ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิถีชีวิตคนพรานกระต่ายกับของฝากขึ้นชื่ออำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "== บทนำ == คนพรานกระต่าย หรือ “พรานต๋าย” ตามภาษาถิ่นที...")
 
แถว 1: แถว 1:
 
== บทนำ ==
 
== บทนำ ==
           คนพรานกระต่าย หรือ “พรานต๋าย” ตามภาษาถิ่นที่ใช้เรียกกัน มีวิถีชีวิตที่อิงกับธรรมชาติมาอย่างช้านานด้วยความที่พื้นที่มีแม่น้ำไหลผ่านเกิดเป็นความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ มีทั้งต้นไม้นานาชนิดและสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ไม้ไผ่ เป็นไม้ชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ คนพรานกระต่ายจึงนิยมนำไม้ไผ่เหล่านี้มาจักสานเป็นอุปกรณ์ หรือใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังนำไม้ไผ่มาทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้เพื่อใช้ในครัวเรือนอีกด้วย  จัก เป็นการเตรียมวัสดุที่จะใช้ในการ  จักสาน โดยนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้ว เพื่อความสะดวกในการสาน ลักษณะของการจักสานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิด ซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป เช่น วัสดุที่นำมาจักนั้นเป็นไม้ไผ่หวาย มักเรียกว่า ตอก และการจักตอกไม้ไผ่โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ จักตามแนวไม้ไผ่โดยมีผิวไม้เป็นส่วนแบน เรียกว่า ตอกพื้น ส่วนอีกลักษณะหนึ่งจะจักโดยมีผิวไม้เป็นส่วนสันตอกเรียกว่า ตอกตะแคง นอกเหนือจากตอกไม้ไผ่สองลักษณะนี้แล้ว อาจจะมีตอกที่จัก เหลา เป็นเส้นกลม ๆ หรือลักษณะอื่น ๆ ตามความต้องการที่จะนำตอกชนิดนั้น ๆ ไปใช้อย่างไรก็ตาม การจักตอกเป็นงานขั้นแรกที่สำคัญในการทำเครื่องจักสาน เพราะลักษณะของตอกจะต้องประสานกับลวดลายและรูปทรงของเครื่องจักสานด้วย นอกจากนี้การเลือกสรรวัสดุที่ดีก็มีผลต่อความคงทนและความประณีตสวยงานของเครื่องจักสานด้วย (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, 2561)
+
           คนพรานกระต่าย หรือ “พรานต๋าย” ตามภาษาถิ่นที่ใช้เรียกกัน มีวิถีชีวิตที่อิงกับธรรมชาติมาอย่างช้านานด้วยความที่พื้นที่มีแม่น้ำไหลผ่านเกิดเป็นความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ มีทั้งต้นไม้นานาชนิดและสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ไม้ไผ่ เป็นไม้ชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ คนพรานกระต่ายจึงนิยมนำไม้ไผ่เหล่านี้มาจักสานเป็นอุปกรณ์ หรือใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังนำไม้ไผ่มาทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้เพื่อใช้ในครัวเรือนอีกด้วย  จัก เป็นการเตรียมวัสดุที่จะใช้ในการจักสาน โดยนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้ว เพื่อความสะดวกในการสาน ลักษณะของการจักสานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิด ซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป เช่น วัสดุที่นำมาจักนั้นเป็นไม้ไผ่หวาย มักเรียกว่า ตอก และการจักตอกไม้ไผ่โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ จักตามแนวไม้ไผ่โดยมีผิวไม้เป็นส่วนแบน เรียกว่า ตอกพื้น ส่วนอีกลักษณะหนึ่งจะจักโดยมีผิวไม้เป็นส่วนสันตอกเรียกว่า ตอกตะแคง นอกเหนือจากตอกไม้ไผ่สองลักษณะนี้แล้ว อาจจะมีตอกที่จัก เหลา เป็นเส้นกลม ๆ หรือลักษณะอื่น ๆ ตามความต้องการที่จะนำตอกชนิดนั้น ๆ ไปใช้อย่างไรก็ตาม การจักตอกเป็นงานขั้นแรกที่สำคัญในการทำเครื่องจักสาน เพราะลักษณะของตอกจะต้องประสานกับลวดลายและรูปทรงของเครื่องจักสานด้วย นอกจากนี้การเลือกสรรวัสดุที่ดีก็มีผลต่อความคงทนและความประณีตสวยงานของเครื่องจักสานด้วย (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, 2561)
 +
== ความเป็นมาของจากจักสานไม้ไผ่ ==
 +
          นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานว่า เมื่อประมาณ 4000 ปีมาแล้ว มนุษย์ได้รู้จักวิธีการจักสานของใช้ด้วยไม้ไผ่ เป็นลักษณะลายขัดสองเส้น หลักฐานนี้ได้ค้นพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งถือเป็นดินแดนที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย หลักฐานการค้นพบเครื่องจักสานนี้นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังได้พบที่แอฟริกาและในทวีปเอเชียบางแห่ง บริเวณแหลมมลายู (ในยุคหิน) ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสานที่ทำด้วยไม้กองรวมอยู่กับของใช้ของผู้ตาย จึงสันนิษฐานว่าเครื่องจักสานได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมความเชื่อบางอย่างของมนุษย์ในยุคนั้นบ้างแล้ว ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้มีการดำเนินชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ จึงเป็นที่เชื่อได้ว่ามนุษย์ได้รู้จักพัฒนาการเครื่องจักสานให้เหมาะสมกับการใช้สอยขึ้นมาเรื่อยๆ ยังมีหลักฐานการค้นพบเครื่องมือที่ทำด้วยหินจำพวกขวาน และเครื่องปั้นดินเผาสมัยหินเก่า ที่บ้านท่ามะนาว ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ทั้งนี้เพราะการขยายตัวออกมาดำเนินชีวิตในที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้อย่างเหลือเฟือ สิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ก็คือ การหาเครื่องมือบางชนิดไว้ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่เครื่องจับสัตว์
 +
== การจักสานไม้ไผ่ในพื้นที่พรานกระต่าย ==
 +
          มนุษย์มีความเฉลียวฉลาดในการเลือกสรรวัตถุดิบแต่ละชนิดจากธรรมชาติ มาทำเป็นเครื่องจักสานให้สอดคล้องเหมาะสมกับการใช้สอย “ไผ่” เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอีกชนิดหนึ่งที่จะนำมาแปรรูปเป็นวัสดุ สำหรับทำเครื่องจักสานมากที่สุด จึงเห็นได้ว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นเครื่องจักสานที่นิยมใช้ และผลิตกันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย ไผ่ที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ดี มีหลายพันธุ์ อาทิ ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เฮี้ยะ ไผ่ข้าวหลาม จึงมีผู้นำภูมิปัญญาการจักสานมาใช้ในชีวิตประจำวันและได้มีการนำภูมิปัญญามาใช้ในการประกอบอาชีพอีกด้วย
 +
          จากการลงพื้นที่ในอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชรเพื่อศึกษาเกี่ยวกับต้นกำเนิดการจักสานด้วยไม้ไผ่ในเขตอำเภอพรานกระต่ายนั้น บ้านลานไผ่ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยยั้ง อำเภอพรานกระต่าย คงจะเป็นพื้นที่ที่สะท้อนถึงความเป็นมาเป็นไปของการใช้ประโยชน์จากไผ่ หรือไม้ไผ่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคนสมัยก่อนจะนิยมตั้งชื่อ ลูกหรือชื่อหมู่บ้านตามลักษณะเด่นของพื้นที่นั้น ๆ เช่นเดียวกับบ้านลานไผ่ เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีขนาดกว้างและมีต้นไผ่จำนวนมากจึงมีการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ในการดำรงชีวิต เช่น หาหน่อไม้มาบริโภคและแปรรูปไว้ให้นาน มีการนำไม้ไผ่มาจักสานเป็นของใช้ต่างๆ จึงนำความผูกพันกับวิธีชีวิตและต้นไผ่มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า บ้านลานไผ่ บ้านลานไผ่ เป็นหมู่บ้านที่มีคนอยู่ด้วยกันจาก 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 มาจากจังหวัดตาก ซึ่งในสมัยนั้นเกิดปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพลได้มีนายเอื้อม โตพ่วงและ  นางซิว โตพ่วง อพยพเข้ามาประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นกลุ่มแรก กลุ่มที่ 2 ย้ายมาจากอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งในสมัยก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคฝีดาต ทำให้ประชาชนในเขตบ้านด่านลานหอยอพยพเข้ามาทำการเกษตรในอำเภอพรานกระต่าย โดยครอบครัวที่ 2 ที่ย้ายเข้ามา คือ ครอบครัวของนางสร้อย พรมมี และกลุ่มที่ 3 เป็นประชาชนที่อพยพมาหนีจากภัยแล้งมาจากภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ,หนองบัวลำภู, ชัยภูมิ อุบลราชธานี และขอนแก่น โดยประชาชนกลุ่มที่อพยพมาได้นำเอาวัฒนธรรมและประเพณีทางภาคอีสานเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิต และได้มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านลานไผ่ ในปี 2472 โดยขึ้นอยู่ในการดูแลของตำบลหนองหัววัว อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และในปี 2538 ได้แยกตำบลหนองหัววัวออกมาเป็นตำบลห้วยยั้ง และบ้านลานไผ่ได้ขึ้นอยู่ในการปกครองของตำบลห้วยยั้ง เปลี่ยนเป็นบ้านลานไผ่ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยยั้ง นอกจากบ้านลานไผ่ ยังมีประชาชนในพื้นที่อื่นๆที่ใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก อาทิ พื้นที่ตำบลคุยบ้านโอง นางประนอม ขรพัตด์ อายุ 66 อยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า ตนได้ทำการจักสานมามากกว่า 10 ปี สิ่งที่สานเป็นประจำคือ สุ่มไก่ เนื่องจากตน และคนในพื้นที่มีอาชีพเลี้ยงไก่มาเป้นเวลานาน จึงได้มีแนวคิดว่า เราน่าจะใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในหมู่บ้านได้ จึงเริ่มที่จะสานสุ่มไก่ไว้ในในครัวเรือน สุ่มไก่ไม้ไผ่จากไม้ไผ่ นอกจากจะสามารถใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้แล้วยังนำรายได้เข้ามาสู่ครอบครัวไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 บาท นอกจากนางประนอม แล้ว นางจันทร์รอน มีศรีสวัสดิ์ อายุ 58 อยู่บ้านเลขที่ 56/3 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชรที่จักสานแปลไม้ไผ่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 บาท (จันทร์รอน มีสวัสดิ์, 2562 กันยายน 7) สุดท้ายได้แก่นายเทเวศ พลแก้ว อายุ 63 อยู่บ้านเลขที่ 809/1 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำแคร่ไม้ไผ่มา 5  ปี มีการทำแคร่ไม่ไผ่หลายขนาด แต่ละขนาดมีราคาแตกต่างกัน ขนาดใหญ่มีขนาด 1.50x2 เมตรราคา 600 บาท ขนาดกลางมีขนาด1.20x2 เมตรราคา 500 บาท ขนาดเล็กมีขนาด 1x2 เมตรราคา 400 บาท (เทเวศ พลแก้ว, 2562 กันยายน 7) เป็นต้น นี่คือตัวอย่างบุคคลที่นำไม้ไผ่ที่มีอยู่ในชุมชนมาทำเป็นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและก่อเกิดเป็นรายได้ให้กับครอบครัวตามมา อีกด้วย เพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจผู้เขียน  จึงนำตัวอย่างวิธีการทำสุ่มไก่ เปลไม้ไผ่และแคร่ไม้ไผ่ มาให้ศึกษาดังรูปที่ 1 - 15
 +
== การจักรสานสุ่มไก่ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:37, 18 มกราคม 2564

บทนำ

         คนพรานกระต่าย หรือ “พรานต๋าย” ตามภาษาถิ่นที่ใช้เรียกกัน มีวิถีชีวิตที่อิงกับธรรมชาติมาอย่างช้านานด้วยความที่พื้นที่มีแม่น้ำไหลผ่านเกิดเป็นความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ มีทั้งต้นไม้นานาชนิดและสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ไม้ไผ่ เป็นไม้ชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ คนพรานกระต่ายจึงนิยมนำไม้ไผ่เหล่านี้มาจักสานเป็นอุปกรณ์ หรือใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังนำไม้ไผ่มาทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้เพื่อใช้ในครัวเรือนอีกด้วย  จัก เป็นการเตรียมวัสดุที่จะใช้ในการจักสาน โดยนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้ว เพื่อความสะดวกในการสาน ลักษณะของการจักสานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิด ซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป เช่น วัสดุที่นำมาจักนั้นเป็นไม้ไผ่หวาย มักเรียกว่า ตอก และการจักตอกไม้ไผ่โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ จักตามแนวไม้ไผ่โดยมีผิวไม้เป็นส่วนแบน เรียกว่า ตอกพื้น ส่วนอีกลักษณะหนึ่งจะจักโดยมีผิวไม้เป็นส่วนสันตอกเรียกว่า ตอกตะแคง นอกเหนือจากตอกไม้ไผ่สองลักษณะนี้แล้ว อาจจะมีตอกที่จัก เหลา เป็นเส้นกลม ๆ หรือลักษณะอื่น ๆ ตามความต้องการที่จะนำตอกชนิดนั้น ๆ ไปใช้อย่างไรก็ตาม การจักตอกเป็นงานขั้นแรกที่สำคัญในการทำเครื่องจักสาน เพราะลักษณะของตอกจะต้องประสานกับลวดลายและรูปทรงของเครื่องจักสานด้วย นอกจากนี้การเลือกสรรวัสดุที่ดีก็มีผลต่อความคงทนและความประณีตสวยงานของเครื่องจักสานด้วย (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, 2561)

ความเป็นมาของจากจักสานไม้ไผ่

         นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานว่า เมื่อประมาณ 4000 ปีมาแล้ว มนุษย์ได้รู้จักวิธีการจักสานของใช้ด้วยไม้ไผ่ เป็นลักษณะลายขัดสองเส้น หลักฐานนี้ได้ค้นพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งถือเป็นดินแดนที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย หลักฐานการค้นพบเครื่องจักสานนี้นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังได้พบที่แอฟริกาและในทวีปเอเชียบางแห่ง บริเวณแหลมมลายู (ในยุคหิน) ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสานที่ทำด้วยไม้กองรวมอยู่กับของใช้ของผู้ตาย จึงสันนิษฐานว่าเครื่องจักสานได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมความเชื่อบางอย่างของมนุษย์ในยุคนั้นบ้างแล้ว ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้มีการดำเนินชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ จึงเป็นที่เชื่อได้ว่ามนุษย์ได้รู้จักพัฒนาการเครื่องจักสานให้เหมาะสมกับการใช้สอยขึ้นมาเรื่อยๆ ยังมีหลักฐานการค้นพบเครื่องมือที่ทำด้วยหินจำพวกขวาน และเครื่องปั้นดินเผาสมัยหินเก่า ที่บ้านท่ามะนาว ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ทั้งนี้เพราะการขยายตัวออกมาดำเนินชีวิตในที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้อย่างเหลือเฟือ สิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ก็คือ การหาเครื่องมือบางชนิดไว้ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่เครื่องจับสัตว์

การจักสานไม้ไผ่ในพื้นที่พรานกระต่าย

         มนุษย์มีความเฉลียวฉลาดในการเลือกสรรวัตถุดิบแต่ละชนิดจากธรรมชาติ มาทำเป็นเครื่องจักสานให้สอดคล้องเหมาะสมกับการใช้สอย “ไผ่” เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอีกชนิดหนึ่งที่จะนำมาแปรรูปเป็นวัสดุ สำหรับทำเครื่องจักสานมากที่สุด จึงเห็นได้ว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นเครื่องจักสานที่นิยมใช้ และผลิตกันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย ไผ่ที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ดี มีหลายพันธุ์ อาทิ ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เฮี้ยะ ไผ่ข้าวหลาม จึงมีผู้นำภูมิปัญญาการจักสานมาใช้ในชีวิตประจำวันและได้มีการนำภูมิปัญญามาใช้ในการประกอบอาชีพอีกด้วย 
         จากการลงพื้นที่ในอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชรเพื่อศึกษาเกี่ยวกับต้นกำเนิดการจักสานด้วยไม้ไผ่ในเขตอำเภอพรานกระต่ายนั้น บ้านลานไผ่ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยยั้ง อำเภอพรานกระต่าย คงจะเป็นพื้นที่ที่สะท้อนถึงความเป็นมาเป็นไปของการใช้ประโยชน์จากไผ่ หรือไม้ไผ่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคนสมัยก่อนจะนิยมตั้งชื่อ ลูกหรือชื่อหมู่บ้านตามลักษณะเด่นของพื้นที่นั้น ๆ เช่นเดียวกับบ้านลานไผ่ เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีขนาดกว้างและมีต้นไผ่จำนวนมากจึงมีการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ในการดำรงชีวิต เช่น หาหน่อไม้มาบริโภคและแปรรูปไว้ให้นาน มีการนำไม้ไผ่มาจักสานเป็นของใช้ต่างๆ จึงนำความผูกพันกับวิธีชีวิตและต้นไผ่มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า บ้านลานไผ่ บ้านลานไผ่ เป็นหมู่บ้านที่มีคนอยู่ด้วยกันจาก 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 มาจากจังหวัดตาก ซึ่งในสมัยนั้นเกิดปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพลได้มีนายเอื้อม โตพ่วงและ  นางซิว โตพ่วง อพยพเข้ามาประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นกลุ่มแรก กลุ่มที่ 2 ย้ายมาจากอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งในสมัยก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคฝีดาต ทำให้ประชาชนในเขตบ้านด่านลานหอยอพยพเข้ามาทำการเกษตรในอำเภอพรานกระต่าย โดยครอบครัวที่ 2 ที่ย้ายเข้ามา คือ ครอบครัวของนางสร้อย พรมมี และกลุ่มที่ 3 เป็นประชาชนที่อพยพมาหนีจากภัยแล้งมาจากภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ,หนองบัวลำภู, ชัยภูมิ อุบลราชธานี และขอนแก่น โดยประชาชนกลุ่มที่อพยพมาได้นำเอาวัฒนธรรมและประเพณีทางภาคอีสานเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิต และได้มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านลานไผ่ ในปี 2472 โดยขึ้นอยู่ในการดูแลของตำบลหนองหัววัว อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และในปี 2538 ได้แยกตำบลหนองหัววัวออกมาเป็นตำบลห้วยยั้ง และบ้านลานไผ่ได้ขึ้นอยู่ในการปกครองของตำบลห้วยยั้ง เปลี่ยนเป็นบ้านลานไผ่ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยยั้ง นอกจากบ้านลานไผ่ ยังมีประชาชนในพื้นที่อื่นๆที่ใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก อาทิ พื้นที่ตำบลคุยบ้านโอง นางประนอม ขรพัตด์ อายุ 66 อยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า ตนได้ทำการจักสานมามากกว่า 10 ปี สิ่งที่สานเป็นประจำคือ สุ่มไก่ เนื่องจากตน และคนในพื้นที่มีอาชีพเลี้ยงไก่มาเป้นเวลานาน จึงได้มีแนวคิดว่า เราน่าจะใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในหมู่บ้านได้ จึงเริ่มที่จะสานสุ่มไก่ไว้ในในครัวเรือน สุ่มไก่ไม้ไผ่จากไม้ไผ่ นอกจากจะสามารถใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้แล้วยังนำรายได้เข้ามาสู่ครอบครัวไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 บาท นอกจากนางประนอม แล้ว นางจันทร์รอน มีศรีสวัสดิ์ อายุ 58 อยู่บ้านเลขที่ 56/3 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชรที่จักสานแปลไม้ไผ่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 บาท (จันทร์รอน มีสวัสดิ์, 2562 กันยายน 7) สุดท้ายได้แก่นายเทเวศ พลแก้ว อายุ 63 อยู่บ้านเลขที่ 809/1 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำแคร่ไม้ไผ่มา 5  ปี มีการทำแคร่ไม่ไผ่หลายขนาด แต่ละขนาดมีราคาแตกต่างกัน ขนาดใหญ่มีขนาด 1.50x2 เมตรราคา 600 บาท ขนาดกลางมีขนาด1.20x2 เมตรราคา 500 บาท ขนาดเล็กมีขนาด 1x2 เมตรราคา 400 บาท (เทเวศ พลแก้ว, 2562 กันยายน 7) เป็นต้น นี่คือตัวอย่างบุคคลที่นำไม้ไผ่ที่มีอยู่ในชุมชนมาทำเป็นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและก่อเกิดเป็นรายได้ให้กับครอบครัวตามมา อีกด้วย เพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจผู้เขียน  จึงนำตัวอย่างวิธีการทำสุ่มไก่ เปลไม้ไผ่และแคร่ไม้ไผ่ มาให้ศึกษาดังรูปที่ 1 - 15

การจักรสานสุ่มไก่