ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมของไทยทรงดำ"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(Admin ย้ายหน้า KPPStudies:กลุ่มชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมของไทยทรงดำ ไปยัง [[กลุ่มชาติพันธุ์ สังค...)
แถว 1: แถว 1:
กลุ่มชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมของไทยทรงดำ : กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าช้าง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
+
== กลุ่มชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมของไทยทรงดำ : กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าช้าง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ==
 +
=== บทนำ ===
 +
          ไทดำหรือไตดำ (Black tai) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น โซ่ง ซ่ง ไทยโซ่ง ไทยซ่ง ลาวโซ่ง ลาวซ่ง ลาวทรงดำ และ ลาวพุงดำ โดยสันนิษฐานว่าไทดำเป็นชื่อเรียกแต่แรกเริ่ม ส่วนชื่อที่เรียก      “ลาวโซ่ง” และ “ไทยทรงดำ” เป็นคำเรียกคนไทดำที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยเป็นชนกลุ่มที่อพยพผ่านประเทศลาวเข้ามายังประเทศไทย ประกอบกับภาษาพูดที่ใช้มีความคล้ายคลึงกับภาษาพูดของคนลาว                    (กลุ่มนักศึกษาโครงการเรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชน, 2547) ซึ่งคำว่า “โซ่ง” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า                  “ซ่วง” ซึ่งแปลว่า กางเกง เพราะชาวไทดำนิยมนุ่งกางเกงและสวมใส่เสื้อผ้าสีดำ (สันติ, 2557) หากแต่                      ในการอพยพเข้าประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า “ไทย” นำหน้าชื่อกลุ่มชนหรือกลุ่มภาษา เพื่อการเน้นถึงความเป็นชาติและความเป็นไทย คนไทดำที่อาศัย                อยู่ในประเทศไทยจึงมักเรียกชนกลุ่มของตนเองว่า “ไทยทรงดำ” ตั้งแต่นั้นมา (จุรีวรรณ, 2554)
 +
'''คำสำคัญ :''' ไทยทรงดำ, ไทดำ, กลุ่มชาติพันธุ์
 +
'''การอพยพถิ่นฐานของกลุ่มไทยทรงดำมายังจังหวัดกำแพงเพชร'''
 +
          กลุ่มชาติพันธ์ไทยทรงดำ มีถิ่นฐานเดิมตั้งอยู่ที่เมืองแถน ซึ่งเดิมเป็นเมืองใหญ่ของแคว้นสิบสองจุไท ปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟูของประเทศเวียดนาม มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว ซึ่งเดิมคือแคว้นล้านช้าง ซึ่งชาวไทดำถูกต้อนอพยพโดยสมัครใจไปมาระหว่างสองอาณาจักรนี้ ครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี                  พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกอพยพผู้คนไทดำมายังประเทศไทย เพื่อหนีสงคราม                  โดยอพยพผ่านลงมาทางเวียดนามตอนเหนือ ลาว และเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี และอพยพเรื่อยมาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (งามพิศ, 2545) โดยอพยพให้ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยแห่งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี จากนั้นจึงกระจายการตั้งถิ่นฐานอพยพออกจากพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ไปตั้งหลักแหล่งในจังหวัดใกล้เคียงและขยายพื้นที่ออกไปไกลถึงจังหวัดเลย โดยทางเกวียนและรถไฟ นอกจากนี้ยังพบชาวไทยทรงดำที่อพยพจากจังหวัดเพชรบุรีไปอยู่ในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี สระบุรี ลพบุรี พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี (จุรีวรรณ, 2554) จากการสืบค้น พบว่า กลุ่มไทยทรงดำอพยพเข้าสู่จังหวัดกำแพงเพชรครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2480 -2490 โดยอพยพมาจากตำบลหัวถนน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม สามารถแสดงการอพยพย้ายถิ่นของชาวไทยทรงดำที่เข้ามายังจังหวัดกำแพงเพชร  ได้ดังตารางที่ 1 (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2561)
 +
'''ตารางที่ 1''' แสดงการอพยพของไทยทรงดำมายังจังหวัดกำแพงเพชร
 +
{| class="wikitable"
 +
|-
 +
! '''ปีพุทธศักราช''' !! '''อพยพจาก''' !! '''อพยพไปที่'''
 +
|-
 +
| 2480 – 2490 || หัวถนน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม || อำเภอบางเลน และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, จังหวัดสุพรรณบุรี, จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดพิจิตร
 +
|-
 +
| 2492 || วังหยวก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ || วังน้ำ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
 +
|-
 +
| 2495 || จังหวัดสุพรรณบุรี || วังน้ำ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
 +
|-
 +
| 2499 || จังหวัดนครสวรรค์|| วังน้ำ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
 +
|-
 +
| 2506|| อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม|| หนองกระทิง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
 +
|-
 +
| 2518|| อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ || อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
 +
|}
 +
ที่มา : (สันติ อภัยราช, 2557)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:22, 18 ธันวาคม 2563

กลุ่มชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมของไทยทรงดำ : กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าช้าง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

บทนำ

         ไทดำหรือไตดำ (Black tai) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น โซ่ง ซ่ง ไทยโซ่ง ไทยซ่ง ลาวโซ่ง ลาวซ่ง ลาวทรงดำ และ ลาวพุงดำ โดยสันนิษฐานว่าไทดำเป็นชื่อเรียกแต่แรกเริ่ม ส่วนชื่อที่เรียก      “ลาวโซ่ง” และ “ไทยทรงดำ” เป็นคำเรียกคนไทดำที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยเป็นชนกลุ่มที่อพยพผ่านประเทศลาวเข้ามายังประเทศไทย ประกอบกับภาษาพูดที่ใช้มีความคล้ายคลึงกับภาษาพูดของคนลาว                    (กลุ่มนักศึกษาโครงการเรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชน, 2547) ซึ่งคำว่า “โซ่ง” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า                   “ซ่วง” ซึ่งแปลว่า กางเกง เพราะชาวไทดำนิยมนุ่งกางเกงและสวมใส่เสื้อผ้าสีดำ (สันติ, 2557) หากแต่                      ในการอพยพเข้าประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า “ไทย” นำหน้าชื่อกลุ่มชนหรือกลุ่มภาษา เพื่อการเน้นถึงความเป็นชาติและความเป็นไทย คนไทดำที่อาศัย                อยู่ในประเทศไทยจึงมักเรียกชนกลุ่มของตนเองว่า “ไทยทรงดำ” ตั้งแต่นั้นมา (จุรีวรรณ, 2554)

คำสำคัญ : ไทยทรงดำ, ไทดำ, กลุ่มชาติพันธุ์ การอพยพถิ่นฐานของกลุ่มไทยทรงดำมายังจังหวัดกำแพงเพชร

         กลุ่มชาติพันธ์ไทยทรงดำ มีถิ่นฐานเดิมตั้งอยู่ที่เมืองแถน ซึ่งเดิมเป็นเมืองใหญ่ของแคว้นสิบสองจุไท ปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟูของประเทศเวียดนาม มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว ซึ่งเดิมคือแคว้นล้านช้าง ซึ่งชาวไทดำถูกต้อนอพยพโดยสมัครใจไปมาระหว่างสองอาณาจักรนี้ ครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี                  พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกอพยพผู้คนไทดำมายังประเทศไทย เพื่อหนีสงคราม                   โดยอพยพผ่านลงมาทางเวียดนามตอนเหนือ ลาว และเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี และอพยพเรื่อยมาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (งามพิศ, 2545) โดยอพยพให้ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยแห่งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี จากนั้นจึงกระจายการตั้งถิ่นฐานอพยพออกจากพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ไปตั้งหลักแหล่งในจังหวัดใกล้เคียงและขยายพื้นที่ออกไปไกลถึงจังหวัดเลย โดยทางเกวียนและรถไฟ นอกจากนี้ยังพบชาวไทยทรงดำที่อพยพจากจังหวัดเพชรบุรีไปอยู่ในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี สระบุรี ลพบุรี พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี (จุรีวรรณ, 2554) จากการสืบค้น พบว่า กลุ่มไทยทรงดำอพยพเข้าสู่จังหวัดกำแพงเพชรครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2480 -2490 โดยอพยพมาจากตำบลหัวถนน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม สามารถแสดงการอพยพย้ายถิ่นของชาวไทยทรงดำที่เข้ามายังจังหวัดกำแพงเพชร  ได้ดังตารางที่ 1 (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2561)

ตารางที่ 1 แสดงการอพยพของไทยทรงดำมายังจังหวัดกำแพงเพชร

ปีพุทธศักราช อพยพจาก อพยพไปที่
2480 – 2490 หัวถนน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม อำเภอบางเลน และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, จังหวัดสุพรรณบุรี, จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดพิจิตร
2492 วังหยวก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ วังน้ำ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
2495 จังหวัดสุพรรณบุรี วังน้ำ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
2499 จังหวัดนครสวรรค์ วังน้ำ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
2506 อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม หนองกระทิง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
2518 อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ที่มา : (สันติ อภัยราช, 2557)