ความรับผิดทางกฎหมายของสื่อมวลชนต่อความเสียหายจากการนำเสนอข่าวแบบเรียลไทม์ : ศึกษากรณีเหตุกราดยิง ณ ห้างสรรพสินค้า Terminal 21 จังหวัดนครราชสีมา
Keywords:
ความรับผิด, สื่อมวลชน, การนำเสนอข่าวAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจริยธรรมในการสื่อสารของสื่อมวลชนในกรณีการนำเสนอข่าว และศึกษาความผิดทางกฎหมายของสื่อมวลชน กรณีการรายงานข่าวแบบเรียลไทม์ (Real Time) ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของประชาชนที่อยู่ในข่าว ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยศึกษาจากข้อกำหนดว่าด้วยจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพสื่อมวลชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าในการนำเสนอข่าวแบบทันทีของสื่อมวลชนหลายสำนักเป็นการชี้ช่องให้คนร้ายหลบหนีจากการติดตามของเจ้าหน้าที่ และเข้าไปทำร้ายประชาชนที่ซ่อนตัวอยู่ในบริเวณห้าง แม้สื่อมวลชนดังกล่าวมิได้มีเจตนาโดยประสงค์ต่อผลให้เกิดผลร้ายเช่นนั้นก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายได้มีขึ้นแก่ชีวิตและร่างกายของประชาชนอันเป็นผลจากการนำเสนอข่าวนั้น สื่อมวลชนอาจต้องมีความรับผิดในความเสียหายดังกล่าวด้วย
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2023 วารสารสาร สื่อ ศิลป์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร สาร สื่อ ศิลป์ นี้เป็นวารสารที่อยู่ภายใต้ creative commons attribution-noncommercial-noderivatives 4.0 international (cc by-nc-nd 4.0). เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น