ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง พิพิธภัณฑ์เรือนไทยกำเเพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(ประวัติความเป็นมา)
(ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง)
แถว 42: แถว 42:
 
==='''ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง'''===
 
==='''ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง'''===
 
           อาคารพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นลักษณะของเรือนไทยหมู่ภาคกลางปรับประยุกต์บันไดหน้าเป็นภาคเหนือและบันไดข้างเป็นภาคกลางเพราะเนื่องจากกำแพงเพชรนั้นอยู่เหนือสุดของภาคกลางและใต้สุดของภาคเหนือกำแพงเพชรเป็นเมืองที่ต้องรับวัฒนธรรมอริยธรรม (ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์, การสัมภาษณ์, 23 กุมภาพันธ์ 2567)
 
           อาคารพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นลักษณะของเรือนไทยหมู่ภาคกลางปรับประยุกต์บันไดหน้าเป็นภาคเหนือและบันไดข้างเป็นภาคกลางเพราะเนื่องจากกำแพงเพชรนั้นอยู่เหนือสุดของภาคกลางและใต้สุดของภาคเหนือกำแพงเพชรเป็นเมืองที่ต้องรับวัฒนธรรมอริยธรรม (ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์, การสัมภาษณ์, 23 กุมภาพันธ์ 2567)
[[ไฟล์:ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างอาคาร.jpg|400px|thumb|center]]
+
[[ไฟล์:ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างอาคาร.jpg|600px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 7''' ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ<br> (ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)</p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 7''' ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ<br> (ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)</p>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:12, 4 เมษายน 2567

ข้อมูลทั่วไป

         จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ดังหลักฐานที่ปรากฏในสมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือในยุคหินใหม่ซึ่งมีอายุกว่า 2,000 ปี และมีพัฒนาการต่อมาในสมัยทวาราวดี สมัยสุโขทัย จนถึงสมัยอยุธยา จึงทำให้จังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติความเป็นมา อันยาวนานและอุดมไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้ง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ตลอดจนประวัติศาสตร์ภูมิหลังของบ้านเมือง สังคม จารีตประเพณีของผู้คน และเรื่องราวหลักฐานทางศิลปะ โบราณคดี อันเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น เมื่อเวลาและสถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป โบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมถึงจารีตขนบธรรมเนียมประเพณี อันเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมที่ถ่ายทอดกันมาส่วนหนึ่งได้ถูกทำลายลง หรือถูกแทรกแซงด้วยกระแสวัฒนธรรมส่วนกลาง และวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาพร้อมกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี ซึ่งหากไม่ช่วยอนุรักษ์สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้แล้ว มรดกทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่นอาจจะสูญสินไป ด้วยเหตุผลดังกล่าว มูลนิธิปริยัติศึกษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยพระโสภณคณาภรณ์ (สมจิตต์ อภิจิตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งยังเป็นพระเปรียญ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และจังหวัดกำแพงเพชร โดยนายศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้มีมติร่วมกันจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยเลือกทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างอาคาร พิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า “พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ” (พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ, 2562)
         โดยในที่ประเทศไทย 70 กว่าจังหวัด แต่ละจังหวังก็จะหาเฉลิมฉลอง สร้างขึ้นเพื่อในวโรกาศมหามงคลนี้จังหวัดกำแพงเพชรเลยเลือกที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานเฉลิมพระเกียรติแห่งนี้ขึ้น เลือกสร้างตรงพื้นที่ตรงนี้เพราะเป็นพื้นที่ของธนาลักษณ์ซึ่งเช่าใช้โดยดำริเจ้าคุณของพระราชญาณปรีชาอยากให้อยู่ในเขตวัดและวัง ฉะนั้นในพื้นที่แห่งนี้จะอยู่ในเขตพื้นที่สีน้ำตาลก็คือเขตของอุทยานประวัติศาสตร์เรียกพื้นที่ว่าขามวาศรีในเขตวัดและวังของพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าเมืองจัดสร้างขึ้น พื้นทีของพิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ ผู้ริเริ่มก่อตั้ง พระราชญาณปรีชาผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาญ ผู้ดูแล ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์ งบประมาณในการสร้างพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ เฉพาะอาคารทั้งหมด 100,000,000 บาท สร้างด้วยไม้สักทองล้วน ลักษณะของทางสถาปัตยกรรมหรือการสร้างนั้นถูกต้องตามหลักของการสร้างเรือนหรือปรุงเรือน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ๆ ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติลเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ที่มีรูปแบบเป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง สร้างด้วยไม้สักทอง บนเนื้อที่ 25 ไร่ 49 ตารางวา มีส่วนการจัดแสดงให้ข้อมูล 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนประวัติศาสตร์เมือง 2.ส่วนชาติพันธุ์วิทยา 3.ส่วนมรดกดีเด่นเมืองกำแพงเพชร 4.ห้องบรรยาย 
ห้องประวัติศาสตร์เมือง.jpg

ภาพที่ 1 ห้องประวัติศาสตร์เมือง
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ห้องชาติพันธุ์วิทยา.jpg

ภาพที่ 2 ห้องชาติพันธุ์วิทยา
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ห้องมรดกไทย.jpg

ภาพที่ 3 ห้องมรดกไทย
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ห้องบรรยาย.jpg

ภาพที่ 4 ห้องบรรยาย
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

         นอกจากนี้ จังหวัดกำแพงเพชรยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็น เมืองกล้วยไข่ ซึ่งเป็นมรดกทางธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมืองกำแพงเพชร และเพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้อนุรักษ์สายพันธุ์กล้วย พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ จึงได้รวบรวมกล้วยสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งกล้วยประดับ กล้วยบริโภค และกล้วยอนุรักษ์ มากกว่า 150 สายพันธุ์  ซึ่งจัดเป็นศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วยมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ด้วยพระเมตตาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานทุนในส่วนมูลนิธิปริยัติศึกษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ญสส.) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สำหรับเป็นงบประมาณในการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิ่มพระเกียรติแห่งนี้ขึ้น พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ จึงเป็นความภาคภูมิใจของชาวกำแพงเพชร ที่รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและศิลปหัตถกรรม อันแสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพชนในท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ค้นคว่า และการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ตลอดจนเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชรสืบไป (ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์, การสัมภาษณ์, 23 กุมภาพันธ์ 2567)
แสดงอาคารพิพิธภัณฑ์เรือนไทยจากทางด้านหน้า.jpg

ภาพที่ 5 แสดงอาคารพิพิธภัณฑ์เรือนไทยจากทางด้านหน้า
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ชื่อแหล่งโบราณสถาน

         พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ 

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         พิพิธภัณฑ์เรือนไทย

ที่ตั้ง (ที่อยู่)

         104/5 ถ.ปิ่นดำริห์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์

         16°29'14.9"N 99°31'20.7"E 16.487457, 99.522404 (ประวีณา เกตุกลมเกลา, ม.ป.ป.)

สภาพธรณีวิทยา

         -

หน่วยงานที่ดูเเลรักษา

         สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

สถานะการขึ้นเบียน

         ยังไม่มีการขึ้นทะเบียน

ข้อมูลทางโบราณคดี

ประวัติความเป็นมา

         ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) (2556) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองกำแพงเพชร เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (เมื่อ พ.ศ. 2539) และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2540 ทางจังหวัดกำแพงเพชร กรมศิลปากร กรมสามัญศึกษา และมูลนิธิปริยัติศึกษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ญสส.) ในสังฆราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันจัดสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้น ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดกำแพงเพชร ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง ซึ่งจัดวางผังตำแหน่งพิพิธภัณฑ์ตามอย่างเรือนไทยโบราณ ประกอบด้วยใต้ถุนโล่ง สูง ด้านล่างจัดวางโต๊ะแสดงขนบประเพณีวิถีไทย เช่น ขนมไทย ตุ๊กตาไทย ส่วนด้านบน ทำเรือนชานกว้าง แต่ละห้องบนพิพิธภัณฑ์เป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและจัดแสดงงานศิลปหัตถกรรม อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพชนในท้องถิ่น แหล่งข้อมูลด้านมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัด การจัดแสดงแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ 
         1. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นมาของจังหวัด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประกอบด้วยเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง เมืองนครชุม เมืองเทพนคร เมืองบางพาน และเมืองกำแพงเพชร
         2. ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชรทั้งธรณีวิทยา ดินฟ้าอากาศ เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
         3. ชาติพันธุ์วิทยาแสดงเรื่องราวสภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการอพยพเคลื่อนย้ายต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ไต ลาวโซ่ง ชาวล้านนา ฯลฯ
         4. มรดกดีเด่นของกำแพงเพชรทั้งมรดกธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม เริ่มตั้งแต่พัฒนาการของพระเครื่องเมืองกำแพง พระเครื่องที่สำคัญ ๆ ได้แก่ พระนางพญากำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงกลีบบัว เป็นต้น กล้วยไข่และประเพณีกล้วยไข่ ผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด พัฒนาการทางอุตสาหกรรมและศิลปหัตถกรรม เมืองกำแพงเพชร
         5. การจัดแสดงความเป็นมาของเมืองในรูปแบบของภาพสี ภาพโปร่งใส แผนผัง แผนที่ หุ่นจำลอง และเทคนิคพิเศษในรูปแบบของมัลติมีเดีย เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร 
         สถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์อยู่ต่อเนื่องกับที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ภายในเขตเมืองเก่าของกำแพงเพชร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 
         นอกจากจัดแสดงนิทรรศการวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของชาวกำแพงเพชรแล้ว บริเวณด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอพันธุ์กล้วยสายพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า 200 สายพันธุ์ ที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน และไม่เคยเห็น อาทิ กล้วยลังกา หรือเรียกในชื่ออื่นๆ เช่น กล้วยจีน กล้วยนครสวรรค์ กล้วยน้ำนมราชสีห์ กล้วยส้ม กล้วยเปรี้ยว รสชาติจะแปลก ผลดิบแก่จัดฝานเป็นแผ่นทอดน้ำมัน รสชาติใกล้เคียงมันฝรั่งทอด กล้วยพม่าแหกคุก พบที่ จ.อ่างทอง เมื่อปี 2534 ในขณะใกล้จะสูญพันธุ์ กล้วยเทพรส หรือเรียกกันในชื่ออื่น ๆ ว่า กล้วยปลีหลุด กล้วยปลีหาย กล้วยสิ้นปลี กล้วยทิพย์รส กล้วยพาโล กล้วยตีนเต่า ผลค่อนข้างเหลี่ยมมนสีเขียวม่น เปลือกหนา ผลดิบเผาหรือต้มเป็นอาหารของชาวกะเหรี่ยง นอกจากนี้ยังมี กล้วยไข่พระตะบอง กล้วยตานี กล้วยคุนหมิง กล้วยน้ำหว้าลูกไส้ดำ กล้วยน้ำหมาก และสายพันธุ์อื่น ๆ อีกมากมายที่หาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมีศูนย์จริยศึกษา ที่ทำงานการอบรมศิลปะและจริยธรรมแก่เด็กนักเรียนและเยาวชนทั่วไปด้วย (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน), 2556)
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถาน.jpg

ภาพที่ 6 ความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง

         อาคารพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นลักษณะของเรือนไทยหมู่ภาคกลางปรับประยุกต์บันไดหน้าเป็นภาคเหนือและบันไดข้างเป็นภาคกลางเพราะเนื่องจากกำแพงเพชรนั้นอยู่เหนือสุดของภาคกลางและใต้สุดของภาคเหนือกำแพงเพชรเป็นเมืองที่ต้องรับวัฒนธรรมอริยธรรม (ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์, การสัมภาษณ์, 23 กุมภาพันธ์ 2567)
ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างอาคาร.jpg

ภาพที่ 7 ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)