ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

จาก ฐานข้อมูลการละเล่นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชร
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:19, 7 ธันวาคม 2566 โดย Admin (คุย | ส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลพื้นฐาน'''== ==='''ชื่อชุดการแสดง'''=== ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร กำแพงเพชรรวมชาติพันธุ์ชนหลายเผ่า อยู่นานเนาวัฒนธรรมที่หลากหลาย ชนหลายกลุ่มลุ่มแม่ปิงมิเสื่...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อชุดการแสดง

         ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร กำแพงเพชรรวมชาติพันธุ์ชนหลายเผ่า อยู่นานเนาวัฒนธรรมที่หลากหลาย ชนหลายกลุ่มลุ่มแม่ปิงมิเสื่อมคลาย สื่อความหมายต่างสายน้ำเนิ่นนานมา เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต เครื่องแต่งกายที่แตกต่างสวยสดงดงามตามเอกลักษณ์ของชนเผ่าที่มีเอกลักษณ์

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         ระบำรวมชาติพันธ์ชาวเขาในกำแพงเพชร   

ประเภทการแสดง

         “ระบำ” เป็นการแสดงชุดสร้างสรรค์ 

โอกาสที่ใช้ในการแสดง

         - การแสดงต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร
         - ใช้ในโอกาสเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม
         - ใช้ในการแสดงในงานประเพณีของจังหวัดกำแพงเพชร
         - ใช้แสดงเพื่อการเรียนการสอน

ผู้คิดค้น

         - ท่ารำ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์  ใจวิสุทธิ์หรรษา
         - ประพันธ์เพลง โดย อาจารย์อนุลักษณ์  อาสาสู้
         - เครื่องแต่งกาย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์  ใจวิสุทธ์หรรษา

สถานที่ริเริ่ม/สถานที่แสดง

         - มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
         - งานมหกรรมวัฒนธรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
         - เวทีกลางงานประเพณีจังหวัดกำแพงเพชร

ข้อมูลการแสดง

ประวัติความเป็นมา

         เป็นการแสดงชุดใหม่ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เป็นชุดการแสดงประจำจังหวัดกำแพงเพชรอีกชุดหนึ่งเพื่อนำเสนอในเรื่องของกลุ่มชาติพันธุ์ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย มีวิถีชีวิต เครื่องแต่งกาย อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ประดิษฐ์ชุดการแสดงโดยนำเอาวิถีการแต่งกายของแต่ละชาติพันธุ์มาเรียงร้อยลำดับต่อเนื่องให้เป็นการแสดงชุดใหม่ แต่งคำประพันธ์ขึ้นใหม่ บรรจุเพลงใหม่ บรรจุท่ารำใหม่ ให้สอดคล้องกับเนื้อร้องทำนอง ให้เกิดสุนทรียทางด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทย การแสดงชุดนี้เน้นความงดงามของเครื่องแต่งการแต่ละชาติพันธุ์ โดยมีเผ่าม้ง เผ่าลีซอ เผ่ามูเซอ เผ่ากะเหรี่ยง ลั๊ว เย้า ไทยทรงดำ ลาวคั่ง ไทยยวน การแสดงชุดนี้มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเด่นคือ การแต่งกายประจำชาติพันธุ์ที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน

อุปกรณ์การแสดง

         ไม่มีอุปกรณ์การแสดง

ขั้นตอน/วิธี/กระบวนการ

         - รวบรวมข้อมูลจากเอกาสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
         - ศึกษาข้อมูลลงพื้นที่เก็บรวมรวมข้อมูลจาก สถานที่จริง
         - วิเคราะห์ข้อมูล แต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลง
         - ประดิษฐ์ท่ารำ
         - ออกแบบเครื่องแต่งกายประกอบการแสดง
         - ฝึกซ้อมการแสดง
         - จัดการแสดงและประเมินผล

ท่าการแสดงจำเพาะ

         การออกแบบท่ารำ ใช้ภาษาท่าตีความหมายตามคำร้องไม่การแสดงซับซ้อน เนื่องจากเป็นการแสดงชนเผ่าชาติพันธุ์ มุ่งเน้นความงดงามไปที่เครื่องแต่งกาย

ข้อมูลการแสดง

เพศผู้แสดง

         เพศหญิง

จำนวนนักแสดง

         จำนวน 9 คน หรือ 18 คน

ลักษณะผู้แสดง

         ใช้ผู้หญิงแสดงล้วนเพื่อเป็นการแสดงที่มุ่งเน้นการแสดงเอกลักษณ์การแต่งกายชาติพันธุ์ของสุภาพสตรี

การแต่งกายผู้แสดง/เครื่องประดับ

         แต่งกายตามชาติพันธุ์