พฤติกรรมการเปิดรับและการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • ศิวกร อินภูษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น

Keywords:

พฤติกรรมการเปิดรับและการรับรู้, สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์

Abstract

การประชาสัมพันธ์เป็นรูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสาร ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ นอกเหนือจากปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นต่อความอยู่รอดของมนุษย์ ถึงแม้การสื่อสารจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับมนุษย์เหมือนกับปัจจัยสี่ แต่การได้มาซึ่งปัจจัยสี่นั้นจะต้องอาศัยการสื่อสารเป็นตัวกลางหรือเครื่องมือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตจำนงในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของตน บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารแนวคิดทฤษฎี หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

          ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความแตกต่างกันของแต่ละบุคคลตามความต้องการ 4 ประการ  คือ 1.1 เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและสังเกตเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว 1.2 เพื่อการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน 1.3 เพื่อการพูดคุย ปรึกษาหารือกับผู้อื่น และ 1.4 เพื่อการมีส่วนร่วมในสถานการณ์ความเป็นไปของสังคมและสิ่งรอบข้าง นอกจากนี้นักเรียน(ผู้รับสาร) จะมีกระบวนการเลือกรับสารที่สอดคล้องกับความเชื่อและทัศนคติอยู่ 4 ขั้น คือ 1.1 การเลือกเปิดรับ 1.2 การเลือกให้ความสนใจ 1.3 การเลือกรับรู้และตีความหมาย และ 1.4 การเลือกจดจำ และ 2) การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการเปิดรับข้อมูลซึ่งจะส่งผลต่อ      การนึกคิด การตัดสินใจและ แสดงพฤติกรรม กระบวนการรับรู้มี 3 ขั้นตอน คือ 2.1 ขั้นการเกิดการกระตุ้นประสาทสัมผัส 2.2 ขั้นการรวบรวมและประมวลผลสิ่งเร้า และ 2.3 ขั้นแปลผลประเมินสิ่งเร้า

Downloads

Published

2021-11-27

How to Cite

อินภูษา ศ. (2021). พฤติกรรมการเปิดรับและการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสาร สื่อ ศิลป์, 4(7). Retrieved from https://acc.kpru.ac.th/journal/index.php/sarnsuesin/article/view/55