“ออเจ้า” ในความไม่ประสา: ความเป็นหญิงเป็นชาย ขนบ และการเมือง
Keywords:
ออเจ้า, ความเป็นหญิงเป็นชาย, ขนบ, การเมืองAbstract
บทความเรื่อง“ออเจ้า” ในความไม่ประสา: ความเป็นหญิงเป็นชาย ขนบ และการเมือง เป็นบทความที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งอธิบายถึงปรากฏการณ์ความเป็นไปของคนในสังคมไทยในปัจจุบันสมัยที่สะท้อนจากอดีตหลังในรับชมละครโทรทัศน์เรื่องบุพเพสันนิวาส โดยอาศัยฐานคิดการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เพื่อแสวงหาความหมายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังต่อประเด็นสำคัญในเนื้อเรื่อง ซึ่งผู้เขียนอภิปรายความได้นับตั้งแต่การตายของ “เกศสุรางค์” เสมือนการขจัดคุณลักษณะสตรีที่ไม่เป็นไปตามที่สังคมคาดหวังให้ออกไป ขณะที่ความอ่อนโยน และความเมตตา ทำให้ผู้หญิงมีความชอบธรรมในความเป็นไป จึงไม่แปลกที่การะเกดคนใหม่จะพร้อมกายใจกระโดดเข้าไปอยู่ใต้ขนบชายเป็นใหญ่ เพราะผู้ชายทั้งในเรือนและนอกเรือนกรุงศรีอยุธยาต่างสถาปนาความดีงามและคุณค่าให้กับผู้หญิงเยี่ยงเธอ วาทกรรม “การโล้สำเภา” สะท้อนได้ว่า เมื่อเป็นหญิงจักต้องไม่ประสา ในเรื่องเพศจึงแลเป็นหญิงดี กลกามจึงเป็นเรื่องของชายในฐานะผู้ล่าในเรื่องเพศโดยสิทธิและเสรี ละครเรื่องนี้ยังย้ำตัวตน สถาปนาความเป็นไทยไปพร้อมกับการขีดกรอบที่คมชัดให้กับผู้หญิงในสังคม ปัจจุบันสมัยตราบเท่าที่วาทกรรม “ออเจ้า” ยังคงถูกแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ผ่านหญิงสาวและคนหลายช่วงวัยที่พร้อมใจลุกขึ้นมาสวมใส่ชุดไทยเยี่ยงแม่หญิงการะเกดกันทั่วทั้งบ้านทั้งเมือง การโหยหาอดีตนี้เป็นสัญญาณคล้าย ๆ ถึงการ สยบยอมต่อปิตาธิปไตยอันบริบูรณ์ทั้งเรือนกายและจิตใจ เมื่อคนในสังคมส่วนใหญ่รู้สึกถูกเติมเต็มท่ามกลางสภาวะความอ่อนแอและอ่อนไหวทางจิตใจที่เป็นรูปธรรม อีกสิ่งที่เห็นคือ การสถาปนาความเป็นชายผ่านวาทกรรม “ความเจ้าชู้” ผ่านแม่หญิงการะเกดที่แบ่งรับอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยอย่างแยบคาย และการถอยสู่รากเหง้าอันเป็นอีกวิธีที่จะหลีกหนีความวุ่นวายในสังคมการเมือง และการปรากฏภาพแทนของผู้ใช้อำนาจในการบริหารจัดการคนตัวเล็ก ๆ เยี่ยงออเจ้าในสังคมไทย ตลอดจน “การลงโทษผู้หญิง” จากความเดียดฉันท์ของผู้ชายและขนบผ่านกลไกเชิงอำนาจที่จัดกระทำกับผู้หญิงแบบซ้ำ ๆ โดยกลวิธีต่าง ๆ ที่ทั้งรัก ทั้งใคร่ และใช้ความรุนแรง ยังสะท้อนให้เห็นถึงผู้ใช้อำนาจและผู้ถูกใช้อำนาจในสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาร สื่อ ศิลป์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร สาร สื่อ ศิลป์ นี้เป็นวารสารที่อยู่ภายใต้ creative commons attribution-noncommercial-noderivatives 4.0 international (cc by-nc-nd 4.0). เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น