ประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้: กลุ่มเกษตรกรของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
Keywords:
ประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์, การรับรู้, เกษตรกร, กรมฝนหลวงและการบินเกษตรAbstract
การศึกษาเรื่อง “ประสิทธิผลของการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้กับกลุ่มเกษตรกรของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร” ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mix-Method Research) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษานโยบาย และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (2) เพื่อศึกษาอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารกับการร่วมกิจกรรม หรือโครงการกรมฝนหลวงและการบินเกษตรของเกษตรกร (4)เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในสายตาเกษตรกร ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเพื่อทดสอบความแตกต่างได้แก่ t-test (Independent t-test), F-test (One way Analysis of Variance) และทดสอบความสัมพันธ์โดยสถิติPearson Correlation Coefficient ร่วมกับวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการผลการศึกษา นโยบายการประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พบว่า สามารถสร้างการรับรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ถึงเกษตรกรได้ความเข้าใจถูกต้อง และเกิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พบว่า ควรทำงานเชิงรุกและประชาสัมพันธ์เชิงรุกโดยทำงานร่วมกันทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการด้วยการใช้สื่อและเนื้อหาข้อมูลขับเคลื่อนข้อมูลข่าวสารได้ถูกที่ถูกเวลาและตรงกลุ่มเป้าหมายที่บรรลุนโยบาย อุปสรรคในการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พบว่า มี 4 ประการคือ 1.บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในงานประชาสัมพันธ์ 2. ขาดความเชี่ยวชาญ และมีการโอนย้าย ขาดความต่อเนื่องในปฏิบัติงาน 3. ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการทำงาน 4. เกษตรกรเข้าถึงเนื้อหาข้อมูลได้ยากทำให้การรับรู้อาจเข้าใจผิดได้พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารกรมฝนหลวงและการบินเกษตรของเกษตรกร พบว่า ภาพรวมมีการเปิดรับสื่อในระดับปานกลาง ซึ่งสื่อโทรทัศน์และกลุ่มไลน์นั้นเปิดรับมากที่สุด ขณะที่สื่อบุคคล (เจ้าหน้าที่) เว็บไซต์ เฟซบุ๊กและวิทยุยังถือเป็นอีกช่องทางที่เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูล
ข่าวสารกับการรับรู้ เข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการกรมฝนหลวงและการบินเกษตรของเกษตรกร พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรรับรู้และเข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานได้แต่มักเปิดรับข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ส่วนภาพลักษณ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในสายตาเกษตรกร เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเกษตรกร โดยตอบสนองเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งด้านภัยแล้งการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรได้สม่ำเสมอสร้างความประทับใจต่อเกษตรกรได้ดี
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาร สื่อ ศิลป์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร สาร สื่อ ศิลป์ นี้เป็นวารสารที่อยู่ภายใต้ creative commons attribution-noncommercial-noderivatives 4.0 international (cc by-nc-nd 4.0). เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น