ความสัมพันธ์ของแม่และลูก โดยใช้เพลงกล่อมเด็กเป็นสื่อกลางในแต่ละภาค

Authors

  • เอมอร แสงท้าว โรงเรียนบ้านคลองเมือง

Keywords:

เพลงกล่อมเด็ก, แม่และลูก, ความสัมพันธ์

Abstract

เพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะชนิดหนึ่ง โดยเป็นเพลงที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กใช้ร้องขับกล่อมให้เด็กฟังเพื่อให้เด็กนอนหลับสบาย ไม่งอแง พัฒนามาจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอนในสมัยก่อน ต่อมาจึงมีการใส่ทำนองเพลงช้าๆ เพื่อความไพเราะ และสร้างบรรยากาศให้เด็กหลับง่ายขึ้น สานสัมพันธ์ความรัก ความห่วงใยจากพ่อแม่สู่ลูก ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม วิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนผ่านบทเพลง โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของเพลงกล่อมเด็กในไทย ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นมาของเพลงกล่อมเด็ก ในไทยมีลักษณะคล้ายๆกัน แต่มีที่มาของแต่ละคำที่ใช้ในเฉพาะพื้นที่นั้นๆ ที่แตกต่างกันในแต่ละภาคเป็นเพลงที่มุ่งชักจูงให้เด็กหลับง่าย, ร้องขับกล่อม, และมีการปลอบประโลม มีลักษณะทางวัฒนธรรมและถูกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น  2) เพื่อศึกษาลักษณะของเพลงกล่อมเด็กในเเต่ละภาค ผลการศึกษาพบว่า ภาคกลาง จะเป็นการขับกล่อมอย่างช้าๆกลุ่มเสียงจะซ้ำๆกัน เน้นใช้เสียงทุ้มเย็น ฉันทลักษณ์ไม่ตายตัว ในภาคเหนือ ไม่มีการกำหนดความยาวที่แน่นอนโดยจะแบ่งเป็นวรรคมีความยาววรรคละ 3-4 คำหรือมากกว่านั้น ใช้ทำนองที่เป็นการพรรณนาถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภาคอีสานมักมีช่วงทำนองที่เรียบง่ายใช้เสียงซ้ำๆ แม้จะร้องด้วยจังหวะช้า แต่แฝงน้ำเสียงที่สนุกสนานคล้ายกับเสียงแคน ในภาคใต้ ลักษณะคำประพันธ์ เป็นกลอนในแต่ละวรรคมี 4-10 คำ ตามแต่เนื้อเพลง อาจมีความยาวถึง 30 วรรคได้ ส่วนมากร้องเกริ่นด้วยคำว่า ฮาเอ้อ จบท้ายวรรคแรกด้วยคำว่า เหอ เสียงยาวๆ 3) เพื่อศึกษาแนวทางอนุรักษ์เพลงกล่อมเด็ก ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มีแนวทางที่จะสามารถอนุรักษ์เพลงกล่อมเด็กในไทย โดยการรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็กไว้ในระบบออนไลน์เพื่อใช้ในสืบค้น การเก็บรวบรวมในห้องสมุด หอสมุดแห่งชาติ การจัดประกวด การอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ จัดเผยแพร่ความรู้และวิธีร้องเพลงเด็กล้านนา ทางสื่อมวลชนต่างๆ การยกย่องเชิดชู ให้เกียรติผู้ที่อนุรักษ์สืบทอดเพลงเด็กดีเด่น เป็นต้น

Downloads

Published

2024-05-30

How to Cite

แสงท้าว เ. (2024). ความสัมพันธ์ของแม่และลูก โดยใช้เพลงกล่อมเด็กเป็นสื่อกลางในแต่ละภาค. วารสารสาร สื่อ ศิลป์, 6(11). Retrieved from https://acc.kpru.ac.th/journal/index.php/sarnsuesin/article/view/92