ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

จาก ฐานข้อมูลการละเล่นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชร
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลพื้นฐาน[แก้ไข]

ชื่อชุดการแสดง[แก้ไข]

         ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร กำแพงเพชรรวมชาติพันธุ์ชนหลายเผ่า อยู่นานเนาวัฒนธรรมที่หลากหลาย ชนหลายกลุ่มลุ่มแม่ปิงมิเสื่อมคลาย สื่อความหมายต่างสายน้ำเนิ่นนานมา เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต เครื่องแต่งกายที่แตกต่างสวยสดงดงามตามเอกลักษณ์ของชนเผ่าที่มีเอกลักษณ์

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         ระบำรวมชาติพันธ์ชาวเขาในกำแพงเพชร   

ประเภทการแสดง[แก้ไข]

         “ระบำ” เป็นการแสดงชุดสร้างสรรค์ 

โอกาสที่ใช้ในการแสดง[แก้ไข]

         - การแสดงต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร
         - ใช้ในโอกาสเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม
         - ใช้ในการแสดงในงานประเพณีของจังหวัดกำแพงเพชร
         - ใช้แสดงเพื่อการเรียนการสอน

ผู้คิดค้น[แก้ไข]

         - ท่ารำ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์  ใจวิสุทธิ์หรรษา
         - ประพันธ์เพลง โดย อาจารย์อนุลักษณ์  อาสาสู้
         - เครื่องแต่งกาย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์  ใจวิสุทธ์หรรษา

สถานที่ริเริ่ม/สถานที่แสดง[แก้ไข]

         - มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
         - งานมหกรรมวัฒนธรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
         - เวทีกลางงานประเพณีจังหวัดกำแพงเพชร

ข้อมูลการแสดง[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]

         เป็นการแสดงชุดใหม่ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เป็นชุดการแสดงประจำจังหวัดกำแพงเพชรอีกชุดหนึ่งเพื่อนำเสนอในเรื่องของกลุ่มชาติพันธุ์ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย มีวิถีชีวิต เครื่องแต่งกาย อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ประดิษฐ์ชุดการแสดงโดยนำเอาวิถีการแต่งกายของแต่ละชาติพันธุ์มาเรียงร้อยลำดับต่อเนื่องให้เป็นการแสดงชุดใหม่ แต่งคำประพันธ์ขึ้นใหม่ บรรจุเพลงใหม่ บรรจุท่ารำใหม่ ให้สอดคล้องกับเนื้อร้องทำนอง ให้เกิดสุนทรียทางด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทย การแสดงชุดนี้เน้นความงดงามของเครื่องแต่งการแต่ละชาติพันธุ์ โดยมีเผ่าม้ง เผ่าลีซอ เผ่ามูเซอ เผ่ากะเหรี่ยง ลั๊ว เย้า ไทยทรงดำ ลาวคั่ง ไทยยวน การแสดงชุดนี้มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเด่นคือ การแต่งกายประจำชาติพันธุ์ที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน

อุปกรณ์การแสดง[แก้ไข]

         ไม่มีอุปกรณ์การแสดง

ขั้นตอน/วิธี/กระบวนการ[แก้ไข]

         - รวบรวมข้อมูลจากเอกาสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
         - ศึกษาข้อมูลลงพื้นที่เก็บรวมรวมข้อมูลจาก สถานที่จริง
         - วิเคราะห์ข้อมูล แต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลง
         - ประดิษฐ์ท่ารำ
         - ออกแบบเครื่องแต่งกายประกอบการแสดง
         - ฝึกซ้อมการแสดง
         - จัดการแสดงและประเมินผล

ท่าการแสดงจำเพาะ[แก้ไข]

         การออกแบบท่ารำ ใช้ภาษาท่าตีความหมายตามคำร้องไม่การแสดงซับซ้อน เนื่องจากเป็นการแสดงชนเผ่าชาติพันธุ์ มุ่งเน้นความงดงามไปที่เครื่องแต่งกาย

ข้อมูลการแสดง[แก้ไข]

เพศผู้แสดง[แก้ไข]

         เพศหญิง

จำนวนนักแสดง[แก้ไข]

         จำนวน 9 คน หรือ 18 คน

ลักษณะผู้แสดง[แก้ไข]

         ใช้ผู้หญิงแสดงล้วนเพื่อเป็นการแสดงที่มุ่งเน้นการแสดงเอกลักษณ์การแต่งกายชาติพันธุ์ของสุภาพสตรี

การแต่งกายผู้แสดง/เครื่องประดับ[แก้ไข]

         แต่งกายตามชาติพันธุ์

ข้อมูลเพลง/ดนตรี[แก้ไข]

เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง[แก้ไข]

         เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่เฉพาะเพื่อใช้ในการแสดงชุดระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร ชื่อเพลง “ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร”

เนื้อเพลง[แก้ไข]

เกริ่น

- ดรม - - - ซ - - - ล - - -ม - - - ซ - - - ม - - - ล / / / /
- - - ม - - - ซ - - - ม - - - ล ม ซ ม ล ม ซ ม ล ม ซ ม ล ม ซ ม ล
- - - ซ - - - รํ - - - มํ - - - ดํ / / / / / / / / / / / / / / / /

ร้อง

- - - มํ - - - รํ - - - ดํ - - - ล - - - ร - - - ม - - - ซ - - - ล
- - - ซ - - - ม - - - ซํ - - - รํ - - - ม - - - ซ - - - ล - - - ดํ
            กำแพงเพชรรวมชาติพันธุ์ชนหลายเผ่า	อยู่นานเนาวัฒนธรรมที่หลากหลาย
         ชนหลายกลุ่มลุ่มแม่ปิงมิเสื่อมคลาย		สื่อความหมายต่างสายน้ำเนิ่นนานมา

1. เผ่าม้ง แคนม้งเกริ่น

- - - ซ - ม – ล - ซ – ม ร ด – ร - - - ม - ซ – ล - ซ – ล - ด - ร
- - - ซ - ม – ล - ซ – ม ร ด – ร - - - ม - ซ – ล - ซ – ม ร ด – ร
             ชาวเผ่าม้งนุ่งห่มสีดำขลับ                  งามประดับลูกปัดเหรียญทรงคุณค่า
         กระทบเสียงเมื่อเคลื่อนไหวมีราคา  	        บ่งบอกค่าฐานะทางสังคม

2. เผ่าเย้า กลองและเกราะ

- - - รํ - รํ- ล - - - รํ - รํ – ดํ - - - รํ - รํ – ล - ดํ – ฟ - ล - ซ
- - - รํ - รํ- ล - - - รํ - รํ – ดํ - - - ฟ - ซ – ล - ดํ – ร - ฟ – ซ
             ชาวเผ่าเย้านุ่งกางเกงสีดำหมด           พู่สวยสดสีแดงดูงามสม
         ปักลวดลายหน้าผ้าให้กลืนกลม    		แลนุ่งห่มคล้ายคนจีนดูเข้าที

3. เผ่ากะเหรี่ยง พิณเตะนาเกริ่น

- - - ล - ดํ – ร - ฟ – ซ - ล – ดํ - - - ล - ดํ – ร - ฟ – รํ - ล – ดํ
- - - ล - ดํ – ร - ฟ – รํ - ล – ดํ - - - ซ - ล – ซ - ฟ – ซ ฟ ร – ด
             เผ่ากะเหรี่ยงนุ่งห่มด้วยสีขาว   	        เมื่อถึงคราวแต่งงานต้องเปลี่ยนสี
        นุ่งสีดำหรือแดงความหมายมี  		        เสื้อผ้านี้ทรงกระสอบตัดง่ายดาย

4. เผ่ามูเซอ กลองเกริ่น

- - - ร - - ฟ ซ - ล ซ ฟ - ซ - - ฟ ร ด ร - ฟ – ซ ล ซ ฟ ซ - - ล ดํ
- - - ล - ด – ร ฟ ร ด ล - ด - - ซ ซ ล ซ ฟ ร ฟ ซ ล ซ ฟ ร - ด - -
             เผ่ามูเซอนุ่งดำคู่ควรค่า      	        ตัดสีฟ้าเสริมเด่นเป็นลวดลาย
        เครื่องเงินมีประดับไว้รอบกาย   		งามทั้งหลายอัตลักษณ์กลุ่มชน  

5. เผ่าลั๊ว เกราะ

- - - - - ม – ล - ม – ล - ม – ซ - ม – ล - ม – ซ - ม – ซ - ล – ด
- - - - - ล – ร - ล – ร ล – ด ล – ร ล – ด ฟ – ร ฟ ร – ด
             เผ่าลั๊วสวมเสื้อขาวนุ่งผ้าสั้น   	        ใช้ผ้าพันทรงกระบอกทุกแห่งหน
         สวมทับเสื้อแขนยาวขลิบแดงปน  		ประดับตนลูกปัดหินและกำไล

6. เผ่าลีซอ กลอง

- - - - - - - ซ - ฟ – ร - ฟ – ซ - - - ด - ร – ซ - ด – ล ซ ฟ - ซ
- - - - - - - ซ - ฟ – ร - ฟ – ซ - - - ด - ล – ร - ดํ – ล ซ ฟ – ซ
             เผ่าลีซอสวมเสื้อยาวถึงตาตุ่ม	         ยาวและคลุมผ้าคาดเอวสีสดใส
        สวมเสื้อคอกลมทับผ่าขวาเอาไว้    		ประดับได้ด้วยเครื่องเงินกระดุมกลม

7. ไทยวน แคนแปด

- - - ซ - ม ร ด ล ด ร ม ซ ม ร ด ล ด ร ม ซ ม ร ด ล ด ร ซ ม ร ด
ล ซ – ซ
            ไทยยวนแต่งกายคล้ายลานนา      	ซิ่นทอหัวผ้าลวดลายงามสม
         สวมเสื้อแขนกระบอกสไบห่ม     		เกล้ามวยผมประดับดอกไม้มากมี

8. ไทยทรงดำ แคนแปด ไหซอง

(- - - - - ล – ดํ - ล – ดํ - ล – ซ - ล – ซ - ดํ – ล - ซ – ด - ร – ม )
- - - - - ม – ซ - ล – ซ - ม – ร - - - ด - ล – ด - ร – ม - ร – ด
- - - - - ล – ด - - - - - ร – ม - - ซ ล - ซ – ม - ซ – ร - ร – ร
             ไทยทรงดำจดจำมั่นหมาย  	        พวกเราทั้งหลายสวมใส่”เสื้อฮี”
         สีดำเป็นอัตลักษณ์ยึดมั่นในประเพณี    	งานสำคัญของเรานี้สวมชุดฮีพร้อมเพรียงกัน

9. ลาวครั่ง(คั่ง) แคนแปด ไหซอง

- - - - - - - ล - - - ซ - ม – ล - - - ซ - ด – ล - - - ซ - ม – ล
- - - - - ซ – ม - - - ร - ด – ม - - - ร - ซ – ม - - - ร - ด – ล
- - - ด - ร – ม - ร – ด - ซ – ล - - - ด - ร – ม - ร – ด - ซ – ล
             ชาวครั่งพวกเราเผ่านี้หนอ      	        นุ่งห่มทอด้วยผ้าไหมมัดหมี่
         ลายโดดเด่นนุ่งห่มมากมี  			ผืนดินแดนนี้สุขยั้งยืนนาน
                                                       (สรุป)
                                                    (ซึงเกริ่น)

ร้องเพลง

- - - - - ล – ด - - - ร - ล - - - ท ล ซ ล ท ล ด - ร ล ดํ - ร ล ดํ
- - - ม - ม – ม - ซ – ม - ร – ด - - - ม - ม – ม - ซ – ม - ร – ด
- ซ ล ท - ล – ล ท ล ซ ม - ซ – ล
             ทุกชาติพันธุ์ล้วนพี่น้องเป็นผองเผ่า      อยู่นานเนากำแพงเพชรสมัครสมาน
         บนผืนดินชากังราวมาเนิ่นนาน		        สุขสำราญสามัคคีพีน้องไทย

สะล้อเดี่ยว

- - - ซ - - - ม - ซ – ล - - - - - ม – ซ - - - - - - - ด - - - ล
- - - ล - ด – ร - - - ม - ล – ด
                                                       กลับต้น

เพลงเร็ว

(- - - - - - - ม - ซ – ม - ซ – ล - ด – ล - ด – ล - ด – ล - ร – ด)
- ซ – ซ - ซ – ซ - ร ด ล - ซ – ซ - ซ – ซ - ซ – ซ - ร ด ล - ม – ร
- ซ – ซ - ซ – ซ - ร ด ล - ซ – ซ - ซ – ซ - ม – ม - ซ – ล - ร – ด

รัว จบ

- ดรม - - - ซ - - - ล - - -ม - - - ซ - - - ม - - - ล / / / /
- - - ด - - - - ล - ด – ร - ม – ด

ประพันธ์ รวบรวม/เรียบเรียง โดย อนุลักษณ์ อาสาสู้
ม.ค. 61 – ม.ค. 62

ผู้แต่งเพลง[แก้ไข]

         อาจารย์อนุลักษณ์  อาสาสู้

เครื่องดนตรีประกอบ[แก้ไข]

         - วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
         - วงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

วันที่สำรวจ[แก้ไข]

         ปี พ.ศ.2559

วันที่ปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         ตุลาคม - ธันวาคม 2560

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา