ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบำพุทธบูชา"

จาก ฐานข้อมูลการละเล่นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชร
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
บรรทัดที่ 3: บรรทัดที่ 3:
           ระบำพุทธบูชา - นบพระมาฆ-ปุรณมี
           ระบำพุทธบูชา - นบพระมาฆ-ปุรณมี
==='''ชื่อเรียกอื่น ๆ'''===  
==='''ชื่อเรียกอื่น ๆ'''===  
           ระบำพุทธบูชา ระบำนบพระ–มาฆ-ปุรณมี
           ระบำพุทธบูชา ระบำนบพระ-มาฆ-ปุรณมี


==='''ประเภทการแสดง '''===  
==='''ประเภทการแสดง '''===  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:40, 7 ธันวาคม 2566

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อการแสดง

         ระบำพุทธบูชา - นบพระมาฆ-ปุรณมี

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         ระบำพุทธบูชา ระบำนบพระ-มาฆ-ปุรณมี

ประเภทการแสดง

         - เป็นการแสดงสร้างสรรค์เพื่อใช้ในงานประเพณีเพื่อเป็นอัตลักษณ์จังหวัดกำแพงเพชร
         - เพื่อใช้ในโอกาสเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมระดับชาติ และระดับนานาชาติ

โอกาสที่ใช้ในการแสดง

         - ใช้ในโอกาสพิธีเปิดงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง
         - ใช้ในโอกาสการแสดงเวทีงานเทศกาลของจังหวัดกำแพงเพชร

ผู้คิดค้น

         - ประพันธ์เพลงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชชัย พวกดี
         - ท่ารำ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา

สถานที่ริเริ่ม/สถานที่จัดแสดง

         - อุทยานประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชรเมืองมรดกโลก
         - วัดพระบรมธาตุเจดีย์หลวง นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         - งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่
         - งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย	
         - แสดงเวทีกลางประเพณีนบพระ-เล่นเพลง		

ข้อมูลการแสดง

         ระบำพุทธบูชาเป็นการแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ และสามารถนำไปประกอบการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลงได้

ประวัติความเป็นมา

         ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลงวันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา วิธีดำเนินการใช้หลักการสร้างสรรค์โดยยึดหลักการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ที่มีองค์ประกอบของการแสดงระบำ  การออกแบบท่ารำ การออกแบบเครื่องแต่งกาย การทำเพลงและดนตรีประกอบกการแสดง การแปรรูปแบบแถว อุปกรณ์ประกอบการแสดง การคัดเลือกนักแสดง ในการดำเนินการได้ศึกษาท่าหลักจากท่ารำพื้นฐาน รำแม่บท รำเพลงช้าเพลงเร็วและมีท่าประดิษฐ์ขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นท่าเฉพาะในชุดการแสดงเช่น ท่ารำบูชาไหว้พระโดยเลียนแบบท่ามาจากภาพรูปปั้นนางรำที่ปรากฏให้พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เครื่องแต่งกายได้เลียนแบบมาจากภาพแกะสลักของรูปปั้นนางรำ บางส่วน การแปรรูปแถวให้เกิดความงามและเปลี่ยนแปลงสายตาผู้ชม ในการแสดงชุดนี้ได้แบ่งการแสดงออกเป็นสองช่วง ช่วงที่หนึ่งเป็นการเกริ่นนำเพื่อบูชาพระไตรรัตน์มีบทร้องกำกับในการแสดงและตีภาษาท่าตามบทร้อง ช่วงที่สองเป็นการแสดงตามทำนองเพลงที่กำหนดไว้มีท่อนช้าและเร็วตามลำดับลักษณะ การแสดงของกระบวนท่ารำได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องกับทำนองเพลงและมีความหมายชองท่ารำในการบูชาพระรัตนตรัย
         การสร้างสรรค์ระบำชุดนี้สามารถนำไปใช้เพื่อการแสดงในพิธีเปิดงานนบพระ-เล่นเพลง และสามารถนำไปใช้แสดงในโอกาสต่าง ๆ ได้และยังเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่เป็นการสืบสานนาฏศิลป์ไทยและยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย

อุปกรณ์ประกอบ