ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขานางทอง ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 17: | แถว 17: | ||
พระร่วงได้ตามจระเข้ที่คาบพระมเหสีทองทันที่คลองทองแดง (ใกล้ ๆ ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน) พอเจอกันก็สายเสียแล้ว จระเข้ได้กินพระมเหสีทองไปแล้ว พระร่วงจึงสาปจระเข้ให้เป็นหินอยู่ตรงนั้นมาถึงทุกวันนี้ พระร่วงเสด็จกลับเข้าวังด้วยความสลดใจและไม่อาจลืมความรักความอาลัยในตัวพระมเหสีทองได้ จึงอพยพราษฎรลงไปทางใต้เพื่อไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองสังขบุรีแขวงเมืองอยุธยา เมืองพานจึงกลายเป็นเมืองร้างในยุคหนึ่งในปัจจุบันนี้มีราษฎรจากอำเภอพรานกระต่าย มาตั้งถิ่นฐานกันอยู่หลายสิบหลังคาเรือน | พระร่วงได้ตามจระเข้ที่คาบพระมเหสีทองทันที่คลองทองแดง (ใกล้ ๆ ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน) พอเจอกันก็สายเสียแล้ว จระเข้ได้กินพระมเหสีทองไปแล้ว พระร่วงจึงสาปจระเข้ให้เป็นหินอยู่ตรงนั้นมาถึงทุกวันนี้ พระร่วงเสด็จกลับเข้าวังด้วยความสลดใจและไม่อาจลืมความรักความอาลัยในตัวพระมเหสีทองได้ จึงอพยพราษฎรลงไปทางใต้เพื่อไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองสังขบุรีแขวงเมืองอยุธยา เมืองพานจึงกลายเป็นเมืองร้างในยุคหนึ่งในปัจจุบันนี้มีราษฎรจากอำเภอพรานกระต่าย มาตั้งถิ่นฐานกันอยู่หลายสิบหลังคาเรือน | ||
เขานางทอง ตั้งอยู่ในเขต ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเขาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองบางพานและเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ที่สันนิฐานกันว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) ทรงสร้างไว้บนยอดเขา ตามหลักฐานในหลักศิลาจารึกหลักที่ 3 ศิลาจารึกนครชุม ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 52 - 57 ปรากฎข้อความดังต่อไปนี้ "พระยาธรรมิกราช ให้ไปพิมพ์เอารอยตีน…พระเป็นเจ็งเถิงสิงหล อันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฎบรรพต ประมาณเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้…อันหนึ่งประดิษฐ์สถานไว้ในเมืองศรีสัชนา เหนือจอมเขา…อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองสุโขทัยเหนือเขาสุมนกูฎบรรพต อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพานเหนือจอมเขานางทอง" บนเขานางทองจึงมีการวางผังโบราณสถานตามแนวยาวมีบันไดขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านบนสุดเป็นเจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานเจดีย์กว้าง 12 เมตร ก่อด้วยอิฐศิลาแลง ส่วนบนเป็นศิลาแลง ถัดมาเป็นเจดีย์รายเล็ก 3 องค์ กว้าง 2 เมตรเท่ากันทุกองค์ ถัดมาเป็นวิหาร 4 ตอน ตอนแรกยาว 13 เมตร กว้าง 6 เมตร ตอนที่สองกว้าง 10 เมตร ยาว 21 เมตร (ปัจจุบันโบราณสถานเหล่านี้ทรุดโทรมมากแทบจะดูไม่ออกว่าเป็นอะไร) ส่วนด้านท้ายสุดคล้ายที่ตั้งบุษบก เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ) | เขานางทอง ตั้งอยู่ในเขต ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเขาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองบางพานและเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ที่สันนิฐานกันว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) ทรงสร้างไว้บนยอดเขา ตามหลักฐานในหลักศิลาจารึกหลักที่ 3 ศิลาจารึกนครชุม ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 52 - 57 ปรากฎข้อความดังต่อไปนี้ "พระยาธรรมิกราช ให้ไปพิมพ์เอารอยตีน…พระเป็นเจ็งเถิงสิงหล อันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฎบรรพต ประมาณเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้…อันหนึ่งประดิษฐ์สถานไว้ในเมืองศรีสัชนา เหนือจอมเขา…อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองสุโขทัยเหนือเขาสุมนกูฎบรรพต อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพานเหนือจอมเขานางทอง" บนเขานางทองจึงมีการวางผังโบราณสถานตามแนวยาวมีบันไดขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านบนสุดเป็นเจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานเจดีย์กว้าง 12 เมตร ก่อด้วยอิฐศิลาแลง ส่วนบนเป็นศิลาแลง ถัดมาเป็นเจดีย์รายเล็ก 3 องค์ กว้าง 2 เมตรเท่ากันทุกองค์ ถัดมาเป็นวิหาร 4 ตอน ตอนแรกยาว 13 เมตร กว้าง 6 เมตร ตอนที่สองกว้าง 10 เมตร ยาว 21 เมตร (ปัจจุบันโบราณสถานเหล่านี้ทรุดโทรมมากแทบจะดูไม่ออกว่าเป็นอะไร) ส่วนด้านท้ายสุดคล้ายที่ตั้งบุษบก เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ) | ||
− | เมื่อไม่นานมานี้บริเวณคลองวังพาน (อยู่ใกล้กับวัดพานทองศิริมงคล) ได้มีการขุดลอกคลองโดยเครื่องจักรกลของทางราชการ ได้ขุดพบพระ เครื่องปั้นดินเผาเศษกระเบื้อง ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอย ภายในครัวเรือนของชาวเมืองโบราณเป็นจำนวนมาก | + | เมื่อไม่นานมานี้บริเวณคลองวังพาน (อยู่ใกล้กับวัดพานทองศิริมงคล) ได้มีการขุดลอกคลองโดยเครื่องจักรกลของทางราชการ ได้ขุดพบพระ เครื่องปั้นดินเผาเศษกระเบื้อง ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอย ภายในครัวเรือนของชาวเมืองโบราณเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญได้พบเสาไม้ตะเคียนซึ่งสันนิษฐานว่าหน้าจะเป็นศาลาที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครในอดีต เป็นหลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของเมืองพานเขานางทองในปัจจุบันกำลังจะได้รับการบูรณะจากหน่วยงานของทางราชการให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว (วีสปอร์ต กำแพงเพชร, 2563) |
สรุป ที่มาของตำนานเขานางทองเริ่มมาจากพระร่วงได้มาเจอนางทองที่เมืองบางพาน จึงพบรักและได้อภิเษกกัน และมาพักอาศัยบริเวรเขานางทอง วันหนึ่งพระร่วงได้ออกไปเที่ยวที่เมืองสุโขทัยกลับมาไม่พบนางทอง เลยถามพวกนกว่านางทองไปไหน พวกนกจึงบอกว่า จระเข้ที่พระร่วงทรงเลี้ยงไว้ ได้คาบนางทองไปแล้ว พระร่วงไปช่วยไม่ทัน นางทองถูกจระเข้กินก่อนไปถึง พระร่วงจึงสาปจระเข้ให้เป็นหิน จากนั้นพระร่วงทำใจไม่ได้จึงอพยพราษฎรลงไปทางใต้เพื่อไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองสังขบุรีแขวงเมืองอยุธยาเมืองพาน จึงกลายเป็นเมืองร้างในยุคหนึ่ง ปัจจุบันราษฎรจากอำเภอพรานกระต่ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันอยู่ หลาย 10 หลังคาเรือน | สรุป ที่มาของตำนานเขานางทองเริ่มมาจากพระร่วงได้มาเจอนางทองที่เมืองบางพาน จึงพบรักและได้อภิเษกกัน และมาพักอาศัยบริเวรเขานางทอง วันหนึ่งพระร่วงได้ออกไปเที่ยวที่เมืองสุโขทัยกลับมาไม่พบนางทอง เลยถามพวกนกว่านางทองไปไหน พวกนกจึงบอกว่า จระเข้ที่พระร่วงทรงเลี้ยงไว้ ได้คาบนางทองไปแล้ว พระร่วงไปช่วยไม่ทัน นางทองถูกจระเข้กินก่อนไปถึง พระร่วงจึงสาปจระเข้ให้เป็นหิน จากนั้นพระร่วงทำใจไม่ได้จึงอพยพราษฎรลงไปทางใต้เพื่อไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองสังขบุรีแขวงเมืองอยุธยาเมืองพาน จึงกลายเป็นเมืองร้างในยุคหนึ่ง ปัจจุบันราษฎรจากอำเภอพรานกระต่ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันอยู่ หลาย 10 หลังคาเรือน | ||
+ | =='''ลักษณะทางสถาปัตยกรรม'''== | ||
+ | สถาปัตยกรรมเขานางทองอดีตมีพระเจดีย์แบบนี้มียอดเป็นรูปดอกบัวตูม หรือเรียกกันว่า ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงทนาฬ ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ ที่เรือนธาตุลางองค์มีการจัดซุ้มพระพุทธรูปยืนทั้ง 4 ทิศ นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะพากันยกย่องว่า พระเจดีย์ทรงบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ที่ศิลปินสุโขทัยคิดแบบอย่างของตนขึ้น พระเจดีย์แบบนี้นิยมสร้างไว้ตามเมืองต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยเท่านั้น ไม่มีการสร้างต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเลย ดังภาพที่ 1 | ||
+ | [[ไฟล์:2 เจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์.jpg|800px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 1 เจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ณ เขานางทอง''' </p> | ||
+ | ศิลาแลงกรุงสุโขทัย ราชธานีของคนไทยเมื่อประมาณ 700 ปีมาแล้ว โบราณสถานที่พบเห็นในอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ ในจังหวัดสุโขทัยทั้งสองแห่ง คืออุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติรามคำแหงสุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติศรีสัชนาลัย ต่างก่อสร้างด้วย ศิลาแลง | ||
+ | ก้อนศิลาแลง มีลักษณะคล้ายหินลูกรังที่ถูกหลอมขึ้นรูป สีแดง น้ำตาลปนดำ เมื่อนำไปทำเป็นเสาจะทำเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อทำเป็นส่วนต่าง ๆ ของอาคาร มักทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดต่างกัน ปัจจุบันพบทั่วไปตามโบราณสถานทุกแห่งที่สร้างในสมัยสุโขทัย จำนวนก้อนศิลาแลงที่พบมีจำนวนมากมายมหาศาล แต่เป็นที่น่าสังเกตและเป็นที่สงสัยกันมานานคือไม่ทราบแน่ชัดว่าแหล่งวัตถุดิบ ที่ใช้ทำศิลาแลงเพื่อการสร้างกรุงสุโขทัย นำมาจากที่ใด ดังภาพที่ 2 | ||
+ | [[ไฟล์:3 ภาพศิลาแลง.jpg|800px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 2 ภาพศิลาแลง ณ เขานางทอง''' </p> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:24, 23 กรกฎาคม 2564
บทนำ
เขานางทอง มีคำกล่าวว่าในอดีตเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีประวัติความเป็นมาจากศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ศิลาจารึกหลักนี้ยังกล่าวถึงการประดิษฐานพระพุทธบาทในเมืองพานบนยอดเขานางทอง ตำนานเขานางทองกล่าวว่า นางทองเป็นผู้หญิงชาวบ้านเมืองพานที่สวยงามมาก ต่อมาถูกพญานาคกลืนเข้าท้อง พระร่วงเห็นจึงใช้อิทธิฤทธิ์ของตนช่วยนางทองออกมา นางทองเป็นหญิงที่โฉมงามและเป็นที่สบพระทัย นางทองจึงได้อภิเษกเป็นพระมเหสี อยู่มาวันหนึ่งนางทองได้ออกไปซักผ้าที่สระน้ำ จระเข้ที่พระร่วงทรงเลี้ยงหิวจึงได้คาบนางทองไปกิน พระร่วงไปช่วยไม่ทันจึงกลับตำหนักอย่างเศร้าใจและทำใจไม่ได้ จึงพาชาวบ้านอพยพราษฎรลงไปทางใต้เมืองพานจึงกลายเป็นเมืองล้างในยุคหนึ่ง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมบนเขานางทองมีการวางผังโบราณสถานตามแนวยาว ด้านบนสุดเป็นเจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ก่อด้วยอิฐศิลาแลง ส่วนบนเป็นศิลาแลง ถัดมาเป็นเจดีย์รายเล็ก 3 องค์ ถัดมาเป็นวิหาร 4 ด้าน ท้ายสุดคล้ายที่ตั้งบุษบก เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสมัยเขานางทองเป็นเมืองโบราณทางประวัติศาสตร์ในสมัยพญาลิไท ท่านทรงเห็นความสำคัญของเมืองพานจึงสร้างรอยพระพุทธบาทบนยอดเขานางทอง วัฒนธรรมเขานางทองได้เริ่มตั้งเป็นเมืองสุโขทัย อาณาจักรที่ตั้งอยู่ได้นานเกือบ 2000 ปี ดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันและสร้างวัฒนธรรมไว้มากมายในยุคสุโขทัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) ความเป็นมาของเขานางทอง 2) ตำนานเขานางทอง 3) ลักษณะทางสถาปัตยกรรม และ 4) สมัยและวัฒนธรรมเขานางทอง
คำสำคัญ : ตำนานเขานางทอง,กำแพงเพชร,รอยพระพุทธบาทเขานางทอง
ความเป็นมาของเขานางทอง
สำหรับโบราณสถานเขานางทองนั้น มีคำกล่าวว่าในอดีตเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาจากศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ในสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) โดยกล่าวถึงชื่อเมืองต่าง ๆ เช่น ชื่อเมืองคณฑี เมืองพระบาง เมืองเชียงทอง เมืองบางขลัง และ เมืองบางพาน นอกจากนี้ในศิลาจารึกหลักนี้ยังกล่าวถึงการประดิษฐานพระพุทธบาทในเมืองพาน บนยอดเขานางทองอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากษัตริย์สุโขทัยตระหนักถึงบทบาทความสำคัญของเมืองบางพานแห่งนี้ นอกจากนี้ชื่อเมืองบางพานยังปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง) เมื่อครั้งที่พระมหาธรรมราชาลิไททรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชจากลังกาให้มาจำพรรษาที่กรุงสุโขทัยในปี พ.ศ.1904 โดยพระมหาสามีสังฆราชได้เดินทางผ่านเมืองต่าง ๆ อาทิ เมืองเชียงทอง เมืองบางจันทร์ เมืองบางพานจนถึงเมืองสุโขทัย นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานในจารึกที่ฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกำแพงเพชรกับเมืองบางพานว่าได้มีการสร้างท่อปู่พระยาร่วง (คลองส่งน้ำ) โดยชักน้ำจากแม่น้ำปิง บริเวณเมืองกำแพงเพชร ส่งไปยังเมืองพาน แท่นศิลาจารึกที่รอบฐานพระอิศวร ได้กล่าวถึงพระยาศรีธรรมโศกราชเจ้าเมืองกำแพงเพชรได้สร้างรูปพระอิศวรนี้เมื่อ พ.ศ. 2043 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้เชื่อได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกำแพงเพชรกับเมืองพานคงจะมีมาก่อนนานแล้ว (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2563) ปัจจุบันรอยพระพุทธบาทเก็บรักษาและจัดแสดงที่ห้องศิลปะสุโขทัย อาคาร-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ทั้งนี้สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ถ่ายโอนภารกิจการดูแลบำรุงรักษาโบราณสถานเขานางทองให้แก่ เทศบาลตำบลเขาคีริส ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2560 เป็นต้นมา และปัจจุบันได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร ให้สามารถจำลองรอยพระพุทธบาทเขานางทอง ณ โบราณสถานเขานางทองแห่งนี้ได้ แต่ยังไม่ได้หล่อฐานจริงของรอยพระพุทธบาทซึ่งเป็นแหล่งประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว ที่มีคุณค่าของอำเภอพรานกระต่ายสืบเนื่องกันมาหลายยุคสมัย และในการจำลองรอยพระพุทธบาทเขานางทองจะทำให้ชาวอำเภอพรานกระต่ายได้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่เป็นสักการะบูชาและยึดเหนี่ยวจิตใจกลับคืนมาเหมือนในอดีต และจะทำให้มีนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนเข้ามาเยี่ยมชม และนมัสการรอยพระบาท (อำนวย ทองทิน, การสัมภาษณ์, 16 สิงหาคม 2563) เมืองพาน คือ เป็นหมู่บ้านเรียกอีกอย่างว่า บ้านวังพาน เป็นหมู่บ้านติดต่อกับบ้านเขานางทอง เลยขุดคลองเจอซากโบราณสถานที่เก่าแก่มากมาย เมืองบางพาน คือ เมืองร้าง สันนิฐานว่าอยู่แถวเขตหมู่บ้านวังพานกับหมู่บ้านเขานางทอง จนปัจจุบันไม่มีเมืองบางพานอยู่แล้ว แต่ขุดพบหลักฐานว่าเป็นเมืองพานจากหลักฐานที่ได้มีการกล่าวถึงเมืองที่สำคัญ ๆ ตามหลักศิราจารึกมีด้วยกัน 2 เมือง คือ เมืองบางพานและเมืองพาน ซึ่งจากการสำรวจมาพบว่า เมืองบางพาน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองหนึ่งที่น่าศึกษาอยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย เป็นเมืองที่สำคัญและเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีหรือก่อนหน้านั้น หลักฐานจากจารึกนครชุม ซึ่งจารึก เมื่อปี พ.ศ.1900 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จารึกไว้ว่า "พิมพ์เอารอยตีนอันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมือง บางพาน เหนือจอมเขานางทอง" ซึ่งหมายถึงการนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ที่เขานางทองเมืองบางพาน แสดงว่าเมืองบางพานเคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากจารึกฐานพระอิศวร ซึ่งจารึกในปีพุทธศักราช 2053 ได้กล่าวถึงเมืองบางพานไว้ว่า "ถนนถลา อันตรธานไปถึงบางพาน" อนึ่งท่อปู่พระยาร่วง ทำเอาน้ำไปถึงบางพานนั้น ก็ถมหายสิ้น" แสดงถึงเมืองบางพาน เจริญขนาดมีถนนพระร่วงตัดผ่าน และมีการขุดท่อทองแดง เอาน้ำจากเมืองกำแพงเพชรไปเลี้ยงเมืองบางพาน มาเกือบ 700 ปี แสดงถึงวิทยาการอันก้าวหน้ามากกว่าทุก ๆ เมือง เท่าที่มีหลักฐาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกถึงเมืองบางพาน ในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงว่า "เมืองบางพานต้องถูกทิ้งร้างไป เพราะแม่น้ำเขินไป ไม่มีน้ำพอกิน ทำให้ต้องย้ายเมือง และทิ้งเมืองบางพาน ให้ร้างไป" เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางที่ราบลุ่มซึ่งเพาะปลูกได้ดี เคยเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ที่พญาลิไท นำมาประดิษฐานไว้ อำเภอพรานกระต่าย ยังมีวัดที่เก่าแก่ และทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และ โบราณคดี จำนวนมาก อาทิ • วัดไตรภูมิ ตำบลถ้ำกระต่ายทอง • วัดอินทาราม ตำบลท่าไม้ • วัดกุฏิการาม ตำบลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย เป็นอำเภอที่เก่าแก่ และมีประชาชน ที่อยู่มาตั้งแต่สมัยโบราณมีภาษาวัฒนธรรม และเอกลักษณ์เป็นของตนเอง นับว่าเป็นอำเภอที่ทรงคุณค่าที่น่าศึกษาที่สุดอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร (สันติ อภัยราช, 2559) ตำนานเกี่ยวกับเขานางทองนั้นกล่าวว่า นางทองเป็นผู้หญิงสาวชาวบ้านเมืองพานที่สวยงามมาก ต่อมาถูกพญานาค กลืนเข้าไปในท้อง พระร่วงเจ้าผู้ครองนครเมืองพานได้พบเห็นจึงได้เข้าช่วยโดยใช้อิทธิฤทธิ์ของตน ล้วงนางทองออกมาจากคอของพญานาค เนื่องจากนางทองเป็นคนที่มีสิริโฉมงดงามจึงเป็นที่สบพระทัยของพระร่วง ต่อมานางทองจึงได้อภิเษกเป็นพระมเหสี และยังได้นางคำหญิงชาวบ้านอีกคนหนึ่งเป็นพระสนมเอกอีกองค์หนึ่งด้วย อยู่มาวันหนึ่งพระร่วงได้เสด็จไปเที่ยวในกรุงสุโขทัย หลังจากพระร่วงเสด็จไปพระมเหสีทอง ได้ไปซักผ้าอ้อมที่สระน้ำซึ่งพระร่วงได้สร้างพระตำหนักแพหน้าพระราชวังในคลองใหญ่ไว้เป็นที่พักผ่อนพระอิริยาบถและซักผ้า ในวันนั้นขณะที่ซักผ้าอ้อมเสร็จและจะนำไปตาก (บริเวณที่ตากผ้าอ้อมนั้น ไม่มีต้นไม้ขึ้นเลย จะโล่งเตียนไปหมด เพราะพระร่วงสาปไว้สำหรับตากผ้าอ้อม) ระหว่างที่ตากผ้าอ้อมพระมเหสีทองก็กลัวว่าผ้าอ้อมจะไม่แห้งจึงทรงอุทานขึ้นเป็นทำนองบทเพลงเก่าว่า "ตะวันเอยอย่ารีบจร นกเอยอย่ารีบนอน หักไม้ค้ำตะวันไว้ก่อน กลัวผ้าอ้อมจะไม่แห้ง" ผลปรากฏว่าตะวัน หรือดวงอาทิตย์ไม่ยอมเคลื่อน จนกระทั่งผ้าอ้อมแห้ง จึงได้โคจรต่อไป ที่คลองใหญ่หน้าพระราชวังแห่งนั้น พระร่วงได้เลี้ยงจระเข้ไว้ด้วย แล้วพอดีจระเข้ตัวนั้นเกิดหิวขึ้นมาจึงคาบพระมเหสีทองไป เพื่อเอาไปกินแต่ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระร่วงกลับจากสุโขทัยพอดี พอกลับมาพระร่วงไม่เห็นนางทองจึงถามพวกนกพวกกวาง (สมัยนั้นเชื่อกันว่าสัตว์ทุกตัวพูดได้) ว่าพระมเหสีทองหายไปไหน พวกสัตว์ต่าง ๆ ก็บอกว่าพระมเหสีทองได้ถูกจระเข้คาบไปแล้ว พระร่วงได้ยินดังนั้นก็รีบตามไปทันที พระร่วงเดินทางไปทางไหนต้องการให้เป็นทางเดิน ก็ปรากฏเป็นทางเดิน ทาง-เกวียนตลอดทาง พระร่วงได้เดินทางผ่านนาป่าแดง คลองวัว และได้ขอน้ำกินแถว ๆ หมู่บ้าน (หมู่บ้านนาป่าแดงปัจจุบัน) พระร่วงพูดว่า "ข้าหิวน้ำจังเลย ขอน้ำกินหน่อยได้ไหม" คนในหมู่บ้านไม่ให้กินจึงพูดว่า "น้ำข้าไม่มี" พระร่วงเป็นคนที่วาจาศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว พระร่วงจึงพูดว่า "เออ อย่างนั้นพวกมึงก็ไม่ต้องมีน้ำกินตลอดไป" จนป่านนี้นาป่าแดงจึงไม่ค่อยมีน้ำกินน้ำใช้กัน พระร่วงได้ตามจระเข้ที่คาบพระมเหสีทองทันที่คลองทองแดง (ใกล้ ๆ ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน) พอเจอกันก็สายเสียแล้ว จระเข้ได้กินพระมเหสีทองไปแล้ว พระร่วงจึงสาปจระเข้ให้เป็นหินอยู่ตรงนั้นมาถึงทุกวันนี้ พระร่วงเสด็จกลับเข้าวังด้วยความสลดใจและไม่อาจลืมความรักความอาลัยในตัวพระมเหสีทองได้ จึงอพยพราษฎรลงไปทางใต้เพื่อไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองสังขบุรีแขวงเมืองอยุธยา เมืองพานจึงกลายเป็นเมืองร้างในยุคหนึ่งในปัจจุบันนี้มีราษฎรจากอำเภอพรานกระต่าย มาตั้งถิ่นฐานกันอยู่หลายสิบหลังคาเรือน เขานางทอง ตั้งอยู่ในเขต ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเขาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองบางพานและเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ที่สันนิฐานกันว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) ทรงสร้างไว้บนยอดเขา ตามหลักฐานในหลักศิลาจารึกหลักที่ 3 ศิลาจารึกนครชุม ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 52 - 57 ปรากฎข้อความดังต่อไปนี้ "พระยาธรรมิกราช ให้ไปพิมพ์เอารอยตีน…พระเป็นเจ็งเถิงสิงหล อันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฎบรรพต ประมาณเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้…อันหนึ่งประดิษฐ์สถานไว้ในเมืองศรีสัชนา เหนือจอมเขา…อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองสุโขทัยเหนือเขาสุมนกูฎบรรพต อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพานเหนือจอมเขานางทอง" บนเขานางทองจึงมีการวางผังโบราณสถานตามแนวยาวมีบันไดขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านบนสุดเป็นเจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานเจดีย์กว้าง 12 เมตร ก่อด้วยอิฐศิลาแลง ส่วนบนเป็นศิลาแลง ถัดมาเป็นเจดีย์รายเล็ก 3 องค์ กว้าง 2 เมตรเท่ากันทุกองค์ ถัดมาเป็นวิหาร 4 ตอน ตอนแรกยาว 13 เมตร กว้าง 6 เมตร ตอนที่สองกว้าง 10 เมตร ยาว 21 เมตร (ปัจจุบันโบราณสถานเหล่านี้ทรุดโทรมมากแทบจะดูไม่ออกว่าเป็นอะไร) ส่วนด้านท้ายสุดคล้ายที่ตั้งบุษบก เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ) เมื่อไม่นานมานี้บริเวณคลองวังพาน (อยู่ใกล้กับวัดพานทองศิริมงคล) ได้มีการขุดลอกคลองโดยเครื่องจักรกลของทางราชการ ได้ขุดพบพระ เครื่องปั้นดินเผาเศษกระเบื้อง ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอย ภายในครัวเรือนของชาวเมืองโบราณเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญได้พบเสาไม้ตะเคียนซึ่งสันนิษฐานว่าหน้าจะเป็นศาลาที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครในอดีต เป็นหลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของเมืองพานเขานางทองในปัจจุบันกำลังจะได้รับการบูรณะจากหน่วยงานของทางราชการให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว (วีสปอร์ต กำแพงเพชร, 2563) สรุป ที่มาของตำนานเขานางทองเริ่มมาจากพระร่วงได้มาเจอนางทองที่เมืองบางพาน จึงพบรักและได้อภิเษกกัน และมาพักอาศัยบริเวรเขานางทอง วันหนึ่งพระร่วงได้ออกไปเที่ยวที่เมืองสุโขทัยกลับมาไม่พบนางทอง เลยถามพวกนกว่านางทองไปไหน พวกนกจึงบอกว่า จระเข้ที่พระร่วงทรงเลี้ยงไว้ ได้คาบนางทองไปแล้ว พระร่วงไปช่วยไม่ทัน นางทองถูกจระเข้กินก่อนไปถึง พระร่วงจึงสาปจระเข้ให้เป็นหิน จากนั้นพระร่วงทำใจไม่ได้จึงอพยพราษฎรลงไปทางใต้เพื่อไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองสังขบุรีแขวงเมืองอยุธยาเมืองพาน จึงกลายเป็นเมืองร้างในยุคหนึ่ง ปัจจุบันราษฎรจากอำเภอพรานกระต่ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันอยู่ หลาย 10 หลังคาเรือน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมเขานางทองอดีตมีพระเจดีย์แบบนี้มียอดเป็นรูปดอกบัวตูม หรือเรียกกันว่า ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงทนาฬ ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ ที่เรือนธาตุลางองค์มีการจัดซุ้มพระพุทธรูปยืนทั้ง 4 ทิศ นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะพากันยกย่องว่า พระเจดีย์ทรงบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ที่ศิลปินสุโขทัยคิดแบบอย่างของตนขึ้น พระเจดีย์แบบนี้นิยมสร้างไว้ตามเมืองต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยเท่านั้น ไม่มีการสร้างต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเลย ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 เจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ณ เขานางทอง
ศิลาแลงกรุงสุโขทัย ราชธานีของคนไทยเมื่อประมาณ 700 ปีมาแล้ว โบราณสถานที่พบเห็นในอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ ในจังหวัดสุโขทัยทั้งสองแห่ง คืออุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติรามคำแหงสุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติศรีสัชนาลัย ต่างก่อสร้างด้วย ศิลาแลง ก้อนศิลาแลง มีลักษณะคล้ายหินลูกรังที่ถูกหลอมขึ้นรูป สีแดง น้ำตาลปนดำ เมื่อนำไปทำเป็นเสาจะทำเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อทำเป็นส่วนต่าง ๆ ของอาคาร มักทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดต่างกัน ปัจจุบันพบทั่วไปตามโบราณสถานทุกแห่งที่สร้างในสมัยสุโขทัย จำนวนก้อนศิลาแลงที่พบมีจำนวนมากมายมหาศาล แต่เป็นที่น่าสังเกตและเป็นที่สงสัยกันมานานคือไม่ทราบแน่ชัดว่าแหล่งวัตถุดิบ ที่ใช้ทำศิลาแลงเพื่อการสร้างกรุงสุโขทัย นำมาจากที่ใด ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 ภาพศิลาแลง ณ เขานางทอง