ฐานข้อมูล เรื่อง ผลิตภัณฑ์กล้วยกวน บ้านเกาะน้ำโจน
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
เนื้อหา
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเรียก
กล้วยกวนตองแก้ว
ชื่อเรียกอื่น ๆ
กล้วยกวนบ้านเกาะน้ำโจน, กลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคี
คำอธิบาย
กลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคี จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2543 ซึ่งมีจำนวนสมาชิกเริ่มแรกจำนวน 30 คน การรวมตัวดังกล่าวเกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพที่คล้ายคลึงกันของชาวบ้านในหมู่บ้านอันได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม เมื่อถึงเวลาทำงานทุกครัวเรือนก็จะออกไปทำงานในลักษณะคล้ายๆกัน และเมื่อว่างจากงานทุกบ้านก็จะมีเวลาว่างในช่วงเวลาเดียวกันด้วย ดังนั้นในช่วงที่ว่างเว้นจากการเพาะปลูกชาวบ้านจึงรวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ ภายในหมู่บ้าน นอกจากนั้นแล้วยังร่วมกันทำผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบในหมู่บ้าน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากกล้วยน้ำว้า เนื่องจากกล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่มีลักษณะทนต่อสภาพอากาศ และเป็นพืชที่คนไทยนิยมรับประทาน สามารถนำไปทำเป็นขนมหวานได้หลายชนิด อาทิ กล้วยตาก กล้วยบวชชี ขนมกล้วย ไส้ข้าวต้มมัดเป็นต้น ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมปลูกกล้วยไว้ในพื้นที่บ้านของตนเอง เมื่อถึงเวลากล้วยสุก กล้วยในหมู่บ้านก็จะสุกพร้อมๆกัน ทำให้มีกล้วยมากเกินกว่าความต้องการบริโภคในช่วงเวลาเดียวกัน ประกอบกับความต้องการที่จะเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวในช่วงที่เว้นว่างจากการประกอบอาชีพหลัก ชาวบ้านจึงปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางที่จะเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนของตน ด้วยการนำของนางสาวรุ่งนภา ไหววิจิตร ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคีในปัจจุบันจึงเข้าขอความช่วยเหลือและสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (กล้วยกวน) จากวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะนั้นผลผลิตที่มีอยู่ในชุมชนเป็นจำนวนมากนั้นก็คือ กล้วยและส้มโอ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์แรกที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้านเกาะน้ำโจนสามัคคี ก็คือ กล้วยกวน และส้มโอกวนนั้นเอง จากความทุ่มเท อุตสาหะและความร่วมมือของสมาชิกภายในกลุ่มทำให้ปัจจุบันกลุ่มกล้วยกวนตองแก้วมีผลิตภัณฑ์อื่นๆออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก และมีกิจกรรมการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย อาทิ การออกร้านตามบูธขายสินค้า OTOP การขายในช่องทางออนไลน์ การขายหน้าร้านซึ่งมีทั้งกรณีขายส่งและขายปลีก ทำให้ฐานะทางการเงินของกลุ่มมีความเข็มแข็งสมาชิกภายในกลุ่มสามารถมีรายได้เพื่อไปจุนเจือครอบครัวของตนเองได้ในที่สุด
ภาพที่ 1 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ขงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยกวนตองแก้ว
สถานที่
กลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคีหรือกล้วยกวนตองแก้วดำเนินการผลิตภัณฑ์ ณ หมู่บ้านเกาะน้ำโจน ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62000 วัสดุผลิตภัณฑ์
ประเภทการใช้งาน
ใช้รับประทาน ของฝาก ของที่ระลึก
กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน
วัตถุดิบที่ใช้ 1. กล้วยน้ำว้าสุกงอมจัด
2. น้ำตาลทราย
3. กะทิข้นสด
4. แปะแซ
5. เกลือป่น
6. นมข้นหวาน
ขั้นตอนการผลิต
แผนภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนของการผลิตกล้วยกวนตองแก้ว
จากแผนภาพที่ 1 คือแผนภาพที่แสดงขั้นตอนการผลิตกล้วยกวนของกลุ่มแม่บ้านเกษตร เกาะน้ำโจนสามัคคีหรือกล้วยกวนตองแก้วนั่นเอง กระบวนการขั้นตอนและวิธีการผลิตกล้วยกวนของกลุ่มกล้วยกวนตองแก้วนั้นเป็นกรรมวิธีที่ได้รับการเผยแพร่มาจากสำนักงานเกษตรจังหกวัดกำแพงเพชร ลักษณะของสูตรหรือกระบวนการวิธีในการทำจึงไม่แตกต่างกับกลุ่มอื่นๆมากนัก แต่สิ่งที่ทำให้กลุ่มกล้วยกวนตองแก้วประสบความสำเร็จคือการรักษามาตรฐานผลิตภัณฑ์ ความสะอาด สดใหม่ และใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตจนในปัจจุบันกลุ่มกล้วยกวนตองแก้วได้รับมาตรฐานความปลอดภัยอาหารและยา (อย.) จากการเป็นสถานที่ประกอบอาหารเรียบร้อยแล้ว เคล็ดลับวิธีที่กลุ่มกล้วยกวนตองแก้วเลือกใช้คือการใช้กล้วยน้ำว้าสุกงมจัดๆเท่านั้นที่เป็นวัตถุดิบในการกวน เพื่อให้ได้รสชาติที่หอมและหวานนอกจากนั้นแล้ว ห้ามใช้กล้วยน้ำว้าดง(หรือ กล้วยน้ำว้าเขียว กล้วยน้ำว้าทอง กล้วยน้ำว้าทองลอยมา กล้วยน้ำว้าดง กล้วยน้ำว้าไส้แดง) สามารถใช้ผลแปรรูปหรือรับประทานสดก็ได้ ลำต้นกาบด้านนอกมีสีเขียวอ่อนประดำ ก้านใบเขียวนวล ปลีค่อนข้างใหญ่ เปลือกผลสีเขียวสด กลม มีจุก เมื่อสุกจะมีสีเหลืองปนเขียว ก้านผลยาว แต่ห้ามนำมาใช้เป็นวัตถุในการทำกล้วยกวนเด็ดขาดเนื่องจากกล้วยน้ำว่าดงเมื่อกวนแล้วจะมีรสเปรี้ยวและเมล็ดเยอะ ขั้นตอนและวิธีการผลิตมีดังนี้ 1. บดกล้วยสุกให้ละเอียด ขั้นตอนแรกของการทำกล้วยกวนนั้น นอกจากจะต้องใช้กล้วยที่มีผลสุกงอมอย่างมากแล้ว จะต้องบดกล้วยสุกนั้นให้ละเอียดเพื่อให้สามารถกวนเข้ากับเครื่องปรุงอื่นๆ อาทิ เกลือ น้ำตาลทรายกะทิข้นสด เกลือป่น นมข้นหวานและแปะแซ เนื่องจากหากไม่บดกล้วยให้ละเอียดเสียก่อนนั้นจะไม่สามารถกวนให้เข้ากับเครื่องปรุงอื่นๆได้ เนื่องจากการกวนนั้นจะต้องกวนเป็นเวลานาน เพื่อให้เนื้อกล้วยละเอียด เข้ากับเครื่องปรุงอื่นๆให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมและมีสีสันสวยงามได้ 2. กวนกล้วย
ภาพที่ 2 แสดงการกวนกล้วยพร้อมเครื่องปรุงต่าง ๆ
ขั้นตอนที่ 2 คือการกวนกล้วย เนื่องจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคีเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งทั้งในส่วนของตลาดและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทำให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคีหรือกล้วยกวนตองแก้วมีคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมากไม่สามารถที่จะใช้มือทำเพียงอย่างเดียวได้ จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรในเชิงอุตสาหกรรมขนาดเล็กเข้ามาช่วย 1 ในเครื่องมือที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคีใช้ในการผลิตกล้วยกวนนั้นก็คือ เครื่องกวนกล้วยนั่นเอง เพราะขั้นตอนของการกวนกล้วยนั้นจะต้องใช้เวลานานพร้อมกับปริมาณคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาเป็นจำนวนมากทำให้จะต้องผลิตครั้งละมากๆ จำเป็นจะต้องใช้เครื่องจักเข้ามาช่วยนั้นเอง 3. เทกล้วยที่กวนเรียบร้อยแล้วใส่ถาด เมื่อกลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคีกวนกล้วยให้เข้ากับเครื่องปรุงอื่นๆเรียบร้อยและได้สีสันสวยงามแล้วก็จะเทกล้วยกวนที่สำเร็จลงในถาดเพื่อให้ได้รูปที่สามารถตัดเป็นชิ้นเล็กๆได้อย่างสะดวก และมีขนาดพอเหมาะกับผลิตภัณฑ์กระเช้ากล้วยกวนได้ง่ายนั่นเอง 4. บรรจุสู่บรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนของการบรรจุผลิตภัณฑ์ เป็นขั้นตอนที่ขึ้นอยู่กับจุดหมายปลายทางที่กลุ่มต้องการจะบรรจุเป็นรูปแบบใด ซึ่งรูปแบบที่ตลาดต้องการเป็นอย่างมากคือ รูปแบบของลูกอม หรือท็อปฟี้ นอกจากนั้นแล้วยังมีแบบเป็นกระเช้าซึ่งห่อด้วยใบตองแห้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของกลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคีนี้อีกด้วยดังจะเห็นได้ดังรูปที่ 3 - 5
ภาพที่ 3 แสดงการห่อกล้วยกวนเป็นข้าวต้มมัด
ภาพที่ 4 แสดงขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์กล้วยกวนจากภาพที่ 8
ภาพที่ 5 แสดงผลิตภัณฑ์กล้วยกวนขั้นสำเร็จเป็นกระเช้า
ภาพที่ 6 แสดงผลิตภัณฑ์กล้วยกวนในรูปแบบขายส่ง
ภาพที่ 7 แสดงการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น
ข้อมูลการสำรวจ
วันเดือนปีที่สำรวจ
วันพุธที่ 30 มกราคม 2562 ณ กลุ่มกลุ่มแม่บ้านเกษตรเกาะน้ำโจนสามัคคี (กลุ่มกล้วยกวนตองแก้ว) หมู่บ้านเกาะน้ำโจน ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
วันปรับปรุงข้อมูล
วันพุธที่ 30 มกราคม 2562
ผู้สำรวจข้อมูล
นางสาววีรวรรณ แจ้งโม้ นางสาววาสนา พร้อมตูม นางสาววันวิสา ขำเจริญ นางสาวธนัดดา อินทรรัตน์ นางสาวชลธิชา พุทธศัย นายทิติยพงษ์ จันทะเสน นางสาวรสสุคนธ์ สุวรรณศรี
คำสำคัญ(Tag)
กล้วยกวน, กำแพงเพชร, ของฝาก