ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง ดาบโบราณเมืองกำแพง"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ==='''ชื่อเรียกทางการ'''=== พระแสงราชศัส...")
 
แถว 19: แถว 19:
 
=='''ข้อมูลทางโบราณคดี'''==
 
=='''ข้อมูลทางโบราณคดี'''==
 
==='''ประวัติและความเป็นมา'''===
 
==='''ประวัติและความเป็นมา'''===
 +
          จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมา ตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองเช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ.2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชร ตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงเดิมเรียกชื่อว่า "เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงมีหลักฐานปรากฎอยู่มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ จากหลักฐานดังกล่าวจึงสันนิษฐานว่า จังหวัดกำแพงเพชรเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมืองคือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม  เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านในฐานะเมืองลูกหลวงและมีการรับศึกสงครามอยู่เสมอ ในการสงครามย่อมจะต้องมีอาวุธคู่กาย โดยอาวุธก็จะมีความแตกต่างในการใช้งานหลายรูปแบบตามความถนัดและการฝึกฝนของทหารแต่ละคน อาทิ ทวน หอก ดาบ ธนู หลาว เป็นต้น แต่อาวุธที่เห็นในสนามรบได้บ่อยที่สุดนั้น ก็คือดาบ การใช้ดาบเป็นอีกหนึ่งอาวุธที่เป็นส่วนสำคัญในการทำศึกสงคราม เนื่องจากเป็นอาวุธที่มีความคล่องตัวและพกพาสะดวก ทั้งนี้ดาบต่อสู้นั้นเรียกได้ว่ามีหลากหลายประเภท หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ความเชื่อ แนวคิดของแต่ละเมือง นอกจากนี้ดาบไม่ใช่เพียงเป็นสิ่งที่นำมาต่อสู้เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ในทางด้านอื่น ๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการใช้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบจากดาบทั่วไป ดาบที่กล่าวถึงนั้นมีแสงญานุภาพมากกว่าการรบในสงคราม นำมาซึ่งเกียรติยศ เป็นดาบคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งเรียกขานกันในนาม พระแสงราชศัสตรา ประจำเมืองกำแพงเพชร ซึ่งดาบเล่มนี้เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์  ในการปกครองบ้านเมือง
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 พระแสงราชศัสตราเมืองกำแพงเพชร.jpg|400px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1''' พระแสงราชศัสตราเมืองกำแพงเพชร (พระยากำแพงเพชร, 2557) </p>
 +
          ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงครามหลวงพิพิธอภัย (หวล) ผู้ถวายพระแสงราชศัสตรา แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2449 เดิมเป็นดาบประจำตระกูลเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานแก่พระยากำแพงเพชร(นุช) เป็นบำเหน็จเมื่อครั้งไปราชการทัพ หลวงพิพิธอภัย(หวล) บุตรพระยากำแพงเพชร(อ้น) นำฝักดาบทองประจำตระกูลทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2449 พระองค์ทรงรับและพระราชทานให้เป็นพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร โดยพระยาวิเชียรปราการ ผู้ว่าราชการเมืองกําแพงเพชร เป็นผู้รับพระราชทาน นับเป็นความโชคดีของชาวกำแพงเพชร รวมถึงทายาทพระยากำแพงเพชรตลอดจนชาวไทยทุกคนที่ เรื่องราวของพระแสงราชศัสตราองค์นี้มีการบันทึกไว้อย่างดีในพระนิพนธ์ “เสด็จประพาสต้น” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังนี้
 +
          “วันที่ 26 หมายจะยังไม่ตื่นแต่หมาเข้าไปปลุก 2 โมงเศษกินข้าวแล้วออกไปแจกของ ให้ผู้ที่มาเลี้ยงดูและรับผู้หญิงผู้ชาย หลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย ซึ่งเป็นบุตรพระยากำแพง(อ้น) นำดาบฝักทอง ซึ่งพระพุทธยอดฟ้าพระราชทานพระยากำแพง(นุช) เป็นบำเหน็จมือ เมื่อไปทัพแขก แล้วตกมาแก่พระยากำแพง(นาค) ซึ่งเป็นสามีแพง บุตรีพระยากำแพง(นุช) และแพงภรรยาได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองกำแพงต่อมา 4 คน คือพระยากำแพง(บัว) พระยากำแพง(เถื่อน) พระยากำแพง(น้อย) พระยากำแพง(เกิด) ได้รับดาบเล่มนี้ต่อ ๆ กันมา ครั้งพระยากำแพง(เกิด) ถึงอนิจกรรม ผู้อื่นนอกจากตระกูลนี้มาเป็นพระยากำแพงหลายคน ดาบตกอยู่แก่นายอ้นบุตรพระยากำแพง(เกิด) ซึ่งเป็นบิดาหลวงพิพิธอภัย ภายหลังนายอ้นได้เป็นพระยากำแพง ครั้นพระยากำแพง อ้นถึงแก่กรรม ดาบจึงตกอยู่กับหลวงพิพิธอภัยบุตรผู้นำมาให้นี้ พิเคราะห์ดูก็เห็นจะเป็นดาบพระราชทานจริง เห็นว่าเมืองกำแพงเพชร ยังไม่มีพระแสงสำหรับเมืองเช่นแควใหญ่ ไม่ได้เตรียมมา จึงได้มอบดาบเล่มนี้เป็นพระแสงสำหรับเมืองให้ผู้ว่าราชการรักษาไว้สำหรับใช้ในการพระราชพิธี แล้วถ่ายรูปพวกตระกูลเมืองกำแพงที่มาหาตั้งต้นคือท่านผู้หญิงทรัพย์ ภรรยาพระยากำแพง(เกิด) อายุ 93 ปีจอ เห็นจะเป็นปีจอ ฉอศก จุลศักราช 1176 ยังสบายแจ่มใส พูดจาไม่หลง เดินได้เป็นต้น กับลูกที่มา 2 คนคือผึ้ง ซึ่งเป็นภรรยาพระพล(เหลี่ยม) อายุ 73 ปี ลูกคนสุดชื่อ ภู่ เคยไปทำราชการในวังครั้งรัชกาลที่ 4 แล้วมาเป็นภรรยาพระยารามรณรงค์(หรุ่น)อายุ 64 ปี หลานหญิงชื่อหลาบเป็นภรรยาหลวงแพ่ง อายุ 64 ปี หลานหญิงชื่อเพื่อนเป็นภรรยาพระพล อายุ 46 ปี หลานหญิงชื่อพัน ภรรยาหลวงพิพิธ อายุ 44 ปี"
 +
          จากวิทยานิพนธ์เรื่อง เสด็จประพาสต้น ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้มีการกล่าวถึงดาบพระแรงราชศัสตราไว้ ได้มีการบรรยายถึงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาบเล่มนี้โดยตรงอีกทั้งยังมีการบรรยายถึงความเป็นมาของดาบอย่างชัดเจน ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชรสำหรับใช้ในพระราชพิธีสำคัญพระแสงราชศัสตราประจำเมืองนี้มีธรรมเนียมออกใช้ในวโรกาสที่สำคัญดังนี้
 +
          1. อัญเชิญพระแสงราชศัสตราในพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ในมณฑลพิธีเมื่อเสร็จพิธีอัญเชิญไปประดิษฐานดังเดิม
 +
          2. เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับแรม ณ เมืองนั้นถวายพระแสงราชศัสตราทรงรับรักษาไว้และพระราชทานคืนเมื่อเสด็จกลับ
 +
          3. ทูลเกล้าฯถวายพระแสงราชศัสตราประจำเมืองเมื่อคราเสด็จเยี่ยมราษฎรเมื่อเสด็จกลับจะพระราชทานคืนตามธรรมเนียมน่าเสียดายที่พระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชรที่หาค่ามิได้นี้มิได้มีบทบาทดังกล่าวในพระราชพิธีเลยแต่เราชาวกำแพงเพชรก็ภูมิใจในดาบฟักทองพระราชทานเล่มนี้เป็นที่สุดและให้ประชาชนได้รับรู้ทั่วกันว่าดาบฟักทองเล่มนี้เป็นสมบัติแห่งแผ่นดินกำแพงเพชรที่ได้รับพระราชทานจากสองมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ขอให้ชาวกำแพงเพชรทุกผู้ช่วยกันพิทักษ์ให้ดาบวิเศษนี้อยู่คู่แผ่นดินกำแพงเพชรตลอดไป
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 2 พระยารามณรงค์สงครามและหลวงพิพิธอภัย.jpg|400px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2''' พระยารามณรงค์สงครามและหลวงพิพิธอภัย (สันติ อภัยราช, 2544) </p>
 +
          เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ขึ้นครองราชย์ ประสงค์จะไปตีปัตตานี ส่งราชวังบวรไปพร้อมกับมหาดเล็ก พระยากำแพงนุชหรือนายนุชไปปัตตานีไปรบชนะพระบาทสมเด็จ-พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) พระราชทานพระแสงราชศัสตราดาบฝักทองให้ และเมืองกำแพงเพชรให้พร้อมภรรยา 1 คน ดาบด้ามทองคำ ใบเป็นเหล็กกล้า ตามประวัติสามารถทำคนที่มีศัสตราคมฟันได้ แทงได้ คาดเดาว่าอาจจะเป็นดาบทางลาวทางเหนือทางล้านนา โดยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ไปตีได้มา เมื่อเจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นเจ้าของดาบมาเรื่อย ๆ พระยารามไม่ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรแล้ว ดาบจึงตกเป็นของลูกหลานของเจ้าเมืองตระกูลพระยากำแพงเก่าไม่ได้เป็นผู้ปกครองเมืองกำแพงแล้ว พระยากำแพงองค์ใหม่ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของดาบ จึงถวายคืนแก่พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 และทรงพิจารณาแล้วว่าเป็นดาบแท้จริง จึงพระทานคืนเป็นดาบพระแสงประจำเมืองกำแพง    ดาบเล่มนี้เป็นเพียงดาบพระแสงประจำตระกูล ดาบมีหน้าที่แสดงอาญาสิทธิ์เหนือเมือง เป็นกุญแจเพื่อถวาย แก่กษัตริย์ยามเสด็จมาเยี่ยมเยือนเมือง พอเสด็จกลับจึงคืนเพื่อเป็นดาบประจำเมืองกำแพง (สันติ อภัยราช, การสัมภาษณ์, 3 กันยายน 2564)
 +
==='''ยุคทางโบราณคดี'''===
 +
          ยุคเหล็ก (2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้  ซึ่งมีคุณภาพดีแข็งแกร่งกว่าสำริด  การดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม  มีการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชนต่างๆ (Google Site, ม.ป.ป.)
 +
==='''สมัยวัฒนธรรม'''===
 +
          ในสมัยรัตนโกสินทร์หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” และได้ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตรงข้าม และตั้งชื่อราชธานีใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานคร” พร้อมๆกับการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา (บ้านจอมยุทธ, 2543)
 +
          ต่อมา พระองค์ทรงนำแบบแผนต่าง ๆ ของอยุธยามาใช้รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาไว้ที่กรุงเทพฯทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังและพระอารามที่ยิ่งใหญ่คือวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วทั้งทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมทรงรวบรวมตำราจากหัวเมืองต่าง ๆ ที่รอดพ้นจากการถูกเผามาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ
 +
          ช่วงนี้สยามยังผจญกับศึกสงครามรอบด้านพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงรบชนะมาหลายศึกสงคราม และมักจะมีของติดไม้ติดมือกลับมาด้วย ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ท่านยึดครองมาได้คือดาบพระแสงราชศัสตรา ทรงได้เก็บรักษาไว้ในคลังสมบัติส่วนพระองค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประสงค์ทำศึกสงครามกับเมืองปัตตานีซึ่งมีพระยากำแพงเพชร(นุช) เป็นแม่ทัพหลักในศึกครั้งนี้ ด้วยความสามารถและยุทธวิธีอันชาญฉลาดพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็สามารถตีทัพเมืองปัตตานีจนแตกพ่ายสำเร็จ พระองค์พระราชทานดาบพระแสงราชศัสตราเป็นดาบประจำตระกูลแก่พระยากำแพงเพชร(นุช) เป็นการบำเหน็จเมื่อครั้งไปราชการทัพ
 +
==='''อายุทางโบราณคดี'''===
 +
          ไม่ปรากฎปี
 +
==='''อายุทางวิทยาศาสตร์'''===
 +
          ไม่ปรากฎปี
 +
==='''อายุทางตำนาน'''===
 +
          300 ปี
 +
==='''ประเภทของแหล่งโบราณวัตถุ'''===
 +
ศัสตราวุธ/อาวุธ
 +
          อาวุธ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการทำร้าย ทำลาย ป้องกัน ต่อสู้ หรือฆ่า เช่น ก้อนหิน ไม้คมแฝก มีด ปืน ระเบิด.
 +
          ศัสตราวุธ มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า ศสฺตฺร (อ่านว่า สัด-ตฺระ) แปลว่า เครื่องฟันแทง กับคำว่า อาวุธ. คำว่า ศัสตราวุธ จึงหมายถึงของมีคม เครื่องฟันแทง และอาวุธต่าง ๆ ที่ใช้ในการล่า ประหาร ทำร้ายร่างกาย ป้องกัน หรือต่อสู้ กับฝ่ายตรงข้าม เช่น มีด ดาบ หอก ง้าว ธนู. คำว่า ศัสตราวุธ ใช้ในวรรณคดี เช่น ศัสตราวุธอรินทร์  ฤๅถูก องค์เอย. และอาจใช้เป็นคำราชาศัพท์ว่า ราชศัสตราวุธ.
 +
          คำว่า ศัสตราวุธ หมายถึง อาวุธที่ใช้ในการรบ เป็นอาวุธที่ร้ายแรง มีอำนาจการทำลายล้างสูง รวมทั้งปืนผาหน้าไม้ที่เป็นเครื่องทำลายล้างศัตรู. ส่วนคำว่า อาวุธ มีความหมายกว้างกว่า รวมถึง อาวุธทั้งที่มีคมและไม่มีคม และรวมถึงสติปัญญาหรือสิ่งอื่นที่สามารถใช้ทำลายล้างผู้อื่นได้ด้วย. คำว่า ศัสตราวุธ บางคนใช้ว่า ศาสตราวุธ (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2554)
 +
=='''ข้อมูลจำเพาะวัตถุโบราณ'''==
 +
==='''คำอธิบาย/ลักษณะ/รูปพรรณ'''===
 +
ดาบประจำเมือง
 +
          สำหรับประวัติความเป็นมาของพระแสงราชศัสตราองค์นี้ มีความแตกต่างจากพระแสงราชศัสตราประจำเมืองอื่น ๆ ดังได้กล่าวว่าเป็น“หนึ่งในสยาม”ด้วยความแตกต่างที่โดดเด่นคือ
 +
          1. มิใช่ดาบที่สร้างไว้เพื่อพระราชทานโดยตรงแต่เป็นถึงดาบประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ โดยจะทรงเหน็บไว้ข้างพระวรกายขณะออกศึกทุกครั้ง เพื่อใช้ฟันหรือแทงในยามที่ข้าศึกเข้ามาประชิดตัว
 +
          2. เป็นพระแสงราชศัสตรา หนึ่งเดียวที่มีการบันทึกเรื่องราวความเป็นมาให้เป็นประวัติศาสตร์ที่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา จากพระนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสต้น ของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นบันทึกช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน
 +
          3. เป็นพระแสงราชศัสตราที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระมหาราชโดยตรงถึง 3 พระองค์คือ
 +
              ก. พระแสงนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1 ทรงพระราชทานให้แด่พระยารามรณรงค์สงครามฯ(นุช)
 +
              ข. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช ทรงรับพระแสงราชศัสตราองค์นี้จาก หลวงพิพิธอภัย(หวล)และทรงพิเคราะห์อย่างถ้วนถี่แล้วมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเป็นพระแสงดาบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจริง และได้พระราชทานพระแสงดาบองค์นี้ คืนให้จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อใช้ในการพระราชพิธีสำหรับเมือง โดยพระยาวชิรปราการ ในขณะนั้นเป็นผู้ว่าราชการเป็นผู้รับพระราชทาน ดังนั้น นับว่าเป็นเพียง 1 เดียวที่เป็นทั้งพระแสงดาบประจำพระองค์และเป็นพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัด
 +
              ค. พระมหาราชพระองค์ที่ 3 คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช ที่ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บูรณะซ่อมพระแสงราชศัสตราองค์นี้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2550ลักษณะของดาบก็ยังมิใช่ดาบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีอีกด้วย ปัจจุบันพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ณ คลังจังหวัดกำแพงเพชร โดยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 นายกฤช อาทิตย์แก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้อัญเชิญพระแสงราชศัสตรา ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณของข้าราชการ และวันที่ 5 ธันวาคม 2546 พิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ หอประชุมศาลากลาง จ.กำแพงเพชร และในวันที่ 29 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ทางจังหวัดโดยนายวิทยา ผิวผ่อง ได้ถือโอกาส อันเป็นปีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช จึงจัดให้มีการสมโภชพระแสงราชศัสตราขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนได้ชื่นชมพระบารมีของพระแสงราชศัสตรา ทองคำ สมบัติล้ำค่าองค์นี้อย่างใกล้ชิด
 +
              ลักษณะของพระแสงของเมืองกำแพงเพชรองค์นี้ น้อยคนนักที่จะได้เห็นของจริง ลักษณะจะมีความยาว 88.5 เซนติเมตร มีด้ามเป็นเป็นทองคำยาวถึง 39.5 เซนติเมตร ตัวฝักทำด้วยไม้เนื้อหอม ไม่ทราบว่าเป็นไม้อะไร แต่คุณสมชาย ตติยวัฒนสิริ นายช่างประณีตศิลป (พิเศษเฉพาะตัว) ผู้อนุรักษ์กล่าวว่าเป็นเนื้อไม้พิเศษเพราะมีน้ำหนักเบามากและมีกลิ่นหอม หุ้มฝักไม้หอมด้วยทองคำ ตัวฝักยาว 49 เซนติเมตร (พระยากำแพงเพชร, 2557)
 +
 +
วัสดุผลิตภัณฑ์
 +
ประเภทการใช้งาน
 +
กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:38, 22 มีนาคม 2565

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเรียกทางการ

         พระแสงราชศัสตรา

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         ดาบพระแสง, พระแสง, ดาบประจำเมือง

ที่ตั้งแหล่งค้นพบ

         ตระกูลพญากำแพง

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์

         ละติจูด 16.555109
         ลองติจูด 99.510983

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

         กรมศิลปากรประจำเมืองกำแพงเพชร

ผู้ค้นพบ

         พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1

สถานะการขึ้นทะเบียน

         มรดกประจำจังหวัดกำแพงเพชร

สถานการเก็บรักษา

         คลังจังหวัดกำแพงเพชร

ข้อมูลทางโบราณคดี

ประวัติและความเป็นมา

         จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมา ตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองเช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ.2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชร ตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงเดิมเรียกชื่อว่า "เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงมีหลักฐานปรากฎอยู่มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ จากหลักฐานดังกล่าวจึงสันนิษฐานว่า จังหวัดกำแพงเพชรเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมืองคือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม  เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านในฐานะเมืองลูกหลวงและมีการรับศึกสงครามอยู่เสมอ ในการสงครามย่อมจะต้องมีอาวุธคู่กาย โดยอาวุธก็จะมีความแตกต่างในการใช้งานหลายรูปแบบตามความถนัดและการฝึกฝนของทหารแต่ละคน อาทิ ทวน หอก ดาบ ธนู หลาว เป็นต้น แต่อาวุธที่เห็นในสนามรบได้บ่อยที่สุดนั้น ก็คือดาบ การใช้ดาบเป็นอีกหนึ่งอาวุธที่เป็นส่วนสำคัญในการทำศึกสงคราม เนื่องจากเป็นอาวุธที่มีความคล่องตัวและพกพาสะดวก ทั้งนี้ดาบต่อสู้นั้นเรียกได้ว่ามีหลากหลายประเภท หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ความเชื่อ แนวคิดของแต่ละเมือง นอกจากนี้ดาบไม่ใช่เพียงเป็นสิ่งที่นำมาต่อสู้เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ในทางด้านอื่น ๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการใช้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบจากดาบทั่วไป ดาบที่กล่าวถึงนั้นมีแสงญานุภาพมากกว่าการรบในสงคราม นำมาซึ่งเกียรติยศ เป็นดาบคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งเรียกขานกันในนาม พระแสงราชศัสตรา ประจำเมืองกำแพงเพชร ซึ่งดาบเล่มนี้เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์  ในการปกครองบ้านเมือง
ภาพที่ 1 พระแสงราชศัสตราเมืองกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 1 พระแสงราชศัสตราเมืองกำแพงเพชร (พระยากำแพงเพชร, 2557)

         ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงครามหลวงพิพิธอภัย (หวล) ผู้ถวายพระแสงราชศัสตรา แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2449 เดิมเป็นดาบประจำตระกูลเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานแก่พระยากำแพงเพชร(นุช) เป็นบำเหน็จเมื่อครั้งไปราชการทัพ หลวงพิพิธอภัย(หวล) บุตรพระยากำแพงเพชร(อ้น) นำฝักดาบทองประจำตระกูลทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2449 พระองค์ทรงรับและพระราชทานให้เป็นพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร โดยพระยาวิเชียรปราการ ผู้ว่าราชการเมืองกําแพงเพชร เป็นผู้รับพระราชทาน นับเป็นความโชคดีของชาวกำแพงเพชร รวมถึงทายาทพระยากำแพงเพชรตลอดจนชาวไทยทุกคนที่ เรื่องราวของพระแสงราชศัสตราองค์นี้มีการบันทึกไว้อย่างดีในพระนิพนธ์ “เสด็จประพาสต้น” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังนี้
         “วันที่ 26 หมายจะยังไม่ตื่นแต่หมาเข้าไปปลุก 2 โมงเศษกินข้าวแล้วออกไปแจกของ ให้ผู้ที่มาเลี้ยงดูและรับผู้หญิงผู้ชาย หลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย ซึ่งเป็นบุตรพระยากำแพง(อ้น) นำดาบฝักทอง ซึ่งพระพุทธยอดฟ้าพระราชทานพระยากำแพง(นุช) เป็นบำเหน็จมือ เมื่อไปทัพแขก แล้วตกมาแก่พระยากำแพง(นาค) ซึ่งเป็นสามีแพง บุตรีพระยากำแพง(นุช) และแพงภรรยาได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองกำแพงต่อมา 4 คน คือพระยากำแพง(บัว) พระยากำแพง(เถื่อน) พระยากำแพง(น้อย) พระยากำแพง(เกิด) ได้รับดาบเล่มนี้ต่อ ๆ กันมา ครั้งพระยากำแพง(เกิด) ถึงอนิจกรรม ผู้อื่นนอกจากตระกูลนี้มาเป็นพระยากำแพงหลายคน ดาบตกอยู่แก่นายอ้นบุตรพระยากำแพง(เกิด) ซึ่งเป็นบิดาหลวงพิพิธอภัย ภายหลังนายอ้นได้เป็นพระยากำแพง ครั้นพระยากำแพง อ้นถึงแก่กรรม ดาบจึงตกอยู่กับหลวงพิพิธอภัยบุตรผู้นำมาให้นี้ พิเคราะห์ดูก็เห็นจะเป็นดาบพระราชทานจริง เห็นว่าเมืองกำแพงเพชร ยังไม่มีพระแสงสำหรับเมืองเช่นแควใหญ่ ไม่ได้เตรียมมา จึงได้มอบดาบเล่มนี้เป็นพระแสงสำหรับเมืองให้ผู้ว่าราชการรักษาไว้สำหรับใช้ในการพระราชพิธี แล้วถ่ายรูปพวกตระกูลเมืองกำแพงที่มาหาตั้งต้นคือท่านผู้หญิงทรัพย์ ภรรยาพระยากำแพง(เกิด) อายุ 93 ปีจอ เห็นจะเป็นปีจอ ฉอศก จุลศักราช 1176 ยังสบายแจ่มใส พูดจาไม่หลง เดินได้เป็นต้น กับลูกที่มา 2 คนคือผึ้ง ซึ่งเป็นภรรยาพระพล(เหลี่ยม) อายุ 73 ปี ลูกคนสุดชื่อ ภู่ เคยไปทำราชการในวังครั้งรัชกาลที่ 4 แล้วมาเป็นภรรยาพระยารามรณรงค์(หรุ่น)อายุ 64 ปี หลานหญิงชื่อหลาบเป็นภรรยาหลวงแพ่ง อายุ 64 ปี หลานหญิงชื่อเพื่อนเป็นภรรยาพระพล อายุ 46 ปี หลานหญิงชื่อพัน ภรรยาหลวงพิพิธ อายุ 44 ปี"
         จากวิทยานิพนธ์เรื่อง เสด็จประพาสต้น ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้มีการกล่าวถึงดาบพระแรงราชศัสตราไว้ ได้มีการบรรยายถึงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาบเล่มนี้โดยตรงอีกทั้งยังมีการบรรยายถึงความเป็นมาของดาบอย่างชัดเจน ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชรสำหรับใช้ในพระราชพิธีสำคัญพระแสงราชศัสตราประจำเมืองนี้มีธรรมเนียมออกใช้ในวโรกาสที่สำคัญดังนี้ 
         1. อัญเชิญพระแสงราชศัสตราในพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ในมณฑลพิธีเมื่อเสร็จพิธีอัญเชิญไปประดิษฐานดังเดิม
         2. เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับแรม ณ เมืองนั้นถวายพระแสงราชศัสตราทรงรับรักษาไว้และพระราชทานคืนเมื่อเสด็จกลับ 
         3. ทูลเกล้าฯถวายพระแสงราชศัสตราประจำเมืองเมื่อคราเสด็จเยี่ยมราษฎรเมื่อเสด็จกลับจะพระราชทานคืนตามธรรมเนียมน่าเสียดายที่พระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชรที่หาค่ามิได้นี้มิได้มีบทบาทดังกล่าวในพระราชพิธีเลยแต่เราชาวกำแพงเพชรก็ภูมิใจในดาบฟักทองพระราชทานเล่มนี้เป็นที่สุดและให้ประชาชนได้รับรู้ทั่วกันว่าดาบฟักทองเล่มนี้เป็นสมบัติแห่งแผ่นดินกำแพงเพชรที่ได้รับพระราชทานจากสองมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ขอให้ชาวกำแพงเพชรทุกผู้ช่วยกันพิทักษ์ให้ดาบวิเศษนี้อยู่คู่แผ่นดินกำแพงเพชรตลอดไป
ภาพที่ 2 พระยารามณรงค์สงครามและหลวงพิพิธอภัย.jpg

ภาพที่ 2 พระยารามณรงค์สงครามและหลวงพิพิธอภัย (สันติ อภัยราช, 2544)

         เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ขึ้นครองราชย์ ประสงค์จะไปตีปัตตานี ส่งราชวังบวรไปพร้อมกับมหาดเล็ก พระยากำแพงนุชหรือนายนุชไปปัตตานีไปรบชนะพระบาทสมเด็จ-พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) พระราชทานพระแสงราชศัสตราดาบฝักทองให้ และเมืองกำแพงเพชรให้พร้อมภรรยา 1 คน ดาบด้ามทองคำ ใบเป็นเหล็กกล้า ตามประวัติสามารถทำคนที่มีศัสตราคมฟันได้ แทงได้ คาดเดาว่าอาจจะเป็นดาบทางลาวทางเหนือทางล้านนา โดยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ไปตีได้มา เมื่อเจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นเจ้าของดาบมาเรื่อย ๆ พระยารามไม่ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรแล้ว ดาบจึงตกเป็นของลูกหลานของเจ้าเมืองตระกูลพระยากำแพงเก่าไม่ได้เป็นผู้ปกครองเมืองกำแพงแล้ว พระยากำแพงองค์ใหม่ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของดาบ จึงถวายคืนแก่พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 และทรงพิจารณาแล้วว่าเป็นดาบแท้จริง จึงพระทานคืนเป็นดาบพระแสงประจำเมืองกำแพง    ดาบเล่มนี้เป็นเพียงดาบพระแสงประจำตระกูล ดาบมีหน้าที่แสดงอาญาสิทธิ์เหนือเมือง เป็นกุญแจเพื่อถวาย แก่กษัตริย์ยามเสด็จมาเยี่ยมเยือนเมือง พอเสด็จกลับจึงคืนเพื่อเป็นดาบประจำเมืองกำแพง (สันติ อภัยราช, การสัมภาษณ์, 3 กันยายน 2564)

ยุคทางโบราณคดี

         ยุคเหล็ก (2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้  ซึ่งมีคุณภาพดีแข็งแกร่งกว่าสำริด  การดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม  มีการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชนต่างๆ (Google Site, ม.ป.ป.)

สมัยวัฒนธรรม

         ในสมัยรัตนโกสินทร์หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” และได้ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตรงข้าม และตั้งชื่อราชธานีใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานคร” พร้อมๆกับการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา (บ้านจอมยุทธ, 2543)
         ต่อมา พระองค์ทรงนำแบบแผนต่าง ๆ ของอยุธยามาใช้รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาไว้ที่กรุงเทพฯทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังและพระอารามที่ยิ่งใหญ่คือวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วทั้งทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมทรงรวบรวมตำราจากหัวเมืองต่าง ๆ ที่รอดพ้นจากการถูกเผามาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ
         ช่วงนี้สยามยังผจญกับศึกสงครามรอบด้านพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงรบชนะมาหลายศึกสงคราม และมักจะมีของติดไม้ติดมือกลับมาด้วย ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ท่านยึดครองมาได้คือดาบพระแสงราชศัสตรา ทรงได้เก็บรักษาไว้ในคลังสมบัติส่วนพระองค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประสงค์ทำศึกสงครามกับเมืองปัตตานีซึ่งมีพระยากำแพงเพชร(นุช) เป็นแม่ทัพหลักในศึกครั้งนี้ ด้วยความสามารถและยุทธวิธีอันชาญฉลาดพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็สามารถตีทัพเมืองปัตตานีจนแตกพ่ายสำเร็จ พระองค์พระราชทานดาบพระแสงราชศัสตราเป็นดาบประจำตระกูลแก่พระยากำแพงเพชร(นุช) เป็นการบำเหน็จเมื่อครั้งไปราชการทัพ

อายุทางโบราณคดี

         ไม่ปรากฎปี

อายุทางวิทยาศาสตร์

         ไม่ปรากฎปี

อายุทางตำนาน

         300 ปี

ประเภทของแหล่งโบราณวัตถุ

ศัสตราวุธ/อาวุธ
         อาวุธ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการทำร้าย ทำลาย ป้องกัน ต่อสู้ หรือฆ่า เช่น ก้อนหิน ไม้คมแฝก มีด ปืน ระเบิด.
         ศัสตราวุธ มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า ศสฺตฺร (อ่านว่า สัด-ตฺระ) แปลว่า เครื่องฟันแทง กับคำว่า อาวุธ. คำว่า ศัสตราวุธ จึงหมายถึงของมีคม เครื่องฟันแทง และอาวุธต่าง ๆ ที่ใช้ในการล่า ประหาร ทำร้ายร่างกาย ป้องกัน หรือต่อสู้ กับฝ่ายตรงข้าม เช่น มีด ดาบ หอก ง้าว ธนู. คำว่า ศัสตราวุธ ใช้ในวรรณคดี เช่น ศัสตราวุธอรินทร์  ฤๅถูก องค์เอย. และอาจใช้เป็นคำราชาศัพท์ว่า ราชศัสตราวุธ.
         คำว่า ศัสตราวุธ หมายถึง อาวุธที่ใช้ในการรบ เป็นอาวุธที่ร้ายแรง มีอำนาจการทำลายล้างสูง รวมทั้งปืนผาหน้าไม้ที่เป็นเครื่องทำลายล้างศัตรู. ส่วนคำว่า อาวุธ มีความหมายกว้างกว่า รวมถึง อาวุธทั้งที่มีคมและไม่มีคม และรวมถึงสติปัญญาหรือสิ่งอื่นที่สามารถใช้ทำลายล้างผู้อื่นได้ด้วย. คำว่า ศัสตราวุธ บางคนใช้ว่า ศาสตราวุธ (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2554)

ข้อมูลจำเพาะวัตถุโบราณ

คำอธิบาย/ลักษณะ/รูปพรรณ

ดาบประจำเมือง
         สำหรับประวัติความเป็นมาของพระแสงราชศัสตราองค์นี้ มีความแตกต่างจากพระแสงราชศัสตราประจำเมืองอื่น ๆ ดังได้กล่าวว่าเป็น“หนึ่งในสยาม”ด้วยความแตกต่างที่โดดเด่นคือ 
         1. มิใช่ดาบที่สร้างไว้เพื่อพระราชทานโดยตรงแต่เป็นถึงดาบประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ โดยจะทรงเหน็บไว้ข้างพระวรกายขณะออกศึกทุกครั้ง เพื่อใช้ฟันหรือแทงในยามที่ข้าศึกเข้ามาประชิดตัว
         2. เป็นพระแสงราชศัสตรา หนึ่งเดียวที่มีการบันทึกเรื่องราวความเป็นมาให้เป็นประวัติศาสตร์ที่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา จากพระนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสต้น ของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นบันทึกช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน
         3. เป็นพระแสงราชศัสตราที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระมหาราชโดยตรงถึง 3 พระองค์คือ
             ก. พระแสงนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1 ทรงพระราชทานให้แด่พระยารามรณรงค์สงครามฯ(นุช)
             ข. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช ทรงรับพระแสงราชศัสตราองค์นี้จาก หลวงพิพิธอภัย(หวล)และทรงพิเคราะห์อย่างถ้วนถี่แล้วมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเป็นพระแสงดาบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจริง และได้พระราชทานพระแสงดาบองค์นี้ คืนให้จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อใช้ในการพระราชพิธีสำหรับเมือง โดยพระยาวชิรปราการ ในขณะนั้นเป็นผู้ว่าราชการเป็นผู้รับพระราชทาน ดังนั้น นับว่าเป็นเพียง 1 เดียวที่เป็นทั้งพระแสงดาบประจำพระองค์และเป็นพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัด
             ค. พระมหาราชพระองค์ที่ 3 คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช ที่ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บูรณะซ่อมพระแสงราชศัสตราองค์นี้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2550ลักษณะของดาบก็ยังมิใช่ดาบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีอีกด้วย ปัจจุบันพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ณ คลังจังหวัดกำแพงเพชร โดยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 นายกฤช อาทิตย์แก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้อัญเชิญพระแสงราชศัสตรา ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณของข้าราชการ และวันที่ 5 ธันวาคม 2546 พิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ หอประชุมศาลากลาง จ.กำแพงเพชร และในวันที่ 29 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ทางจังหวัดโดยนายวิทยา ผิวผ่อง ได้ถือโอกาส อันเป็นปีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช จึงจัดให้มีการสมโภชพระแสงราชศัสตราขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนได้ชื่นชมพระบารมีของพระแสงราชศัสตรา ทองคำ สมบัติล้ำค่าองค์นี้อย่างใกล้ชิด
             ลักษณะของพระแสงของเมืองกำแพงเพชรองค์นี้ น้อยคนนักที่จะได้เห็นของจริง ลักษณะจะมีความยาว 88.5 เซนติเมตร มีด้ามเป็นเป็นทองคำยาวถึง 39.5 เซนติเมตร ตัวฝักทำด้วยไม้เนื้อหอม ไม่ทราบว่าเป็นไม้อะไร แต่คุณสมชาย ตติยวัฒนสิริ นายช่างประณีตศิลป (พิเศษเฉพาะตัว) ผู้อนุรักษ์กล่าวว่าเป็นเนื้อไม้พิเศษเพราะมีน้ำหนักเบามากและมีกลิ่นหอม หุ้มฝักไม้หอมด้วยทองคำ ตัวฝักยาว 49 เซนติเมตร (พระยากำแพงเพชร, 2557)

วัสดุผลิตภัณฑ์ ประเภทการใช้งาน กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน