“ไม้กวาดดอกหญ้า” ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:46, 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดย 124.122.14.97 (คุย) (วัสดุ/อุปกรณ์)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ

ประวัติความเป็นมาดอกหญ้าไม้กวาด

         ดอกหญ้าไม้กวาด หรือเรียกว่า“ดอกหญ้าก๋ง” จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่มีลำต้นตั้งตรง ลำต้นแตกกอคล้ายกอไผ่ ลำต้นมีลักษณะทรงกลม แบ่งเป็นข้อปล้องชัดเจน มีความสูงของลำต้นประมาณ 3–4 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 7.5–18 มิลลิเมตร ดอกหญ้าไม้กวาดเป็นพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่ตามเชิงเขาหรือพื้นที่สูง ส่วนใหญ่จะเก็บได้ในช่วงเดือนธันวาคม–เมษายน ซึ่งช่วงที่ดอกออกมากที่สุดจะอยู่ในช่วงต้นเดือนมกราคม 
ภาพที่ 1 หญ้าไม้กวาด.jpg

ภาพที่ 1 หญ้าไม้กวาด

ที่มา: (พืชเกษตร, 2559)

ประโยชน์ดอกหญ้าก๋ง / ดอกหญ้าไม้กวาด

         1. ไม้กวาดดอกหญ้า ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน ซึ่งมีการผลิตจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ทั้งในรูปของเกษตรในครัวเรือน หรือรวมกลุ่มกันในชุมชน รวมถึงผลิตในระดับอุตสาหกรรมสำหรับส่งจำหน่ายต่างประเทศ
         2. ยอดอ่อน และหน่ออ่อนนำมารับประทานสดคู่กับน้ำพริกหรือนำไปประกอบอาหารจำพวกเมนูผัดหรือแกงต่างๆ
         3. ลำต้น ใบ และยอดอ่อน ใช้สำหรับเป็นอาหารหยาบให้แก่ โค สากกระบือหัวควยถอก

ความสัมพันธ์กับชุมชน

         การทำไม้กวาดดอกหญ้าถือเป็นการส่งเสริมอาชีพของคนในหมู่บ้านมีการรวมกลุ่มกันทำไม้กวาดดอกหญ้า สามารถทำเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมที่สามารถทำได้ตลอดทั้งปี ทำให้มีความมั่นคง มีรายได้แน่นอน เด็กนักเรียนใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียน วันหยุดและปิดเทอม สามารถช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองทำไม้กวาด มีรายได้เป็นของตนเองใช้จ่ายส่วนตัว เก็บออม ลดภาระของพ่อแม่ ส่วนผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านประจำ มีเวลา ทำไม้กวาด มีเพื่อนทำ พูดคุยทำให้ไม่เหงา มีรายได้ มองเห็นคุณค่าในตัวเองชีวิตมีความสุข

วัสดุ/อุปกรณ์

กระบวนการผลิตสร้างรายได้

         1. ตัดก้านดอกหญ้าที่ยังมีความเขียวอยู่ ด้วยการตัดยาวประมาณ 80 เซนติเมตร จากนั้น นำมาตากแดดให้แห้งประมาณ 2-5 วัน
         2. นำก้านดอกหญ้ามาฟาดหรือเข้าเครื่องเพื่อแยกปุยดอกออกให้หมด ก่อนนำไปตาก 
         3. คัดเลือกดอกหญ้าคัดขนาดให้เท่ากัน แล้วแต่ต้องการความหนามาก หรือน้อย
         4. แบ่งดอกหญ้าเป็น 3 กำ มัดด้วยลวดให้แน่น
         5. ทุบด้วยค้อนตรงรอยมัดให้แบน
ภาพที่ 4 แบ่งดอกหญ้าเป็น 3 กำ.jpg

ภาพที่ 4 แบ่งดอกหญ้าเป็น 3 กำ มัดด้วยลวดให้แน่น และนำดอกหญ้าใส่ในบล็อกพลาสติก

         6. ตัดตรงโคนให้เป็นรูปสามเหลี่ยม
         7. นำดอกหญ้ากำที่ 1 ใส่ในบล็อกพลาสติกจัดให้แผ่ออก จากนั้นใส่กำที่ 2 และ 3 
         8. เย็บแบบเนาจนสุดกำ แล้วเย็บย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้น ลนไฟปลายเชือกป้องกันเชือกหลุดและนำมาประกอบกับด้ามจับ และหูแขวน ตอกด้วยตะปูเข็ม ตัดตกแต่งปลายดอกหญ้าให้สวยงาม
ภาพที่ 5 เย็บแบบเนา.jpg

ภาพที่ 5 เย็บแบบเนา และตอกตะปูเพื่อยึดดอกหญ้าที่ใส่บล็อก

         9. ใช้ด้ามพลาสติก ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ตอกใส่กับตัวบล็อกแล้วตอกตะปู ขนาด 1 นิ้ว 2 ตัว เพื่อยึดดอกหญ้าที่ใส่บล็อก กับด้ามให้แน่น แล้วใส่จุกท้ายสำหรับเป็นที่แขวนเป็นอันเสร็จขั้นตอน
ภาพที่ 6 ใส่จุกท้ายสำหรับเป็นที่แขวน.jpg

ภาพที่ 6 ใส่จุกท้ายสำหรับเป็นที่แขวน

บทสรุป

         “ไม้กวาดดอกหญ้า” ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นชุมชน วิถีชีวิต การรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมา ในชุมชนหมู่บ้านเมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้เรียนรู้การทำไม้กวาดดอกหญ้า สามารถต่อยอดพัฒนาผลผลิตยึดเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ให้ครอบครัวได้ เนื่องจากไม้กวาดดอกหญ้าเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ทุกบ้านจะต้องมีไว้ปัดกวาดทำความสะอาด ทำให้ตลาดไม้กวาดดอกหญ้ากว้าง อีกทั้งต้นทุนในการผลิตต่ำ ส่วนดอกหญ้ามีขึ้นเองตามธรรมชาติในพื้นที่ แต่มีจำนวนน้อยอาจไม่เพียงพอ จึงต้องรับซื้อจากที่อื่น 
         ภูมิปัญญาการทำไม้กวาดดอกหญ้า มีสืบทอดกันมายาวนาน จากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนคนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้องเพราะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนที่ทุกครัวเรือนต้องใช้ในการทำความสะอาดที่อยู่อาศัยเป็นประจำทุกวัน ฉะนั้นไม้กวาดจากดอกหญ้า ก็ยังคงมีอยู่ตามวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนต่อไป