ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:25, 30 พฤษภาคม 2566 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (Admin ย้ายหน้า [[ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จัง...)
บทนำ
พิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้องส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้สียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแลคนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมด ห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น ม้งมีความเชื่อว่าระหว่างการเดินทางไปยังปรโลก วิญญาณของผู้ตายอาจถูกรั้งไว้ ด้วยการปอกหัวหอมในชั้นปรโลก ทำให้เดินทางไปเกิดได้ช้าลง ดังนั้นชาวม้งจึงนิยมพันนิ้วมือศพด้วยด้ายสีแดง เพื่อให้วิญญาณสามารถอ้างได้ว่าเจ็บนิ้ว ไม่สามารถปอกหอมได้ รวมทั้งมีการสวมรองเท้าให้ศพ ตามความเชื่อที่ว่าวิญญาณจะต้องเดินทางฝ่าดงบุ้งยักษ์ ซึ่งศพจะถูกจัดวางบนแคร่หามสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร ตั้งบนพื้นใกล้ศาลพระภูมิหรือศาลบรรพชน ภาษาม้งเรียกว่า "สือ ก๋าง-xwm kaab" รอให้ญาติมารวมกันครบ ระหว่างรอญาติเดินทางมาจะมีการตั้งข้าวให้ศพ วันละ 3 เวลา แต่ละครั้งจะต้องยิงปืน 3 นัด และมีการจุดตะเกียงวางไว้ที่ลำตัวของศพ
คำสำคัญ: ชาวม้ง, อำเภอคลองขลุง, จังหวัดกำแพงเพชร
ความเชื่อการเกิดของคนม้ง
ในอดีตม้งมีความเชื่อว่าการตั้งครรภ์เกิดจากผีพ่อผีแม่ให้เด็กมาเกิด เวลาใกล้คลอดหญิงมีครรภ์จะไม่ไปไหนมาไหนโดยลำพัง จะต้องมีเพื่อนไปด้วยอย่างน้อย 1 คน การคลอดบุตรเป็นไปตามธรรมชาติ โดยหญิงตั้งครรภ์จะนั่งอยู่บนม้านั่งขนาดเล็ก หน้าห้องนอนเอนตัวพิงสามี ปิดประตูบ้านห้ามเด็กเข้าไปยุ่งในบ้าน หลังจากคลอดเสร็จจะทำความสะอาดเด็ก ตัดรกด้วยกรรไกร ถ้าเป็นเด็กชายจะนำรกไปฝังไว้ที่เสากลางบ้าน ซึ่งเป็นเสาที่มีผีเสาสถิตอยู่ เพราะเด็กผู้ชายควรจะรู้เรื่องผี ถ้าบุตรเป็นหญิงจะฝังรกไว้ใต้แคร่นอนของมารดา เพราะต้องการให้ลูกสาวรู้จักรักนวลสงวนตัว และรู้จักการบ้านการเรือน เด็กที่เกิดได้ 3 วัน บิดาจะทำพิธีตั้งชื่อ โดยต้องนำไก่มาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ 2 ตัว และขอบคุณผีพ่อผีแม่ที่ส่งเด็กมาเกิด พร้อมทั้งบอกผีบ้านขอให้คุ้มครองเด็ก และรับไว้เป็นสมาชิกของครอบครัวของวงศ์ตระกูล ม้งเชื่อว่าถ้าเด็กที่เกิดมายังไม่ครบ 3 วัน ยังไม่เป็นมนุษย์ หรือยังเป็นลูกผีอยู่ จึงยังไม่ตั้งชื่อให้ หากเด็กนั้น ตายลงจะไม่ทำบุญศพให้ตามประเพณี และสามารถนำไปฝังได้เลย ในปัจจุบันนี้ม้งที่เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่บางคนยังมีความเชื่อนี้อยู่ แต่ม้งที่ได้รับการศึกษา จะไม่ค่อยมีความเชื่อเช่นนี้ แต่เด็ก หรือบุตรที่เกิดมาจะต้องมีการทำพิธีตามประเพณีของม้งทุกประการ ส่วนการเกิดในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่จะไปคลอดที่โรงพยาบาลเท่านั้น ม้งจะไม่คลอดเองตามธรรมชาติ เนื่องจากเกรงว่าอาจจะเกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ได้ด้วย (njoy, 2550)
ความเชื่อเกี่ยวกับ
การเกิดของเผ่าม้ง ประเพณีการเกิด การตั้งครรภ์มีทั้งแบบปกติคือเกิดจากคู่สามีภรรยา ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แต่บางครั้งหากเกิดขึ้นกับหญิงสาวชาวม้งที่คบผู้ชายหลายคนและไม่ทราบว่าตั้งครรภ์กับใคร หญิงสาวก็จะบอกให้พ่อแม่ทราบเพื่อจะได้หาทางทำแท้ง แต่หากสามารถบอกชื่อชายหนุ่มคนใดคนหนึ่งได้ ผู้ถูกเอ่ยนามก็จะต้องยินยอมแต่งงานด้วย ถ้าปฏิเสธก็จะถูกปรับเป็นค่าทำคลอด แล้วแต่กรณีไป แต่หากครรภ์แก่ใกล้คลอด หญิงสาวจะคลอดบุตรในบ้านบิดามารดาไม่ได้ดังนั้นบิดาจะสร้างกระท่อมหลังเล็กๆ ใกล้บ้านเพื่อให้ลูกสาวคลอดบุตร จากนั้น 1 เดือนจึงจะยอมให้เข้าอยู่บ้านใหญ่ได้ ชาวม้งเชื่อว่า การตั้งครรภ์เกิดจากผีพ่อแม่ให้เด็กมาเกิด เมื่อเวลาใกล้คลอด หญิงมีครรภ์จะไม่ไปไหนมาไหนโดยลำพังต้องมีเพื่อนอยู่ด้วยอย่างน้อย 1 คน การคลอดบุตรโดยทั่วไปจะเป็นไปตามธรรมชาติสังคมชาวม้งนั้น ไม่มีผู้ทำคลอดในตำแหน่งหมอตำแยอย่างเป็นทางการ (ไม่ได้มีประจำ ในลักษณะที่เวลาคลอดต้องไปเรียกหมอตำแยคนนี้ตลอด) ดังนั้นเมื่อผู้หญิงจะคลอดบุตร นอกเหนือจากสามีแล้ว ผู้ช่วยทำคลอดส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิงโดยเฉพาะมารดาของสามีหรือญาติเพศหญิงก่อนการคลอดนั้นจะมีการเตรียมต้มน้ำ เพื่อเช็ดทำความสะอาดมีดหรือกรรไกรคมๆไว้สำหรับตัดสายรก ยาสมานแผลสมุนไพร และผ้าเช็ดตัวเด็ก ให้หญิงตั้งครรภ์ที่ใกล้จะคลอดบุตรจะนั่งอยู่บนม้านั่งขนาดเล็กหน้าห้องนอน ตัวคลุมด้วยผ้าห่มนอนเอนตัวพิงสามี ปิดประตูบ้านห้ามเด็กเข้าไปยุ่งในบ้าน หลังจากคลอดจะทำความสะอาดเด็ก ตัดรกด้วยกรรไกรหลังจากคลอดออกมาแล้วหากเป็นชายจะเอารกไปฝังบริเวณเสาผีกลางบ้าน ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษเรือที่เรียกว่าเสายึดเหนี่ยววิญญาณบรรพบุรุษ เนื่องจากเชื่อว่า ลูกผู้ชายจะต้องสืบสกุลและรับภารกิจของครอบครัวต่อจากบิดามารดา หากเป็นหญิงก็จะนำรกไปฝังไว้ใต้เตียงห้องนอนของพ่อแม่เด็ก เหตุผลเพราะชาวม้งเห็นว่าผู้หญิงจะต้องแต่งงานออกเรือนไปหลังจากนั้น อีก 3 วันจะทำพิธีเรียกขวัญ และตั้งชื่อให้เด็ก แต่ถ้าหากเด็กเสียชีวิตภายใน 3 วันก่อนที่จะทำพิธีเรียกขวัญ ก็จะนำศพไปฝังอย่างง่ายๆ เพราะถือว่ายังไม่เป็นคนโดยสมบูรณ์แต่ถ้าหากไปคลอดที่โรงพยาบาลก็จะไม่มีการทำพิธีฝังรกแต่จะมีพิธีเรียกขวัญ เด็กโดยปกติหญิงที่คลอดลูกจะต้องอยู่ไฟ (ไจ๋) ที่เตาไฟเล็กภายในบ้าน หลังจากที่คลอดแล้วจะต้องกินข้าวกับไก่หรือไข่เป็นเวลา 30 วัน บ้านไหนที่มีการคลอดลูกจะมีเฉลว หรือกิ่งไม้สดปักไว้ที่ประตูบ้าน ซึ่งเป็นการบอกให้รู้ว่า บุคคล ภายนอกห้ามเข้าหากมีเรื่องจำเป็นก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น ถอดรองเท้า ถอดหมวก ปลดถุงย่ามออกก่อน เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้หลายแห่งได้คลายความเคร่งครัดในข้อปฏิบัติเหล่านี้ลงมากแล้ว เมื่อครบกำหนดก็เป็นอันสิ้นสุดการอยู่ไฟ การเกิด ตามหลักความเชื่อพุทธศาสนา ประวิทย์ เฮงพระธานี และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ (2561) การเกิดชีวิต ในทัศนะของพระพุทธศาสนานั้น เป็นการเกิด 2 ครั้ง ครั้งแรกคือการเกิดทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจิตเดิมนั้นเป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง ไม่มีกิเลส ส่วนการเกิดครั้งที่ 2 เป็นการเกิดในจิตใจ เกิดโดยวิญญาณ ซึ่งไม่มีพ่อแม่เป็นปัจจัยให้เกิด เป็นการเกิดความทุกข์ สาเหตุมาจากเด็กมีสภาพจิตด้อยด้วยคุณธรรม ขาดสติ ไม่มีปัญญารู้ชัดตามความเป็นจริง (อวิชชา) ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ฯลฯ ซึ่งเป็นกระบวนการเกิดความทุกข์ในจิตใจ ความทุกข์จะเกิดดับ เกิดดับ สลับกันไปเป็นลูกโซ่ ประดุจสายฟ้าแลบ เป็นวงกลมหมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปตลอดชีวิต จนกว่าจะดับทุกข์ได้ ส่วนการเกิดในโลกของมนุษย์ เช่นการเกิดของคนและสัตว์ ต้องอาศัยพ่อแม่เป็นเชื้อให้ด้วยการผสมพันธุ์ อาศัยธรรมชาติ อาศัยอาหาร ตามนัยอภิธรรมกล่าวไว้ว่า การเกิดเป็นมนุษย์เริ่มตั้งแต่มีปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งเกิดขึ้นต่อจากจุติจิตในมรณาสันนวิถี อันเป็นดวงจิตสุดท้ายต่อจากชาติก่อน ตายจากชาติก่อนแล้วเกิดทันที ไม่มีระหว่างคั่น ปฏิสนธิจิตนี้แหละเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นของชีวิต 3 อย่างคือ - บิดามารดาอยู่ร่วมกัน - มารดามีระดู (ไข่พร้อมที่จะสืบพันธุ์) - คันธัพพะ (มีปฏิสนธิจิตหรือปฏิสนธิวิญญาณมาอาศัย) การเกิด ตามหลักความเชื่อศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนามองว่ามนุษย์ไม่ใช่เจ้าของชีวิตของตน พ่อแม่ก็ไม่ใช่เจ้าของชีวิตที่ตนให้กำเนิด พ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างของพระเป็นเจ้า การให้กำเนิดชีวิตมนุษย์เป็นอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เหนือธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การปลูกถั่วเขียว มนุษย์นำถั่วเขียวไปใส่ในถาดและรดน้ำ นำไปไว้ในสถานที่ และอุณหภูมิที่เหมาะสม มนุษย์ไม่ใช่ผู้ทำให้ถั่วเขียวงอก แต่เป็นอำนาจเหนือธรรมชาติ เพราะถั่วเขียว ที่ปลูก ไม่ใช่ทุกเมล็ดจะงอก ฉันใดก็ฉันนั้น พ่อแม่เป็นเพียงผู้สร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่พระเจ้าเป็นผู้บันดาลให้ชีวิตมนุษย์เกิดขึ้น เมื่อชีวิตมนุษย์เกิดมาทุกคนต้องมีเกิด เจ็บป่วย แก่ และตาย อันเป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อนำเสนอโลกทัศน์หรือมุมมองของคริสต์ศาสนิกชนต่อชีวิตของ ตนว่าเป็นอย่างไร มุมมองต่อชีวิตจะส่งผลต่อการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น คนที่มีนามสกุลดังๆ หรือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก อาจมีโลกทัศน์ว่าคนอื่นต้องมารับใช้ตนเองแต่ถ้าคนนั้นมีโลกทัศน์ว่าตน เท่าเทียมคนอื่น เขาก็อาจจะไม่ถือตัว หรืออาจจะอยู่กับคนอื่นได้อย่างมีความสุข การทำพิธีรับขวัญลูกของเผ่าม้ง เด็กที่เกิดได้ 3 วัน บิดาจะทำพิธีตั้งชื่อ โดยต้องนำไก่มาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ 2 ตัว และขอบคุณผีพ่อผีแม่ที่ส่งเด็กมาเกิด พร้อมทั้งบอกผีบ้านขอให้คุ้มครองเด็ก และรับไว้เป็นสมาชิกของครอบครัวของวงศ์ตระกูล กำหนดกาลและเวลาของการทำพิธีรับขวัญ การรับขวัญเด็ก และตั้งชื่อให้เด็ก จัดทำพิธีในเช้าวันที่ 3 หลังจากการคลอดลูกแล้ว - เชิญญาติผู้ใหญ่มาเข้าพิธี เพื่อรับรู้เพื่อรับรู้การับเด็กเป็นสมาชิกของครอบครัววงศ์ตระกูล - ปู่หรือย่าของเด็ก เริ่มการทำพิธีรับขวัญ - จุดธูป เทียน ไว้กลางบ้าน เพื่อให้ผีบรรพบุรุษรับรู้ - นำไก่มาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ 2 ตัว - กินข้าวร่วมโต๊ะสำหรับญาติผู้ใหญ่ - หลังกินข้าวเสร็จ บิดาญาติผู้ใหญ่ที่มาร่วมงาน ให้มาผูกข้อมือเด็ก เพื่ออวยพรให้ไม่เจ็บไม่ไข้ และเติบโตมาเป็นเด็กดี อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำพิธีรับขวัญ - อาหาร 1 มื้อ สำหรับญาติผู้ใหญ่ - ธูป เทียน - ไก่ที่มีลักษณะสมบูรณ์ 2 ตัว - สายศิลป์ ความหมายของการตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2550) ความเชื่อการตายของเผ่าม้ง njoy (2550) ม้งเชื่อว่า พิธีศพทีครบถ้วนถูกต้อง จึงจะส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้สียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแลคนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมด ห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น ชาวบ้าน หรือญาติใกล้เคียงจะมาช่วยกันจัดงานให้กับผู้ตาย โดยอาบน้ำให้ศพก่อน จากนั้นก็จะแต่งกายให้ศพ ด้วยเสื้อผ้าที่ลูกหลานได้เตรียมไว้ให้ก่อนตาย ซึ่งเป็นผ้าปักด้วยลวดลายงดงาม มีผ้ารองศีรษะต่างหมอน หากว่าเป็นผู้ชายจะมีผ้าคาดเอว หรือปกเสื้อ หากว่าเป็นผู้หญิงบริเวณใบหน้าจะคลุมด้วยผ้าแดง เพื่อไม่ให้ผู้ตายต้องตากหน้าต่อหน้าธารกำนัล ผู้ชายจะให้แต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายของผู้หญิง ส่วนผู้ตายที่เป็นผู้หญิงจะให้แต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายของผู้ชาย แล้วนำศพไปวางนอนขนานกับฝาผนังซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับประตูบ้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละนามสกุลที่แตกต่างกันออกไป จะมีการผูกข้อมือญาติทุกคนด้วยผ้าสีแดง ห้ามแกะออกจนกว่าจะเสร็จงานศพ บางแซ่จะมีการคาดศีรษะด้วยผ้าสีขาว ดังเช่นพิธีศพของชาวจีนชาวม้งเชื่อว่าเมื่อมีเด็ก หรือใครก็ตามที่หกล้มบริเวณบ้านของผู้ตาย ให้รีบทำพิธีเรียกขวัญบุคคลนั้นกลับมา มิฉะนั้นวิญญาณของผู้ตายจะนำวิญญาณของผู้หกล้มไปด้วย ชาวม้งมีความเชื่อว่าระหว่างการเดินทางไปยังปรโลก วิญญาณของผู้ตายอาจถูกรั้งไว้ ด้วยการปอกหัวหอมในชั้นปรโลก ทำให้เดินทางไปเกิดได้ช้าลง ดังนั้นชาวม้งจึงนิยมพัน นิ้วมือศพด้วยด้ายสีแดง เพื่อให้วิญญาณสามารถอ้างได้ว่าเจ็บนิ้ว ไม่สามารถปอกหอมได้ รวมทั้งมีการสวมรองเท้าให้ศพ ตามความเชื่อที่ว่าวิญญาณจะต้องเดินทางฝ่าดงบุ้งยักษ์ ซึ่งศพจะถูกจัดวางบนแคร่หามสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร ตั้งบนพื้นใกล้ศาลพระภูมิหรือศาลบรรพชน ภาษาม้งเรียกว่า "สือ ก๋าง-xwm kaab" รอให้ญาติมารวมกันครบ ระหว่างรอญาติเดินทางมา จะมีการตั้งข้าวให้ศพ วันละ 3 เวลา แต่ละครั้งจะต้องยิงปืน 3 นัด และมีการจุดตะเกียงวางไว้ที่ลำตัวของศพ หากผู้ตายยังมีหนี้สินอยู่ ญาติจะช่วยกันชำระหนี้แทนให้เรียบร้อยก่อนจะฝังศพ เพื่อให้ผู้ตายมีชีวิตที่เป็นอิสระ มั่งคั่ง และมีความสุขในชาติหน้า (ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการนำศพไว้ในโลง เพื่อไม่ให้ศพมีสภาพที่ไม่น่าดู แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวนั้น ๆ ด้วย) เมื่อญาติมากันครบแล้ว จึงนำแคร่วางศพตั้งในที่สูงเหนือพื้น และฆ่าไก่สำหรับเซ่นไหว้นำไปวางไว้ข้างศีรษะศพ ผู้เฒ่าซึ่งเป็นหมอผีในการทำพิธีสวดให้ผู้ตายไปสู่ปรโลก โดยจะใช้ไม้เสี่ยงทายยาวประมาณเจ็ดนิ้ว เสี่ยงทายทางให้กับวิญญาณผู้ตายพร้อม ๆ กับรินเหล้า และตักข้าวปลาอาหารไปด้วย ผู้เฒ่าจะบอกกับวิญญาณว่าเมื่อไปถึงที่ใดให้ทำอย่างไร เช่น หากร้อนแดดให้เข้าอาศัยร่มเงาจากปีกไก่ หรือใต้หางไก่ หากฝนตกให้เดินทางสายกลางตามไก่ เพื่อไปสู่ดินแดนแห่งบรรพชน เมื่อไปถึงสถานที่ตรงนี้ให้จุดธูป จุดเทียนเผากระดาษ เป็นต้น ซึ่งในระหว่างที่ผู้ตายเดินทางไปสู่ปรโลก หากว่าพิธีกรรมไม่นาน แสดงว่าวิญญาณของผู้ตายรับรู้ และยินยอมที่จะไปตามทางที่ว่านั้น แต่หากว่าพิธีกรรมนาน แสดงว่าวิญญาณของผู้ตายไม่ยอมไป ยังมีความเป็นห่วงลูกหลาน ญาติ พี่น้องอยู่ในระหว่างจัดพิธีศพนั้น จะมีการพับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปเรือ กระดาษที่ใช้จะเป็นกระดาษเงิน กระดาษทอง เพื่อให้วิญญาณของผู้ตายจะได้ไม่ ลำบากในระหว่างเดินทางไปสู่ปรโลก และจะได้มั่งมีศรีสุขในชาติหน้า หากผู้ตายเป็นผู้สูงอายุ ลูกหลานจะรวมตัวกัน เพื่อคาราวะศพทุกวัน เช้า และเย็น ภาษาม้งเรียกว่า "ซอก-xyom" มีพิธีการมอบผ้าปัก เป็นผ้าสี่เหลี่ยมสีแดง มีการปักเป็นลวดลายต่าง ๆ ภาษาม้งเรียกว่า "น๋อง จ๋อง-noob ncoos" ซึ่งผ้าเหล่านี้จะทำให้วิญญาณมีไร่ มีนา มีทรัพย์สิน มั่งคั่งร่ำรวยในชาติหน้า ผู้ที่จะให้ น๋อง จ๋อง-noob ncoos นี้คือลูกสาวของผู้ตายจะเป็นผู้ที่ทำให้ มีการตัดกระดาษแขวนไว้ข้างฝาทั้งสองข้างของตัวบ้าน เพื่อที่จะเผา และเป็นการส่งตัวผู้ตายให้ไปถึงที่หมายด้วย (ปัจจุบันได้มีการนำพวงหรีดไว้อาลัยร่วมกับการแขวนกระดาษด้วย) พิธีศพของม้งบรรดาญาติ และผู้คนทั้งที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นๆ และต่างหมู่บ้านจะมาช่วยเหลือพิธีกรรมด้วยทุกคืน โดยเฉพาะสมาชิกในบ้านที่เป็นผู้ชาย ภาษาม้งเรียกว่า "เป้า หยุ้น-txwg tuag" ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อเราได้ให้ความช่วยเหลือเขาและเมื่อครอบครัวของเรามีงานศพจะได้มีคนอื่นมาช่วยอีก เป็นการแสดงน้ำใจอย่างหนึ่งของชาวม้งเรา หากผู้ตายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และเป็นที่นับหน้าถือตาแก่บุคคลทั่วไป จะจัดพิธีใหญ่โต และครบถ้วนแขกเหรื่อ หรือบุคคลที่รู้จักกับผู้ตาย จะมาร่วมแสดงความอาลัยอย่างสุดซึ้งต่อหน้าผู้ตาย โดยทายาทของผู้ตายจะเป็นผู้ไปรับแขกด้วยตัวเองถึงประตูบ้าน และเชิญให้แขกมายังตัวศพเพื่อร่วมไว้อาลัย เมื่อมีแขกที่ให้ความช่วยเหลือทุนทรัพย์ในการจัดพิธีศพ ทายาทของผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าภาพจะต้องกล่าวขอบคุณแขกผู้นั้นด้วย ซึ่งในคืนก่อนวันที่จะนำศพไปฝังจะมีการสวด และบอกเรื่องราวต่าง ๆ ในภาษาม้งเรียกว่า "ฮ่า จืด สาย-has txwv xaiv" โดยจะมีคนหนึ่ง ซึ่งร่ำเรียนมาทางด้านการสวดโดยเฉพาะเป็นผู้บอกกล่าว นิยมทำกันกรณีที่ผู้ตายเป็นผู้ใหญ่ที่มีลูกหลาน หรือญาติพี่น้องเยอะ และผู้ตายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่นับหน้าถือตาซึ่งพิธีนี้จะเป็นการสั่งสอนลูกหลานว่าเมื่อตัวเองไม่มีหัวหน้า ครอบครัวแล้วควรจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งจะบอกเป็นท่วงทำนองที่คล้องจองกันไพเราะและซาบซึ้งมาก หากไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบจะไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่พูดได้ จะพูดเป็นเรื่องราวติดต่อกัน ตั้งแต่เวลาประมาณสองทุ่มไปจนถึงสองยาม หรือประมาณตีสองตีสาม ในคืนนี้จะมีบรรดาเพื่อนบ้าน หรือญาติพี่น้องมารวมตัวกัน เพื่อที่จะฟังการสวดด้วย วันที่จะนำศพไปฝัง ช่วงเช้าจะให้ลูกหลานของผู้ตายทำความสะอาดศพอีกรอบ โดยจะล้างมือของศพให้ครบทุกคน จะมีการฆ่าวัวเพื่อบูชาศพ บางนามสกุล ญาตินำคานมาหามแคร่วางศพออกจากเรือน เพื่อนำไปยังลานที่ได้เตรียมไว้เพื่อทำพิธีกรรมอีกรอบ ซึ่งเรียกว่า "ชือ ฉ้า-tswm tshaav" แต่บางแซ่จะไม่มีการ "ชือ ฉ้า-tswm tshaav" เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วญาติจะนำคานมาหามศพไปฝังในสุสาน ในช่วงเวลาประมาณบ่ายคล้อย หรือ 16.00 น. ในขบวนแห่ศพจะมีผู้นำขบวนเดินเป่าแคนไม้ซางตลอดทาง ตามด้วยสาวถือคบเพลิง เพื่อส่องทางให้ศพ แต่เมื่อนำศพผ่านพ้นเขตหมู่บ้าน สาวจะโยนคบเพลิงทิ้งแล้ววิ่งหนีกลับบ้านไป ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้วิญญาณไม่สามารถย้อนกลับเข้าบ้านได้ เมื่อขบวนถึงสุสาน จะมีผู้เฒ่าสวดทำพิธีอีกครั้งหนึ่ง ศพจะถูกหย่อนลงในหลุมที่เตรียมไว้ ซึ่งหลุมศพนี้จะดูจากตำราฮวงจุ้ย หรือผู้เฒ่าที่เชี่ยวชาญเรื่องฮวงจุ้ยในหมู่บ้านนั้น ๆ บางครั้งก็เป็นสถานที่ฝังศพผู้ตายได้ตระเตรียมบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกหลาน ว่า เมื่อถึงเวลาตัวเองสิ้นลมหายใจ ให้นำศพตัวเองไปฝังไว้ยังสถานที่ที่ตนได้บอกไว้ จากนั้นญาติจะกลบดินปิดปากหลุม แล้วจัดวางก้อนหินเหนือหลุมศพ รวมทั้งปิดด้วยกิ่งไม้เพื่อไม่ให้สัตว์มาคุ้ยเขี่ยหลุมศพ แล้วจึงจัดการเผากระดาษ หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่มอบให้กับศพ เมื่อครั้งจัดพิธีที่บ้านส่วนแคร่ที่หามศพมานั้น จะถูกตัดครึ่งเพื่อไม่ให้กลับบ้านไป พาคนอื่นสู่ปรโลกอีก ในระหว่างทางนั้น ห้ามไม่ให้เด็ดดอกไม้ หรือใบหญ้าใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้วิญญาณได้ไปสู่สุคติ และห้ามไม่ให้ลูกหลาน หรือญาติร้องไห้ในระหว่างทาง มิฉะนั้นวิญญาณจะกังวลใจในการไปสู่ปรโลก สำหรับศพของผู้มีอายุจะถูกฝังตามไหล่เขา ซึ่งมีสันเขาขนานอยู่รอบด้าน สันเขาด้านซ้ายหากหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จะมีบริเวณฝังศพของญาติฝ่ายหญิง ด้านขวาของสันเขาเป็นของญาติฝ่ายชาย ทิวเขาที่รายล้อมรอบเขาที่ฝังศพ ส่งผลต่อลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยนับจากทิวเขาที่อยู่ด้านซ้ายของศพ เป็นฝั่งที่บอกถึงความเจริญรุ่งเรือง สุขภาพ และความมั่งมีศรีสุข หากมีทิวเขาที่อยู่ด้านซ้ายของศพยาวมากกว่า หรือสูงกว่าอีกฝั่ง แสดงว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่า ม้งห้ามฝังศพลูกในวันคล้ายวันฝังบิดามารดา เพราะเชื่อว่าจะทำให้การทำมาหากินไม่เจริญ และห้ามนำศพอื่นไปฝังในระดับเดียวกันอีกในไหล่เขานั้น เว้นแต่จะฝังให้ต่ำกว่า หรือเยื้องไปจากศพที่ฝังไว้ก่อน ถ้าฝังอยู่ในระดับเดียวกันจะทำให้ผู้ตายแย่งที่ทำกินกัน และจะกลับมารบกวนทำให้ญาติพี่น้องเจ็บป่วย ห้ามฝังศพไว้บนไหล่เขาซึ่งมีหมู่บ้านตั้งอยู่ สำหรับศพเด็กนิยมฝังไว้ในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้เป็นเพื่อนเล่นกันแก้เหงา ม้งเชื่อว่าเด็กนั้นยังความกลัวผีมาก ฉะนั้นจึงนำไปฝังที่ใกล้ ๆ กัน หรือที่เดียวกัน บางครอบครัวอาจจะล้อมรั้วบริเวณหลุมศพ เพื่อไม่ให้สัตว์ หรือแมลงต่าง ๆ มาคุ้ยเขี่ยหลุมศพได้ พอหลังจากนี้แล้วห้ามไม่ให้ญาติไปดูแลหลุมศพของผู้ตายอีก เมื่อครบ 13 วัน จะมีการทำพิธีปลดปล่อยดวงวิญญาณของผู้ตายให้ไปผุดไปเกิด และหากเมื่อพ้น 13 วันไปแล้ว จึงจะสามารถไปดูแลหลุมศพ หรือสร้างสุสาน (ฮวงซุ้ย) ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละนามสกุลด้วยเช่นกัน ที่จะทิ้งช่วงเป็นระยะเวลากี่วัน กี่ปี จึงจะไปดูแลหลุมศพได้ ชาวม้งเชื่อว่าหลุมศพ หรือสุสานที่มีหญ้ารก ๆ เช่น ผักโขม (ที่มีหนาม) จะทำให้ครอบครัวญาติพี่น้องของผู้ตายอยู่ดีมีสุข อย่างไรก็ตาม ความเชื่อสำหรับกรณีที่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ หรือถูกทำร้ายด้วยอาวุธ บางนามสกุลญาติจะไม่นำศพเข้าบ้าน แต่จะจัดสุราอาหารออกไปเซ่นไหว้ให้ไกลจากตัวบ้านออกไป ก่อนจะฝังศพในลักษณะเดียวกับศพทั่วไป แต่บางนามสกุลก็จัดพิธีในบ้านเช่นเดียวกับศพทั่วไปเช่นกัน การไว้ทุกข์ ญาติพี่น้องจะไว้ทุกข์ให้ผู้ตายประมาณ 13 วัน ไม่มีการแต่งตัวเป็นพิเศษแต่อย่างใด คงเป็น ไปตามปกติ แต่ห้ามปฏิบัติกิจบางอย่างซึ่งจะทำให้ผู้ตายไปเกิดไม่ได้ กล่าวคือ ห้ามซักเสื้อผ้าและหวีผม เพราะสิ่งสกปรกในผ้าจะเข้าไปในอาหารของผู้ตาย ห้ามต่อด้ายเพราะด้ายจะพันแข้งขาของผู้ตาย ห้ามเย็บผ้าเพราะเชื่อว่าผู้ตายจะถูกเข็มแทง ถ้าสาม ีหรือภรรยาตาย ห้ามแต่งงานใหม่ในทันที จนกว่าจะพ้น 13 วันไปแล้ว เพราะจะทำให้ผู้ตายมีความกังวลในสามี หรือภารยาของตน ในปัจจุบันม้งยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมนี้ไว้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะเปลี่ยนก็คือมีการนำศพมาบรรจุไว้ในโลงศพ เพื่อให้แขกที่มาแสดงความเสียใจจะได้มีความรู้สึกที่ดีไปด้วยส่วนในอดีตนั้นไม่มีการนำศพมาใส่โลง และจะนำมาใส่แคร่ไม้แทน