ความเชื่อ ตำนานและวิวัฒนาการของเทศกาลตรุษจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนและ ชาวจีนในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

Authors

  • มณทิรา อินทะรังษี นักวิชาการอิสระ
  • ทรงสิทธิ์ ทองมาก
  • ปัญฐิญา พงษ์ทอง
  • นันทพัทธ์ สุขไกร
  • ลลิตา คงคาอินทร์
  • ศิรินภา อ่อนโสม
  • จินดา คีรีบำรุง
  • กัญญาวีร์ สุขสมพล
  • ภัทรมล เรืองรุ่ง
  • พีรพัฒน์ บุญคง

Abstract

บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อถ่ายทอดตำนานเรื่องเล่าของเทศกาลตรุษจีน  (2) เพื่อทราบความเชื่อ ธรรมเนียมปฏิบัติในวันตรุษจีนและอาหารมงคลของไหว้เกี่ยวกับเทศกาลวันตรุษจีน (3) เพื่อทราบถึงวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมปฏิบัติของเทศกาลตรุษจีนในช่วงปี 2508 - 2566 (กลุ่มคน Gen X และ Gen Z) ผลจากการศึกษาพบว่า ตามการศึกษาวัตถุประสงค์ที่ (1) คือ เพื่อทราบตำนานเรื่องเล่าของเทศกาลตรุษจีน พบว่า เทศกาลตรุษจีนมีที่มาตำนานความเชื่อเรื่องของ “เหนียน” สัตว์ประหลาดตัวใหญ่แสนดุร้ายในตำนานความเชื่อของคนจีน เป็นที่มาของการกลัว 3 สิ่ง นั่นคือ “สีแดง แสงไฟ เสียงดัง” วัตถุประสงค์ที่ (2) เพื่อทราบความเชื่อ ธรรมเนียมปฏิบัติในวันตรุษจีนและอาหารมงคลของไหว้เกี่ยวกับเทศกาลวันตรุษจีน กล่าวได้ว่า วันตรุษจีน คือ วันขึ้นปีใหม่ของจีน และเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ เป็นเทศกาลที่มีความหมายต่อชีวิตของเกษตรกรจีนมาก และ  สมัยนั้นชาวจีนให้ความสำคัญกับการเพาะปลูก จึงให้ความสำคัญกับปฏิทินจันทรคติด้วย เพื่อเตรียมเพาะปลูก เก็บเกี่ยว รวมถึงเตรียมไหว้เทพเจ้าในวันสำคัญ ส่วนเทศกาลตรุษจีนที่คนไทยเชี้อสายจีนคุ้นเคยแบ่งออกเป็น 3 วัน แต่เทศกาลตรุษจีนในประเทศจีนซึ่งรัฐบาลประกาศเป็นวันหยุดราชการนั้นยาวนานถึง 7 วัน โดยแบ่งออกเป็น 3  ช่วงเช่นเดียวกัน คือ วันจ่าย วันไหว้ และวันถือหรือวันเที่ยว  อาหารมงคลของคนไทยเชื้อสายจีนและคนจีนแตกต่างกันเชิงความหมายเท่านั้น ส่วนขนม ประเทศไทยกับประเทศจีนต่างกันอย่างชัดเจน ไม่มีขนมที่ใช้เหมือนกันเลย ประเทศไทยใน  การไหว้วันตรุษจีนจะใช้ขนมเข่ง ขนมเทียน ขนมถ้วยฟู และประเทศจีนในการไหว้วันตรุษจีนจะใช้ลูกอมกับคุกกี้ ทั้งคนไทยเชื้อสายจีนและคนจีนมีสิ่งที่ควรปฏิบัติกับไม่ควรปฏิบัติ ที่เหมือนและแตกต่างกันแค่ในบางกรณี อาทิ คนไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนห้ามกวาด หรือทำความสะอาดบ้าน แต่สำหรับคนจีนยังทำความสะอาดบ้านได้ แต่ห้ามเอาทรัพย์สินทุกชนิดแม้แต่ขยะออกไปทิ้งไว้ข้างนอกบ้าน และสุดท้ายวัตถุประสงค์ที่ (3) เพื่อทราบถึงวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมปฏิบัติของเทศกาลตรุษจีนในช่วงปี 2508 - 2566     (กลุ่มคน Gen X และ Gen Z) สามารถสรุปได้ว่า “สถาบันครอบครัวยังคงเป็นหัวใจหลักของเทศกาลตรุษจีนเสมอ” พฤติกรรมการซื้อของไหว้เจ้าจะทันสมัยขึ้นเน้นที่ความสะดวกเป็นหลัก อาหารไหว้เจ้าก็เปลี่ยนไปเป็นแบบสมัยนิยม ที่เชื่อว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้บรรพบุรุษสะดวกสบายขึ้น การเผากระดาษเงินกระดาษทองในช่วงตรุษจีนอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหามลพิษ ก็มีแนวโน้มลดลงในปัจจุบัน วันเที่ยวตรุษจีนก็ไม่คึกคักเหมือนก่อน ทั้งพิษเศรษฐกิจ โรคระบาด และญาติพี่น้องที่รวมตัวกันน้อยลง และไฮไลท์ของเทศกาลตรุษจีนคือ อั่งเปา ด้วยเทคโนโลที่ทันสมัยขึ้น ก็ใช้เทคโนโลยีแจกอั่งเปาได้ไม่ต้องพึ่งซองแดง ถือเป็นเทรนด์ใหม่ที่ฉีกขนบธรรมเนียมสำคัญของเทศกาลตรุษจีน 

Downloads

Published

2022-06-23

How to Cite

อินทะรังษี ม., ทองมาก ท., พงษ์ทอง ป., สุขไกร น., คงคาอินทร์ ล., อ่อนโสม ศ., คีรีบำรุง จ., สุขสมพล ก., เรืองรุ่ง ภ., & บุญคง พ. (2022). ความเชื่อ ตำนานและวิวัฒนาการของเทศกาลตรุษจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนและ ชาวจีนในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารสาร สื่อ ศิลป์, 4(8). Retrieved from https://acc.kpru.ac.th/journal/index.php/sarnsuesin/article/view/68