กำลังแก้ไข กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

คำเตือน: คุณมิได้ล็อกอิน สาธารณะจะเห็นเลขที่อยู่ไอพีของคุณหากคุณแก้ไข หากคุณล็อกอินหรือสร้างบัญชี การแก้ไขของคุณจะถือว่าเป็นของชื่อผู้ใช้ของคุณ ร่วมกับประโยชน์อื่น

สามารถย้อนการแก้ไขนี้กลับได้ กรุณาตรวจสอบข้อแตกต่างด้านล่างเพื่อทวนสอบว่านี่เป็นสิ่งที่คุณต้องการทำ แล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงด้านล่างเพื่อเสร็จสิ้นการย้อนการแก้ไขกลับ
รุ่นแก้ไขปัจจุบัน ข้อความของคุณ
แถว 32: แถว 32:
 
=='''กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน'''==
 
=='''กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน'''==
 
           1. นำเปลือกมะพร้าวมาตากให้แห้ง ใช้มีดฝานให้เป็นแผ่นบาง ๆ สำหรับเป็นฐานกระทง แล้วแต่ว่าเปลือกมะพร้าวที่ฝานออกมาแล้วจะได้ออกมาในลักษณะไหน ถ้าได้มาแบบยาวก็สามารถนำมาทำฐานที่เป็นรูปเรือได้ ถ้าได้สั้นก็สามารถทำเป็นรูปวงกลม และรูปหัวใจ ดังภาพที่ 3
 
           1. นำเปลือกมะพร้าวมาตากให้แห้ง ใช้มีดฝานให้เป็นแผ่นบาง ๆ สำหรับเป็นฐานกระทง แล้วแต่ว่าเปลือกมะพร้าวที่ฝานออกมาแล้วจะได้ออกมาในลักษณะไหน ถ้าได้มาแบบยาวก็สามารถนำมาทำฐานที่เป็นรูปเรือได้ ถ้าได้สั้นก็สามารถทำเป็นรูปวงกลม และรูปหัวใจ ดังภาพที่ 3
[[ไฟล์:ภาพที่ 3 เปลือกมะพร้าว.jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3 เปลือกมะพร้าวที่ทำให้เป็นรูปทรงที่เราต้องการนำมาเป็นฐานกระทง''' </p>
 
          2. การเลือกพันธุ์ข้าวโพดที่ดีจะสามารถทำให้กลีบกระทงนั้นออกมาสวยงามและสะดวกต่อคนทำ เช่น ข้าวโพดพันธุ์ 984 จะเป็นพันธุ์ข้าวโพดที่ดีที่สุด เพราะเปลือกบาง เนียน ไม่มีรอยที่เปลือก และไม่คันจึงทำให้ทำง่าย จากนั้นนำฝักข้าวโพดมาปลอกเปลือกซักสองถึงสามใบเอามีดมาควั่นตรงคั่วฝักนิดหน่อยควั่นให้รอบ  ดึงตรงจุกออกก็จะได้เปลือกข้าวโพด
 
          3. นำเปลือกข้าวโพดไปตากแดดสักสองวันหรือจนแห้งแล้วนำมาย้อมสีโดยสีที่ใช้นั้นจะเป็นสีย้อมกก ตราช้าง การย้อมต้องตั้งน้ำให้เดือดแล้วใส่สีลงไปคนให้ละลายเข้ากับน้ำ จากนั้นนำเปลือกข้าวโพดที่ตากไว้ ลงไปจุ่มประมาณสองถึงสามครั้งหรือจนกว่าจะได้สีที่พอใจ แล้วนำมาตากให้สีแห้ง การเก็บรักษาเปลือกข้าวโพดหลังจากย้อมสีแล้วนั้นจะไม่นำไปตากแดดหรือโดนแดดเลยจะตากภายในบ้านหรือที่ร่มปล่อยให้แห้งไปตามลมไม่อย่างนั้นสีจะซีดและไม่สวย จากนั้นนำกลับมาเพื่อทำการฉีก ก่อนฉีกเอากรรไกรมาตัดตรงปลายฝักและแกะออกทีละเปลือกแล้วจึงทำการฉีกเปลือกละสองใบ นำมาพรมน้ำนิดหน่อยเพื่อให้เปลือกนิ่มจะได้พับสะดวกขึ้น ตัดเปลือกข้าวโพดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการพับเป็นตัว (กลีบกระทง) เตรียมไว้ จำนวนตามที่ต้องการ ดังภาพที่ 4
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 4 เปลือกข้าวโพดที่ย้อมสีแล้วนำมาทำกลีบ.jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4 เปลือกข้าวโพดที่ย้อมสีแล้วนำมาทำกลีบ''' </p>
 
          4. นำดอกหญ้ามาย้อมสีต่าง ๆ ก่อนนำมาย้อมดอกหญ้าต้องแห้งสนิทตากด้วยแดดจัด ๆ เท่านั้นไม่อย่างนั้นดอกหญ้าจะมีเชื้อรา โดยดอกหญ้าเอามาทำนั้นทำมาจากดอกกก ที่ตัวต้นกกสามารถนำไปทำเสื่อ ส่วนดอกที่คนส่วนใหญ่นำไปทิ้งก็เก็บมาตากและนำมาให้ตกแต่งกระทงให้สวยงาม
 
          5. นำกระดาษย่นมาทา ชุบด้วยเทียนไข เย็บกลีบกระทง เป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่ต้องการ เช่น วงกลมวงรี รูปหัวใจ เป็นไปตามรูปที่เราต้องการหรือตามที่เราได้ตัดไว้แล้ว
 
          6. นำมาติดฐาน ก็คือเปลือกมะพร้าวนั่นเอง พอติดฐานเสร็จรอจนแห้งดี นำมาตกแต่งด้วยดอกกกที่เราย้อมสีและใส่ดอกไม้ที่ทำมาจากเปลือกข้าวโพด ตกแต่งให้สวยงาม
 
          7. กระทงที่ได้ทำเสร็จแล้วคัดคุณภาพ และขนาดก่อนส่งจำหน่ายเปลือกข้าวโพดเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะทำ จากวัสดุ จากธรรมชาติลดมลพิษ และมีความสวยงามแปลกตา (รุ่งทิพย์ ทรัพย์เอี่ยม, การสัมภาษณ์, 16 สิงหาคม 2563)
 
          แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการทำกระทงเปลือกข้าวโพดมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกนำเปลือกมะพร้าวมาตากให้แห้ง ใช้มีดฝานให้เป็นแผ่นบาง เพื่อเป็นฐานกระทง ขั้นตอนที่สองคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพด เพื่อนำมาทำกลีบ ขั้นตอนที่สามนำเปลือกข้าวโพดไปตากให้แห้งแล้วนำมาย้อมสี ขั้นตอนที่สี่นำดอกหญ้ามาตากแห้งแล้วย้อมสีเพื่อตกแต่งกระทง ขั้นตอนที่ห้านำกระดาษย่นมาทาชุบด้วยเทียนไข เย็บกลีบกระทงให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ ขั้นตอนที่หกนำทั้งหมดที่ทำไว้มาประกอบฐานและตกแต่งด้วยดอกหญ้า ขั้นตอนสุดท้ายคัดเลือกคุณภาพและขนาดก่อนส่งจำหน่าย ดังภาพที่ 5
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 5 กระทงที่สมบูรณ์แล้วพร้อมจำหน่าย.jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 5 กระทงที่สมบูรณ์แล้วพร้อมจำหน่าย (ไทยโพสต์, 2562)''' </p>
 
=='''ประเภทการใช้งาน'''==
 
          ใช้ในพิธีการลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณโดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น ลอยเคราะห์บูชาพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงคุณแม่พระคงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ โดยประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ.1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง พระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำ จนกระทั่งตอนนี้ (โรงเรียนธารทองพิทยาคม, 2563)
 
          ผู้เขียนสรุปได้ว่า กระทงใช้ประกอบในพิธีลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า และระลึกถึงคุณพระแม่คงคาที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์โดยประเพณีลอยกระทงนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
 
=='''ช่องทางการจัดจำหน่าย'''==
 
          จำหน่ายผ่านเพจเฟสบุ๊คและการมารับเองจากบ้านที่ทำ ขั้นต่ำที่ขายได้ในแต่ละปี 5,000 - 10,000 ใบต่อปี โดยมีขนาดหลัก ๆ สองขนาดคือ 10 นิ้ว และ 7 นิ้ว โดยขนาด 10 นิ้วราคาอยู่ที่ 30 บาท ขนาด 7 นิ้วราคา 25 บาท เป็นราคาขายของทรงกลม รูปหัวใจ และเรือ แต่ถ้าเป็นรูปนก ขนาด 10 นิ้ว อยู่ที่ราคา 60 บาท ขนาด 7 นิ้ว ราคา 40 บาทตามความยากง่ายของทรง (รุ่งทิพย์ ทรัพย์เอี่ยม, การสัมภาษณ์, 16 สิงหาคม 2563) แสดงให้เห็นว่า ชาวบ้านได้ใช้สื่อโซเชียลเข้ามาเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนจำหน่ายผ่านเพจเฟสบุ๊ค โดยราคาของกระทงเปลือกข้าวโพดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและความยากง่ายของรูปแบบกระทง
 
=='''บทสรุป'''==
 
          ความเป็นมาของกระทงเปลือกข้าวโพด พบว่า กระทงเปลือกข้าวโพดเกิดขึ้นได้จากความต้องการของชาวบ้านที่ต้องการทำกระทงขายเพื่อนำเงินไปถวายวัด และได้เล็งเห็นถึงวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนอย่างเช่นกระทงเปลือกข้าวโพด กาบมะพร้าว และดอกหญ้า จึงพากันนำวัสดุเหล่านี้มาทดลองทำเป็นกระทง แต่พอลองทำดูแล้วมีผลตอบรับออกมาในทางที่ดีคือทำออกมาได้สวยงาม เป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว จึงเกิดการเรียนรู้การถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่มาของการสร้างรายได้จากกระทงเปลือกข้าวโพด ความสำคัญของกระทงเปลือกข้าวโพด พบว่า ทำจากวัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายได้ สามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เน่าเสียง่าย และที่สำคัญน้ำหนักเบา แต่ถ้าเป็นกระทงใบตอง ขนมปัง หรือวัสดุอื่นจะเก็บได้ไม่นาน โดยบ้านอมฤตเป็นที่แรกในจังหวัดกำแพงเพชร ที่เริ่มทำกระทงจากเปลือกข้าวโพด วัสดุผลิตภัณฑ์เพื่อทำกระทงเปลือกข้าวโพด พบว่า วัสดุในการทำกระทงเปลือกข้าวโพดเป็นวัสดุที่หาได้ทั่วไปตามชุมน กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งานกระทงเปลือกข้าวโพดพบว่า ขั้นตอนการทำกระทงเปลือกข้าวโพดมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกนำเปลือกมะพร้าวมาตากให้แห้ง ใช้มีดฝานให้เป็นแผ่นบาง เพื่อเป็นฐานกระทง ขั้นตอนที่สองขัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดเพื่อนำมาทำกลีบ ขั้นตอนที่สามนำเปลือกข้าวโพดไปตากให้แห้งแล้วนำมาย้อมสี ขั้นตอนที่สี่นำดอกหญ้ามาตากแห้งแล้วย้อมสีเพื่อตกแต่งกระทง ขั้นตอนที่ห้านำกระดาษย่นมาทาชุบด้วยเทียนไข เย็บกลีบกระทงให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ ขั้นตอนที่หกนำทั้งหมดที่ทำไว้มาประกอบฐานและตกแต่งด้วยดอกหญ้า ขั้นตอนสุดท้ายคัดเลือกคุณภาพและขนาดก่อนส่งจำหน่ายประเภทการใช้งานกระทง พบว่า นำมาใช้ประกอบในพิธีลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าและ ระลึกถึงคุณพระแม่คงคาที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์โดยประเพณีลอยกระทงนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ช่องทางการจำหน่าย พบว่า ชาวบ้านได้ใช้สื่อโซเชียลเข้ามาเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน
 
=='''บรรณานุกรม'''==
 
    แนวหน้า. (2563). ครีเอทกระทงเปลือกข้าวโพด-กะลา-หญ้ากกสวยงามเป็นมิตรต่อธรรมชาติ. เข้าถึงได้จากhttps://www.naewna.com/likesara/376580
 
    ผู้จัดการออนไลน์. (2556). กระทงเปลือกข้าวโพดโกสัมพีนครยอดขายพุ่ง ออเดอร์ทะลัก. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/local/detail/9560000135759
 
    ---------. (2563). กระทงเปลือกข้าวโพด วัสดุธรรมชาติทางเลือกพ่อค้าไม่ต้องกลัวของเสีย. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/smes/detail/9550000143141
 
    ไทยโพสต์. (2562). ชาวนารวมตัวเร่งประดิษฐ์กระทงเปลือกข้าวโพด ยอดขายล้นรับประเพณีไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/49117
 
    โรงเรียนธารทองพิทยาคม. (2563). ประเพณีวันลอยกระทง. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/a/thantong.ac.th/lloykratong-festival/prawati-wanlxy-krathng
 

โปรดระลึกว่างานเขียนทั้งหมดใน KPPStudies อาจถูกผู้เขียนอื่นแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือนำออก หากคุณไม่ต้องการให้งานของคุณถูกแก้ไข ก็อย่าส่งเข้ามา
นอกจากนี้ คุณยังสัญญาเราว่าคุณเขียนงานด้วยตนเอง หรือคัดลอกจากสาธารณสมบัติหรือทรัพยากรเสรีที่คล้ายกัน (ดูรายละเอียดที่ KPPStudies:ลิขสิทธิ์) อย่าส่งงานมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต!

ยกเลิก คำอธิบายการแก้ไข (เปิดหน้าต่างใหม่)