ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง ของดีของมอ กล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ==='''ชื่อเรียก'''=== ตลาดกล้วยไข่ของมอก...")
 
แถว 12: แถว 12:
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 กล้วยอบเนย.jpg|400px|thumb|center]]
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 กล้วยอบเนย.jpg|400px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1''' กล้วยอบเนย </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1''' กล้วยอบเนย </p>
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 2 เผือกทอดเค็ม.jpg|400px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2''' เผือกทอดเค็ม </p>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:41, 12 มกราคม 2565

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเรียก

         ตลาดกล้วยไข่ของมอกำแพงเพชร

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         ตลาดมอกล้วยไข่

คำอธิบาย

         ตลาดเป็นศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญของชุมชนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลาดส่วนใหญ่สร้างขึ้นตามความต้องการของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบชุมชนนั้น แม้ว่าสภาพของชุมชนและการดำรงชีวิตของคนในชุมชนหรือสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใดก็ตาม ตลาดยังคงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชน โดยเฉพาะแหล่งชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ส่งเสริมให้คนไทยอยู่เย็นเป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและอายุยืนยาว มีสัมมาอาชีพและรายได้ทั่วถึง จึงกำหนดนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารขึ้นเพื่อรณรงค์และเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานอาหารไทยให้เป็นที่แพร่หลาย ตลอดจนเพื่อให้คนไทยบริโภคอาหารที่ถูกสุขอนามัย (ประพล  จิตคติ, การันต์  เจริญสุวรรณ, สุภาภรณ์  หมั่นหา และยุชิตา  กันหามิ่ง, 2558, หน้า 237) 
         จังหวัดกำแพงเพชรมีชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่   ที่มีผู้คนอาศัยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันจึงทำให้ชุมชนเหล่านั้นมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ยังเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นทางศิลปะวิทยาการที่ได้รับอิทธิพลจากเมืองสุโขทัยเข้ามาสู่ จังหวัดกำแพงเพชร ที่ยังคงความงดงามของโบราณสถานที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก อีกทั้ง ชุมชนโบราณ ที่ยังคงเอกลักษณ์ของชุมชนไว้คือ ตลาดย้อนยุคนครชุม ที่เป็นตลาดที่สะท้อนความ เป็นวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชรเป็นอย่างดีทั้งวัฒนธรรมอาหารคาว อาหารหวาน อีกทั้งจังหวัดกำแพงเพชรยังมีชื่อเสียงเกี่ยวกับสินค้าการเกษตร คือ กล้วยไข่ซึ่งเป็นพืช เศรษฐกิจประจำจังหวัดกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีตลาดริมทางมอกล้วยไข่ที่เป็นแหล่งรวมสินค้าแปรรูปจากกล้วยไข่ของคนในชุมชน (ประพล  จิตคติ และคนอื่น ๆ, 2558, หน้า 237)
         ‘ตลาดมอกล้วยไข่’กำแพงเพชร – ตลาดริมทาง ‘ตลาดมอกล้วยไข่’ จ.กำแพงเพชร เป็นอีกหนึ่งตลาดสำคัญที่กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์เลือกมาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาให้เป็น ‘ตลาดริมทาง’ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็งจากชุมชนและท้องถิ่นฐานตลาดริมทาง ‘ตลาดมอกล้วยไข่’ จ.กำแพงเพชร เป็น 1 ใน 5 ตลาดริมทาง บนถนนสายหลักของประเทศขึ้นภาคเหนือที่ผ่านแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งหลายจังหวัด นับเป็นจุดซื้อขายสินค้าที่น่าแวะในจังหวัดกำแพงเพชร กระทั่งช่วงปี พ.ศ.2516-2520 กลุ่มชาวบ้านได้นำผลผลิตพืชไร่ที่เหลือจากการบริโภค มาตั้งแผงขายกันบริเวณริมทางเพียง 4-5 ร้าน และนำ ‘กล้วยไข่’ มาวางขายเป็นเครือก่อน หลังจากนั้นจึงเริ่มนำกล้วยมาแปรรูป แสดงให้เห็นว่า การนำพืชจากไร่จากสวนที่เหลือสามารถนำมาแปรรูปเพื่อจำหน่ายเป็นของฝากและสามารถเก็บไว้ได้นาน สำหรับตลาดริมทาง ‘ตลาดมอกล้วยไข่’ ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินสายเอเชียหมายเลข 1 สายกำแพงเพชร – นครสวรรค์ กิโลเมตรที่ 343 มีร้านขายวางเรียงรายยาวประมาณ 200 เมตร จากตลาดมอกล้วยไข่สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ใน จ.กำแพงเพชร ได้ง่าย เช่น อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกโลก’ เมื่อปี 2534 หรือจะไปสักการะวัดพระบรมธาตุ เจดียาราม นครชุม ที่อยู่คู่เมืองนครชุมมายาวนานกว่า 600 ปี ปัจจุบันตลาดมอกล้วยไข่เป็นตลาดริมทางหลวงที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากล้วยหลายชนิด ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ เผือก มัน ฯลฯ ร้านค้าในตลาดเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้มีลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง (ข่าวสดออนไลน์, 2562) 
         นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มอบนโยบายให้กระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมยกระดับพัฒนาตลาดชุมชนให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น และทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในจังหวัดนั้นๆการเข้ามาส่งเสริมพัฒนาตลาดมอกล้วยไข่ ของกรมการค้าภายใน เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ช่วยให้เกิดกิจกรรมการค้าขายและการท่องเที่ยวควบคู่กันไป ทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในชุมชน เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างโอกาส และช่องทางการกระจายสินค้าเกษตร และสินค้าอื่นๆ แก่ผู้ค้าของชุมชน และสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อสินค้าดีมีคุณภาพ มาตรฐาน ราคาเป็นธรรมแสดงให้เห็นว่า นายสมคิดเป็นตัวต้นคิดช่วยหารายได้ให้กับชุมชนและชาวบ้านแถวนั้นได้มีอาชีพไม่ว่าจะเป็นการเกษตรหรือผู้ว่างงาน ได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์และเลี้ยงชีพตนและครอบครัว (ข่าวสดออนไลน์, 2562)
         สินค้าในตลาดมอกล้วยไข่เป็นแหล่งรวมสินค้าแปรรูปของคนในชุมชนมอกล้วยไข่มีสินค้าหลากหลายและของใช้ในครัวเรือน อาทิเช่น กล้วยอบเนย เผือกทอดเค็ม กล้วยเบรกแตก ไม้กวาดดอกหญ้า ตะกร้าสาน ฯลฯ มีราคาประหยัดและมีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียง ดังภาพ
ภาพที่ 1 กล้วยอบเนย.jpg

ภาพที่ 1 กล้วยอบเนย

ภาพที่ 2 เผือกทอดเค็ม.jpg

ภาพที่ 2 เผือกทอดเค็ม