การสื่อสารในภาวะวิกฤติ: กรณีศึกษาเหตุการณ์กราดยิงที่นครราชสีมา
Keywords:
การสื่อสาร, สื่อมวลชน, ภาวะวิกฤต, ความรุนแรงAbstract
เหตุการณ์กราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีผู้สูญเสียและบาดเจ็บเป็นจำนวนมากนำมาซึ่งวิกฤติในเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิตของผู้คนในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอารมณ์ความรู้สึกที่หวาดหวั่นต่อสถานการณ์ความรุนแรง ในแง่นี้จะพบว่าสื่อมวลชนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องของการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันสื่อมีความรวดเร็วและมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารแบบทันท่วงทีตามเหตุการณ์ ด้วยเหตุนี้พลังของสื่อมวลชนยังได้ส่งผลกระทบให้เกิดการตื่นตัวในการคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติทางด้านการสื่อสาร ซึ่งจะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่าในปฏิบัติการประเด็นทางด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤติถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดการข้อมูลข่าวสารและการบริหารทิศทางของการวางแผนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาร สื่อ ศิลป์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร สาร สื่อ ศิลป์ นี้เป็นวารสารที่อยู่ภายใต้ creative commons attribution-noncommercial-noderivatives 4.0 international (cc by-nc-nd 4.0). เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น