ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง หัตถกรรมเป่าแก้วบ้านโนนจั่น ตำบลทุ่งทราย"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(วัสดุผลิตภัณฑ์)
(วัสดุผลิตภัณฑ์)
 
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน)
แถว 14: แถว 14:
 
           3. ก๊าซหุงต้ม
 
           3. ก๊าซหุงต้ม
 
           4. ทรายละเอียด
 
           4. ทรายละเอียด
           5. พงศกร เทพคุณคนหล่อ บ๊วยบ้านพิชซ่า
+
           5. น้ำทอง22k
 
           6. สีทาแก้ว
 
           6. สีทาแก้ว
           7. แว่นตาสำหรับเป่าแก้ว      บ๊วยกินพิชซ่าหน่า
+
           7. แว่นตาสำหรับเป่าแก้ว       
  
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 แก้ว และ หัวเป่าแก้ว.jpg|500px|thumb|center]]
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 แก้ว และ หัวเป่าแก้ว.jpg|500px|thumb|center]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:23, 23 พฤษภาคม 2567

ภาพที่ 2 ผลงานการเป่าแก้วทางศิลป์.jpg

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

ชื่อเรียก[แก้ไข]

        หัตถกรรมเป่าแก้วบ้านโนนจั่น

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         เป่าแก้ว

คำอธิบาย[แก้ไข]

         เริ่มจากนายณรงค์ แสงอโน ราษฎรบ้านโนนจั่นได้ไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร โดยได้ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับวิธีการเป่าแก้วที่ได้มาจากญาติ ที่ทำงานอยู่สถาบันวิจัยแห่งชาติ จากนั้นก็ได้ทำการทดลองทำ ดัดแปลงเป่าเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ จนเริ่มมีความชำนาญ จึงได้เปิดร้านเพื่อผลิตและจำหน่ายอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าไร ต่อมาเมื่อสมรสจึงกลับมาอยู่บ้านแล้วชักชวนชาวบ้านมาฝึกโดยไม่คิดค่าฝึกสอน แต่ประการใด จากนั้นก็ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานต่าง ๆ และทางกลุ่มจดทะเบียนเมื่อ ปี 2541

สถานที่[แก้ไข]

         กลุ่มหัตถกรรมเป่าแก้วบ้านโนนจั่น  32 บ้านโนนจั่น หมู่ 1 ตำบลทุ่งทอง อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร 62190 ติดต่อ คุณณรงค์  แสงอโน  โทร : 081-3613591, 055-732203  อีเมล : glassman_50@hotmail.com  

วัสดุผลิตภัณฑ์[แก้ไข]

         1. แก้วโบโรซิลิเคต (แก้วทนไฟ) ขนาด 1-35 มิลลิลิตร (ขึ้นอยู่กับขนาดของงาน)
         2. ก๊าซออกซิเจน
         3. ก๊าซหุงต้ม
         4. ทรายละเอียด
         5. น้ำทอง22k
         6. สีทาแก้ว
         7. แว่นตาสำหรับเป่าแก้ว      
ภาพที่ 1 แก้ว และ หัวเป่าแก้ว.jpg

ภาพที่ 1 แก้ว และ หัวเป่าแก้ว

ประเภทการใช้งาน[แก้ไข]

         ของใช้ ของประดับตกแต่งและของที่ระลึก

กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน[แก้ไข]

         ขั้นตอนกระบวนการผลิต
         1. ขั้นเตรียมการ
             (1) เตรียมแท่งแก้ว
             (2) จุดไฟ และเร่งความแรงของไฟให้ได้ประมาณ 1,200 องศา
             (3) ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันแสงจากไฟ
         2. ขั้นการผลิต
             (1) นำแก้วมาเป่าขึ้นรูปด้วยไฟ อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส
ภาพที่ 4 การใช้ตะเกียงเป่าแก้วขึ้นรูปม้าน้ำ.jpg

ภาพที่ 2 การขึ้นรูปม้าน้ำ

             (2) เก็บรายละเอียดด้วยความพิถีพิถัน หากต้องการทำเป็นรูปสัตว์ ให้นำแก้วจี้ไฟ ให้เกิดความร้อนแล้วขึ้นรูปจากหาง ไปยังขา ลำตัว และหัว (แล้วแต่ความถนัดของช่าง)
ภาพที่ 9 การเก็บรายละเอียดส่วนหัวของกุ้ง.jpg

ภาพที่ 3 การเก็บรายละเอียดส่วนหัวของกุ้ง

             (3) เก็บรายละเอียด เช่น เล็บ หนวด ให้ใช้เครื่องมือที่มีลักษณะกลมมีขอบวงแหวน เช่น น๊อต แล้วนำมาแต่งเป็นรูปขนโดนนำไปแตะที่ตัวแก้วแล้วหมุนไปมา เป็นเหมือนขนสัตว์ เป็นต้น
             (4) การตั้งรูปแก้วที่เป็นรูปต่าง ๆ กับพื้นเพื่อการทรงตัวที่มั่นคง ให้นำแก้วที่ทำเสร็จแล้วและยังมีความร้อนคงอยู่แตะกับพื้นผิวเรียบที่เป็นคาร์บอนเบา ๆ
ภาพที่ 10 ฐานตั้งสำหรับม้าน้ำ.jpg

ภาพที่ 4 ฐานตั้งสำหรับม้าน้ำ

         3. ขั้นหลังการผลิต 
         นำแก้วที่ผลิตเสร็จแล้วไปเป่าด้วยแก๊สออกซิเจน เพื่อไม่ให้แก้วเปราะและแตกง่าย การตกแต่งลักษณะพิเศษ การเป่าแก้วแรกเริ่มนั้นมีการจัดทำแบบธรรมดาที่เรียกว่า แก้วใส กล่าวคือ เมื่อนำแก้วแท่ง มาเป่าขึ้นเป็นรูปสัตว์หรือรูปทรงตามต้องการแล้วถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการเป่าขึ้นรูป สามารถบรรจุหีบห่อ เพื่อจำหน่ายได้ ในปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มเทคนิคในการจัดทำซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถดำเนินการได้ใน 2 รูปแบบ คือ 
             1. การพ่นทราย โดยใช้เครื่องปั้มลมพ่นทรายละเอียด ออกไปบริเวณที่ต้องการ เช่น ที่หาง หนวด ขา หรือลำตัว เป็นต้น การพ่นทรายจะทำให้แก้วที่มีลักษณะใส มีสีขาวขุ่นเกาะบริเวณที่พ่น เมื่อสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรูปเล็ก ๆ ที่เกิดจากการที่ทรายถูกอัดแล้วฉีดไปแรง ๆ กระทบกับวัตถุหรือแก้วตรงบริเวณที่ต้องการนั่นเอง 
             2. การลงสีเคลือบทอง การลงสีนี้อาจจะผ่านขั้นตอนการพ่นทรายหรือไม่ก็ได้ โดยนำสีทองมาทาลงในส่วนที่ต้องการ แล้วนำไปอบในเตาอบ ด้วยอุณหภูมิ 650 C เป็นระยะเวลา 3-4 ชั่วโมง
ภาพที่ 11 การเป่าแก้วรูปแบบธรรมดาที่เรียกว่า แก้วใส.jpg

ภาพที่ 5 การเป่าแก้วรูปแบบธรรมดาที่เรียกว่า แก้วใส

ภาพที่ 12 การเป่าแก้วรูปแบบลงสีเคลือบทอง.jpg

ภาพที่ 6 การเป่าแก้วรูปแบบลงสีเคลือบทอง

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

         29 มีนาคม 2562

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         น.ส.สุวลัย  อินทรรัตน์

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         เป่าแก้ว, หัตถกรรมเป่าแก้ว, บ้านโนนจั่น