เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ

         เรื่องราวการบันทึกเหตุการณ์เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 ซึ่งจังหวัดกำแพงเพชรเป็นหัวเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่งในประเทศไทย สภาพทั่วไปของจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี โดยพระองค์ทรงเสด็จประพาสต้นจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 25-29 สิงหาคม 125 ตรงกับ พ.ศ. 2449 มีกิจกรรมที่พระองค์ทำระหว่างเสด็จประพาสในจังหวัดกำแพงเพชรได้แก่ การตรวจดูการปกครองการรับเสด็จ การถ่ายภาพในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ท่านเสด็จ เที่ยวชมเมืองโบราณ รวมทั้งได้ฟังเรื่องราวตามตำนานของชาวบ้านที่พูดถึงเรื่องของ ฤษี 11 ตน ระหว่างเสด็จประพาสในจังหวัดกำแพงเพชร และมีบุคคลสำคัญที่ติดตามมาด้วยกัน 20 คน เป็นบันทึกเหตุการณ์สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรและประเทศไทย
         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของจังหวัดกำแพงเพชร 2) ความเป็นมาของเหตุการณ์ 3) บันทึกเหตุการณ์การเสด็จประพาสต้น 4) ตำนานที่เกี่ยวข้องกับการเสด็จประพาสต้น 5) การเสด็จประพาสต้นในเมืองกำแพงเพชร และ 6) บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์

คำสำคัญ : เสด็จประพาสต้น, กำแพงเพชร

สภาพทั่วไปของจังหวัดกำแพงเพชร

         สภาพทั่วไปของจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีเมื่อประมาณ 700 ปีมาแล้ว จากการศึกษาหลักศิลาจารึกโดยนักโบราณคดีทำให้ทราบว่าจังหวัดกำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเมืองเช่นเมืองชากังราวเมืองนครชุมเมืองไตรตรึงษ์เมืองเทพนครและเมืองคณฑี ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่ากำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงเดิมว่า “เมืองชากังราว” และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองถ้าท่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอจึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมายเช่นกำแพงเมืองคูเมืองป้อมปราการวัดโบราณมีหลักฐานให้สันนิษฐานว่า เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมืองคือเมืองชากังราวและเมืองนครชุมโดยเมืองชากังราวสร้างขึ้นก่อนตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงพระเจ้าเลอไทกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัยเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ. ศ. 1890 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไทกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปิงคือ “เมืองนครชุม” สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่องกำแพงเมืองไว้ว่า “เป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่มั่นคงยังมีความสมบูรณ์มากและเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย” ปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งมีโบราณสถานเก่าแก่ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ใน “อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร” ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัยเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534 นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดกำแพงเพชรอย่างยิ่ง (พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549)

ความเป็นมาของเหตุการณ์

         เสด็จประพาสต้นนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายไว้เมื่อการพิมพ์ครั้งก่อนมีความว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชอัธยาศัยโปรดในการเสด็จประพาสตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาเสด็จประพาสบ้านเมืองแทบทุกปีเสด็จไปตามหัวเมืองน้อยใหญ่ในพระราชอาณาเขตบ้านเสด็จไปถึงต่างประเทศบ้างได้เคยเสด็จตามพื้นที่หัวเมืองในพระราชอาณาเขตทั่วทุกพื้นที่ เมื่อในรัชกาลที่ 5 ทางคมนาคมถึงพื้นที่เหล่านั้นจะไปมายังกันดารนักเปลืองเวลาและลำบากแก่ผู้อื่นจึงรออยู่มิได้เสด็จจนตลอดรัชกาลในการเสด็จประพาสหัวเมืองใหญ่น้อยในพระราชอาณาเขตนั้นบางคราวก็เสด็จไปเพื่อทรงตรวจจัดการปกครองจัดการรับเสด็จเป็นทางราชการบางคราวก็เสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถไม่โปรดให้จัดการรับเสด็จเป็นทางราชการที่เรียกว่า “เสด็จประพาสต้น” อยู่ในการเสด็จเพื่อสำราญพระราช-อิริยาบถแต่โปรดให้จัดการที่เสด็จไปให้ง่ายยิ่งกว่าเสด็จไปประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใด ๆ สุดแต่พอพระราชหฤทัยที่จะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่นบางทีก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จโดยสารรถไฟไปมิให้ใครรู้จักพระองค์การเสด็จประพาสต้นเริ่มมีครั้งแรกเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 123 (พ. ศ. 2547) รายการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้นายทรงอานุภาพได้เขียนจดหมายเล่าเรื่องประพาสต้นไว้โดยพิสดารดังที่พิมพ์ไว้ในตอนต้นสมุดเล่มนี้เหตุที่จะเรียกว่าประพาสต้นนั้นเกิดแต่เมื่อเสด็จในคราวนี้เวลาจะประพาสมิให้ใครรู้ว่าเสด็จไปทรงเรือมาดเก๋ง 4 แจวลำ 1 เรือนั้นลำเดียวไม่พอบรรทุกเครื่องครัวจึงทรงซื้อเรือมาดประทุน 4 แจวที่แม่น้ำอ้อมแขวงจังหวัดราชบุรีลำ 1 โปรดให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้นเจ้าหมื่นเสมอใจราชชื่ออ้นจึงทรงดำรัสเรียกเรือลำนั้นว่า “เรือตาอ้น” เรียกเร็ว ๆ เสียงเป็น “เรือต้น” เหมือนในบทเห่ซึ่งว่า “พระเสด็จโดยแดนชลทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย” ฟังดูก็เพราะดีแต่เรือมาดประทุนลำนั้นใช้อยู่ได้หน่อยหนึ่งเปลี่ยนเป็นเรือมาดเก๋ง 4 แจวอีกลำ 1 จึงโปรดให้เอาชื่อเรือต้นมาใช้เรียกเรือมาดเก่ง 4 แจวที่ 14 สร้างด้วยสแกนเนอร์สำหรับฉันลำที่เป็นเรือพระที่นั่งทรงอาศัยเหตุนี้ถ้าเสด็จประพาสโดยกระบวนเรือพระที่นั่งมาดเก๋ง 4 แจวโดยพระราชประสงค์จะมิให้ผู้ใดทราบว่าเสด็จไปจึงเรียกการเสด็จประพาสเช่นนี้ว่า “ ประพาสต้น” คำว่า“ ต้น” ยังมีที่ใช้อนุโลมต่อมาจนถึงเครื่องแต่งพระองค์ในเวลาทรงเครื่องอย่างคนสามัญเสด็จไปประพาสมิให้ผู้ใดเห็นแปลกประหลาดผิดกับคนสามัญดำรัสเรียกว่า “ทรงเครื่องต้น” ต่อมาโปรดให้ปลูกเรือนฝากระดานอย่างไทยเช่นพลเรือนอยู่กันเป็นสามัญขึ้นในพระราชวังดุสิตก็พระราชทานนามเรือนนั้นว่า“ เรือนต้น” ดังนี้การเสด็จประพาสต้นเมื่อราว ร.ศ.123 เป็นการสนุกยิ่งกว่าเคยเสด็จไปสำราญพระราชอิริยาบถแต่ก่อนมาที่จริงอาจกล่าวว่าเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมืองได้อีกสถาน 1 เพราะเสด็จเที่ยวประพาสปะปนไปกับหมู่ราษฎรเช่นนั้นได้ทรงทราบคำราษฎรกราบทูลปรารภกิจสุขทุกข์ซึ่งไม่สามารถจะทรงทราบได้โดยทางอื่นก็มากด้วยเหตุทั้งปวงนี้ต่อมาอีก 2 ปีถึง ร.ศ.123 (พ.ศ.2445) จึงเสด็จประพาสต้นอีกคราว 1 เสด็จประพาสต้นคราวนี้หาปรากฏมาแต่ก่อนว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดได้เขียนจดหมายเหตุไว้เหมือนเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งแรกไม่จนถึง พ.ศ.2467 พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎทรงพระปรารภจะใคร่พิมพ์หนังสือประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์ตรัสปรึกษาสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้านิภานภดลกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี-สมเด็จหญิงน้อยพระธิดาทรงค้นหนังสือเก่าซึ่งได้ทรงเก็บรวบรวมไว้พบสำเนาจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์โดยดำรัสให้องค์หญิงน้อยทรงเขียนไว้ในเวลาสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นตำแหน่งราชเลขาธิการฝ่ายในอยู่ในเวลาเมื่อเสด็จประพาสคราวนั้นจึงประทานสำเนามายังหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครและมีรับสั่งมาว่าหนังสือเรื่องสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ถึง 17 ปีแล้วผู้ซึ่งยังไม่ทราบเรื่องเสด็จครั้งนั้นมีมากด้วยกันถ้าแห่งใดควรจะทำคำอธิบายหมายเลขให้เข้าใจความยิ่งขึ้นได้ก็ให้กรรมการช่วยทำคำอธิบายหมายเลขด้วยจึงได้จัดการทำถวายตามพระประสงค์ทุกประการ 
         เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถและรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองการปกครองเศรษฐกิจและสังคม ตลอดรัชสมัยได้ทรงพยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ที่บังเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้ประเทศดำรงความเป็นเอกราชไว้ได้ได้ทรงพยายามพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศอีกทั้งเอาพระราชหฤทัย ใส่ในทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิดประดุจดังบิดาพึงมีต่อบุตรพระราชกรณียกิจและพระราชจริยาวัตรอันงดงามเป็นที่ประทับใจอย่างยิ่งแก่ประชาชนชาวไทยจึงทรงเป็นที่รักและบูชาของชนทุกชั้นและทุกยุคทุกสมัยสมดังพระสมัญญาภิไธยว่า “สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า” มีพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วและหนังสือหลายเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้านต่าง ๆ อย่างเด่นชัดเช่นบทพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสต้น” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อคราวเสด็จประพาสต้นเป็นครั้งที่ 2 ใน ร.ศ.125 (พ.ศ.2554) และครั้งที่ 3 ใน ร.ศ.127 (พ.ศ.2551) และพระนิพนธ์จดหมายเหตุเรื่อง “เสด็จประพาสต้น” ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงนิพนธ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นครั้งแรกใน ร.ศ.123 (พ.ศ.2547)      

บันทึกเหตุการณ์การเสด็จประพาสต้น

         เมืองกำแพงเพชร วันที่ 25 สิงหาคมรัตนโกสินทร์ศก 125 ข้าพระพุทธเจ้านายชัดมหาดเล็กเวรเดชหลานพระยาประธานนคโรทัยจางวางเมืองอุทัยธานีเดิมระบราชการในกระทรวงมหาดไทยเป็นตำแหน่งนายอำเภออยู่มณฑลนครชัยศรีข้าพระพุทธเจ้าป่วยเจ็บจึงกราบถวายบังคมลาออกจากหน้าที่ราชการขึ้นมารักษาตัวอยู่บ้านภรรยาที่เมืองกำแพงเพชร ข้าพระพุทธเจ้าได้สืบเสาะหาพระพิมพ์ของโบราณซึ่งมีผู้ขุดค้นได้ในเมืองกำแพงเพชรนี้ได้ไว้หลายอย่างพร้อมกันพิมพ์แบบทำพระ 9 แบบขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวายงานข้าพระพุทธเจ้าได้สืบถามผู้เฒ่าผู้แก่ถึงตำนานพระพิมพ์เหล่านี้อันเป็นที่เชื่อถือกันในแขวงเมืองกำแพงเพชรสืบมา แต่ก่อนได้ความว่าพระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรนี้มีมหาชนเป็นอันมากนิยมนับถือลือชามาช้านานว่ามีคุณานิสงส์แก่ผู้สักการบูชาในปัจจุบันหรือมีอานุภาพทำให้สำเร็จผลความปรารถนาแห่งผู้สักการบูชาด้วยอเนกประการสัณฐานของพระพุทธรูปพิมพ์นี้ตามที่มีผู้ได้พบเห็นแล้วมี 3 อย่างคือ พระลีลาศ (ที่เรียกว่าพระเดิน) อย่าง 1 พระยืนอย่าง 1 พระนั่งสมาธิอย่าง 1 วัตถุที่ทำเป็นองค์พระต่างกันเป็น 4 อย่างคือดีบุก (หรือตะกั่ว) อย่าง 1 ว่านอย่าง 1 หลวงอย่าง 1 ดินอย่าง 1 พระพิมพ์นี้ครั้งแรกที่มหาชนจะได้พบเห็นนั้นได้ในเจดีย์วัดพระธาตุฝั่งตะวันตกเป็นเดิมและการที่สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นนั้นตามสามัญนิยมว่า ณ กาลครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วมีพระบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระยาศรีธรรมาโศกราชเป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ทรงมหิทธิเดชานุภาพแผ่ไปในทิศานุทิศตลอดจนถึงทวีปลังกาทรงอนุสรคำนึงในการสถาปนูปถัมภพระพุทธศาสนาจึงเสด็จสู่ลังกาทวีปรวบรวมพระบรมธาตุสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านำมาสร้างเจดีย์บรรจุไว้ในคำกล่าวว่าแควน้ำปิงและน้ำยมเป็นต้นเป็นจำนวนพระเจดีย์ 84,000 องค์ครั้งนั้นพระฤษีจึงได้กระทำพิธีสร้างพระพิมพ์เหล่านี้ถวายแก่พระยาศรีธรรมาโศกราชเป็นการอุปการะในพระพุทธศาสนาครั้งแรกที่จะได้พบพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุและพระพิมพ์เหล่านี้เดิม ณ ประกาเอกศกจุลศักราช 1211 (นับโดยลำดับปีมาถึงศกนี้ 58 ปี) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังกรุงเทพฯขึ้นมาเยี่ยมญาติ ณ เมืองกำแพงเพชรนี้ได้อ่านแผ่นศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถวัดเสด็จได้ความว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่น้ำปิงตะวันตกตรงหน้าเมืองเก่าข้าม 3 ขณะนั้นพระยากำแพง (น้อย) ผู้ว่าราชการเมืองได้จัดการค้นคว้าพบวัดและเจดีย์สมตามอักษรในแผ่นศิลาจึงป่าวร้องบอกบุญราษฎรช่วยกันแผ้วถางและปฏิสังขรณ์ขึ้นเจดีย์ที่ค้นพบเดิมมี 3 องค์องค์ใหญ่ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุอยู่กลางชำรุดบ้างทั้ง 3 องค์ภายหลังพระยากำแพง (อ่อง) เป็นผู้ว่าราชการเมืองแซงพอกะเหรี่ยง (ที่ราษฎรเรียกว่าพญาตะก่าได้ขออนุญาตรื้อพระเจดีย์สามองค์นี้ทำใหม่รวมเป็นองค์เดียว 
         ขณะที่เรือพระเจดีย์ 3 องค์นั้นได้พบตรุพระพุทธรูปพิมพ์และลานเงินจารึกอักษรขอมกล่าวตำนานการสร้างพระพิมพ์และลักษณะการสักการบูชาด้วยประการต่าง ๆ พระพิมพ์ชนิดนี้มีผู้ขุดค้นได้มีเมืองสรรคบุรี ครั้งหนึ่งแต่หามีแผ่นลานเงินไม่แผ่นลานเงินตำนานนี้กล่าวว่ามีเฉพาะแต่ในพระเจดีย์วัดพระธาตุฝั่งน้ำปิงตะวันตกแห่งเดียวมีสำเนาที่ผู้อื่นเขียนไว้ดังนี้

ตำนานที่เกี่ยวข้องกับการเสด็จประพาสต้น

         ตำนานเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ายังมีฤษี 11 ตน  ฤษีเป็นใหญ่ 3 ตน ตนหนึ่งฤษีพิลาไลย ตนหนึ่งฤษีตาไฟ ตนหนึ่งฤษีตางัว เป็นประธานแก่ฤษีทั้งหลายจึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งนี้ประธานแก่ฤษีทั้งหลายจึงปรึกษากันว่าเราท่านทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราชฤษีทั้ง 3 จึงว่าแก่ฤษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัดอทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์อายุวัฒนะพระฤษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อยเป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายสมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน 5,000 พรรษาพระฤษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤษีทั้งปวงว่าท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้สัก 1,000 เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ 1,000 ครั้นเสร็จแล้วฤษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวงให้ช่วยกันบดยาทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งทำเป็นเมฆพัดสถานหนึ่งฤษีทั้ง 3 องค์นั้นจึงบังคับฤษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงเป็นก้อนประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวงให้ประสิทธิ์ทุกอันจึงให้ฤษีทั้งนั้นเอาเกสรและว่านมาประสมกันดีเป็นพระให้ประสิทธิ์แล้วด้วยเนาวะหรคุณประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่งถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิดให้ระลึกถึงคุณพระฤษีที่ทำไว้นั้นเถิดฤษีไว้อุปเทศดังนี้ แม้อันตรายสักเท่าใดก็ดีให้นิมนต์พระใส่ศีรษะอันตรายทั้งปวงหายสิ้นแลถ้าจะเข้าการณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอมเข้าด้วยเนาวะหรคุณแล้วเอาใส่ผมศักดิ์สิทธิ์ความปรารถนา ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศัสตราวุธทั้งปวงเอาพระสรงน้ำหอมแล้วเสกด้วยอิติปิโสภกราติเสก 3 ที่ 7 ทีแล้วใส่ขันสัมฤทธิ์พิษฐานตามความปรารถนาเถิดถ้าผู้ใดจะใคร่มาตุคามเอาพระสรงน้ำมันหอมใส่ใบพลูทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายถ้าจะสง่าเจรจาให้คนกลัวเกรงเอาใส่น้ำมันหอมหุงขี้ผึ้งเสกด้วยเนาวะหรคุณ 7 ทีถ้าจะค้าขายก็ดีมีที่ไปทางบกทางเรือก็ดีให้มนัสการด้วยพาหุงแล้วเอาพระสรงน้ำหอมเสกด้วยพระพุทธคุณอิติปิโสภกราติเสก 7 ที่ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแลถ้าจะไม่สวัสดีสถาพรทุกอันให้เอาดอกไม้ดอกบัวบูชาทุกวันจะปรารถนาอันใดก็ได้ทุกประการแลถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดีพระว่านก็ดีพระปรอทก็ดีก็เหมือนกันอย่าได้ประมาทเลยอานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น  ถ้าจะให้ความศูนย์เอาพระสรงน้ำหอมเอาด้าย 11 เส้นชุบน้ำมันหอมและทำไส้เทียนตามถวายพระแล้วพิษฐานตามความปรารถนาเถิดถ้าผู้ใดจะสระหัวให้เขียนยันต์นี้ใส่ไส้เทียนเถิดแล้วว่านโมไปจนจบแล้วว่าพาหุงแล้วว่า อิติปิโสกการมหเชยุย์มงคลแล้วว่าพระเจ้าทั้ง 25 พระองค์เอาทั้งคู่กรมที่กุรุมุทกรมทเกเรเมเทตามแต่เสกเถิด 3 ที่ 7 ที่วิเศษนักถ้าได้รู้พระคาถานี้แล้วอย่ากลัวอันใดเลยท่านตีค่าไว้ควรเมืองจะไปรบศึกก็คุ้มได้สารพัดศัตรูแลข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานคัดต่อมาดังนี้
         ขากลับลงเรือซะล่าล่องไปขึ้นท้ายเมืองใหม่เดินขึ้นมาจนถึงพลับพลาที่เมืองใหม่นี้มีถนน 2 สายยาวขึ้นมาตามลำน้ำเคียงกันขึ้นมาสาย 3 อยู่ริมน้ำสาย 1 อยู่บนดอนแต่ถึงสายริมน้ำหน้าน้ำก็ไม่ท่วมบ้านเรือนก็เป็นอย่างลักษณะถนนบ้านหม้อเมืองเพชรบุรีหรือถนนบางกอกอย่างเก่าไม่ใช่ถนนเสาชิงช้าผู้คนก็แน่นหนาอยู่มาแต่ท้ายเมืองถึงพลับพลาประมาณ 20 เส้นเศษวันนี้ถ่ายรูปได้มากแต่สนุกเพราะได้เปลี่ยนแว่นเปลี่ยนทำนองถ่ายและถ่ายง่ายไม่เหมือนถ่ายในป่า 2 วันมาแล้วซึ่งยังไม่เคยถ่ายเลยล้างรูปไว้แต่กระจกใหญ่จะล้างหมดกลัวแห้งไม่ทันวันนี้ได้ตัดเกษาตามพระเทพาภรณ์ขึ้นมาจากบางกอกโดยทางรถไฟแล้วลงเรือมาแต่นครสวรรค์เพราะหาเวลาตัดผมไม่ได้ (พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 128-130)
ภาพที่ 1 ปากคลองสวนหมากดูทางบ้านผู้ใหญ่วัน.jpg

ภาพที่ 1 ปากคลองสวนหมากดูทางบ้านผู้ใหญ่วัน

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 131

ภาพที่ 2 หน้าบ้านพะโป๊กะเหรี่ยงที่คลองสวนหมาก.jpg

ภาพที่ 2 หน้าบ้านพะโป๊กะเหรี่ยงที่คลองสวนหมาก

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 132

ภาพที่ 3 พระเจดีย์พระยาตะก่าและพะโป๊สร้าง.jpg

ภาพที่ 3 พระเจดีย์พระยาตะก่าและพะโป๊สร้าง

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 133

การเสด็จประพาสต้นในเมืองกำแพงเพชร

         วันที่ 26 หมายจะยังไม่ตื่น แต่ก็มีคนเข้าไปปลุก 2 โมงเศษกินข้าวแล้วออกไปแจกของให้เลี้ยงดูและรับทั้งผู้หญิงผู้ชายหลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย ซึ่งเป็นบุตรของพระยากำแพง (อ้น) ได้นำดาบฝักทองพระพุทธยอดฟ้าพระราชทานพระยากำแพง (นุช) เป็นบำเหน็จมือเมื่อไปทัพแขกแล้วตกมาแก่พระมาก (นาค) ซึ่งเป็นสามีแพงบุตรีพระยากำแพง (นุช) บุตรพระยากำแพง (นุช) และแพงภรรยาได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองกำแพงต่อมา 4 คนคือ พระยากำแพง (บัว) พระยากำแพง (เถอน) พระยากำแพง (น้อย) พระยากำแพง (เกิด) ได้รับดาบเล่มนี้ต่อ ๆ กันมา ครั้นพระยากำแพง (เกิด) ถึงอนิจกรรมผู้อื่นนอกจากตระกูลนี้มาเป็นพระยากำแพงหลายคน ดาบตกอยู่แก่นายอันบุตรพระยากำแพง (เกิด) ซึ่งเป็นบิดาหลวงพิพิธอภัยภายหลังนายอ้นได้เป็นพระยากำแพง ครั้นพระยากำแพง (อ้น) ถึงแก่กรรมดาบจึงตกอยู่กับหลวงพิพิธอภัยบุตรผู้นำมาให้นี้พิเคราะห์ดูก็เห็นจะเป็นดาบพระราชทานจริงเห็นว่าเมืองกำแพงเพชรยังไม่มีพระแสงสำหรับเมืองเช่นแควใหญ่ไม่ได้เตรียมมาจึงได้มอบดาบเล่มนี้ไว้เป็นพระแสงสำหรับเมืองให้ผู้ว่าราชการรักษาไว้สำหรับใช้ในการพระราชพิธีแล้วถ่ายรูปพวกตระกูลเมืองกำแพงที่มาหาตั้งต้นคือท่านผู้หญิงทรัพย์ภรรยาพระยากำแพง (เกิด) อายุ 43 ปีจอเห็นจะเป็นปีจอฉศกจุลศักราช 1176 ยังสบายแจ่มใสพูดจาไม่หลงเดินได้เป็นต้นกับลูกที่มา 2 คนคือชื่อผึ้งภรรยาพระพล (เหลี่ยม) อายุ 73 ปีลูกคนสุดท้องชื่อภู่เคยไปทำราชการในวังครั้งรัชกาลที่ 4 แล้วมาเป็นภรรยาพระยารามรณรงค์ (หรุ่น) อายุ 64 ปีหลานหญิงชื่อหลาบเป็นภรรยาหลวงแพ่งอายุ 64 ปีหลานหญิงชื่อเพื่อนเป็นภรรยาพระพลอายุ 40 ปีหลานหญิงชื่อพันภรรยาหลวงพิพิธอภัยอายุ 84 ปีหลานชายหลวงพิพิธภัยอายุ 84 ปีเหลนที่มา 6 คนคือกระจ่างภรรยานายชิดอายุ 25 ปีเปล่งภรรยานายคลองอายุ 21 นิ้วบุตรีพระพลอายุ 17 ประคองอายุ 17 หวีดอายุ 16 บุตรหลวงพิพิธอภัยละอองบุตรีนายจีนอายุ 12 ปีโหลนได้ตัวมา 2 คนแต่ถ่ายคนเดียวแต่ที่ชื่อละเอียดบตรีโน้มอายุ 13 ปีได้ถ่ายรวมกันเป็น 5 ชั่วคนที่ถ่ายนี้กันออกเสียบ้างด้วยมาไม่ครบหมดด้วยกันลูกหลานเหลนโหลนซึ่งสืบมาแต่ท่านผู้หญิงทรัพย์ซึ่งมีชีวิตอยู่ด้วยกันเดี๋ยวนี้ 111 คนทเมอกำแพงนี้ประหลาดว่าเป็นที่มีไข้เจ็บชุมถึงถามชาวเมืองนั้นเองก็ไม่มีใครปฏิเสธสักคนหนึ่งว่าไข้ไม่ชุมและไม่ร้ายแต่ได้พบคนแก่ทั้งหญิงทั้งชายมากกว่าที่ไหน ๆ หมดกรมการคร่ำ ๆ อายุ 70-40 ก็ไม่หลายคนราษฎรตามแถวตลาดก็มีคนแก่มากถ้าจะหารือพวกกำแพงจริงคงบอกว่าพระพิมพ์ป้องกันด้วยนับถือกันมากพระเล่าให้ฟังว่าเวลาที่ไม่ได้เสด็จมาหากันนักดหายากอย่างยิ่งต่อเมื่อเสด็จมาจึงรู้ว่าพระพิมพ์มีมากถึงเพียงนี้ต่างคนต่างก็เตรียมกันอยากจะถวายก็เป็นความจริงเพราะผู้ที่มาถวายไม่ได้ถือหรือห่อมาตามปกติจัดมาในพานดอกไม้นั่งรายตามริมถนนได้เสมอทุกวันไม่ได้ขาดดูความนับถือกลัวเกรงเจ้านั้นมากอย่างยิ่งเพราะไม่ใคร่ได้เคยเฝ้าแทนแต่กิริยาอาการเรียบร้อยไม่เหมือนตำบลบ้านตามระยะทางซึ่งกล้าไปยืนอยู่คงมีผู้มากราบถึงตีนไม่ได้ขาดถ่ายรูปแล้วเสด็จลงเรือประพาสล่องไปขึ้นท่าหน้าวัดเสด็จเพื่อจะถ่ายรูปวัดเสด็จซึ่งเป็นที่จารึกบอกเรื่องพระพิมพ์แต่คำจารึกนั้นได้นำไปกรุงเทพฯเสียแล้ว) แล้วจึงเดินไปวัดคูยางซึ่งเป็นที่พระครูเจ้าคณะอยู่ผ่านถนนสายในถนนสายนี้งามมากได้ถ่ายรูปไว้และให้ชื่อถนนราชดำเนินวัดคูยางนี้มีลำดูกว้างประมาณ 5 วาหรือ 8 วาน้ำขังหอไตรและกุฏิปลูกอยู่ในน้ำแปลกอยู่ต่อข้ามดูเข้าไปจึงถึงบริเวณพระอุโบสถทางที่เข้าเป็นทิศตะวันตกด้านหลังหันหน้าออกทางทุ่งมีพระอุโบสถย่อมหลังหนึ่งวิหารใหญ่หลังหนึ่งก่อด้วยแลงแต่เสริมอิฐถือปูนหลังคาเห็นจะผิดรูปเตี้ยแบนไปหลังพระวิหารมีฐาน 3 ชั้นอย่างพระเจดีย์เมืองนี้แต่ข้างบนแปลงเป็นพระปรางค์เห็นจะแก้ไขขึ้นใหม่โดยฟังเสียแล้วไม่รู้ว่ารูปเดิมอย่างไรในพระวิหารมีพระพุทธรูปต่าง ๆ อยู่ข้างจะดี ๆ พระครูเลือกไว้ให้เป็นพระลีลาสูงศอกคืบกับอะไรอีกองค์หนึ่งต้นเต็มที่ไม่ชอบจึงได้ขอเลือกเอาเอง 4 องค์เป็นพระยืนกำแพงโบราณแท้ชั้นเขมรองค์ 1 พระนาคปรกขาดฐานเขาหล่อฐานเติมขึ้นไว้องค์ 1 พระกำแพงเก่าอีกองค์ 1 พระชินราชจำลองเหมือนพอใช้อีกองค์ 1 กลับจากวัดหยุดถ่ายรูปบ้างจนเที่ยงจึงได้ลงเรือเหลืองล่องลงมาไม่พบกรมหลวงประจักษ์ตกลงทำกับข้าวกันมาต่อจวนกับข้าวสำเร็จจึงได้พบแวะกินที่พลับพลาปากอ่างล่องเรือลงมาหยุดชั่วแต่พอถ่ายรูปเวลาพบเท่านั้นขาล่องนี้เรือใช้ตีกรรเชียงแต่ก็เป็นอันสักว่าตีเบาเสียกว่ากรรเชียงเรือเล็กๆอยู่ในลอยน้ำลงมาถึงที่พักแรมตำบลวังนางร้างแต่ที่แท้เขาเรียกวังอีร้างเรียกนางร้างถึงตาถือท้ายไม่เข้าใจเวลาทุ่มเศษ
ภาพที่ 4 แผนที่จังหวัดกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 4 แผนที่จังหวัดกำแพงเพชร

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 152

ภาพที่ 5 ลูก หลาน เหลน โหลน ซึ่งมีมาแต่ท่านผู้หญิงทรัพย์.jpg

ภาพที่ 5 ลูก หลาน เหลน โหลน ซึ่งมีมาแต่ท่านผู้หญิงทรัพย์

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 138

ภาพที่ 6 วัดเสด็จอยู่ท้ายตลาด.jpg

ภาพที่ 6 วัดเสด็จอยู่ท้ายตลาด

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 139

ภาพที่ 7 พระวิหารหลวงวัดคูยาง.jpg

ภาพที่ 7 พระวิหารหลวงวัดคูยาง

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 140

ภาพที่ 8 ถนนสายในที่เรียกราชดำเนิน ถ่ายเวลาพลบ.jpg

ภาพที่ 8 ถนนสายในที่เรียกราชดำเนิน ถ่ายเวลาพลบ

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 141

ภาพที่ 9 ถนนเดิมสายนอก ถ่ายเวลาพลบ.jpg

ภาพที่ 9 ถนนเดิมสายนอก ถ่ายเวลาพลบ

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 142

ภาพที่ 10 ลองตีกันเชียงขาล่อง.jpg

ภาพที่ 10 ลองตีกันเชียงขาล่อง

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 153

ภาพที่ 11 ล่องเรือเวลาพลบ.jpg

ภาพที่ 11 ล่องเรือเวลาพลบ

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 144

         วันที่ 27 ออกเรือเช้า 3 โมงจน 5 โมงจึงได้ไปถึงเรือเหลืองหยุดกินข้าวที่ตลิ่งเป็นป่าอีกฝั่งแล้วมาหยุดที่หาดถ่ายรูปเวลาพระอาทิตย์ตกเลยตีกรรเชียงลงมาจนถึงพลับพลาบ้านแดนไม่มีเรื่องอะไรเลยนอกจากอ้ายกรรเชียงที่ง่ายแสนสาหัสขึ้นชื่อว่ากรรเชียงแล้วไม่มีอะไรจะเบาเท่าถ้าขึ้นตีทวนน้ำแล้วเป็นไม่ขึ้นเป็นอันขาด
         วันที่ 28 ออกเรือ 3 โมงเช้าต้องรอรับพวกจีนไทยที่มาหารวมทั้งตาแสนปมที่เห็นพายเรือมาแต่วานนี้ด้วยแวะกินข้าวที่พลับพลาหัวดงซึ่งเขากะให้มาแรมเวลาบ่ายโมง 1 เท่านั้นจึงเปลี่ยนเลื่อนลงมายางเอนหยุดถ่ายรูปเขานอครั้งหนึ่งมาตามทางมีคนรู้จักเรือเหลืองว่าเป็นที่นั่งทั่วทุกแห่งที่ไหนเคยแวะที่นั่นคนยิ่งประชุมมากมีอะไรที่จะที่จะเคาะโห่ร้องได้ก็ตีเคาะโห่ร้องทุกแห่งมีลงเรือพายตามเอาของมาให้ก็มากที่เก้าเลี้ยวประโคมใหญ่เพิ่มเถิดเทิงด้วยผู้หญิงตีเถิดเทิงมาถึงเขาดินได้ยินเสียงมโหรีและพระสวดเห็นเวลายังวันอยู่จึงได้คิดแวะถ่ายรูปแต่ชายหาดน้ำตื้นเรือใหญ่เข้าไปไม่ถึงต้องลงเรือเล็กลำเลียงเข้าไปอีกเดินหาดร้อนเหลือกำลังทั้งเวลาก็บ่าย 4 โมงแล้วไม่ได้ตั้งใจจะขึ้นเขาแต่ครั้นเข้าถ่ายรูปที่เขาแล้วเห็นที่วัดตระเตรียมรับแน่นหนามากจึงเลยไปถ่ายรูปครั้นเข้าไปใกล้ดูคนตะเกียกตะกายกันหนักขึ้นจนต้องยอมขึ้นวัดวัดนี้เรียกชื่อสามัญว่าวัดเขาดินแต่ชื่อตั้งหรูมากจนจำไม่ได้ต้องจดว่า “วัดพระหน่อธรณินทรใกล้วารินคงคาราม” เจ้าอธิการชื่อเฮงรูปพรรณสัณฐานดีกลางคนไม่หนุ่มไม่แก่เป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระที่คนจะนับถือมากพึ่งมาจากวัดมหาโพธิที่ตรงกันข้ามได้ 2 ปีมีแต่คนแก่สัปปุรุษและชาวบ้านหลายคนมาคอยอธิบายชี้แจงโน่นนี่เจ้าอธิการว่าได้สร้างศาลาขึ้นไว้หลังหนึ่ง ขัดเครื่องมุงจึงให้เงิน 100 บาทช่วยศาลานั้นแล้วสัปปรุษทายกชักชวนให้เข้าไปดูในวัดซึ่งเชื่อเสียแล้วว่าจะไม่มีอะไรแต่เสียอ้อนวอนไม่ได้ครั้นเข้าไปถึงในลานวัดเห็นใหญ่โตมากเป็นที่เรียนราบใต้ร่มไม้ใหญ่กว้างเห็นจะเกือบ 3 เส้นยาวสัก 4 เส้นเป็นที่รักษาสะอาดหมดจดอย่างยิ่งรู้สึกสบายถ่ายรูปแล้วพวกสัปปุรุษชวนให้ไปดูพระอุโบสถซึ่งอยู่บนเขาจึงได้รู้ว่ามีทางอีกทางหนึ่งสำหรับขึ้นเขามีบันไดอิฐขึ้นตลอดจะต่ำกว่าเขาบวชนาคสักหน่อยแต่ทางขึ้นง่ายไม่ใช่เขาดินเป็นเขาศิลามีดินหุ้มแต่ตอนล่าง ๆ พวกสัปปุรุษพากันตักน้ำขึ้นไปไว้สำหรับจะให้กินจะให้อานโบสถ์นั้นรูปร่างเป็นศาลาไม่มีฝาหลังใหญ่มีพระเจดีย์องค์ 1 แต่ข้างหลังโบสถ์แลดูภูมิที่งดงามดีคือ มีบึงใหญ่เห็นจะเป็นลำเดียวกันกับบึงบ้านหูกวางแลเห็นเขาหลวงเมืองนครสวรรค์สกัดอยู่ในที่สุดถ่ายรูปแล้ว ไล่เลียงเรื่องวัดนี้ได้ความว่าพระครูหวานอยู่วัดมหาโพธิมาเริ่มสร้างได้ 70 ปีมาแล้วปฏิสังขรณ์ต่อ ๆ กันมาตามที่เล่านั้นว่าเป็นที่สิงสู่ของพวกชาวลับแลพึ่งจะย้ายขึ้นไปอยู่เขาหลวงเมือเสียเมื่อเร็ว ๆ นี้มีตาแก่คนหนึ่งอายุ 80 เศษเป็นผู้รู้เรื่องชาวลับแลมากตั้งแต่ชั้นต้นมามีตาเจ๊กคำคนหนึ่งอายุ 60 เศษเป็นพยานยืนยันชั้นเก่า ๆ ยังพวกหนุ่ม ๆ อีกเป็นกองเป็นพยานยืนยันชั้นหลังได้ยินเสียงพิณพาทย์และเสียงพ้องเสียงโห่ร้องเพราะผิดกับสามัญเป็นอันมากครั้นขึ้นไปดูก็ไม่เห็นอะไรในบึงหลังเขาแต่เดิมไม่มีกระบิรกเช่นนี้เพราะเป็นที่เขาเล่นแข่งเรือกันได้ยินเสียงเกรียวกราวไปดูก็ไม่เห็นอะไรทั้งการที่ได้ยินเกรียวกราวนั้นไม่ใช่เวลากลางคืนเป็นเวลากลางวันด้วยต่อแล้ว ๆ จึงได้เห็นกระทงที่ใส่ของมากินนั้นทิ้งเกลื่อนกลาดอยู่ในบึงจนเมื่อเวลาเสด็จขึ้นไปเหนือทางแควใหญ่เร็วๆนี้เองก็ยังได้ยินเสียงอยู่แต่ก่อนที่เขานี้มีถ้ำหลายแห่งพวกลับแลเขาไปเขาปิดถ้ำเสียด้วยได้ถามล่อจะให้เห็นคนรู้ไม่ยอมรับเห็นเล่าแต่เรื่องคนลับแลอย่างเดียวเป็นจริงเป็นจังไปคนเชื่อลับแลเช่นนี้ยังมีมากแล้วเขาพาเดินไปตามสันเขาออกไปลูกนอกซึ่งแลเห็นจากแม่น้ำมีวิหารเล็กและทับที่คนอาศัยรักษาสะอาดหมดจดดีเหมือนกันเอาอ่างมาตั้งเป็นกระถางต้นไม้เล่นเข้าดีพอใช้กลับลงทางด้านข้างริมน้ำซึ่งมีบันไดปูนเหมือนกันเจ้าอธิการถามหาทูลกระหม่อมมีติดขึ้นมาบ้างหรือไม่ครั้นได้ความว่ามีมาจึงเอาแหวนถักพิรอดมาแจกแหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัวม่วงวัดประดู่แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรักนี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดีกลับลงมาโดยสะพานเขาทำยื่นลงมาจนพ้นหาดในยาวอยู่พวกราษฎรทั้งชายหญิงและเด็กลงมาช่วยกันเป็นเรือโดยความเบิกบานเหมือนอย่างแห่พระเด็ก ๆ จนจมถึงคอยังไม่วางต้องไล่ล่องลงมาถึงพลับพลายางเอนเวลาพลบวันนี้ยุงชมกว่าทุกวันถึงเมื่อขามามีที่นครสวรรค์ตอนบนมีบ้างก็เป็นยุงนอนหัวค่ำไม่มีไปเท่าไรแต่อย่างไร ๆ ก็คงน้อยกว่าบางกอก
ภาพที่ 12 เมืองกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 12 เมืองกำแพงเพชร

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 148

ภาพที่ 13 ล่องจากกำแพงเพชรเหนือยางเอนเวลาพลบ.jpg

ภาพที่ 13 ล่องจากกำแพงเพชรเหนือยางเอนเวลาพลบ

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 147

         วันที่ 29 เช้าพวกชาวบ้านมาหาแต่ล้วนพวกที่ยังไม่รู้จักต้องการจะมาดูในหมู่นั้นมียายอิมบ้านพังม่วงซึ่งได้ไปขึ้นกินข้าววันแรกมาด้วยกับลูกสาวคนหนึ่งหลานคนหนึ่งครั้นเวลาออกไปก็ไม่รู้จักอยู่นั่นเองได้ถามว่าพระยาโบราณไปที่บ้านหรือตอบว่าท่านว่าท่านเป็นพระยาโบราณแต่อย่างไรก็ไม่ทราบถามว่าท่านนัดให้ลงไปหาจะพาเฝ้าไม่ใช่หรือก็รับว่าท่านว่าเช่นนั้นแหละแต่จะอย่างไรก็ไม่ทราบถามว่าทำไมแกไม่เชื่อท่านหรือบอกว่าก็เชื่อแต่อย่างไรก็ไม่ทราบถามว่าทำไมจึงว่าอย่างไรก็ไม่ทราบบอกว่าชาวบ้านเขาว่าอย่างหนึ่งถามว่าเขาว่ากระไร  อิดเอื้อนไม่ใคร่จะบอกต้องซักแล้วกระซิบกระซาบว่าเขาว่าไม่ใช่พระยาโบราณพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเอง พอรู้เช่นนี้เข้าขนลุกซ่าทั้งตัวได้นึกสงสัยอยู่แล้วเลยนอนไม่หลับกระสับกระส่ายไปถามว่าแกเท็จทูลอะไรหรือจึงได้ไม่สบายก็ว่าได้พูดมากอยู่มีเรื่องขึ้นค่านาเป็นต้นถามว่าพระรูปพระโฉมท่านเป็นอย่างไรกระซิบบอกว่าสูง ๆ ผอม ๆ ผิวอยู่ข้างจะคล้ำจึงถามว่าวันนั้นไปด้วยกับเจ้าคุณโบราณแกจำได้หรือไม่ว่าไม่ทันสังเกตมัวรับรองอยู่แล้วหันไปถามลูกสาวว่าท่านไปด้วยหรือไม่นางลูกสาวหัวร่อบอกว่าท่านไปด้วยจำได้ถามว่าถ้าข้าจะบอกแกว่าเป็นพระเจ้าอยู่หัวเองแกจะว่าอย่างไรออกจะเหลือกลานและจ้องอยู่สักครู่หนึ่งลุกขึ้นนั่งยอง ๆ ปูผ้า ชวนลูกสาวแน่แล้วให้มากราบท่านเสียลูกสาวก็หยุดหัวร่อทันทีสองคนปูผ้าลงกราบ 3 หนอย่างไหว้พระ พระได้ให้แหวนเครื่องประดับเพชรพลอยซื้อจากกรุงเก่าทำขวัญคนละวงหลานเผอิญเสมาหมดเป็นของแกต้องการมากต้องทำให้กำไลเงินขอผีแทนคู่หนึ่งแล้วได้ลงเรือเวลา 3 โมงเช้ามาจนเลี้ยวขึ้นแควใหญ่จึงได้เอาเรือไฟลากขึ้นมาจอดที่แพใต้สะเตชั่นรถไฟพบพระยาสุขุมและจิระซึ่งได้พยายามทำเป็นคนตามเสด็จลงเรือแม่ปะถ่อขึ้นไปแม่น้ำน้อยบ้างเรือแม่ปะมาถึงแควใหญ่เข้าดูงุ่มง่ามเต็มที่ตานายท้ายบ่นว่าไม่ถึงถ่อมันเป็นเรือสำหรับแควน้อยอย่างเดียวแท้ ๆ แต่ถ้าผู้ซึ่งไปเรือแม่ปะชั่วแต่ขาล่องไม่ได้ถ่อขึ้นแล้วนับว่าเป็นผู้ไม่เคยลงเรือแม่ปะได้เพราะเวลาล่องมันเซ่อพ้นประมาณทำกับข้าวเลี้ยงกันที่แพแล้วสั่งคำพิพากษาประหารชีวิตอ้ายวิมทหารราบที่ 10 โทษฆ่านายสิบนายหมู่ตัวตายความเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 นายร้อยเอกขุนพิทยุทธคุมทหารเมืองนครสวรรค์ตามขึ้นไปจนถึงกำแพงเพชรจอดเรืออยู่ฝั่งตะวันตกห่างเรือที่นั่งจอดประมาณ 20 เส้นวันนั้นอ้ายวิมอยู่ยามในเรือมอซึ่งเป็นเรือทหารอยู่พวกทหารทั้งปวงข้ามมารับเสด็จเวลาเช้า 2 โมงเศษอ้ายวิมบ่นว่าหิวข้าวขอนายสิบเรียกทหารมาเปลี่ยนนายสิบบอกว่ายังไม่มีคนให้อยู่ ไปอีกหน่อยหนึ่งแล้วลุกขึ้นโผล่ออกมาจากขยาบอ้ายวิมยืนยามอยู่ที่กระดานเลียบเอาดาบปลายปืนแทงนายสิบที่รักแร้ลึกถึงราวนมพลัดตกน้ำลงไปแต่น้ำตื้นไม่ได้จมและไม่มีหลักตออันใดนายสิบร้องขึ้นคนที่อยู่ในเรือไปช่วยพยุงขึ้นมาก็ขาดใจตายได้มีโทรเลขส่งไปถึงจิระเห็นว่าเป็นการสำคัญอยู่ควรจะต้องลงโทษโดยทันทีความเช่นนี้เป็นหน้าที่ศาลทหารให้จัดการตั้งศาลทหารที่เมืองนครสวรรค์พิจารณาให้เสร็จทันวันกลับลงมาถึงคำให้การอ้ายวิมรับแก้ว่าเผลอสติหมายจะสะกิดพยานเบิกว่าไม่มีสาเหตุวิวาทอันไดกันหมอตรวจว่าอ้ายวิมไม่ได้เป็นคนเสียจริตนายทหารประจำหมวดเบิกความว่าอ้ายวิมเป็นคนเรียบร้อยไม่เคยต้องรับโทษเลยพึ่งเข้ามาเป็นทหารเมื่อเดือนเมษายนศาลปรึกษาว่าอ้ายวิมทำผิดพระราชกำหนดกฎหมายและข้อบังคับทหารทั้งเป็นเวลารักษาราชการเสด็จพระราชดำเนินให้ลงโทษประหารชีวิตได้สั่งให้ประหารชีวิตตามคำปรึกษาเพราะเห็นว่าทหารพึ่งตั้งขึ้นใหม่ ๆ ในหัวเมืองถ้าหย่อนโทษจะเป็นเยี่ยงอย่างให้มีความกำเริบกำหนดจะได้นำไปยิงเสียในเวลาพรุ่งนี้เวลาบ่ายลงเรือไปเที่ยวหมายจะถ่ายรูปขึ้นไปพอพ้นจากคลองบอระเพ็ดหน่อยหนึ่งพอเห็นฝนตั้งจึงให้ปล่อยเรือไฟล่องมาถ่ายรูปได้ 2-3 แผ่นพอมีพายุจัดฝนตกต้องกลับลงมาทั้งฝนเวลาค่ำมีคนขายของแต่ไต่ถามได้ความว่าเขาเกณฑ์ให้มาขายเป็นการกรุด” ในแม่น้ำจุดไฟตามเรือแพสว่างและมีพิณพาทย์ครึกครื้นไม่มียุงเหมือนคืนนี้ด้วย
ภาพที่ 14 ป้อมหน้าเมืองกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 14 ป้อมหน้าเมืองกำแพงเพชร

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549, หน้า 96

ภาพที่ 15 ป่าเมืองกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 15 ป่าเมืองกำแพงเพชร

ที่มา : พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ, 2549

บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์

สำหรับเพื่อนเที่ยวในการเสด็จประพาสต้น มีชื่อปรากฏในแต่ละครั้ง รวมได้ดังนี้
         1. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์
         2. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ
         3. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยันต์มงคล)
         4. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์
         5. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ
         6. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
         7. สมเด็จพระปิตุจฉา สุขุมาลมารศรี พระอัครเทวี
         8. สมเด็จพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ
         9. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร
         10. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
         11. พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
         12. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร
         13. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
         14. พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์
         15. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
         16. พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ
         17. พระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)
         18. พระยาโบราณราชธานินทร์
         19. หมื่นเสมอใจราช (อ้น นรพัลลภ)
         ส่วนชาวบ้านที่รู้จักพระองค์และมีความสนิทสนมจากการเสด็จประพาส ทรงเรียกว่า “เพื่อนต้น”

บทสรุป

         จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยซึ่งมีเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดกำแพงเพชร การเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น เป็นการเสด็จไม่ให้ใครรู้ เสด็จไปกับเรือมาดเก๋ง พระองค์เสด็จเมื่อวันที่ 25-29 สิงหาคม ร.ศ.125 ตรงกับ พ.ศ.2449 ซึ่งการเสด็จประพาสครั้งนี้พระองค์ทรงลงพื้นที่และได้ทำกิจกรรมระหว่างกานเสด็จประพาส เช่น ตรวจสอบการปกครองการรอรับเสด็จ การได้ฟังตำนานของชาวบ้าน เที่ยวชมเมืองเก่าเมืองโบราณ ถ่ายภาพเมืองโบราณ ชาวบ้าน หรือตอนพระอาทิตย์ตกดิน มีบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้ด้วยกัน 20 ท่าน นับว่าการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยและเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดกำพงเพชร

บรรณานุกรม

พระเทพปริยัติ, พระราชสารโมลี และคณะ. (2549). ครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์สุรวัฒน์.