ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 25: แถว 25:
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 ปากคลองสวนหมากดูทางบ้านผู้ใหญ่วัน.jpg|500px|thumb|center]]
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 ปากคลองสวนหมากดูทางบ้านผู้ใหญ่วัน.jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 ปากคลองสวนหมากดูทางบ้านผู้ใหญ่วัน''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 ปากคลองสวนหมากดูทางบ้านผู้ใหญ่วัน''' </p>
 +
<p align = "center">ที่มา : จังหวัดกำแพงเพชร, 2549</p>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:57, 29 พฤศจิกายน 2564

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเหตุการณ์

         เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         -

สถานที่เกิดเหตุการณ์

         จังหวัดกำแพงเพชร

วันที่เกิดเหตุ

         เมื่อวันที่ 25-29 สิงหาคม ร.ศ.125 ตรงกับ พ.ศ.2449

ความเป็นมาของเหตุการณ์

         เสด็จประพาสต้นนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายไว้เมื่อพิมพ์ครั้งก่อนมีความว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชอัธยาศัยโปรดในการเสด็จประพาสตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาเสด็จประพาสแทบทุกปี เสด็จไปตามหัวเมืองน้อยใหญ่ในพระราชอาณาเขตบ้านเสด็จไปถึงต่างประเทศบ้าง ได้เคยเสด็จตามมณฑลหัวเมืองในพระราชอาณาเขตทั่วทุกมณฑลเว้นแต่มณฑลภาคพายัพ มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลอุดร และมณฑลอีสานเท่านั้น ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ 5 ทางคมนาคมถึงมณฑลเหล่านั้น จะไปมายังกันดารนักเปลืองเวลาและลำบากแก่ผู้อื่นจึงรออยู่มิได้เสด็จจนตลอดรัชกาลในการเสด็จประพาสหัวเมืองใหญ่น้อยในพระราชอาณาเขตนั้น บางคราวก็เสด็จไปเพื่อทรงตรวจจัดการปกครองจัดการรับเสด็จเป็นทางราชการบางคราวก็เสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถไม่โปรดให้จัดการรับเสด็จเป็นทางราชการที่เรียกว่า “ เสด็จประพาสต้น” อยู่ในการเสด็จเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถแต่โปรดให้จัดการที่เสด็จไปให้ง่ายยิ่งกว่าเสด็จไปประพาส เพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใด สุดแต่พอพระราชหฤทัยที่จะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่นบางทีก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จโดยสารรถไฟไปมิให้ใครรู้จักพระองค์ การเสด็จประพาสต้นเริ่มมีครั้งแรกเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 123 (พ.ศ.2547) รายการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้ นายทรงอานุภาพได้เขียนจดหมายเล่าเรื่องประพาสต้นไว้โดยพิสดาร ดังที่พิมพ์ไว้ในตอนต้นสมุดเล่มนี้ เหตุที่จะเรียกว่าประพาสต้นนั้น เกิดแต่เมื่อเสด็จในคราวนี้เวลาจะประพาสมิให้ใครรู้ว่าเสด็จไปทรงเรือมาดเก๋ง 4 แจวลำ 1 เรือนั้น ลำเดียวไม่พอบรรทุกเครื่องครัวจึงทรงซื้อเรือมาดประทุน 4 แจว ที่แม่น้ำอ้อมแขวงจังหวัดราชบุรีลำ 1 โปรดให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้นเจ้าหมื่นเสมอใจราชชื่อ อ้น จึงทรงดำรัสเรียกเรือลำนั้นว่า “ เรือตาอ้น” เรียกเร็ว ๆ เสียงเป็น“ เรือต้น” เหมือนในบทเห่ซึ่งว่า“ พระเสด็จโดยแดนชลทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย” ฟังดูก็เพราะดี แต่เรือมาดประทุนลำนั้นใช้อยู่ได้หน่อยหนึ่ง เปลี่ยนเป็นเรือมาดเก๋ง 4 แจวอีกลำ 1 จึงโปรดให้เอาชื่อเรือต้นมาใช้เรียกเรือมาดเก่ง 4 แจวที่ 14 สร้างด้วยสแกนเนอร์ สำหรับฉันลำที่เป็นเรือพระที่นั่งทรงอาศัยเหตุ นี้ถ้าเสด็จประพาสโดยกระบวนเรือพระที่นั่งมาดเก๋ง 4 แจว โดยพระราชประสงค์จะมิให้ผู้ใดทราบว่าเสด็จไป จึงเรียกการเสด็จประพาสเช่นนี้ว่า “ ประพาสต้น” คำว่า “ ต้น” ยังมีที่ใช้อนุโลมต่อมาจนถึงเครื่องแต่งพระองค์ในเวลาทรงเครื่องอย่างคนสามัญ เสด็จไปประพาสมิให้ผู้ใดเห็นแปลกประหลาดผิดกับคนสามัญดำรัสเรียกว่า “ ทรงเครื่องต้น” ต่อมาโปรดให้ปลูกเรือนฝากระดานอย่างไทยเช่นพลเรือนอยู่กันเป็นสามัญ ขึ้นในพระราชวังดุสิตก็พระราชทานนามเรือนนั้นว่า“ เรือนต้น” ดังนี้ การเสด็จประพาสต้นเมื่อราว ร.ศ.123 เป็นการสนุกยิ่งกว่าเคยเสด็จไปสำราญพระราชอิริยาบถแต่ก่อนมา ที่จริงอาจกล่าวว่าเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมืองได้อีกสถาน 1 เพราะเสด็จเที่ยวประพาสปะปนไปกับหมู่ราษฎรเช่นนั้นได้ทรงทราบคำราษฎรกราบทูลปรารภกิจสุขทุกข์ ซึ่งไม่สามารถจะทรงทราบได้โดยทางอื่นก็มากด้วยเหตุทั้งปวงนี้ ต่อมาอีก 2 ปีถึง ร.ศ.123 (พ.ศ.2445) จึงเสด็จประพาสต้นอีกคราว 1 เสด็จประพาสต้นคราวนี้หาปรากฏมาแต่ก่อน ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดได้เขียนจดหมายเหตุไว้เหมือนเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งแรกไม่ จนถึง พ.ศ.2467 พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎ ทรงพระปรารภจะใคร่พิมพ์หนังสือประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์ ตรัสปรึกษาสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้านิภานภดลกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี-สมเด็จหญิงน้อยพระธิดา ทรงค้นหนังสือเก่าซึ่งได้ทรงเก็บรวบรวมไว้พบสำเนาจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ โดยดำรัสให้องค์หญิงน้อยทรงเขียนไว้ในเวลาสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถ เป็นตำแหน่งราชเลขาธิการฝ่ายใน อยู่ในเวลาเมื่อเสด็จประพาสคราวนั้น จึงประทานสำเนามายังหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร และมีรับสั่งมาว่าหนังสือเรื่องสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ถึง 17 ปี แล้วผู้ซึ่งยังไม่ทราบเรื่องเสด็จครั้งนั้นมีมากด้วยกัน ถ้าแห่งใดควรจะทำคำอธิบายหมายเลขให้เข้าใจความยิ่งขึ้นได้ ก็ให้กรรมการช่วยทำคำอธิบายหมายเลขด้วย จึงได้จัดการทำถวายตามพระประสงค์ทุกประการ
         เสด็จครั้งที่ 1 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร
         พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2449 ประทับแรมเมืองกำแพงเพชร อยู่ถึง วันที่ 27 สิงหาคม รวมทั้งสิ้น 10 วัน
         การเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงเลือกใช้เรือหางแมงป่องในการล่องตามลำน้ำ เพราเป็นเรือที่พ่อค้าใช้ขึ้นล่องอยู่แล้วจึงไม่เป็นที่น่าสังเกต ขณะที่มีเรือกลไฟซึ่งเป็นเรือของเจ้านายใช้ ภายใต้กาดูแลของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในฐานะผู้คุมด้านมหาดไทย ล่วงหน้าไปก่อนและในขบวนเรือประพาสต้นยังมีเรือเรืองซึ่งเป็นเรือถ่ายรูปร่วมขบวนหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชรเสด็จโดยไม่เป็นทางการ ไม่ประสงค์ที่จะให้มีการต้อนรับ เพื่อพระองค์จะได้มีโอกาสทอดพระเนตรสุขทุกข์ประชาชนของพระองค์อย่างไม่มีการเตรียมการไว้ พระพุทธเจ้าหลวงออกจากพระราชวังสวนดุสิตตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2449 รอนแรมมาทางเรือ ผ่านลำน้ำเจ้าพระยา ถึงบ้านแดน เขตรอยต่อระหว่างกำแพงเพชรกับนครสวรรค์ ในครั้กระนั้น เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ทรงเข้าสู่ตัวเมืองกำแพงเพชร ในวันที่ 22 สิงหาคม ประทับแรมที่ พลับพลา บริเวณใกล้กับวัดชีนางเกา ปัจจุบันเป็นบ้านพัก รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งพลับพลานี้ เคยรับเสด็จ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ในรัชกาลที่ 5 เสด็จมาในปี พ.ศ.2448 ก็มาประทับที่นี้เช่นกันต่อมาพลับพลาแห่งนี้ ได้ใช้เป็นที่เรียนของกุลบุตรกุลธิดา ในจังหวัด เรียกกันว่าโรงเรียนพลับพลา เช้าวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2449 เสด็จไปทั้งฝน ผ่านวัดเล็กๆทำด้วยแล้วผ่านที่ว่าการเมืองที่สร้างยังไม่เสร็จ เสด็จเข้าทางประตูน้ำอ้อยปัจจุบันรื้อไปแล้ว ได้ทอดพระเนตร สามประตู คือ ประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น เสด็จเข้าไปในวัดพระแก้ว ตอนหน้าเป็นวิหารใหญ่อย่างวัด พระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา มณฑป ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ถ้าพระแก้วมาอยู่ที่กำแพงเพชรตามตำนาน ต้องมาอยู่ที่วัดแห่งนี้แน่นอน ทรงตรัสชมว่า พระเจดีย์วัดพระแก้ว เป็นเจดีย์ลอมฟาง ทำได้งามมาก เสด็จต่อไปจนถึงวัดช้างเผือกไปที่ศาลหลักเมืองแล้ว ไปที่ สระมน พระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร ราษฎรสร้างพลับพลาและปะรำในบริเวณสระมน มีราษฎรมาเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมาก มีสำรับกับข้าว มาเลี้ยงหลายสิบสำรับ นายอำเภอพรานกระต่าย คือ หลวงอนุรักษ์รัฐกิจเป็นผู้ออกแบบสร้างถวายได้เสวยพระกระยาหารกลางวัน ที่สระมน แล้วได้ถ่ายรูปคนงามเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเขาจัดหามาให้ ความจริงราษฎรที่มานั่งอยู่ทั้งหมู่หน้าตาดีกว่าก็มี ทรงตรัสชมว่า ผู้หญิงเมืองนี้นับว่ารูปพรรณสันนิษฐานดีกว่าเมืองอื่นในข้างเหนือคนงาม 4 คนมี หวีด บุตรหลวงพิพิธอภัยอายุ 16 ปี คนนี้รู้จักโปสเตอร์ถ่ายรูปจึงได้ถ่ายรูปเฉพาะคนเดียวยังอีกสามคนชื่อประคอง บุตรหลวงพิพิธอภัยเหมือนกัน อายุ 17 ปี ริ้ว ลูกพระพล อายุ 17 ปี พระองค์ส่งรูปไปล้างที่บางกอก ได้หนึ่งส่วน เสียสองส่วน จึงเอาห้องอาบน้ำที่พลับพลาเป็นห้องล้างรูป สองยามเศษจึงเสร็จ แล้วจึงเสด็จพักผ่อนอิริยาบถและกรณียกิจ ที่พระองค์มีต่อเมืองกำแพงเพชรนั้นมากมายเหลือคณานับ ถ้าพระองค์ไม่ถ่ายภาพเมืองกำแพงเพชรไว้ เราจะไม่มีหลักฐานอันใดอ้างอิงเลย พระคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม
         เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถและรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองการปกครองเศรษฐกิจและสังคม ตลอดรัชสมัยได้ทรงพยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ที่บังเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อให้ประเทศดำรงความเป็นเอกราชไว้ได้ ทรงพยายามพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ อีกทั้งเอาพระราชหฤทัยใส่ในทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด ประดุจดังบิดาพึงมีต่อบุตรพระราชกรณียกิจและพระราชจริยาวัตรอันงดงาม เป็นที่ประทับใจอย่างยิ่งแก่ประชาชนชาวไทย จึงทรงเป็นที่รักและบูชาของชนทุกชั้นและทุกยุคทุกสมัย สมดังพระสมัญญาภิไธยว่า“ สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า” มีพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วและหนังสือหลายเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึง พระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้านต่าง ๆ อย่างเด่นชัดเช่นบทพระราชนิพนธ์“ เสด็จประพาสต้น” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อคราวเสด็จประพาสต้นเป็นครั้งที่ 2 ใน ร.ศ.125 (พ.ศ.2554) และ ครั้งที่ 3 ใน ร.ศ.127 (พ.ศ.2551) และพระนิพนธ์จดหมายเหตุเรื่อง“ เสด็จประพาสต้น” ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงนิพนธ์ไว้ เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นครั้งแรกใน ร.ศ.123 (พ.ศ.2547) เป็นต้น
         สภาพทั่วไปของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อประมาณ 700 ปีมาแล้ว จากการศึกษาหลักศิลาจารึกโดยนักโบราณคดี ทำให้ทราบว่าจังหวัดกำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเมือง เช่นเมืองชากังราวเมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร และเมืองคณฑี ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงเดิมว่า“ เมืองชากังราว” และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองท่ารับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมืองคูเมืองป้อมปราการ วัดโบราณมีหลักฐานให้สันนิษฐานว่า เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองชากังราว สร้างขึ้นก่อนตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไทกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1890 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไทกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปิง คือ“ เมืองนครชุม” สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่องกำแพงเมืองไว้ว่า “เป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่มั่นคง ยังมีความสมบูรณ์มากและเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย” ปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีโบราณสถานเก่าแก่ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ใน “ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร " ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534 นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดกำแพงเพชรอย่างยิ่ง

ข้อมูลจำเพาะ

ข้อมูลตามบันทึกเหตุการณ์ (ตามช่วงเวลา)

         เมืองกำแพงเพชร  วันที่ 25 สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 ข้าพระพุทธเจ้า นายชัดมหาดเล็กเวรเดชหลานพระยาประธานนคโรทัยจางวางเมืองอุทัยธานี เดิมระบบราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งนายอำเภออยู่มณฑลนครชัยศรี ข้าพระพุทธเจ้าป่วยเจ็บจึงกราบถวายบังคมลาออกจากหน้าที่ราชการ ขึ้นมารักษาตัวอยู่บ้านภรรยาที่เมืองกำแพงเพชร ข้าพระพุทธเจ้าได้สืบเสาะหาพระพิมพ์ของโบราณ ซึ่งมีผู้ขุดค้นได้ในเมืองกำแพงเพชรนี้ได้ไว้หลายอย่างพร้อมกันพิมพ์แบบทำพระ 9 แบบ ขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวายงาน ข้าพระพุทธเจ้าได้สืบถามผู้เฒ่าผู้แก่ถึงตำนานพระพิมพ์เหล่านี้ อันเป็นที่เชื่อถือกันในแขวงเมืองกำแพงเพชรสืบมาแต่ก่อน ได้ความว่า พระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรนี้ มีมหาชนเป็นอันมาก นิยมนับถือลือชามาช้านานว่า มีคุณานิสงส์แก่ผู้สักการะบูชาในปัจจุบัน หรือมีอานุภาพทำให้สำเร็จผลความปรารถนาแห่งผู้สักการบูชา ด้วยอเนกประการสัณฐานของพระพุทธรูปพิมพ์นี้ ตามที่มีผู้ได้พบเห็นแล้วมี 3 อย่าง คือพระลีลาศ (ที่เรียกว่าพระเดิน) อย่าง 1 พระยืนอย่าง 1 พระนั่งสมาธิอย่าง 1 วัตถุที่ทำเป็นองค์พระต่างกันเป็น 4 อย่างคือดีบุก (หรือตะกั่ว) อย่าง 1 ว่านอย่าง 1 เกสร อย่าง 1 ดินอย่าง 1  พระพิมพ์นี้ ครั้งแรกที่มหาชนจะได้พบเห็นนั้น ได้ในเจดีย์วัดพระธาตุฝั่งตะวันตกเป็นเดิมและการที่สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นนั้น ตามสามัญนิยมว่า ณ กาลครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วมีพระบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระยาศรีธรรมาโศกราช เป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ทรงมหิทธิเดชานุภาพแผ่ไปในทิศานุทิศตลอดจนถึงทวีปลังกาทรงอนุสรคำนึงในการสถาปนูปถัมภกพระพุทธศาสนา จึงเสด็จสู่ลังกาทวีปรวบรวมพระบรมธาตุสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านำมาสร้างเจดีย์บรรจุไว้ในคำกล่าวว่าแควน้ำปิงและน้ำยมเป็นต้นเป็นพระเจดีย์จำนวน 84,000 องค์ ครั้งนั้นพระฤาษีจึงได้กระทำพิธีสร้างพระพิมพ์เหล่านี้ถวายแก่พระยาศรีธรรมาโศกราช เป็นการอุปการะในพระพุทธศาสนาครั้งแรก ที่จะได้พบพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ และพระพิมพ์เหล่านี้เดิม ณ ปีระกาเอกศกจุลศักราช 1211 (นับโดยลำดับปีมาถึงศกนี้ 58 ปี) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังกรุงเทพฯขึ้นมาเยี่ยมญาติ ณ เมืองกำแพงเพชรนี้ ได้อ่านแผ่นศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถวัดเสด็จ ได้ความว่า มีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่น้ำปิงตะวันตกตรงหน้าเมืองเก่าข้ามสามองค์ขณะนั้นพระยากำแพง (น้อย) ผู้ว่าราชการเมือง ได้จัดการค้นคว้า พบวัดและเจดีย์ สมตามอักษรในแผ่นศิลา จึงป่าวร้องบอกบุญราษฎรช่วยกันแผ้วถางและปฏิสังขรณ์ขึ้น เจดีย์ที่ค้นพบเดิมมี 3 องค์ องค์ใหญ่ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุอยู่กลาง ชำรุดบ้างทั้ง 3 องค์ ภายหลังพระยากำแพง (อ่อง) เป็นผู้ว่าราชการเมือง แซงพอกะเหรี่ยง (ที่ราษฎรเรียกว่าพญาตะก่า) ได้ขออนุญาตรื้อพระเจดีย์สามองค์นี้ทำใหม่รวมเป็นองค์เดียว
         ขณะที่รื้อพระเจดีย์ 3 องค์นั้นได้พบกรุพระพุทธรูปพิมพ์และลานเงินจารึกอักษรขอม กล่าวตำนานการสร้างพระพิมพ์และลักษณะการสักการบูชาด้วยประการต่างๆ พระพิมพ์ชนิดนี้มีผู้ขุดค้นได้มีเมืองสรรคบุรีครั้งหนึ่ง แต่หามีแผ่นลานเงินไม่ แผ่นลานเงินตำนานนี้ กล่าวว่า มีเฉพาะแต่ในพระเจดีย์วัดพระธาตุฝั่งน้ำปิงตะวันตกแห่งเดียวมีสำเนาที่ผู้อื่นเขียนไว้ ดังนี้
         ตำนาน
         ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่า ยังมีฤษี 11 ตน  ฤษีเป็นใหญ่ 3 ตน ตนหนึ่งฤษีพิลาไลย ตนหนึ่งฤษีตาไฟ ตนหนึ่งฤษีตางัว เป็นประธานแก่ฤษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤษีทั้ง 3 จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทอง ไว้ฉะนี้ ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัด อทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์อายุวัฒนะ พระฤษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อยเป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน 5,000 พรรษา พระฤษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤษีทั้งปวงว่าท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้สัก 1,000 เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ 1,000 ครั้นเสร็จแล้ว ฤษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวง ให้ช่วยกันบดยาทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัดสถานหนึ่ง ฤษีทั้ง 3 องค์นั้น จึงบังคับฤษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงเป็นก้อน ประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวงให้ประสิทธิ์ทุกอัน จึงให้ฤษีทั้งนั้นเอาเกสรและว่านมาประสมกันดี เป็นพระให้ประสิทธิ์แล้วด้วยเนาวะหรคุณ ประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง ถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงคุณพระฤษีที่ทำไว้นั้นเถิด ฤษีไว้อุปเทศดังนี้
         แม้อันตรายสักเท่าใดก็ดีให้นิมนต์พระใส่ศีรษะอันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าการณรงค์สงคราม ให้เอาพระใส่น้ำมันหอมเข้าด้วยเนาวะหรคุณ แล้วเอาใส่ผมศักดิ์สิทธิ์ความปรารถนา ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศัสตราวุธทั้งปวง เอาพระสรงน้ำหอมแล้วเสกด้วยอิติปิโสภกราติเสก 3 ที่ 7 ที แล้วใส่ขันสัมฤทธิ์พิษฐานตามความปรารถนาเถิด ถ้าผู้ใดจะใคร่มาตุคาม เอาพระสรงน้ำมันหอมใส่ใบพลูทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย ถ้าจะสง่าเจรจาให้คนกลัวเกรง เอาใส่น้ำมันหอมหุงขี้ผึ้งเสกด้วยเนาวะหรคุณ 7 ที ถ้าจะค้าขายก็ดีมีที่ไป ทางบกทางเรือก็ดี ให้มนัสการด้วยพาหุงแล้วเอาพระสรงน้ำหอมเสกด้วยพระพุทธคุณอิติปิโสภกราติเสก 7 ที่ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล ถ้าจะไม่สวัสดีสถาพรทุกอัน ให้เอาดอกไม้ดอกบัวบูชาทุกวัน จะปรารถนาอันใดก็ได้ทุกประการแล ถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดี พระว่านก็ดี พระปรอทก็ดีก็เหมือนกันอย่าได้ประมาทเลย อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น ถ้าจะให้ความศูนย์ เอาพระสรงน้ำหอมเอาด้าย 11 เส้น ชุบน้ำมันหอม และทำไส้เทียนตามถวายพระแล้วพิษฐานตามความปรารถนาเถิด ถ้าผู้ใดจะสระหัวให้เขียนยันต์นี้ใส่ไส้เทียนเถิด แล้วว่านโมไปจนจบ แล้วว่าพาหุง แล้วว่าอิติปิโส การมหเชยุย์มงคลแล้วว่าพระเจ้าทั้ง 25 พระองค์เอาทั้งคู่ กิริมิติ กุรุมุทุ กรมท เกเกเมเทตามแต่เสกเถิด 3 ที่ 7 ที่วิเศษนัก ถ้าได้รู้พระคาถานี้แล้ว อย่ากลัวอันใดเลยท่านตีค่าไว้ ควรเมืองจะไปรบศึกก็คุ้มได้สารพัดศัตรูแล ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานคัดต่อ มาดังนี้
         ขากลับลงเรือซะล่าล่องไปขึ้นท้ายเมืองใหม่ เดินขึ้นมาจนถึงพลับพลาที่เมืองใหม่นี้ มีถนน 2 สายยาวขึ้น มาตามลำน้ำเคียงกันขึ้นมา สาย 3 อยู่ริมน้ำ สาย 1 อยู่บนดอน แต่ถึงสายริมน้ำ หน้าน้ำก็ไม่ท่วมบ้านเรือนก็เป็นอย่างลักษณะถนนบ้านหม้อ เมืองเพชรบุรี หรือถนนบางกอกอย่างเก่า ไม่ใช่ถนนเสาชิงช้าผู้คนก็แน่นหนาอยู่มาแต่ท้ายเมืองถึงพลับพลาประมาณ 20 เส้นเศษ วันนี้ถ่ายรูปได้มากแต่สนุกเพราะได้เปลี่ยนแว่นเปลี่ยนทำนองถ่ายและถ่ายง่าย ไม่เหมือนถ่ายในป่า 2 วันมาแล้ว ซึ่งยังไม่เคยถ่ายเลยล้างรูป ไว้แต่กระจกใหญ่จะล้างหมดกลัวแห้งไม่ทัน วันนี้ได้ตัดผมตามพระเทพาภรณ์ขึ้นมาจากบางกอกโดยทางรถไฟ แล้วลงเรือมาแต่นครสวรรค์เพราะหาเวลาตัดไม่ได้
ภาพที่ 1 ปากคลองสวนหมากดูทางบ้านผู้ใหญ่วัน.jpg

ภาพที่ 1 ปากคลองสวนหมากดูทางบ้านผู้ใหญ่วัน

ที่มา : จังหวัดกำแพงเพชร, 2549