บทความปริทัศน์: ปรัชญา กระบวนทัศน์ และทฤษฎีการสื่อสารการเมืองกลุ่มสังคมมวลชน

Authors

  • ภคมินทร์ เศวตพัฒนโยธิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

สื่อสารการเมือง, สังคมมวลชน

Abstract

บทความปริทัศน์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปริทัศน์ปรัชญา กระบวนทัศน์ และทฤษฎีการสื่อสารการเมืองกลุ่มสังคมมวลชน ทั้งนี้ องค์ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารการเมืองยังไม่มีทฤษฎีที่แน่นอนของตนเอง แต่เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการระหว่างนิเทศศาสตร์และรัฐศาสตร์ สำหรับประวัติศาสตร์ของปรัชญาและกระบวนทัศน์การสื่อสารการเมือง เลื่อนไหลคู่ขนานไปพร้อมกับกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมจากสังคมดั้งเดิมไปสู่สังคมสมัยใหม่ แบ่งได้  5 ยุค ได้แก่ 1) การสื่อสารการเมืองยุคแรกเป็นการใช้อำนาจลี้ลับและความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 2) ยุคที่สองเป็นการค้นหากฎเกณฑ์สากลทางจริยศาสตร์การปกครองตามทัศนะของนักปรัชญากรีก 3) ยุคที่สามเป็นการสื่อสารการเมืองภายใต้หลักของคริสตจักร 4) ยุคที่สี่เป็นการสื่อสารการเมืองที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในเวทีการเมืองโลก 5) ยุคที่ห้าเป็นการสื่อสารการเมืองเพื่อแสวงหาสันติสุขและสันติภาพ สำหรับทฤษฎีการสื่อสารการเมือง เริ่มก่อรูปจากกลุ่มทฤษฎีสังคมมวลชนในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้แก่ ทฤษฎีการโฆษณาชวนเชื่อ ทฤษฎีการปั้นแต่งมติมหาชน ทฤษฎีการวางกรอบข่าวสาร ทฤษฎีวงเกรียวแห่งความเงียบงัน ถือกำเนิดจากความสนใจศึกษาการสร้างภาพลักษณ์ของรัฐ/ผู้ปกครอง และบทบาทของสื่อที่สัมพันธ์กับการครอบงำพลเมือง  ทั้งนี้ ศาสตร์การสื่อสารการเมืองมีคุณูปการในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ที่หลากหลายในปัจจุบัน อาทิ การทำความเข้าใจกลไกทื่เชื่อมโยงชนชั้นปกครองและผู้ใต้ปกครองเข้าด้วยกัน การเสริมอำนาจและเสถียรภาพของรัฐ การสร้างความเห็นพ้องในสังคม การเสริมพลังและสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาคประชาชน การสื่อสารวาทกรรมและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

Downloads

Published

2021-12-14 — Updated on 2021-12-14

Versions

How to Cite

เศวตพัฒนโยธิน ภ. (2021). บทความปริทัศน์: ปรัชญา กระบวนทัศน์ และทฤษฎีการสื่อสารการเมืองกลุ่มสังคมมวลชน. วารสารสาร สื่อ ศิลป์, 4(7). Retrieved from https://acc.kpru.ac.th/journal/index.php/sarnsuesin/article/view/84