วิถีชีวิตคนพรานกระต่ายกับของฝากขึ้นชื่ออำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
เนื้อหา
บทนำ[แก้ไข]
คนพรานกระต่าย หรือ “พรานต๋าย” ตามภาษาถิ่นที่ใช้เรียกกัน มีวิถีชีวิตที่อิงกับธรรมชาติมาอย่างช้านานด้วยความที่พื้นที่มีแม่น้ำไหลผ่านเกิดเป็นความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ มีทั้งต้นไม้นานาชนิดและสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ไม้ไผ่ เป็นไม้ชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ คนพรานกระต่ายจึงนิยมนำไม้ไผ่เหล่านี้มาจักสานเป็นอุปกรณ์ หรือใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังนำไม้ไผ่มาทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้เพื่อใช้ในครัวเรือนอีกด้วย จัก เป็นการเตรียมวัสดุที่จะใช้ในการจักสาน โดยนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้ว เพื่อความสะดวกในการสาน ลักษณะของการจักสานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิด ซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป เช่น วัสดุที่นำมาจักนั้นเป็นไม้ไผ่หวาย มักเรียกว่า ตอก และการจักตอกไม้ไผ่โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ จักตามแนวไม้ไผ่โดยมีผิวไม้เป็นส่วนแบน เรียกว่า ตอกพื้น ส่วนอีกลักษณะหนึ่งจะจักโดยมีผิวไม้เป็นส่วนสันตอกเรียกว่า ตอกตะแคง นอกเหนือจากตอกไม้ไผ่สองลักษณะนี้แล้ว อาจจะมีตอกที่จัก เหลา เป็นเส้นกลม ๆ หรือลักษณะอื่น ๆ ตามความต้องการที่จะนำตอกชนิดนั้น ๆ ไปใช้อย่างไรก็ตาม การจักตอกเป็นงานขั้นแรกที่สำคัญในการทำเครื่องจักสาน เพราะลักษณะของตอกจะต้องประสานกับลวดลายและรูปทรงของเครื่องจักสานด้วย นอกจากนี้การเลือกสรรวัสดุที่ดีก็มีผลต่อความคงทนและความประณีตสวยงานของเครื่องจักสานด้วย (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, 2561)
ความเป็นมาของจากจักสานไม้ไผ่[แก้ไข]
นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานว่า เมื่อประมาณ 4000 ปีมาแล้ว มนุษย์ได้รู้จักวิธีการจักสานของใช้ด้วยไม้ไผ่ เป็นลักษณะลายขัดสองเส้น หลักฐานนี้ได้ค้นพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งถือเป็นดินแดนที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย หลักฐานการค้นพบเครื่องจักสานนี้นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังได้พบที่แอฟริกาและในทวีปเอเชียบางแห่ง บริเวณแหลมมลายู (ในยุคหิน) ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสานที่ทำด้วยไม้กองรวมอยู่กับของใช้ของผู้ตาย จึงสันนิษฐานว่าเครื่องจักสานได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมความเชื่อบางอย่างของมนุษย์ในยุคนั้นบ้างแล้ว ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้มีการดำเนินชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ จึงเป็นที่เชื่อได้ว่ามนุษย์ได้รู้จักพัฒนาการเครื่องจักสานให้เหมาะสมกับการใช้สอยขึ้นมาเรื่อยๆ ยังมีหลักฐานการค้นพบเครื่องมือที่ทำด้วยหินจำพวกขวาน และเครื่องปั้นดินเผาสมัยหินเก่า ที่บ้านท่ามะนาว ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ทั้งนี้เพราะการขยายตัวออกมาดำเนินชีวิตในที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้อย่างเหลือเฟือ สิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ก็คือ การหาเครื่องมือบางชนิดไว้ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่เครื่องจับสัตว์
การจักสานไม้ไผ่ในพื้นที่พรานกระต่าย[แก้ไข]
มนุษย์มีความเฉลียวฉลาดในการเลือกสรรวัตถุดิบแต่ละชนิดจากธรรมชาติ มาทำเป็นเครื่องจักสานให้สอดคล้องเหมาะสมกับการใช้สอย “ไผ่” เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอีกชนิดหนึ่งที่จะนำมาแปรรูปเป็นวัสดุ สำหรับทำเครื่องจักสานมากที่สุด จึงเห็นได้ว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นเครื่องจักสานที่นิยมใช้ และผลิตกันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย ไผ่ที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ดี มีหลายพันธุ์ อาทิ ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เฮี้ยะ ไผ่ข้าวหลาม จึงมีผู้นำภูมิปัญญาการจักสานมาใช้ในชีวิตประจำวันและได้มีการนำภูมิปัญญามาใช้ในการประกอบอาชีพอีกด้วย จากการลงพื้นที่ในอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชรเพื่อศึกษาเกี่ยวกับต้นกำเนิดการจักสานด้วยไม้ไผ่ในเขตอำเภอพรานกระต่ายนั้น บ้านลานไผ่ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยยั้ง อำเภอพรานกระต่าย คงจะเป็นพื้นที่ที่สะท้อนถึงความเป็นมาเป็นไปของการใช้ประโยชน์จากไผ่ หรือไม้ไผ่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคนสมัยก่อนจะนิยมตั้งชื่อ ลูกหรือชื่อหมู่บ้านตามลักษณะเด่นของพื้นที่นั้น ๆ เช่นเดียวกับบ้านลานไผ่ เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีขนาดกว้างและมีต้นไผ่จำนวนมากจึงมีการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ในการดำรงชีวิต เช่น หาหน่อไม้มาบริโภคและแปรรูปไว้ให้นาน มีการนำไม้ไผ่มาจักสานเป็นของใช้ต่างๆ จึงนำความผูกพันกับวิธีชีวิตและต้นไผ่มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า บ้านลานไผ่ บ้านลานไผ่ เป็นหมู่บ้านที่มีคนอยู่ด้วยกันจาก 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 มาจากจังหวัดตาก ซึ่งในสมัยนั้นเกิดปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพลได้มีนายเอื้อม โตพ่วงและ นางซิว โตพ่วง อพยพเข้ามาประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นกลุ่มแรก กลุ่มที่ 2 ย้ายมาจากอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งในสมัยก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคฝีดาต ทำให้ประชาชนในเขตบ้านด่านลานหอยอพยพเข้ามาทำการเกษตรในอำเภอพรานกระต่าย โดยครอบครัวที่ 2 ที่ย้ายเข้ามา คือ ครอบครัวของนางสร้อย พรมมี และกลุ่มที่ 3 เป็นประชาชนที่อพยพมาหนีจากภัยแล้งมาจากภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ,หนองบัวลำภู, ชัยภูมิ อุบลราชธานี และขอนแก่น โดยประชาชนกลุ่มที่อพยพมาได้นำเอาวัฒนธรรมและประเพณีทางภาคอีสานเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิต และได้มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านลานไผ่ ในปี 2472 โดยขึ้นอยู่ในการดูแลของตำบลหนองหัววัว อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และในปี 2538 ได้แยกตำบลหนองหัววัวออกมาเป็นตำบลห้วยยั้ง และบ้านลานไผ่ได้ขึ้นอยู่ในการปกครองของตำบลห้วยยั้ง เปลี่ยนเป็นบ้านลานไผ่ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยยั้ง นอกจากบ้านลานไผ่ ยังมีประชาชนในพื้นที่อื่นๆที่ใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก อาทิ พื้นที่ตำบลคุยบ้านโอง นางประนอม ขรพัตด์ อายุ 66 อยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า ตนได้ทำการจักสานมามากกว่า 10 ปี สิ่งที่สานเป็นประจำคือ สุ่มไก่ เนื่องจากตน และคนในพื้นที่มีอาชีพเลี้ยงไก่มาเป้นเวลานาน จึงได้มีแนวคิดว่า เราน่าจะใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในหมู่บ้านได้ จึงเริ่มที่จะสานสุ่มไก่ไว้ในในครัวเรือน สุ่มไก่ไม้ไผ่จากไม้ไผ่ นอกจากจะสามารถใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้แล้วยังนำรายได้เข้ามาสู่ครอบครัวไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 บาท นอกจากนางประนอม แล้ว นางจันทร์รอน มีศรีสวัสดิ์ อายุ 58 อยู่บ้านเลขที่ 56/3 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชรที่จักสานแปลไม้ไผ่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 บาท (จันทร์รอน มีสวัสดิ์, 2562 กันยายน 7) สุดท้ายได้แก่นายเทเวศ พลแก้ว อายุ 63 อยู่บ้านเลขที่ 809/1 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำแคร่ไม้ไผ่มา 5 ปี มีการทำแคร่ไม่ไผ่หลายขนาด แต่ละขนาดมีราคาแตกต่างกัน ขนาดใหญ่มีขนาด 1.50x2 เมตรราคา 600 บาท ขนาดกลางมีขนาด1.20x2 เมตรราคา 500 บาท ขนาดเล็กมีขนาด 1x2 เมตรราคา 400 บาท (เทเวศ พลแก้ว, 2562 กันยายน 7) เป็นต้น นี่คือตัวอย่างบุคคลที่นำไม้ไผ่ที่มีอยู่ในชุมชนมาทำเป็นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและก่อเกิดเป็นรายได้ให้กับครอบครัวตามมา อีกด้วย เพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจผู้เขียน จึงนำตัวอย่างวิธีการทำสุ่มไก่ เปลไม้ไผ่และแคร่ไม้ไผ่ มาให้ศึกษาดังรูปที่ 1 - 15
การจักรสานสุ่มไก่[แก้ไข]
ภาพที่ 1 สุ่มไก่
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
การสานสุ่มไก่ด้วยไม้ไผ่นั้น มีวัสดุ และเครื่องมือง่ายๆ ที่ชาวบ้านมักจะมีติดครัวเรือนไว้เสมอ ไม่ว่าจะเป็น เลื่อยคันธนู สำหรับเลื่อยหรือตัดไม้ไผ่ที่เราต้องการ มีดพร้า สำหรับผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไม้ไผ่ และที่สำคัญสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ไม้ไผ่ ในที่นี้เราเลือกใช้ไผ่ตะเกียบ คุณสมบัติมีความเหนียวและอ่อนตัวได้ดี ไผ่ตะเกียบ ที่สามารถมาจักสานไม้ไผ่ได้นั้นจะต้องมีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันไผ่ตะเกียบมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในหมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงต้องซื้อไผ่ตะเกียบมาจากนอกหมู่บ้านในราคาลำละ 4 บาท แต่ละลำมีความยาวประมาณ 8 ม.
วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์[แก้ไข]
1. ไผ่ตะเกียบ
ภาพที่ 2 ไผ่ตะเกียบ
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
2. เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่
ภาพที่ 3 เลื่อยคันธนู
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
3. มีดพร้า ใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียว ง่ายต่อการจักสาน
ภาพที่ 4 มีดพร้า
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
4. ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป
ภาพที่ 5 แสดงการจักตอกไผ่
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
วิธีการจักสาน[แก้ไข]
1. การจักตอกไผ่ โดยใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก
ภาพที่ 6 แสดงการจักตอกไผ่
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
2. จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่) จากนั้นจึงสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
ภาพที่ 7 สานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
3. การขึ้นรูปสุ่มไก่ โดยใช้ตอกยาวสานรอบๆ จนได้เป็นรูปทรงของสุ่มไก่
ภาพที่ 8 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
4. สุ่มไก่แบบสมบูรณ์
ภาพที่ 9 สุ่มไก่ที่สามารถนำไปใช้งานได้
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
การทำเปลไม้ไผ่[แก้ไข]
อุปกรณ์และวิธีการทำแปลไม้ไผ่นั้นจะมีวิธีการและเครื่องมือที่ยุ่งยากกว่าสุ่มไก่อยู่มาก สุ่มได้ จะมีเครื่องมือที่ใช้หลักๆ เพียง 4 ชิ้น แต่แปลไม้ไผ่มีวัสดุและเครื่องมือมากกว่า อาทิ ลวดขาว, ลวดดำ, กรรไกรตัดเหล็ก, คีม, มีด, เชือกไนล่อน, ปอพลาสติก,แชลคสีเหลือง นอกจากอุปกรณ์จะเยอะกว่าแล้ววิธีการทำยังยุ่งยากกว่าการทำสุ่มไก่ด้วย นอกจากนั้นแล้วไม้ไผ่ที่ชาวบ้านเอามาทำแปลนั้นยังเป็นคนละสายพันธุ์กับที่ทำสุ่มไก่ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะใช้ไผ่สีสุกในการทำแปล ไผ่สีสุก ไผ่สีสุกนี้จัดเป็นไผ่พื้นบ้านที่นิยมปลูกตามหัวไร่ปลายนา เป็นไผ่แตกกอเร็ว หน่อ และลำต้นมีขนาดใหญ่ นิยมใช้หน่อทำอาหาร แปรรูปเป็นหน่อไม้ดองหรือหน่อไม้ส้ม และใช้ลำไผ่ทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
ภาพที่ 10 ไผ่สีสุก
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
1. วัสดุที่ใช้ในการทำแปลไม้ไผ่
ภาพที่ 11 เชือกไนล่อน, ปอพลาสติก, ลวดขาว, ลวดดำ, กรรไกรตัดเหล็ก, คีม, มีดเชือกไนล่อน, ปอพลาสติก
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
2. แชลคสีเหลือง แชลคสีเหลืองใช้สำหรับทาสีแปลไม้ไผ่เพื่อกันเสี้ยนไม้ไผ่และสร้างความสวยงามให้กับแปลไม้ไผ่
ขั้นตอนการจัดสาน[แก้ไข]
1. นำไม้ไผ่สีสุกมาตัดตามความยาว 3 เมตร หรือตามขนาดความยาวของแปลที่เราต้องการจะทำ เช่น 5 เมตร 7 เมตร (ขนาดใหญ่ที่สุด)
ภาพที่ 12 นำไม้ไผ่สีสุกมาตัดตามความยาว 3 เมตร
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
2. ผ่าออกส่วนที่เหลือครึ่งหนึ่งจะแบ่ง ให้ได้ 9 ซี่นำเชือกผูกหัว-ปลายให้มีลักษณะโค้งนาพิมพ์เหล็กมามัดไว้ 3 ระยะเพื่อให้เกิดความแข็งแรง จากนั้นจึงสานจนเสร็จ
ภาพที่ 13 แสดงโครงแปลและแบบแปลเสร็จสมบูรณ์
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
การทำแคร่ไม้ไผ่[แก้ไข]
การทำแคร่จากไม้ไผ่ มีลักษณะและวัสดุไม่แตกต่างจากแปลไม้ไผ่เท่าใดหนักเพียงแต่จะต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ในเจาะและยึดหมุดกับไม้ไผ่ไม่ให้เคลื่อนที่ ดังนั้นการทำแคร่ไม้ไผ่จึงมีสิ่ว, สว่าน, มีดโต้และตลับเมตร, เครื่องยิงตะปู ปั้มลมและน้ำยากำจัดหมอดและแมลงเพื่อป้องกันหมอดกินไม้ไผ่ในระยะยาว
ภาพที่ 14 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแคร่ไม้ไผ่
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
แคร่ไม้ไผ่ มีวิธีการทำคือ เลื่อยไม้ไผ่ความยาว 1.75 ซ.ม. และเหลาส่วนที่เกินหรือเหลาให้เรียบจากนั้นนำไม้ไผ่ที่เหลาสำเร็จแล้ว ใช้สิ่วเจาะให้เป็นรูสี่เหลี่ยม 7 รู แล้วจึงนำแผ่นไม้ไผ่มาตอกเข้ากับโครงสร้าง เมื่อตอกไม้ไผ่เข้ากับโครงสร้างเรียบร้อยและแน่นหนาแล้วนั้น จึงนำมาใส่ขาแคร่แล้วตอกให้แน่น สุดท้ายเพื่อป้องกันเสี้ยนไม้ไผ่ และก่อให้เกิดความสวยงาน จึงนำแคร่ไม้ไผ่มาทาแชลคและน้ำยากำจัดมอดแมลงเป็นอันเสร็จ
ภาพที่ 15 นำแผ่นไม้ไผ่มาตอกเข้ากับโครงสร้าง
(วีรวรรณ แจ้งโม้, วิจิตรา มาน้อย พร้อมคณะผู้จัดทำ, 2562)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นทุนที่ทรงคุณค่าของไทย จึงถือกําเนิดและถูกใช้ในอดีตอย่าง กว้างขวาง แต่ถูกมองข้ามไปในยุคของการพัฒนาตามกระแสตะวันตก ด้วยเหตุผลของการก้าวสู่ความ ทันสมัย หากแต่เมื่อประเทศชาติอยู่ในภาวะวิกฤต ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลับถูกนํามาใช้อย่างเป็นผล การนําภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์ ยังสร้างความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาซึ่งเป็นมรดกของชาติอีกด้วย การกระทำนี้เรียกได้ว่าเป็นการอนุรักษ์ (การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการจักสานให้คงอยู่คู่คนไทยต่อไป) ภูมิปัญญาไทยโดยการประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิต สภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของท้องถิ่นนั้นๆ (การประยุกต์ใช้ คือ การนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น สุ่มไก่ แคร่ไม้ไผ่ เปลไม้ไผ่ และอื่นๆ) สุดท้ายเป็นการสร้างรายได้ (สร้างรายได้ เช่น การขายส่ง ขายปลีก หรืองานหัตถกรรมหมู่บ้าน (OTOP)) ให้กับคนที่นำภูมิปัญญานั้นมาใช้อีกด้วย