การจัดการการสื่อสารเพื่ออบรมเลี้ยงดูลูกในครอบครัวของจังหวัดยะลา

Authors

  • ศิริวรรณ เจียรชัชวาลวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพแวดล้อมทางการสื่อสารในครอบครัวของจังหวัดยะลา

2) ศึกษารูปแบบการจัดการการสื่อสารเพื่ออบรมเลี้ยงดูลูกในครอบครัวจังหวัดยะลา 3) ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารเพื่ออบรมเลี้ยงดูลูกในครอบครัวจังหวัดยะลา  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง จำนวน 10 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมทางการสื่อสารในครอบครัวของจังหวัดยะลาปัจจัยภายในบุคคล ครอบครัวมีอายุระหว่าง 33-45 ปี เป็นเพศหญิง 7 คน เพศชาย 3 คน มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 3 คน ปวส. จำนวน 4 คน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัว 15,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่จะสื่อสารด้วยการนั่งพูดคุยกัน และสื่อสารผ่านโทรศัพท์และสื่อออนไลน์ ปัจจัยภายนอกบุคคล พบว่า เป็นครอบครัวเดี่ยวจำนวน 8 ครอบครัว ครอบครัวขยาย 2 ครอบครัว ส่วนใหญ่ใช้เวลาตอนเย็นหลังเลิกงานในการพูดคุยเพื่อสอบถามปัญหา พูดจาหยอกล้อกัน และครอบครัวที่ได้ให้การสัมภาษณ์เป็นครอบครัวชาวไทยพุทธจำนวน 7 ครอบครัวเป็นชาวมุสลิม 3 ครอบครัว 2) รูปแบบการจัดการการสื่อสารเพื่ออบรมเลี้ยงดูลูกในครอบครัวจังหวัดยะลาใช้รูปแบบการสื่อสารแบบประนีประนอม รูปแบบปกป้อง และรูปแบบเปิดเสรีตามลำดับ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารเพื่ออบรมเลี้ยงดูลูกในครอบครัวจังหวัดยะลา พบว่า แต่ละครอบครัวใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมากขึ้น แต่การพูดคุยแบบเผชิญหน้าลดลง

Downloads

Published

2022-12-17

How to Cite

เจียรชัชวาลวงศ์ ศ. (2022). การจัดการการสื่อสารเพื่ออบรมเลี้ยงดูลูกในครอบครัวของจังหวัดยะลา. วารสารสาร สื่อ ศิลป์, 5(9). Retrieved from https://acc.kpru.ac.th/journal/index.php/sarnsuesin/article/view/76