ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต้นทับทิมกับฮวงจุ้ยแบบไทยๆ"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(ความหมายของความเชื่อ)
(บทนำ)
แถว 2: แถว 2:
 
           ความเชื่อ คือ สิ่งที่หยั่งรากลึกลงไปในวิถีชีวิต ความคิด และการกระทำของคนรุ่นสู่รุ่น ความเชื่อในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเชื่อในตัวบุคคล ความเชื่อในความคิดของช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อเรื่องจาตุคามรามเทพ ความเชื่อในพรรคการเมือง ความเชื่อในศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่เรามองไม่เห็น อาทิ ความเชื่อเรื่องผี เทวดา รวมไปถึงความเชื่อในเรื่องศาสตร์หรือพิธีกรรมต่าง ๆ อาทิ ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ทิศการวางพระ รวมไปถึงสิ่งอื่น ๆ เมื่อเรียกรวม ๆ กันแล้ว คนจีนจะเรียกสิ่งนี้ว่าฮวงจุ้ย หรือ ศาสตร์ในการกำหนดที่ตั้งให้เหมาะสม และเป็นมงคลสำหรับสร้างสุสาน บ้าน เมือง เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ เข้ามาเกี่ยว
 
           ความเชื่อ คือ สิ่งที่หยั่งรากลึกลงไปในวิถีชีวิต ความคิด และการกระทำของคนรุ่นสู่รุ่น ความเชื่อในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเชื่อในตัวบุคคล ความเชื่อในความคิดของช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อเรื่องจาตุคามรามเทพ ความเชื่อในพรรคการเมือง ความเชื่อในศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่เรามองไม่เห็น อาทิ ความเชื่อเรื่องผี เทวดา รวมไปถึงความเชื่อในเรื่องศาสตร์หรือพิธีกรรมต่าง ๆ อาทิ ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ทิศการวางพระ รวมไปถึงสิ่งอื่น ๆ เมื่อเรียกรวม ๆ กันแล้ว คนจีนจะเรียกสิ่งนี้ว่าฮวงจุ้ย หรือ ศาสตร์ในการกำหนดที่ตั้งให้เหมาะสม และเป็นมงคลสำหรับสร้างสุสาน บ้าน เมือง เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ เข้ามาเกี่ยว
 
           ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ความเชื่อแทรกซึมเข้ามาอยู่ทุกช่วงของชีวิตตั้งแต่เกิด บวช แต่งงาน หรือเสียชีวิต พิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อ สิ่งที่ทำได้ สิ่งที่ทำไม่ได้ ถ้าทำแล้วจะเป็นแบบนั้น แบบนี้ เช่นเดียวกับการปลูกต้นทับทิมในบริเวณบ้าน ก็เป็นความเชื่อของคนไทย
 
           ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ความเชื่อแทรกซึมเข้ามาอยู่ทุกช่วงของชีวิตตั้งแต่เกิด บวช แต่งงาน หรือเสียชีวิต พิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อ สิ่งที่ทำได้ สิ่งที่ทำไม่ได้ ถ้าทำแล้วจะเป็นแบบนั้น แบบนี้ เช่นเดียวกับการปลูกต้นทับทิมในบริเวณบ้าน ก็เป็นความเชื่อของคนไทย
''คำสำคัญ:''' ต้นทับทิม, ความเชื่อ, ฮวงจุ้ยแบบไทยๆ
+
''คำสำคัญ:'' ต้นทับทิม, ความเชื่อ, ฮวงจุ้ยแบบไทยๆ
  
 
=='''ความหมายของความเชื่อ'''==
 
=='''ความหมายของความเชื่อ'''==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:49, 30 พฤษภาคม 2566

บทนำ

         ความเชื่อ คือ สิ่งที่หยั่งรากลึกลงไปในวิถีชีวิต ความคิด และการกระทำของคนรุ่นสู่รุ่น ความเชื่อในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเชื่อในตัวบุคคล ความเชื่อในความคิดของช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อเรื่องจาตุคามรามเทพ ความเชื่อในพรรคการเมือง ความเชื่อในศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่เรามองไม่เห็น อาทิ ความเชื่อเรื่องผี เทวดา รวมไปถึงความเชื่อในเรื่องศาสตร์หรือพิธีกรรมต่าง ๆ อาทิ ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ทิศการวางพระ รวมไปถึงสิ่งอื่น ๆ เมื่อเรียกรวม ๆ กันแล้ว คนจีนจะเรียกสิ่งนี้ว่าฮวงจุ้ย หรือ ศาสตร์ในการกำหนดที่ตั้งให้เหมาะสม และเป็นมงคลสำหรับสร้างสุสาน บ้าน เมือง เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ เข้ามาเกี่ยว
         ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ความเชื่อแทรกซึมเข้ามาอยู่ทุกช่วงของชีวิตตั้งแต่เกิด บวช แต่งงาน หรือเสียชีวิต พิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อ สิ่งที่ทำได้ สิ่งที่ทำไม่ได้ ถ้าทำแล้วจะเป็นแบบนั้น แบบนี้ เช่นเดียวกับการปลูกต้นทับทิมในบริเวณบ้าน ก็เป็นความเชื่อของคนไทย

คำสำคัญ: ต้นทับทิม, ความเชื่อ, ฮวงจุ้ยแบบไทยๆ

ความหมายของความเชื่อ

         ภิญโญ จิตต์ธรรม (2522) ได้กล่าวถึงความเชื่อสรุปได้ว่า ความเชื่อ คือ สิ่งที่ไม่ให้ถูกลงโทษ และเพื่อให้อำนาจสิ่งลึกรับนั้นพึงพอใจ ต่อมาจึงได้มีพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อบูชาเพียงพอที่จะนำมาใช้พิสูจน์ให้เห็นจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นก็ได้ มนุษย์ค่อย ๆ เรียนรู้ ทำความเข้าใจโลกมาเป็นหลายพันปี และเชื่อว่ามีอำนาจลึกลับสามารถบันดาลให้มนุษย์ได้รับผลดีและผลร้าย เมื่อมนุษย์กลัวอำนาจสิ่งลึกลับนั้นก็จะกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ถูกลงโทษ และเพื่อให้อำนาจสิ่งลึกลับนั้นพึงพอใจ ต่อมาจึงได้มีพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อบูชาเซ่นสรวง เพราะเชื่อสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นต้องมีผู้บันดาลให้เป็น สมปราชญ์ อัมมะพันธ์ (2536) ได้กล่าวถึงความหมายของความเชื่อไว้ในหนังสือประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดีไทยไว้หลายประการ ดังนี้ "ความเชื่อ คือ การยอมรับข้อเสนอข้อใดข้อหนึ่งไว้ว่าเป็นจริง การยอมรับเช่นนี้โดยสาระสำคัญแล้วเป็นการรับเชิงพุทธิปัญญา แม้ว่าจะมีอารมณ์สะเทือนใจเข้ามาประกอบร่วมด้วย ความเชื่อจะก่อให้เกิดภาวะทางจิตขึ้นในบุคคลซึ่งอาจเป็นพื้นฐานสำหรับการกระทำโดยสมัครใจของบุคคลนั้น" “ความเชื่อ คือ คำตอบสิ่งลึกลับที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของตนโดยให้พื้นฐานการศรัทธาและอารมณ์มากกว่าที่จะเป็นเหตุผล หรือวิทยาศาสตร์" จันทร์ศรี นิตยฤกษ์ (2523) ได้กล่าวถึง ความเชื่อในหนังสือความรู้เรื่องคติชนวิทยาว่า เชื่อ ความหมายว่า เห็นจริงด้วย นับถือ มั่นใจ อาจจะด้วยความรู้สึกหรือการไตร่ตรองด้วยเหตุผลก็ตาม เมื่อเกิดความเชื่อแล้วก็มักมีการแสดงออกทางการ คือ การปฏิบัติและทางวาจา เช่น ตักเตือน สั่งสอน หรือให้ผู้อื่นทราบ ความเชื่อของบุคคลกลุ่มใดย่อมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเพณี สุภาษิต คำพังเพย ตลอดจนคติชนแขนงอื่น ๆ เป็นต้น ความเชื่อจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดการแสดงออกของคนในสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ความเชื่อเป็นตัวกำหนดคติชนแขนงอื่น ๆ ในสังคมนั้น ๆ ทั้งนี้เพราะเมื่อคนในสังคมมีความเชื่อเรื่องใดย่อมประพฤติปฏิบัติหรือแสดงออกด้วยประเพณี พิธีกรรม และอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับความเชื่อนั้น ๆ นอกจากนั้น มารยาท กิจสุวรรณ (2526) ได้กล่าวถึง ความเชื่อของชนชาติไทยไว้ในวารสารวัฒนธรรมไทย ดังนี้ ความเชื่อของชนชาติไทยแต่งดั้งเดิมก็เหมือนกับชนชาติอื่นในสมัยโบราณ คือเชื่อในสิ่งที่ไม่เห็นตัวตน โดยเข้าใจว่า มีฤทธิ์อำนาจอยู่เหนือคนอาจบันดาลให้ดีหรือร้ายแก่คนได้ ความเชื่ออันนี้คือ ความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ (Super Nature) ที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทาง วิทยาศาสตร์ใด ๆ แต่ความเชื่อเช่นนี้ก็มีอิทธิพลเหนือความคิด และการกระทำของคนไม่ว่าจะเป็น ยุคใด ๆ แต่ความเชื่อเหนือสิ่งธรรมชาติบางชนิดก็อาจจะจัดอยู่ในรูปของศาสนาดั้งเดิม (Primitive Religion) ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นสิ่งใหม่ ๆ 
         ดังนั้นจึงสามารสรุปได้ว่าความเชื่อ คือ การยอมรับนับถือหรือยึดมั่น ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลมาอธิบาย การยอมรับนั้นอาจยอมรับด้วยความศรัทธา ด้วยความจงรักภักดีแฝงไว้ด้วยความกลัวหรือรับสืบเนื่องกันมาและปฏิบัติตามจนกลายเป็นประเพณีและวัฒนธรรมในปัจจุบัน

ความเชื่อเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ของคนไทยสมัยโบราณ

         ความเชื่อเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้นั้น สืบเนื่องมาจากในสมัยโบราณ คนไทยมักจะชอบบ้านที่มีบริเวณกว้างขวาง แล้วมักจะมีพฤติกรรมรักในการปลูกต้นไม้นานาชนิดไว้รอบบ้าน การปลูกต้นไม้แต่ละต้นจึงมักจะคำนึงถึงทิศทางทั้งแสงแดด ลม และการใช้ประโยชน์ในการปลูกต้นไม้แต่ละชนิด รวมไปถึงการปลูกไม้มงคลภายในบริเวณบ้านด้วย ไม้มงคลที่ควรปลูก อาทิ 
         - ต้นกล้วย กล้วยเป็นไม้ที่ปลูกง่ายและมีประโยชน์มาก ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ลำต้น ใบ หัวปลี และผล โดยคนสมัยโบราณมีความเชื่อว่า การปลูกกล้วยไว้ในบ้านนั้น ไม่ว่าจะคิดสิ่งใดหรือกระทำสิ่งใดก็ง่าย สำเร็จได้โดยง่าย ต้นกล้วยควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออกของบ้านเสมอ 
         - ต้นคูน หรือต้นราชพฤกษ์ คนไทยเชื่อกันว่าหากปลูกไว้ในบ้านจะร่ำรวย ทรัพย์สินเงินทองจะทวีคูณยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อกล่าวถึงทิศการปลูกต้นคูณนั้นโบราณกล่าวว่าต้นคูณควรปลูกไว้ทางทิศใต้
         - ต้นมะพร้าว หรือ ต้นไผ่สีสุข โบราณกล่าวไว้ว่าควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออก ซึ่งมีความเชื่อว่าจะทำให้คนในบ้านหรือคนในครอบครัวปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
         - ต้นโป๊ยเซียน ปลูกแล้วจะทำให้ร่ำรวย ให้โชคลาภเจริญรุ่งเรือง ทิศที่เหมาะกับการปลูก คือ ทิศตะวันออก เฉียงเหนือ
         - ต้นจำปี ใครปลูกไว้ในบ้าน จะทำให้เกิดความสบายอกสบายใจ ไม่มีเรื่องกังวลใจ ต้นจำปี โบราณกล่าวไว้ว่า ควรปลูกในทิศตะวันตก
         - ต้นมะม่วง ปลูกมะม่วงไว้ทางทิศใต้จะช่วยป้องกันคนอื่นมารังแก
         - ต้นฝรั่ง ป้องกันคาถาอาคม เวทมนต์ หรือ คุณไสย ต่าง ๆ บางท้องถิ่นเชื่อกันว่า ต้นฝรั่ง สามารถป้องกันภูตผีปีศาลได้ด้วย ควรปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
         - ต้นขนุน โบราณเชื่อว่า ปลูกไว้ในบ้านจะมีคนสรรเสริญ ป้องกันอันตรายและคนใส่ร้าย อีกทั้งมีผู้อุปการะอุดหนุนคอยให้ความช่วยเหลือ ทิศที่เหมาะสมคือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
         - ต้นมะยม เชื่อกันว่า ปลูกแล้วจะได้รับความนิยมชมชอบ มีชื่อเสียง มีคนรักใคร่ มะยม ทิศทางที่ควรปลูก คือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน
         - ต้นมะขาม ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก เพื่อป้องกันคดีความ ผีซ้ำด้ามพลอย และทำให้คนชื่นชอบ เป็นที่น่าเกรงขาม ส่วนพันธุ์ไม้ที่คนโบราณห้ามปลูกไว้ในบ้าน เนื่องจากจะนำความวุ่นวายมาสู่ครอบครัว ได้แก่ 
         - ต้นตะเคียน เชื่อกันว่ามีวิญญาณฯหญิงสาวมาสิงสู่ จะทำให้คนที่อยู่ในบ้านไม่เจริญ
         - ต้นไทร โบราณมีความเชื่อว่าไม่ควรปลูกต้นไทรไว้ในบ้านเพราะจะทำให้ครอบครัว เกิดความวุ่นวาย
         - ต้นยาง เป็นไม้ที่นิยมนำมาทำหีบศพ เชื่อว่าปลูกไว้ในบ้านแล้วจะทำให้คนในครอบครัวถูกอาเพศและตายได้
         - ต้นโศก ระกำ สั่นทม เป็นชื่อที่ไม่มีความมงคล จึงไม่นิยมให้ปลูกในบ้าน เชื่อว่าจะทำให้เกิดความอัปมงคลกับคนในบ้าน จะเกิดทุกข์เกิดเรื่องไม่ดีกับคนในครอบครัว
         - เฟื้องฟ้า เป็นไม้ที่มีหนามแหลมคม คนโบราณจึงไม่ให้ปลูกไว้ในบ้าน โดยเชื่อกันว่า ถ้าบ้านไหนมีลูกสาว ลูกสาวก็จะไร้คู่ เป็นต้น ปัจจุบันความเชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ถูกลบเลือนไปตามกาลเวลา เพราะมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
         สำหรับต้นทับทิมนั้น คนไทยมีความเชื่อว่า มีความเชื่อว่าต้นทับทิมนั้นเป็นอัญมณีแห่งผลไม้ คือชื่อเรียกขานผลทับทิมตามความเชื่อของคนโบราณโดยมีความเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ความร่มรื่น และน่ายินดี โดยเฉพาะชาวจีนมักนิยมนำผลทับทิมให้เป็นของขวัญแก่คู่แต่งงานเพื่อเป็นการ

อวยพรให้มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง นอกจากนั้นแล้วยังมีความเชื่ออีกว่า ใบหรือกิ่งของต้นทับทิมให้คุณด้านการป้องกันภัยจากภูตผี เราจึงมักเห็นการใช้ใบหรือกิ่งทับทิมแช่น้ำล้างหน้า ล้างมือ พรมศีรษะหลังกลับจากการร่วมงานศพเพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีที่ติดตามมา (Kaset Today, ม.ป.ป.)

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นทับทิมในแต่ละประเทศ

         ประเทศจีน
         ประเทศจีนถือว่าต้นทับทิมเป็นไม้มงคล และเนื่องจากผลทับทิมมีเมล็ดมาก ชาวจีนจึงยกให้ทับทิมเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ความมีลูกหลานมากมาย จึงนิยมให้ผลทับทิมเป็นของขวัญแก่บ่าวสาวในพิธีแต่งงานเพื่อให้มีลูกหลานมาก ๆ ในพิธีแต่งงานก็นิยมปักยอดทับทิมไว้ที่ผมบ่าวสาว และปักยอดทับทิมไว้ที่สิ่งของเซ่นไหว้เจ้า ชาวจีนยังเชื่อว่า ใบหรือกิ่งทับทิมมีอำนาจไล่ภูตผีปีศาจได้ จึงนิยมปลูกต้นทับทิมไว้ในบริเวณหน้าบ้าน และใช้ใบทับทิมแช่น้ำ ล้างหน้า ล้างมือ หลังกลับจากงานศพ เพื่อมิให้ปีศาจติดตามมา
         ประเทศญี่ปุ่น
         ประเทศญี่ปุ่นเชื่อว่าผลทับทิมเป็นเสมือนเจ้าแม่ที่คอยปกป้องรักษาเด็ก ๆ ให้ปลอดภัย และเชื่อว่า เมื่อเด็ก ๆ ได้รับประทานผลของทับทิมแล้วจะปลอดภัยจากภูติ ผี ปีศาจทั้งปวง ผลไม้ชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมในญี่ปุ่น อีกทั้งยังเชื่อว่า การรับประทานทับทิมจะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น ช่วยป้องกันมะเร็งในผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ทับทิมยังเป็นผลไม้ชะลอความชราแล้วยังสามารถช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าจากการทำงานได้ดีเนื่องจากในผลทับทิมมีสารที่เรียกว่า กรดซิตริก
         ประเทศกรีก
         ประเทศกรีกมีความเชื่อว่าต้นทับทิมเกิดจากโลหิตของไดโอนีซุส ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งเทพเจ้าทั้งปวงและเทวีนาน่า ซึ่งเป็นพรหมจารีย์ตั้งครรภ์ขึ้นโดยการสอดใส่ผลทับทิม และให้เกิดเทพเจ้าแอตติส ดังนั้นผู้ที่เคารพนับถือเทพแอตติสจึงไม่กินผลทับทิม ชาวยิวในสมัยพระเจ้าโซโลมอนก็ถือว่าทับทิมเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ ดังปรากฏอยู่บนยอดเสาของวิหารกษัตริย์โซโลมอน ชาวฮินดู ในอินเดียเชื่อว่า พระคเณศทรงโปรดทับทิม ผู้ที่เคารพพระคเณศจึงนิยมนำผลทับทิมไปถวาย นอกจากนี้ ยังใช้ดอกทับทิมบวงสรวงบูชาพระอาทิตย์ พระนารายณ์ และเทวีลักษมี อีกด้วย
         จากข้อมูลข้างต้นเกี่ยวกับต้นทับทิมของทั้ง 3 ประเทศ พบว่าทั้ง 3 ประเทศมีความเชื่อเกี่ยวกับต้นทับทิมที่แตกต่างกันออกไป โดยในประเทศจีนและญี่ปุ่นจะมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกันคือ ต้นทับทิมสามารถปกปักรักษาจากสิ่งที่ไม่ดีจากภูติผีปีศาจได้ แต่ในประเทศกรีกต้นทับทิมถือเป็นสิ่งที่นิยมใช้บูชาเทพเจ้าที่นับถือให้เป็น ศิริมงคลกับตัวเอง (จารุพันธ์ ทองแถม, 2519)

ความเชื่อในแต่ละศาสนา

         พราหมณ์-ฮินดู
         ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้นมีความเชื่อว่าทับทิมเป้นผลไม้วิเศษมีเทพหลายองค์โปรดปรานผลไม้ชนิดนี้ เช่น ตำนานในศาสนาฮินดูเล่าว่า ใครใดที่นำทับทิมที่สวยงายไรตำหนิถวายแด่องค์เทพกฤษณะ ความปรารถนาของเขาจะสัมฤทธิ์ผล และเช่นเดียวกันพระพิฆเนศก็โปรดปรานผลไม้ชนิดนี้ด้วย และยังเชื่อกันว่าน้ำที่แช่ใบทับทิมถือกันว่าเป็น"น้ำมงคล"คือมี่พลังที่ดีจากธรรมชาติ แต่ถ้าแช่กิ่งไปในน้ำเฉยๆโดยไม่มีการกล่าวบทสวดหรือท่องคาถาตามศาสนพิธีก็จะไม่เรียกว่าน้ำมนต์
         พุทธมหายาน
         ในนิกายนี้พุทธมหายานมักนำกิ่งใบทับทิมเป็นใบไม้สิริมงคลที่ใช้ทุกงานที่มีน้ำมนต์ประกอบในพิธี โดยจะใช้พรมน้ำมนต์มีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครองป้องกันภัย และยังนำกิ่งทับทิมไปใช้ประพรมน้ำพุทธมนต์-น้ำเทพมนต์ หรือนำไปแช่ในน้ำสะอาดประพรมกันหรือแก้อาถรรพ์ได้ เช่น ประพรมหลังจากกลับจากงานศพ เป็นต้น 
         ศาสนาของชาวอียิปต์โบราณ
         ในศาสนาอียิปต์โบราณถือว่าทับทิมเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากเมล็ดทับทิมมีลักษณะคล้ายอัญมณีล้ำค่าแสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวยและเมล็ดของผลทับทิมยังแสดงถึงการมีลูกหลานมากมายอีกด้วย นอกจากนั้น ยังนิยมนำไปบูชาเทพเจ้าของชาวอียิปต์ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้ารา (สุริยเทพ) เทพเจ้าอามุน (เทพอากาศ/ราชาแห่งปวงเทพ) เทพเจ้าอนูบิส (เทพแห่งความตายและการรักษาศพ) เป็นต้้น และขับไล่ภูติ  ผี ปีศาจที่มีเจตนาจะทำร้ายรุกราน (จารุพันธ์ ทองแถม, 2519)

ประสบการณ์ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ทับทิม

2-1.jpg

ภาพที่ 1 ต้นทับทิม (Kaset Today, ม.ป.ป.)