ลูกทุ่งสัปดน : ส่องเพลง “ทะลึ่ง” ผ่านแว่น “วัฒนธรรมประชา”
Keywords:
เพลงลูกทุ่ง, วัฒนธรรมประชาAbstract
บทความวิชาการนี้มุ่งอธิบายปรากฏการณ์เพลงลูกทุ่งไทยที่มีเนื้อหาส่อนัยทางเพศ ผ่านมโนทัศน์วัฒนธรรมประชา (popular culture) โดยอ้างถึงแนวทางศึกษา 3 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางทฤษฎีวิพากษ์จากสำนักแฟรงเฟิร์ต (Frankfurt school) วิพากษ์วัฒนธรรมประชาในฐานะอุตสาหกรรมวัฒนธรรมมวลชนของระบบทุนนิยม 2) การศึกษาผู้เสพวัฒนธรรมประชาในฐานะวัฒนธรรมการบริโภคสมัยใหม่เพื่อสร้างความหมายในชีวิตให้แก่ตนเอง และ 3) การพิจารณาบทบาทของวัฒนธรรมประชาในฐานะพื้นที่แห่งการต่อสู้ทางการเมืองวัฒนธรรม ที่กลุ่มต่าง ๆ ได้เข้ามาช่วงชิงพื้นที่ทางอุดมการณ์และแสดงอัตลักษณ์ของตนเอง บทความให้ข้อเสนอว่าการศึกษาวัฒนธรรมประชามีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรียกร้องมุมมองเชิงทฤษฎีใหม่ๆ ที่ควรก้าวข้ามจากแนวคิดคู่ตรงข้ามระหว่างการครอบงำและการต่อต้าน เพื่อให้เข้าใจความซับซ้อนของวัฒนธรรมประชายิ่งขึ้น
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2023 วารสารสาร สื่อ ศิลป์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร สาร สื่อ ศิลป์ นี้เป็นวารสารที่อยู่ภายใต้ creative commons attribution-noncommercial-noderivatives 4.0 international (cc by-nc-nd 4.0). เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น