เอกลักษณ์และความโดดเด่นของประเพณีลอยกระทงในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

Authors

  • กวินท์ธิศา ประคองทรัพย์ นักวิชาการอิสระ
  • มาเรียญา คาราสะมานะกิ
  • วิกานดา กาจักร
  • บุญญกานต์ ประดิษฐทอง
  • จณิตรา บุญมาก
  • ณัฐนันท์ โพธิ์สุวรรณ์
  • เสาวลักษณ์ สุรอด
  • ณัฐวิภา ชัยชนะศึก
  • จิณณภัทร คล้ายสุวรรณ
  • ธันชนก ทวีทรัพย์ล้ำเลิศ

Keywords:

การล่องสะเปาจาวละกอน, ยี่เป็ง

Abstract

งานวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1. ศึกษาประวัติความเป็นมาและความเชื่อของประเพณีลอยกระทงในเขตภาคเหนือ 2. ศึกษาเอกลักษณ์และความแตกต่างของประเพณีลอยกระทงในเขตภาคเหนือ 3. เพื่อศึกษาคุณค่าประเพณีลอยกระทงที่มีต่อสังคมไทย ผลจากการศึกษาพบว่า ตามการศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 1 คือ ศึกษาประวัติความเป็นมาและความเชื่อของประเพณีลอยกระทงในเขตภาคเหนือ พบว่า…ในภาคเหนือ 4 จังหวัดที่มีความโดดเด่นด้านประเพณีลอยกระทงและมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ประกอบไปด้วย จังหวัดเชียงใหม่มีประเพณีลอยกระทงที่เรียกกันว่า “ยี่เป็ง” จังหวัดตากมีประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีป 1,000 ดวง จังหวัดสุโขทัยจัดเป็นประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ และจังหวัดลำปางมีประเพณีที่เรียว่า “การล่องสะเปาจาวละกอน” ตามการศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 2. ศึกษาเอกลักษณ์และความแตกต่างของประเพณีลอยกระทงในเขตภาคเหนือ พบว่า….. ในแต่ละจังหวัดจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน จังหวัดเชียงใหม่มีกิจกรรมลอยโคม จังหวัดตากมีกิจกรรมลอยกระทงสายไหลประทีป1,000ดวง จากกะลามะพร้าว จังหวัดสุโขทัยมีกิจกรรมเผาเทียนเล่นไฟ และจังหวัดลำปางมีกิจกรรม ล่องสะเปาจาวละกอน  ตามการศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 3. เพื่อศึกษาคุณค่าประเพณีลอยกระทงที่มีต่อสังคมไทย พบว่า ประเพณีลอยกระทงเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่และมีความสัมพันธ์กับชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.คุณค่าของความกตัญญูกตเวทีต่อสังคมไทย 2.คุณค่าของความสามัคคีต่อสังคมไทย 3.คุณค่าของการสร้างความเข้มแข็งต่อสังคมไทย 4.คุณค่าของประเพณีลอยกระทงในการเสริมสร้างด้านการท่องเที่ยว 5.คุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 6.คุณค่าของการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี

Downloads

Published

2022-06-10

How to Cite

ประคองทรัพย์ ก., คาราสะมานะกิ ม., กาจักร ว., ประดิษฐทอง บ., บุญมาก จ., โพธิ์สุวรรณ์ ณ., สุรอด เ., ชัยชนะศึก ณ., คล้ายสุวรรณ จ., & ทวีทรัพย์ล้ำเลิศ ธ. (2022). เอกลักษณ์และความโดดเด่นของประเพณีลอยกระทงในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสาร สื่อ ศิลป์, 4(8). Retrieved from https://acc.kpru.ac.th/journal/index.php/sarnsuesin/article/view/67