ลูกปัดแก้วทวารวดี เมืองกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ

         ลูกปัด ในความหมายทางโบราณคดี หมายถึง วัตถุต่างๆที่เจาะรู สามารถนำมาร้อยได้ เช่น ลูกปัดหิน ลูกปัดดิน ลูกปัดแก้ว ลูกปัดที่ทำมาจากกระดูก เปลือกหอย หรือ ลูกปัดที่ทำมาจากโลหะอื่นๆเช่น ทอง ดีบุก สัมฤทธิ์ เป็นต้น ลูกปัดแก้วทวารวดี จังหวัดกำแพงเพชรลูกปัดโบราณถูกใช้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการขุดพบลูกปัดมากมายในแหล่งอารายธรรมเก่าแก่ทั้งหลาย ลูกโบราณที่ขุดพบนั้นทำมาจากวัสดุต่างๆลูกปัดสีต่าง ๆ นี้อายุไม่ต่ำกว่า 500 – 1,000 ปีขึ้นไปในยุคทวาราวดี ศรีวิชัย ลูกปัดจำนวนมากมายบอกเล่าถึงรสนิยม ความเชื่อ ภูมิปัญญา ศิลปะ กระบวนการผลิต เส้นทางการค้า เศรษฐกิจ อายุหรือสมัยที่ผลิตและอาจสื่อถึงนัยยะการเมืองอีกด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ลูกปัดเป็นมากกว่าเครื่องประดับหรือเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของมนุษย์ ซึ่งคนโบราณได้สรรหาหินสีต่าง ๆ และหินแก้วศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่หายากยิ่งมาฝน กลึง เจาะ ทำเป็นลูกปัดคล้องคอและข้อมือ เพื่อป้องกันปัดเป่าภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น บันดาลโชคลาภ สวมใส่เพื่อเป็นสิริมงคล เป็นเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น ยิ่งผู้ใดทำบุญเป็นเนืองนิตย์ ผู้นั้นก็จะพบแต่ความสุข ความเจริญ จากเคราะห์ร้ายก็จะกลายเป็นดี ข้าวของเงินทองไหลมาเทมา ผู้ใดมีลูกปัดอยู่ในครอบครอง ไม่ว่าสีใดก็ตามบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของลูกปัดทวารวดี เมืองกำแพงเพชร 2) แหล่งค้นพบลูกปัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร 3) วัสดุผลิตภัณฑ์ และ 4) ประเภทการใช้งาน

คำสำคัญ : ลูกปัดเเก้ว, ลูกปัดทวารวดี