ศิลปะในลวดลายผ้าปักชาวเขาเผ่าเย้าและผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขา

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:03, 15 มกราคม 2564 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "== บทนำ == ผ้าปักชาวเขาเป็นภูมิปัญญาที่สะท้อนให้เห็น...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ

         ผ้าปักชาวเขาเป็นภูมิปัญญาที่สะท้อนให้เห็นถึงฝีมือทางหัตถกรรมของชาวไทยภูเขาที่ขึ้นชื่อ การปักผ้าการทอผ้าเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา โดยเฉพาะชาวเขาเผ่าเย้าที่มีวัฒนธรรมในการแต่งกายมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยการแต่งกายนั้นมีที่มาจากความเชื่อในตำนานการบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น จนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนประยุกต์ภูมิปัญญาเหล่านี้ออกมาพัฒนาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขา และจัดจำหน่ายอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆในกำแพงเพชรหลายแห่ง ผลิตภัณฑ์ที่พบบ่อยและเป็นที่นิยมซื้อในกลุ่มนักท่องเที่ยวคือ ชุดชาวเขา และกระเป๋าใหญ่เหรียญจากผ้าปักชาวเขา
         จากการลงพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับลวดลายของผ้าปักชาวเขาเผ่าเย้าทำให้ทราบถึงชื่อและลักษณะของลวดลายผ้าปักต่างๆ รวมไปถึงรูปแบบของผลิตภัณฑ์จากผ้าปักที่มีจำหน่ายอยู่ในชุมชน

ความเป็นมาของผ้าปักชาวเขาเผ่าเย้า

         จากตำนานที่บันทึกไว้ในหนังสือเดินทางข้ามเขตภูเขา (เกีย เซ็น ป๊อง) ที่เย้าได้คัดลอกกันต่อๆ มาจนถึงทุกวันนี้ ระบุให้ลูกหลานเย้าปกปิดร่างกายของผันหูผู้ให้กำเนิดเย้าโดยใช้เสื้อลายห้าสีคลุมร่าง เข็มขัดรัดเอว ผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้ผูกที่หน้าผาก กางเกงลายปิดก้นผ้าลายสองผืนปิดที่ขา เชื่อกันว่าจากตำนานนี้เองทำให้เย้าใช้เสื้อผ้าคาดเอวผ้าโพกศีรษะและกางเกงที่ปักด้วยห้าสี สมัยก่อนเย้าการคมนาคมการค้าขายยังไปไม่ถึงบนดอย ส่วนใหญ่เย้านิยมใช้สีปักลายเพียง ๕ สีเท่านั้น คือ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียวและสีขาว ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมานี้เย้านิยมปักลายผู้เพิ่มมากขึ้นและใช้สีต่าง ๆ  เพิ่มขึ้นมากอีกด้วยการปักลายและการใช้สีสันในการปักลายใน แต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันบ้างตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น การปักลายเสื้อผ้าทุกวันนี้หญิงเย้าก็ยังคงแต่งกายตามแบบฉบับที่ระบุไว้ในตำนานได้อย่างเคร่งครัดผ้าที่เย้านำมาปักลายเป็นผ้าทอมือกล่าวกันว่าเย้าเคยทอผ้าใช้เอง แต่เมื่ออพยพเข้ามาอยู่ประเทศไทยแล้วค้นพบว่า ผ้าทอมือของไทลื้อที่มีถิ่นฐานอยู่ประเทศพม่าและประเทศไทย เหมาะแก่การปักลายจึงได้ซื้อผ้าทอมือของไทยลื้อมาย้อมและปักลายจนกลายเป็นความนิยมของเย้าไปถึงปัจจุบัน (อภิชาต ภัทรธรรม, 2552)
         เย้ามีการแต่งกายการใช้สีสันจะแตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย เมื่อแต่งกายตามจารีตประเพณีก็พอ  จะทราบได้ว่า  มีถิ่นฐานอยู่ในท้องที่ใดหรืออยู่ในกลุ่มใด  แต่มีบ้างที่กลุ่มที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกันจะมีการลอก เลียนแบบซึ่งกันและกันบ้าง การปักลายเย้าจะจับผ้าและจับเข็มแตกต่างกับเผ่าอื่น  เย้าจะปักผ้าจากด้านหลังผ้าขึ้นมายังด้านหน้าของผ้าจึงต้องจับผ้าให้ด้านหน้าคว่ำลงเมื่อปักเสร็จแต่ละแถวแล้วก็จะม้วนและใช้ผ้าห่อไว้อีกชั้นเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกต่าง ๆ การปักลายเสื้อผ้าเพื่อใช้ทำเป็นเครื่องแต่งกายและข้าวของใช้ตามจารีตประเพณีเย้า มีวิธีการปักลายสี่แบบ คือ การปักลายเส้น (กิ่ว กิ่ว) การปักลายขัด (โฉ่ง เกียม) การปักลายแบบกากบาท (โฉ่ง ทิว) และการปักไขว้ (โฉ่ง ดับ ยับ) การเรียกชื่อลายปักในการปักลายสตรีเย้าจะต้องจดจำชื่อและวิธีการปักลายไปพร้อม ๆ กันสำหรับการปักลายขัด (โฉ่ง เกียม) และลายกากบาท (โฉ่ง ทิว) ส่วนใหญ่จะเป็นลายเก่าที่ชื่อเรียกเหมือนกันแต่สำหรับลายไขว้  (โฉ่ง ดับ ยับ) นั้นเย้าอาจนำลักษณะเด่นของแต่ละลายปักเดิมมาปรับปรุงหรือปักเพิ่มเติมให้ลายปักใหม่อีกลายหนึ่ง และให้สีสันสวยงามตามใจตนเองชอบโดยอาจตั้งชื่อใหม่ก็ได้ นอกจากนี้สตรีเย้าบางคนที่มีความเฉลียวฉลาดอาจประดิษฐ์ลายปักใหม่ ๆ  ขึ้นมา  โดยจะนำส่วนประกอบของลายต่าง ๆ  มาประกอบเข้าด้วยกันหรือดัดแปลงเป็นลายปักใหม่แล้วตั้งชื่อเรียกใหม่แต่โดยทั่วไป แล้วจะเรียกชื่อที่คงลักษณะเด่นของลายเดิม เช่น ลายปักหมวกขององค์ผู้บริสุทธิ์ทั้งสาม (ฟามกุน) เป็นลายที่ปรับปรุงมาจากลาย (ฟามซิง) บางครั้งลายแบบปักไขว้แต่ละลายนี้มีลายละเอียดแตกต่างกันไป บางหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่แต่ละกลุ่มอาจเรียกชื่อที่ต่างกันด้วยและบ่อยครั้งพบว่าเย้าเรียกชื่ออย่างเดียวกันแต่เป็นลายปักแตกต่างกันก็มี แต่อย่างไรก็ตาม  ชื่อลายปักที่เย้าเรียกกันจะมีความหมายที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ คือ ความเชื่อวิธีการปักลายพืชผลทางการเกษตรถึงแม้เย้าจะปักลายตามความเชื่อนี้ แต่เย้าไม่ได้ถือว่าลายปักนั้นเป็นเครื่องรางของขลัง เป็นของศักดิ์สิทธิ์ การปักลายจึงเน้นที่ความสวยงามมากกว่าที่จะเป็นเครื่องรางของขลังนอกจากนี้เย้ายังเชื่อว่ากางเกงของผู้หญิงเป็นของต่ำไม่สมควรที่จะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  แต่อาจเป็นไปได้ที่ว่าเย้าต้องการแสดงให้เห็นว่าเย้าเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องเทพยดาการปักของชาวเย้าที่แปลกไปจากเผ่าอื่น (มูลนิธิกระจกเงา, 2550)

ลายปักผ้าของชาวเขาเผ่าเย้า

         1. ลายดะเมาเซาเมี่ยน (ลายรอยเท้าเสือ)