จริยธรรมการสื่อสารในยุคสื่อใหม่
Keywords:
จริยธรรม, การสื่อสาร, สื่อใหม่Abstract
ในยุคของการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนและการพัฒนาทางสังคม เทคโนโลยีอย่างเติบโตกว้างขว้าง โดยการเจริญเติบโตนี้ได้ขยายปริมณฑลครอบคลุมหลากหลายมิติทั้งในเชิงเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม รวมไปถึงมิติทาง “การสื่อสาร” ซึ่งมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างยิ่ง จนเราอาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารเป็นกลไกในการขับเคลื่อนแห่งสังคมที่ทำให้สังคมดำเนินไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากการสื่อสารเป็นทั้งเครื่องมือ และวิธีการในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งต่อปัจเจกบุคคล ต่อองค์กร และต่อสังคม ด้วยเหตุนี้เอง แนวทางจริยธรรมการสื่อสาร จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ นักวิชาชีพด้านการสื่อสาร หรือแม้แต่ผู้คนทั่วไปต้องพึงระลึก ตระหนักถึงหลักการทางจริยธรรมที่ควรปฏิบัติ ให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ “สื่อใหม่” ซึ่งเป็นยุคที่มีการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์แพร่ขยายและมีอิทธิพลอย่างสูง จนเกิดเป็นเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ตหรือที่เรามักเรียกว่า “สังคมออนไลน์” จากอิทธิพล ที่ทวีเพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในทางบวกและลบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน ดังนั้นการเข้าใจความหมายและบทบาทของการทำหน้าที่ยึดตามหลักจริยธรรมสื่อใหม่ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการใช้ช่องทางการสื่อสารของสื่อใหม่นี้
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาร สื่อ ศิลป์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร สาร สื่อ ศิลป์ นี้เป็นวารสารที่อยู่ภายใต้ creative commons attribution-noncommercial-noderivatives 4.0 international (cc by-nc-nd 4.0). เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น