อัตลักษณ์จังหวัดกำแพงเพชร ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:02, 24 ธันวาคม 2563 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "== บทนำ == การศึกษาอัตลักษณ์จังหวัดกำแพงเพชรระบำรวมเ...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ

         การศึกษาอัตลักษณ์จังหวัดกำแพงเพชรระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ชนเผ่าชาวไทยภูเขาที่ปรากฏอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ 1 ชุด โดยการศึกษาข้อมูลประวัติวิถีชีวิต เครื่องแต่งกาย การละเล่นและความเป็นมาของชนเผ่าชาวไทยภูเขาที่ปรากฏอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ 6 ชนเผ่า จำนวน 37,682 คน ประกอบด้วย ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยน ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอ ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่ ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าลีซู และชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าลัวะ (ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าอีก้อมีจำนวนน้อยมาก)
         จากการศึกษาการแสดงชาวไทยภูเขา 6 เผ่า คือ ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า (เมี่ยน) ชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอ (ลาหู่)  ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ (ลีซู) ชาวไทยภูเขาเผ่าอีก้อ (อาข่า) รูปแบบของการแสดงมีองค์ประกอบคือ 1) การตีท่ารำตามคำร้องตามลักษณะ   ที่สื่อความหมายของท่ารำได้อย่างเหมาะสม 2) เครื่องแต่งกาย แต่งสวยงามตามลักษณะของชนเผ่าชาวไทยภูเขาของแต่ละชนเผ่า 3) มีการแปลแถวเพื่อให้เกิดความสวยงามตามรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทย 4) เพลงประกอบ   การแสดงเลียนเสียงของชนเผ่าชาวไทยภูเขาโดยใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
         ความโดดเด่นของการแสดงชุดนี้อยู่ที่เครื่องแต่งกายมีความงดงาม รูปแบบการแสดงที่ไม่ซับซ้อน ความหมายของเพลงที่ดีและสร้างสรรค์ มุ่งเน้นให้เกิดความรักความสามัคคีในความเป็นชนชาติไทย
         ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขาเป็นการแสดงที่ประดิษฐ์หรือเรียกได้ว่าเป็นนาฏยประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นแต่มีความหมายเป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ได้ในเชิงสื่อความหมายเป็นการแสดงของจังหวัดกำแพงเพชร และการแสดงระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา ได้ใช้ในการสืบสานงานวัฒนธรรมสื่อความเป็นจังหวัดกำแพงเพชร  ในหลายโอกาสเช่นงานต้อนรับแขกที่มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชรและในโอกาสเผยแพร่งานศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่นและในระดับชาติและเป็นการแสดงอีกชุดหนึ่งที่ควรจะถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการแสดงให้สู่รุ่นเยาวชนเพื่อให้การแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

         จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองมรดกโลกมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางด้านธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานที่สำคัญหลายแห่งนับว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองหนึ่งของประเทศไทย ทุกภาคส่วนจึงมีแนวคิดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทุกด้าน ด้านศิลปะการแสดงก็มีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานระบำชุดใหม่เพื่อแสดงให้กับนักท่องเที่ยวได้รับชมและยังสร้างผลงานการแสดงให้โดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาและสร้างสรรค์ระบำชุดรวมเผ่าชาวเขาขึ้นเพื่อใช้เป็นการแสดงในการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม และยังสามารถพัฒนาเป็นระบำที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร

แนวทางการพัฒนาชุดระบำรวมเผ่าชาวเขา

         การพัฒนาชุดระบำรวมเผ่าชาวเขาเพื่อเป็นการแสดงชุดหนึ่งทีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร มีขั้นตอนดังนี้
         ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาประวัติความเป็นมา ประเพณี วิถีชีวิต ของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         ขั้นตอนที่ 2 ศึกษารูปแบบการสร้างสรรค์งานออกแบบการแสดงระบำชุดใหม่ ออกแบบท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกาย การแปรรูปแบบแถวการแสดง รวมทุกองค์ประกอบของการแสดง
         ขั้นตอนที่  3 นำผลงานออกแสดงเผยแพร่

แนวทางการสร้างสรรค์ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา

         การสร้างสรรค์ผลงานระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา มีชาวไทยภูเขาพำนักอยู่ที่อำเภอคลองลานมีมากมายหลายเผ่าแต่สำหรับการแสดงชุดนี้ได้คัดสรรเลือกจำนวน 6 เผ่า มาจัดสร้างเป็นชุดการแสดงคือ เผ่าม้ง เผ่าลีซอ เผ่ามูเซอ เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าเย้า และเผ่าอีก้อ ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา.jpg

ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา

เพลงประกอบการแสดง

         เนื้อเพลง ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา ประพันธ์โดย  	
         - อาจารย์สำรวม  ฉ่ำกมล  อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย (ในสมัยนั้น)    
         - อาจารย์สราวุธ  สุขกมล  ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

เนื้อเพลง “ระบำรวมเผ่าชาวเขา”

เผ่าม้ง

         ไทยภูเขาเผ่าม้งทั้งชายหญิง		รักถิ่นจริงพำนักอยู่ตามภูเขา

ต่างขยันทำไร่แต่วัยเยาว์ รักชนเผ่ามุ่งรักษาประเพณี