ฐานข้อมูล เรื่อง พิพิธภัณฑ์เรือนไทยกำเเพงเพชร

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:21, 4 เมษายน 2567 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (เเหล่งอ้างอิง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

         จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ดังหลักฐานที่ปรากฏในสมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือในยุคหินใหม่ซึ่งมีอายุกว่า 2,000 ปี และมีพัฒนาการต่อมาในสมัยทวาราวดี สมัยสุโขทัย จนถึงสมัยอยุธยา จึงทำให้จังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติความเป็นมา อันยาวนานและอุดมไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้ง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ตลอดจนประวัติศาสตร์ภูมิหลังของบ้านเมือง สังคม จารีตประเพณีของผู้คน และเรื่องราวหลักฐานทางศิลปะ โบราณคดี อันเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น เมื่อเวลาและสถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป โบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมถึงจารีตขนบธรรมเนียมประเพณี อันเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมที่ถ่ายทอดกันมาส่วนหนึ่งได้ถูกทำลายลง หรือถูกแทรกแซงด้วยกระแสวัฒนธรรมส่วนกลาง และวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาพร้อมกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี ซึ่งหากไม่ช่วยอนุรักษ์สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้แล้ว มรดกทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่นอาจจะสูญสินไป ด้วยเหตุผลดังกล่าว มูลนิธิปริยัติศึกษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยพระโสภณคณาภรณ์ (สมจิตต์ อภิจิตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งยังเป็นพระเปรียญ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และจังหวัดกำแพงเพชร โดยนายศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้มีมติร่วมกันจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยเลือกทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างอาคาร พิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า “พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ” (พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ, 2562)
         โดยในที่ประเทศไทย 70 กว่าจังหวัด แต่ละจังหวังก็จะหาเฉลิมฉลอง สร้างขึ้นเพื่อในวโรกาศมหามงคลนี้จังหวัดกำแพงเพชรเลยเลือกที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานเฉลิมพระเกียรติแห่งนี้ขึ้น เลือกสร้างตรงพื้นที่ตรงนี้เพราะเป็นพื้นที่ของธนาลักษณ์ซึ่งเช่าใช้โดยดำริเจ้าคุณของพระราชญาณปรีชาอยากให้อยู่ในเขตวัดและวัง ฉะนั้นในพื้นที่แห่งนี้จะอยู่ในเขตพื้นที่สีน้ำตาลก็คือเขตของอุทยานประวัติศาสตร์เรียกพื้นที่ว่าขามวาศรีในเขตวัดและวังของพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าเมืองจัดสร้างขึ้น พื้นทีของพิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ ผู้ริเริ่มก่อตั้ง พระราชญาณปรีชาผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาญ ผู้ดูแล ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์ งบประมาณในการสร้างพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ เฉพาะอาคารทั้งหมด 100,000,000 บาท สร้างด้วยไม้สักทองล้วน ลักษณะของทางสถาปัตยกรรมหรือการสร้างนั้นถูกต้องตามหลักของการสร้างเรือนหรือปรุงเรือน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ๆ ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติลเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ที่มีรูปแบบเป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง สร้างด้วยไม้สักทอง บนเนื้อที่ 25 ไร่ 49 ตารางวา มีส่วนการจัดแสดงให้ข้อมูล 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนประวัติศาสตร์เมือง 2.ส่วนชาติพันธุ์วิทยา 3.ส่วนมรดกดีเด่นเมืองกำแพงเพชร 4.ห้องบรรยาย 
ห้องประวัติศาสตร์เมือง.jpg

ภาพที่ 1 ห้องประวัติศาสตร์เมือง
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ห้องชาติพันธุ์วิทยา.jpg

ภาพที่ 2 ห้องชาติพันธุ์วิทยา
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ห้องมรดกไทย.jpg

ภาพที่ 3 ห้องมรดกไทย
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ห้องบรรยาย.jpg

ภาพที่ 4 ห้องบรรยาย
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

         นอกจากนี้ จังหวัดกำแพงเพชรยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็น เมืองกล้วยไข่ ซึ่งเป็นมรดกทางธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมืองกำแพงเพชร และเพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้อนุรักษ์สายพันธุ์กล้วย พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ จึงได้รวบรวมกล้วยสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งกล้วยประดับ กล้วยบริโภค และกล้วยอนุรักษ์ มากกว่า 150 สายพันธุ์  ซึ่งจัดเป็นศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วยมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ด้วยพระเมตตาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานทุนในส่วนมูลนิธิปริยัติศึกษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ญสส.) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สำหรับเป็นงบประมาณในการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิ่มพระเกียรติแห่งนี้ขึ้น พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ จึงเป็นความภาคภูมิใจของชาวกำแพงเพชร ที่รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและศิลปหัตถกรรม อันแสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพชนในท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ค้นคว่า และการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ตลอดจนเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชรสืบไป (ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์, การสัมภาษณ์, 23 กุมภาพันธ์ 2567)
แสดงอาคารพิพิธภัณฑ์เรือนไทยจากทางด้านหน้า.jpg

ภาพที่ 5 แสดงอาคารพิพิธภัณฑ์เรือนไทยจากทางด้านหน้า
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ชื่อแหล่งโบราณสถาน

         พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ 

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         พิพิธภัณฑ์เรือนไทย

ที่ตั้ง (ที่อยู่)

         104/5 ถ.ปิ่นดำริห์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์

         16°29'14.9"N 99°31'20.7"E 16.487457, 99.522404 (ประวีณา เกตุกลมเกลา, ม.ป.ป.)

สภาพธรณีวิทยา

         -

หน่วยงานที่ดูเเลรักษา

         สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

สถานะการขึ้นเบียน

         ยังไม่มีการขึ้นทะเบียน

ข้อมูลทางโบราณคดี

ประวัติความเป็นมา

         ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) (2556) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองกำแพงเพชร เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (เมื่อ พ.ศ. 2539) และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2540 ทางจังหวัดกำแพงเพชร กรมศิลปากร กรมสามัญศึกษา และมูลนิธิปริยัติศึกษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ญสส.) ในสังฆราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันจัดสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้น ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดกำแพงเพชร ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง ซึ่งจัดวางผังตำแหน่งพิพิธภัณฑ์ตามอย่างเรือนไทยโบราณ ประกอบด้วยใต้ถุนโล่ง สูง ด้านล่างจัดวางโต๊ะแสดงขนบประเพณีวิถีไทย เช่น ขนมไทย ตุ๊กตาไทย ส่วนด้านบน ทำเรือนชานกว้าง แต่ละห้องบนพิพิธภัณฑ์เป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและจัดแสดงงานศิลปหัตถกรรม อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพชนในท้องถิ่น แหล่งข้อมูลด้านมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัด การจัดแสดงแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ 
         1. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นมาของจังหวัด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประกอบด้วยเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง เมืองนครชุม เมืองเทพนคร เมืองบางพาน และเมืองกำแพงเพชร
         2. ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชรทั้งธรณีวิทยา ดินฟ้าอากาศ เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
         3. ชาติพันธุ์วิทยาแสดงเรื่องราวสภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการอพยพเคลื่อนย้ายต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ไต ลาวโซ่ง ชาวล้านนา ฯลฯ
         4. มรดกดีเด่นของกำแพงเพชรทั้งมรดกธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม เริ่มตั้งแต่พัฒนาการของพระเครื่องเมืองกำแพง พระเครื่องที่สำคัญ ๆ ได้แก่ พระนางพญากำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงกลีบบัว เป็นต้น กล้วยไข่และประเพณีกล้วยไข่ ผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด พัฒนาการทางอุตสาหกรรมและศิลปหัตถกรรม เมืองกำแพงเพชร
         5. การจัดแสดงความเป็นมาของเมืองในรูปแบบของภาพสี ภาพโปร่งใส แผนผัง แผนที่ หุ่นจำลอง และเทคนิคพิเศษในรูปแบบของมัลติมีเดีย เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร 
         สถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์อยู่ต่อเนื่องกับที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ภายในเขตเมืองเก่าของกำแพงเพชร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 
         นอกจากจัดแสดงนิทรรศการวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของชาวกำแพงเพชรแล้ว บริเวณด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอพันธุ์กล้วยสายพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า 200 สายพันธุ์ ที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน และไม่เคยเห็น อาทิ กล้วยลังกา หรือเรียกในชื่ออื่นๆ เช่น กล้วยจีน กล้วยนครสวรรค์ กล้วยน้ำนมราชสีห์ กล้วยส้ม กล้วยเปรี้ยว รสชาติจะแปลก ผลดิบแก่จัดฝานเป็นแผ่นทอดน้ำมัน รสชาติใกล้เคียงมันฝรั่งทอด กล้วยพม่าแหกคุก พบที่ จ.อ่างทอง เมื่อปี 2534 ในขณะใกล้จะสูญพันธุ์ กล้วยเทพรส หรือเรียกกันในชื่ออื่น ๆ ว่า กล้วยปลีหลุด กล้วยปลีหาย กล้วยสิ้นปลี กล้วยทิพย์รส กล้วยพาโล กล้วยตีนเต่า ผลค่อนข้างเหลี่ยมมนสีเขียวม่น เปลือกหนา ผลดิบเผาหรือต้มเป็นอาหารของชาวกะเหรี่ยง นอกจากนี้ยังมี กล้วยไข่พระตะบอง กล้วยตานี กล้วยคุนหมิง กล้วยน้ำหว้าลูกไส้ดำ กล้วยน้ำหมาก และสายพันธุ์อื่น ๆ อีกมากมายที่หาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมีศูนย์จริยศึกษา ที่ทำงานการอบรมศิลปะและจริยธรรมแก่เด็กนักเรียนและเยาวชนทั่วไปด้วย (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน), 2556)
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถาน.jpg

ภาพที่ 6 ความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง

         อาคารพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นลักษณะของเรือนไทยหมู่ภาคกลางปรับประยุกต์บันไดหน้าเป็นภาคเหนือและบันไดข้างเป็นภาคกลางเพราะเนื่องจากกำแพงเพชรนั้นอยู่เหนือสุดของภาคกลางและใต้สุดของภาคเหนือกำแพงเพชรเป็นเมืองที่ต้องรับวัฒนธรรมอริยธรรม (ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์, การสัมภาษณ์, 23 กุมภาพันธ์ 2567)
ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างอาคาร.jpg

ภาพที่ 7 ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

         ในอดีตตการณ์นั้นไม่ว่าวัดหรือวัง ในรัชกาลที่ 4 - รัชกาลที่ 5 ซึ่งไม้ส่วนใหญ่นำมาจากกำแพงเพชร ถ้าหากเราย้อนกลับไปในอดีตตการณ์ กำแพงเพชรเป็นเมืองป่าไม้ ป่าไม้แรกของจังหวัดกำแพงเพชรคือ ตระกูลล่ำซำ ฉะนั้นบ้านเรือนไทยหลายแห่ง จึงสร้างขึ้นด้วยไม้สร้างสักเพราะเป็นเมืองที่มีไม้สัก ฉะนั้น พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ จึงสร้างขึ้นด้วยไม้สักทอง ตัวอาคารได้ปรับประยุกต์ เช่น ประตู หน้าต่างถูกต้องตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมได้ปรับประยุกต์มาใช้เป็นกระจก เนื่องจากบางส่วนต้องการที่จะโชว์สิ่งของด้านใน ส่วนประตูก็ยังเป็นตัวเคราะหัวสิงห์เหมือนเดิมหรือลวดลายต่าง ๆ ของเรือนไทย อยู่ในเรื่องของสถาปัตยกรรมการปรุงเรือนไทย แต่ถูกปรับประยุต์ ส่วนพื้นไม่ใช้ไม้ล้วน บางส่วนเป็นคำกัมปนา เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย พื้นที่ตรงนี้ที่สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ จะใช้ในการเป็นพื้นที่วิถีชีวิตวิถีถิ่น เรือนไทยภาคกลางส่วนใหญ่จะมีหอกลางแต่ถ้าไม่มีหอกลาง คือ การปลูกต้นไม้แทน ถ้าย้อนกลับในสมัยอดีตตการณ์มีรบทับจับศึกพม่าล้อมอย่างน้อยเราต้องมีผลไม้หลักที่จะเอาไว้กิน ตัวเรือนจะมีส่วนระเบียงที่เป็นพื้นที่ยังอยู่ภายใต้หลังคากันสาด และเชื่อมต่อกับพื้นที่นอกซานที่เป็น ลักษณะชานโล่งกลางแจ้ง ทุกส่วนของตัวเรือนถูกยกลอยขึ้นจนเกิดชั้นใต้ถุน เสาเรือน นิยมทำเป็นเสากลม ตั้งเอียงสอบเข้าหากัน ทำให้สัดส่วนของเรือนสวยงาม และช่วยเสริมความ มั่นคงแข็งแรง ฉะนั้น ฝาเรือนใช้ไม้ตีเป็นฝา อาจมีช่องลูกฝึก เพิ่มความสวยงาม หรือเว้นช่องรูช่วยระบายอากาศร้อน หลังคากันสาดยื่นยาวเพื่อช่วยป้องกันแสงแดดที่จัด สร้างร่มเงาให้กับพื้นที่ใช้สอย และช่วยกันฝนสาด พื้นภายในเรือนเป็นไม้จริง แผ่นหนา ตีชิด ส่วนนอกชานจะใช้วิธีตีไม้พื้นเว้นร่อง เพราะเป็นส่วนนอกชายคาที่ต้องมีการระบายน้ำฝน การออกแบบหลังคาจั่วทรงสูง อันมีผลในเรื่องสัดส่วนความงามทางสถาปัตยกรรม และเป็นการเพิ่มมวล รูปทรงหลังคาช่วยระบายอากาศร้อนที่จะลอยขึ้นที่สูง เรือนไทยภาคกลางจะไม่นิยมทำฝ้าเพดาน ด้วยเหตุผลในการช่วยให้อากาศ ถ่ายเท เพราะเรือนไทยภาคกลางแบบดั้งเดิมจะใช้วัสดุมุงหลังคา จำพวก ตับจาก แฝก หรือ หญ้าคา ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งวัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีความไหวตัว มีรุพรุน ช่วยในการระบายอากาศให้ตัวเรือน หากภายในห้องมีการทำฝ้าเพดานก็จะเป็นการกักอากาศร้อนให้อยู่ในตัวเรือน หรือถ้าหากเป็นเรือนไทยในยุคถัดมา ที่มักนิยมมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา ก็มักจะไม่ทำฝ้าเพดานเช่นกัน เนื่องจากเหตุผลเรื่องช่วยให้อากาศถ่ายเทดังที่กล่าวมาแล้ว และยังมีประโยชน์ในช่วงที่กระเบื้องรวน จากลมตี อาจแตกหักเสียหายหลุดร่อน ก็จะใช้บันไดไม้ไผ่สอดพาดชื่อขึ้นไปซ่อมกระเบื้องที่หลุด รวน เสียหายนั้นได้โดยง่าย อีกทั้งการใช้รูปแบบหลังคาจั่วทรงสูงที่มีความลาดชันมาก จะช่วยลดปัญหาน้ำฝนรั่วซึม เพราะจะทำให้น้ำฝนไหลเร็ว ลดอัตราการรั้วซึมได้ การยกใต้ถุนเรือนสูงหนีน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่า โดยพื้นที่ใต้ถุนนี้ใช้ทำประโยชน์ได้แบบอเนกประสงค์ ทั้งการนั่งเล่นนอนพักผ่อน เก็บของ เป็นพื้นที่ในการทำหรือซ่อมเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่อง หัตถกรรมต่าง ๆ (สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร, 2554)
ลักษณะสถาปัตยกรรม.jpg

ภาพที่ 8 ลักษณะสถาปัตยกรรมของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

ยุคทางโบราณคดี

         พื้นที่ที่ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร การก่อสร้างในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ ส่วนของอาคารเรือนไทยไม่มีโบราณคดีเพราะเป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ในมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ครองราชย์ (ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์, การสัมภาษณ์, 23 กุมภาพันธ์ 2567)

สมัย/ วัฒนธรรม

         พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ ก่อสร้างในยุคสมัยรัตนโกสินทร์ มีอายุ 29 ปี ตัวอาคารเป็นการปรับประยุกต์เรือนไทยหมู่ภาคกลาง เช่น ประตูหน้าต่างถูกต้องตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมได้ปรับประยุกต์มาใช้เป็นกระจก เนื่องจากบ้างส่วนต้องการที่จะโชว์ ประตูก็ยังเป็นตัวเคราะหัวสิงเหมือนเดิมหรือลวดลายต่างๆ ของเรือนไทย อยู่ในเรื่องของสถาปัตยกรรมการปรุงเรือนไทย แต่ถูกปรับประยุต์ส่วนพื้นไม่ใช้ไม้ล้วน เป็นคำพนา เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย พื้นที่ตรงนี้ จะใช้ในการเป็น
         พื้นที่วิถีชีวิตวิถีถิ่น เรือนไทยภาคกลางสวนใหญ่จะมีหอกลางแต่ถ้าไม่มีหอกลาง คือการปลูกต้นไม้ ถ้าย้อนกลับในสมัยก่อนมีรบทับจับศึกพม่าล้อมอย่างน้อยเราต้องมีผลไม้หลักที่จะเอาไว้กิน (ชนิกา ศรีวรรธนศิลป์, การสัมภาษณ์, 23 กุมภาพันธ์ 2567)
บริเวณด้านบนพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 9 บริเวณด้านบนพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)

อายุทางโบราณคดี

         -

อายุทางวิทยาศาสตร์

         พิพิธภัณฑ์เรือนไทย มีอายุ 29 ปี ตั้งแต่ พ.ศ 2538 – 2567 ในปัจจุบัน

อายุทางตำนาน

         -

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

         พิพิธภัณฑสถาน

ข้อมูลการสำรวจ

เเหล่งอ้างอิง

พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ. (26 เมษายน 2562). ประวัติพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ. https://acc.kpru.ac.th/rtmuseum/?page_id=1&lang=TH
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). (19 เมษายน 2556). พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ (พิพิธภัณฑ์เรือนไทย). https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/488
สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร. (30 กันยายน 2554). โครงสร้างสถาปัตยกรรมประเภทเครื่องไม้ : เรือนไทยภาคกลาง. https://www.finearts.go.th/storage/contents/2021/07/detail_file/xn0PwWLFIBm1vU5cpZGkXkmPZzu7gGryVGUKdzb1.pdf

วันเดือนปีที่สำรวจ

         21 กุมภาพันธ์ 2567

วันปรับปรุงข้อมูล

         -

ผู้สำรวจข้อมูล

         ปริสา พลายมี
  	  วันฤดี แก้วทรัพย์
  	  ณัฐวุฒิ บำรุงศรี
	  ญาณิศา อุ่นเมือง

คำสำคัญ

         พิพิธภัณฑ์, สืบสาน, บ้านเรือนไทย