จริยธรรมการตีพิมพ์

     มาตรฐานทางจริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor) ผู้เขียน (Author) และผู้ประเมินบทความ (Article Evaluator) ของวารสาร สาร สื่อ ศิลป์ 

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
     1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาบทความเบื้องต้น ได้แก่ รูปแบบ ขอบเขต และคุณภาพของบทความ ก่อนเข้าสู่กระบวนการการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
     2. บรรณาธิการมีหน้าที่คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญ ให้ตรงกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความ
     3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาของการประเมินบทความ
     4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ
     5. บรรณาธิการต้องตรวจสอบการแก้ไขบทความของผู้นิพนธ์ ตามผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิและคัดเลือกบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาแล้วเพื่อตีพิมพ์
     6. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่จากที่อื่นมาแล้ว
     7. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความที่มีข้อสงสัยหรือยังไม่แน่ใจ จนกว่าจะมีหลักฐานพิสูจน์ข้อสงสัยเหล่านั้นก่อน
     8. บรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความด้านการคัดลอกผลงานของผู้อื่น โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือได้ และหากมีหลักฐานหรือข้อยืนยันที่ชัดเจนว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น บรรณาธิการจะต้องหยุดกระบวนการการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์หลักเพื่อขอคำชี้แจง หากไม่มีข้อชี้แจงตามหลักฐานทางวิชาการ บรรณาธิการจะต้องปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้น ๆ 

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน
     
1. ผู้เขียนจะต้องรับรองว่า บทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการตีพิมพ์เป็นบทความใหม่ และไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาการลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
     2. ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จและไม่บิดเบือนข้อมูล
     3. เนื้อหาของบทความ ทั้งข้อความ รูปภาพ และตาราง หากเป็นผลงานของผู้อื่นผู้เขียนจะต้องมีการอ้างอิงและการจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ กรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
     4. ผู้เขียนบทความต้องดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงผลงาน ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และกองบรรณาธิการภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่มีข้อขัดข้องจะต้องแจ้งกับทางกองบรรณาธิการทราบ
     5. หากผู้เขียนต้องการยกเลิกการตีพิมพ์บทความ ต้องทำหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อบรรณาธิการวารสาร พร้อมระบุเหตุผลที่น่าเชื่อถือ
     6. บทความจะต้องมีองค์ประกอบและเนื้อหาสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการจัดรูปแบบบทความตามรูปแบบ Template ตามที่วารสารกำหนดและการอ้างอิงเป็นแบบ APA Style
     7. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร สาร สื่อ ศิลป์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักสิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
     1. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความรู้ ความสามารถ หรือมีความเชี่ยวชาญ
     2. ผู้ประเมินบทความ จะประเมินบทความโดยพิจารณาจากความสำคัญ หัวข้อใหม่ การสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางวิชาการที่มีประโยชน์และน่าสนใจ ความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหา โดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
     3. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูต่าง ๆ ของบทความที่ส่งมให้พิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality)
     4. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้นิพนธ์ร่วมทำโครงการร่วมกัน หรืออื่น ๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
     5. ผู้ประเมินบทความ สามารถเสนอแนะผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่มีความสำคัญหรือน่าสนใจ และสอดคล้องกับบทความ ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึงเข้าไปในการประเมินบทความด้วย
     6. หากผู้ประเมินบทความพบว่า บทความมีความเหมือนหือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่นโดยมีหลักฐานชัดแจ้ง ผู้ประเมินสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์ และแจ้งแก่บรรณาธิการวารสารให้ทราบ