บุญบั้งไฟสุคิรินกับการดำรงอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในภาคใต้

Authors

  • ศิริวรรณ เจียรชัชวาลวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

Keywords:

บุญบั้งไฟ, การดำรงอยู่, พหุวัฒนธรรม

Abstract

การอนุรักษ์วัฒนธรรมสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีของคนไทยที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือชาวอีสานที่สืบเนื่องมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  ประเพณีบุญบั้งไฟเกิดจากความเชื่อของชาวอีสานเพื่อต้องการขอฝนกับพญาแถนหรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ชาวบ้านมีความเชื่อว่าพระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกตามฤดูกาล สามารถดลบันดาลให้พืชผลข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ หากทำการบูชาพญาแถนแล้วจะทำให้การทำนาในปีนั้นๆได้ผลดี พญาแถนเป็นเทพที่มีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก ชาวบ้านจึงได้มีการจุดบั้งไฟไปบอกพญาแถนเพื่อให้ทราบว่าถึงฤดูทำนาปลูกข้าวแล้วให้พญาแถนได้ช่วยให้ฝนตกลงมาให้เพียงพอต่อการปลูกข้าวของชาวนาหากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนจะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจเกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ บ้านภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาสได้มีพี่น้องชาวอีสานย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากบุกเบิกพื้นที่ทำกินมาตั้งแต่ปี 2518  และได้จัดงานบุญบั้งไฟเพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษมาสืบสานในพื้นที่อำเภอสุคิรินมาจนถึงปัจจุบันและเป็นการสืบสานประเพณีดั้งเดิมหนึ่งเดียวในภาคใต้ 

Downloads

Published

2020-11-27

How to Cite

เจียรชัชวาลวงศ์ ศ. (2020). บุญบั้งไฟสุคิรินกับการดำรงอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในภาคใต้. วารสารสาร สื่อ ศิลป์, 3(5). Retrieved from https://acc.kpru.ac.th/journal/index.php/sarnsuesin/article/view/16