โอกาสและอุปสรรคของการบริหารจัดการพื้นที่รอบเขตมรดกโลก: ศึกษาเปรียบเทียบกรณี อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
Keywords:
การบริหารจัดการพื้นที่รอบเขตมรดกโลก, อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการพื้นที่รอบเขตมรดกโลกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโอกาสและอุปสรรคของการบริหารจัดการพื้นที่รอบเขตมรดกโลกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง การเข้าสังเกตการณ์ในพื้นที่ ตรวจสอบข้อมูลด้วยการวิพากษ์ภายนอกและวิพากษ์ภายใน ผลการวิจัยพบว่า จากยุทธศาสตร์ 5 ซี(the “5Cs” Strategic) ขององค์การยูเนสโก ในข้อ (1) ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ (Credibility) อุทยานประวัติศาสตร์ทั้งสองแห่งมีโอกาสที่ดีเนื่องจากได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2535) โดยมีกรมศิลปากรเป็นหน่วยงานราชการผู้รับผิดชอบหลัก ข้อ (2) การอนุรักษ์และปกป้องแหล่งมรดกโลก (Conservation) กรมศิลปากรได้ยกระดับการอนุรักษ์โบราณสถานมากขึ้นภายหลังจากการที่อุทยานประวัติศาสตร์ทั้งสองแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อพ.ศ.2534 และยังมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน แต่ปรากฏอุปสรรคในข้อ (3) การให้อำนาจและให้มีความสามารถ (Capacity-Building) ซึ่งภาครัฐยังคงครอบครององค์ความรู้เรื่องการอนุรักษ์และยังไม่ค่อยได้เผยแพร่สู่ภาคประชาชนและเยาวชนซึ่งยังขาดองค์ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ แต่ภาครัฐมีโอกาสในแง่ของข้อ (4)การสื่อสารสู่สาธารณชน (Communication) และภาครัฐสามารถขอความร่วมมือจากสาธารณชนได้ และข้อ(5) ต้องให้ชุมชนต่างๆเข้ามาเป็นเครื่องมือ (Communities) เพื่อการอนุรักษ์ที่สมบูรณ์ ซึ่งพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรมีโอกาสมากกว่าพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 วารสารสาร สื่อ ศิลป์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร สาร สื่อ ศิลป์ นี้เป็นวารสารที่อยู่ภายใต้ creative commons attribution-noncommercial-noderivatives 4.0 international (cc by-nc-nd 4.0). เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น