ขนมข้าวตอกอัดนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:19, 2 สิงหาคม 2567 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''บทนำ'''== ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่...")
บทนำ
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้นอย่างเช่น งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ วันสารทไทย งานมงคล หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนและอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี ซึ่งแต่เดิมนั้นเมื่อถึงวันก่อนวันงาน 2-3 วันหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับขนาดของงาน ชาวบ้านผู้ชายจะรวมตัวเพื่อใช้แรงในการสร้างงาน ส่วนชาวบ้านผู้หญิงจะรวมตัวกันเพื่อทำอาหารคาวและหวาน จึงทำให้เกิดขนบธรรมเนียมนี้ขึ้น ขนมจึงเป็นหนึ่งในของหวานที่ขาดไม่ได้สำหรับงานสำคัญต่าง ๆ แต่เดิมคำว่า ขนม หมายถึงอาหารว่างชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยทั่วไปขนมมีรสชาติที่หวานหรือไม่ก็มัน หรือทั้งหวานทั้งมัน และต่อมามีการขยายคำจำกัดความของคำว่า ขนม มาจากคำว่า เข้าหนม คำว่า เข้า ปัจจุบันเขียนว่า ข้าว รวมกับคำว่า หนม โดยคำว่า หนม ที่แปลว่า หวาน โดยมาจากภาษาถิ่นของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และของบ้านแซมั้งไฟประเทศลาว ซึ่งเรียกกิริยาการนวดดินหรือ แป้งจ่า หนมดิน หนมแป้ง เข้าหนมจึงแปลว่า เข้าหวาน หรือ ข้าวหวาน ที่ได้รับความหวานมาจากน้ำอ้อย หลังจากนั้นได้เพี้ยนจากคำว่า เข้าหนม เป็นคำว่า ขนม ในปัจจุบันตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นตำบลเล็ก ๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 700 ปีและมีภูมิปัญญาพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีทั้งเคหะสถานที่เก่าแก่ วัดวาอารามที่อยู่คู่บ้านคู่เมือง และอาหารคาวหวานที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา จากรุ่นสู่รุ่น โดยที่ขนมข้าวตอกอัดนครชุมก็เป็นหนึ่งในขนมที่ถึงใช้ในงานสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในตำบลนครชุม จนกลายมาเป็นขนมขึ้นชื่อของชาวนครชุม โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของขนมข้าวตอกอัดนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร 2) ความเชื่อและคุณค่าของขนมข้าวตอกอัดนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร 3) ความสัมพันธ์ของขนมข้าวตอกอัดนครชุม จังหวัดกำแพงเพชรกับคนนครชุม 4) ส่วนผสมและขั้นตอนการทำขนมข้าวตอกอัดนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ: ข้าวตอกอัด, ข้าวตอก, กระยาสารท