาปุ่ม อึ่งกรายห้วยเล็ก กบทูด อึ่งขาคำ จงโคร่ง อึ่งน้ำเต้า อึ่งอ่างก้นขีด คางคกแคระ เขียดจะนา ปลาจาด ปลาซิวควายแถบดำ ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาพลวงหิน ปลาแขยงหิน ปลาช่อน ปลาสลาด ปลากด เป็นต้น(สำนักอุทยานแห่งชาติ, 2562) สถานการณ์ขึ้นทะเบียน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 158 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2533 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 63 ของประเทศ (อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า, 2562) หน่วยงานที่ดูแลรักษา ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) โดยมีนายสมชาย วิเชียรกัลยารัตน์ เป็นผู้ควบคุมดูแล และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดกำแพงเพชร (อุทยานแห่งชาติคลอง วังเจ้า, 2562) ข้อมูลจำเพาะทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติความเป็นมา

รูปที่ 5 เป็นบรรยากาศหน้าถ้ำและพระพุทธรูปภายในถ้ำเทพนม (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562)

รูปที่ 6 เป็นที่พักสงฆ์และเพดานถ้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาว (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) ประวัติของถ้ำเทพพนมมีอยู่ว่า ถ้ำเทพพนมนี้นั้นมีตั้งเเต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่1) เเต่เดิมถ้ำเเห่งนี้ เป็นที่อยู่ของเสือ สมัยก่อนป่าระเเวกนี้ถือว่าสมบูรณ์มาก เขตบริเวณถ้ำเทพพนมนี้จึงเป็นที่พักของเสือ ผู้คนจะเกรงกลัวเเละไม่กล้าเข้าใกล้บริเวณ จนกระทั่ง สงครามโลกครั้งที่2 1 ก.ย. 2482 – 2 ก.ย. 2488 ความไม่สงบสุข เเละมีระเบิดลงตลอดเวลา ทำให้เกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งสัตว์ป่าเเละคน ผู้คนจึงทยอยหาที่หลบภัย เเละชาวบ้านปากะยอ ก็ได้ค้นพบถ้ำอย่างเป็นทางการ ซึ่งคนสมัยนั้น ใช้ถ้ำเทพพนมเป็นที่หลบภัยเท่านั้น มิได้มาอาศัยอยู่ (เหตุด้วยความเชื่อว่าถ้ำนี้มีเสือคุ้มครอง) ชาวบ้านจึงขอเเค่มาหลบภัย มิได้มาเปลี่ยนเเปลงหรือบุกรุกให้ทำเกิดความเสียหาย เมื่อสงครามสงบลง ชาวบ้านได้เห็นว่า บริเวณนี้ เหมาะกับการตั้งรากฐานใหม่ ชาวบ้านปากะยอ จึงตั้งหมู่บ้านขึ้นมา ห่างจากตัวถ้ำประมาณ 1.5 กิโลเมตร เพื่อไม่เป็นการรบกวนถ้ำ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2526 ได้มีพระสงฆ์องค์หนึ่งท่านได้มาธุดงค์ ท่านคือผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงค์จารึกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก และสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา ท่านได้มาถึงถ้ำเทพพนม เเละได้เห็นว่า ณ ที่เเห่งนี้เป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะเเก่การบำเพ็ญเพียรเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนาทั้งเมื่อชาวบ้านพบท่านก็ได้ขอให้ท่านอยู่เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้แก่ชาวบ้าน ท่านจึงตัดสินใจที่จะอยู่เพื่อบำเพ็ญเพียรที่นี้เป็นหลัก เเต่ด้วยที่ถ้ำนี้มีผู้ดูเเลปกป้องถ้ำนี้อยู่เเล้ว (ความเชื่อของชาวบ้าน) ทำให้ท่านอยู่ในถ้ำไม่ได้ เขาให้ท่านเเค่เข้ามานั่งสมาธิสงบจิตใจเเค่เท่านั้น ท่านถึงจึงออกมาสร้างวัด ที่ห่างจากถ้ำประมาณ 100 เมตร ตั้งเเต่นั้นมาถ้ำเทพพนมเลยเป็นที่ของพระสงฆ์หรือผู้คน ที่ต้องมาพึ่งความสงบละทางโลกเท่านั้น หากพูดคำไหนต้องเป็นคำนั้น โดยมีชาวบ้านเล่าว่า เคยมีพระรูปหนึ่งมาขออาศัยอยู่ 4 ปี ในถ้ำเเล้วจะจากไป เเต่เมื่อครบ 4 ปี เห็นว่าจะอยู่ต่ออีกให้เป็น 5 ปี ก็ไม่สามารถอยู่ได้ พบเจอเเต่เรื่องเหลือเชื่อ จนทำให้ต้องออกจากถ้ำ ตั้งเเต่นั้นมาคนจึงเชื่อกันว่าถ้ำเทพพนมนั้น เป็นที่ฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ ให้ผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงค์วัตร หากพระองค์ไหนตั้งใจฝึกบำเพ็ญเพียรด้วยใจบริสุทธิ์ จิตของพระคุณเจ้าก็จะเป็นจิตที่มั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียรและถ้ำยังเป็นที่อยู่ของค้างคาวอีกด้วย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2528 คณะกรรมทำงานเพื่อประเมินมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ประเภทถ้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้เดินทางไปประเมินมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ประเภทถ้ำ ณ ถ้ำเทพพนม ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดกำแพงเพชร (หลวงปู่เย็น ณ บ้านโละโคะ, 2562) อายุทรัพยากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-2562 ราวอายุประมาณ 237 ปี (หลวงปู่เย็น ณ บ้านโละโคะ, 2562)

ข้อมูลจำเพาะทางวิทยา

รูปที่ 7 ลักษณะของหินย้อยลง (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) ภายในถ้ำจะเป็นโพรงที่ลึกเข้าไปมีขนาดกว้างขวางพอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ ลักษณะของหินนั้นเกิดขั้นเองตาม ธรรมชาติ มีลักษณะเป็นหินย้อยลงมาที่สวยงาม หินจะออกเป็นสีน้ำตาลออกขาวๆ หินนั้นมีการย้อยลงมาสลับกันไปเหมือนลาวาเยิ้ม โดยเกิดจากน้ำใต้ดินที่มีหินปูนละลายอยู่หยดลงจากรอยแตกบนเพดาน

รูปที่ 8 แสงที่ส่องเข้ามาในถ้ำและบรรยากาศภายในถ้ำเทพนม (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) บรรยากาศภายในถ้ำชื้นเย็นยะเยือกเงียบสงบเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมสำหรับพระสงฆ์และผู้ที่ต้องการบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างมาก ตรงถ้ำนั้นจะมีแสงส่องลอดเข้ามา ทำให้ถ้ำนั้นพอมีแสงสว่างอยู่บ้าง แต่ถ้าเดินเข้าไปข้างในถ้ำจะมืดต้องใช้ไฟฉายหรือตะเกียงช่วยส่องแสงให้ (ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) สรุป ถ้ำเทพนมมีลักษณะเป็นตะกอนหินปูนที่จับตัวเป็นแท่งหรือแผ่นย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ เกิดจากน้ำใต้ดินที่มีหินปูนละลายอยู่หยดลงมาจากรอยแตกบนเพดานถ้ำ และเมื่อน้ำสูญเสียก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปก็จะทำให้เกิดสารประกอบคาร์บอเนตเริ่มสะสมตัวทีละน้อยและพอกยาว ลงมาจากเพดานเรื่อยๆ โดยปกติมักมีลักษณะเป็นหลอดกลวงอยู่ตรงกลาง (ถ้ำ, 2562) ทรัพยากรแวดล้อม

รูปที่ 9 บันไดทางเข้าและบรรยากาศภายนอกวัดถ้ำเทพนม (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) ถ้ำเทพพนมบริเวณโดยรอบเป็นภูเขาน้อยใหญ่มีต้นไม้ยืดต้น ไม้ผล เเละไม้ประดับ ปกคลุมอยู่โดยรอบถ้ำ พื้นทางขึ้นหน้าถ้ำ จะเป็นหญ้ามาเลเซียตกเเต่ทางขึ้น เมื่อขึ้นไปถึงหน้าถ้ำจะสามารถมองเห็น ต้นไม้ด้านล่างที่เกิดขึ้นจากภูเขาที่ลูกน้อยกว่าได้ ได้สัมผัสถึงความใกล้ชิดธรรมชาติ


รูปที่ 10 หน้าวัดถ้ำเทพนม (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) ข้างหน้าถ้ำ จะเป็นพื้นที่โล่งกว้าง สำหรับให้ผู้ที่มาเดินปฏิบัติธรรมได้มาเดินจงกลม มองเข้าไปจะเห็นข้างในถ้ำทันที จะมองเห็นหินยอกหินย้อยที่ สวยงาม น่าเกรงขาม ทำให้รู้สึกร่มเย็นสงบจิตสงบใจ พร้อมที่จะปฏิบัติธรรม

รูปที่ 11 บรรยากาศภายนอกถ้ำ (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) ข้างด้านซ้ายมือจะมีศาลาที่พักของสงฆ์ที่ธุดงค์ผ่านมาหรือองค์ที่อยากจะมาปฏิบัติธรรม ชาวบ้านจะนำ น้ำดื่มน้ำเปล่า ข้าวปลาอาหาร เเล้วของใช้ที่จำเป็น หรือสังฆทานมาถวายทำบุญ เเต่ข้างหลังเยื้องๆกับศาลา จะมีทางเดินหินลงไปข้างล่าง ของภูเขาลูกเล็ก เป็นถ้ำโพรงลึกลงไปใต้ดิน ทางลงจะมีหินเล็กใหญ่เป็นทางป่ารกให้ลงไป เเต่ค่อนข้างที่จะเสี่ยงเเละไม่ปลอดภัย ผู้คนชาวบ้านเเถวนั้นไม่นิยมลงไปเนื่องจากชาวบ้านบอกเล่าว่า ทางเดินนั้นเป็นทางเดินของเสือโพรงที่ลึกลงไปนั้นเมื่อ เข้าไปนั้นจะเป็นที่อยู่อาศัยของเสือ แต่ปัจจุบันแห้งขอดเพราะป่าโดยรอบถูกทำลาย พระเล่าว่า บางที เสือก็มาเดินหากินบริเวณวัด ให้ผู้คนได้เห็นรอยเท้าเเต่พระบอกว่าเขาจะไม่ทำอันตรายผู้คนหากไม่มีใครไปรบกวนเขา

รูปที่ 12 เป็นรูปที่แสงแดดสาดส่องเข้ามาทางช่องภายในถ้ำ (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) ภายในมีโถงถ้ำกว้าง เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากบนเพดาน มีสภาพคล้ายถ้ำเขาพนัง ข้างในมืดมาก สัมผัสได้ถึงความชื้น เย็นยะเยือก เงียบสงบ ด้านขวาจะเป็นมีที่นั่งสำหรับพระสงฆ์ ส่วนเข้าในข้างในอีกหน่อยจะเป็นที่ตั้งไหว้พระพุทธรูป มีทางหินขึ้นไปปากถ้ำ ในทางขึ้นไปนั้นต้องผ่าฝูงค้างคาวที่อาศัยอยู่ตรงเพดานถ้ำ เมื่อขึ้นไปเข้างบนจะเป็นพื้นที่กว้างสูง มีพรรณไม้นานาพันธุ์ ทั้งยืนต้น มีกล้วยไม้ เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นจุดชมวิวที่สวยเเต่ผู้คนชาวบ้านไม่นิยมขึ้นไป ทั้งเจ้าหน้าที่ยังสั่งห้าม เพราะที่ตรงนั้นเป็นที่หากินของเสือ ไม่อยากให้ผู้คนขึ้นไปรบกวน เพราะอยากจะอนุรักษ์ธรรมชาติของพื้นที่ตรงนั้น เเละเกรงว่าอาจจะเกิดอันตรายได้ ทรัพยากรแวดล้อมที่ได้เห็นจากหมู่ บ้านโละโคะ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้านั้นสวยงาม ร่มรื่น อากาศเย็นสบาย เพราะเราทุกคนช่วยกันรักษาพื้นป่าให้คงอยู่อย่างสงบจึงทำให้มีสัตว์ป่าหายาก ต้นไม้นานาชนิดหลงเหลืออยู่ทำให้สถานที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ (ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) การเดินทางไปวัดถ้ำเทพนม

รูปที่ 13 บรรยากาศทางไปโละโคะ (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) ถ้ำเทพพนมอยู่ห่างจากตัวเมืองกำเเพงเพชร 88 กิโลเมตร ทางเราขับรถยนต์มุ่งหน้าไปทางตากโดยใช้เส้นทางสายเอเชียถนนพหลโยธิน เมื่อขับรถมาจนถึงอุทยานเเห่งชาติคลองวังเจ้า ได้สอบถามไปถ้ำเทพพนม โดยทางที่จะขึ้นไปนั้นจะต้องลงรายชื่อกับเจ้าหน้าที่ก่อน ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการเเจกใบประกอบการท่องเที่ยวสถานที่ ที่อยู่ในเขตพื้นที่การดูเเลของเจ้าหน้าที่ เเละได้เเนะนำพวกเราว่า ทางที่เราจะขึ้นไปนั้น ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายเเละยากลำบาก หากผู้ที่ไม่ชำนาญทางเเละขับรถยนต์ไม่เเข็ง อาจเกิดอันตรายได้ให้พวกเรารอที่ปากทางเพื่อที่จะได้ติดรถกับคนในพื้นที่เข้าไป เเต่ด้วยเวลาที่มันมีจำกัดพวกเราได้ตกลงกันอย่างประชาธิปไตยว่าพวกเราทุกคนตัดสินใจที่จะขับรถขึ้นไปเอง เลยสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าระยะทางจากที่นี้ไกลจากถ้ำเทพพนมมากน้อยเเค่ไหน ถ้ำเทพพนมห่างจากจุดที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 17 กิโลเมตร พวกเราคิดว่าระยะทางไม่ไกลเท่าไหร่จึงมุ่งหน้าผจญภัยขึ้นไป 5 กิโลเมตรเเรก ระยะทางเริ่มสูงชัน เเต่ยังเป็นถนน 2 เลนปกติ มีทางโค้งที่ชันมากปกติ ต้องชะลอการขับรถ เนื่องด้วยทางขึ้นเเละลงของถนน บริเวณโดยรอบฝั่งซ้ายจะเป็นผนังของภูเขา มีต้นไม้หักลงมาถนนบ้าง เเต่ฝั่งขวาจะมีที่กั้นถนน เนื่องด้วยข้างล่าง เป็นเหว เจ้าหน้าที่จึงมีที่กั้นตลอดทางเพราะมีโค้งเยอะเเละทางชัน เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว  

รูปที่ 14 บรรยากาศทางไปโละโคะ (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) เมื่อขับได้อีก 6 กิโลเมตร พวกเราสังเกตเห็นว่า ถนนเริ่มเป็นเลนเดียว เเละมีป้ายเตือน ให้ขับรถที่เกีย2 เเละบีบเเตร ตลอดทางที่ขับ เพื่อที่รถที่สวนไปมาจะได้ยินเสียงเเตร ให้ชะลอความเร็วพร้อมทั้งหยุดรถ เพื่อรอรถที่จะสวนไป เพราะทางโค้งค่อนข้างเยอะเเละทางชันมาก ทั้งยังเป็นถนนเลนเดียว จึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นรถที่มาจากฝั่งตรงข้ามได้

รูปที่ 15 บรรยากาศทางไปโละโคะ (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) ขับมาได้อีกสักหน่อยถนนที่เป็นลาดยาง กลับเป็นปูนคอนกรีตที่ไม่ได้ทำเต็มถนนเเต่เป็นเพียงทำเเค่พอที่รถยนต์จะขับขึ้นมาได้เท่านั้น สอบถามคนเเถวนั้นว่าทำไมถึงไม่ทำถนนให้มันเต็มพื้นเขาบอกว่าทางนี้มันลาดชันมาก เมื่อก่อนเป็นทางลูกรัง เมื่อยามฤดูฝนถนนนี้จะเเฉะ เเละไม่สามารถที่ขับขึ้นเขาได้ทั้งเมื่อลงเขาก็จะลื่นลงเลยไม่สามารถที่จะควบคุมรถได้ ถนนนี้สร้างขึ้นโดยคนในพื้นที่ร่วมมือร่วมใจช่วยกันทำเพื่อป้องกันอันตรายเเละความสะดวกสบายในการเดินทางทั้งคนในชุมชนเเละนักท่องเที่ยวที่อยากขึ้นมา

รูปที่ 16 ทางเข้าไปยังวัดถ้ำเทพนมและบรรยากาศทางไปวัดถ้ำเทพนม (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) ขับรถยนต์ตามถนนมาได้สักพักพวกเราก็ได้พบกับป้ายวัดเทพพนมทางด้านซ้ายมือ พวกเราไม่ลังเลที่จะเลี้ยวเข้าไป ตอนนั้นดีใจกันมาก เเต่เมื่อเลี้ยวเข้ามาเเล้ว ทางกลับเป็นลูกรัง เเละเมื่อขับรถเข้ามาอีกกลับเป็นทางเเยกอีก 2 ทางเเละไม่มีป้ายบอกว่าพวกเราต้องไปทางไหน ทางเเยกเเรกเป็นพื้นดินเรียบที่รถยนต์พอเข้าไปได้ ต่างกับทางเเยกที่2 ที่ทั้งสูงชัน เเละเป็นพื้นที่มีหลุมเล็กใหญ่ทางไม่ค่อยอำนวยความสะดวก พวกเราไม่ลังเลที่จะเลือกทางเเรก นั้นเเหละค่ะพวกเราเข้าไปทางเเรกกลับต้องผิดหวัง เพราะเป็นทางตัน เเละมีบ้านคนอยู่หลังเดียวอีกต่างหาก เราจึงได้ถามทางคุณป้า ท่านชื่อยายมี ท่านบอกว่าทางไปถ้ำเทพพนมนั้น เป็นทางที่2 ที่เราไม่เลือกกันนั่นเอง

รูปที่ 17 เตรียมตัวที่จะได้ไปยังวัดเทพนม เนื่องจากเส้นทางไม่อำนวยต่อการเอารถยนต์เข้าไปได้ พวกเราเลยต้องเดินกันไป (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562)

รูปที่ 18 บรรยากาศระหว่างเดินทางไปยังวัดถ้ำเทพนม (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) เดินขึ้นมาอีกหน่อยพวกเราได้พบกับวัดเเละชาวบ้านส่วนหนึ่ง ตอนนั้นดีใจมาก คิดว่าถามทางเขาเเล้ว เขาคงพาพวกเราไปส่งที่ถ้ำเทพพนม คิดว่าพวกเราจะได้เจอนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ เเต่ทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะพระสงฆ์บอกว่าถ้ำเทพพนมที่พวกเราตามหานั้น อยู่ห่างวัดเเค่ 200 เมตรเอง พวกเราต้องเดินไปขึ้นไปต่อ เมื่อเดินไปทางที่ไปพื้นจะเป็นหญ้ามาเลเซียปลูกไว้ เเละมีต้นไม้ไม้ดอกไม้ประดับข้างทาง เเละมีทางเดินที่เป็นหินแผ่นใหญ่ๆ ให้พวกเราเดินขึ้นไปได้เจอถ้ำเทพพนมที่พวกเราตามหามาทั้งวัน

รูปที่ 19 ทางเดินไปยังวัดถ้ำเทพนมและปากทางเข้าถ้ำ (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562)

รูปที่ 20 บรรยากาศภายในถ้ำ (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562)

รูปที่ 21 กราบไหว้พระพุทธรูป (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562)

รูปที่ 22 บรรยากาศอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) พวกเราเดินสำรวจถ่ายรูปบริเวณภายในถ้ำและบริเวณรอบๆถ้ำ ไหว้พระ ศึกษาจนพอเเล้วก็ได้พากันไปไหว้พระสงฆ์ที่เป็นเจ้าอาวาสของวัดถ้ำเทพพนม สอบถามข้อมูลเรื่องถ้ำที่ท่านอาจพอรู้บ้าง เเละสอบถามชาวบ้านที่อยู่วัด เมื่อพวกเราได้ข้อมูลที่มากพอ ก็ขอตัวลากลับเเละรับพรอิ่มบุญกันถ้วนหน้า ก่อนกลับก็ได้เเวะถ่ายรูปที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า พักผ่อนสนุกหนานกันสักพักก็เดินทางกลับในเมืองกำแพง การเดินทางครั้งนี้มันทำให้ดิฉันเเละเพื่อนๆที่ร่วมทางได้ลองผจญภัย กลับถึงบ้านโดยสวัสดิ์ภาพ(ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562)   ข้อมูลการสำรวจ แหล่งอ้างอิง

รูปที่ 23 หลวงปู่เย็น ณ บ้านโละโคะ ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาวัดถ้ำเทพนม (วุฒิชัย ตรุษลักษณ์, ศุภกร ซองผมและคณะ, 2562) วันเดือนปีที่สำรวจ: วันศุกร์ ที่ 6 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2562 วันปรับปรุงข้อมูล: วันเสาร์ ที่ 28 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 ผู้สำรวจข้อมูล นายวุฒิชัย ตรุษลักษณ์ นางสาวสุกัญญา มากกุญชร นางสาวสุชาวดี ศรีวิชัยวงศ์ นางสาวนฤมล โยธาธรรม นางสาวจิดาภา ศรีบุระ นายศุภกร ซองผม คำสำคัญ (Tag) วัดถ้ำเทพนม, บ้านโละโคะ