ลูกปัดแก้วทวารวดี เมืองกำแพงเพชร
บทนำ
ลูกปัด ในความหมายทางโบราณคดี หมายถึง วัตถุต่างๆที่เจาะรู สามารถนำมาร้อยได้ เช่น ลูกปัดหิน ลูกปัดดิน ลูกปัดแก้ว ลูกปัดที่ทำมาจากกระดูก เปลือกหอย หรือ ลูกปัดที่ทำมาจากโลหะอื่นๆเช่น ทอง ดีบุก สัมฤทธิ์ เป็นต้น ลูกปัดแก้วทวารวดี จังหวัดกำแพงเพชรลูกปัดโบราณถูกใช้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการขุดพบลูกปัดมากมายในแหล่งอารายธรรมเก่าแก่ทั้งหลาย ลูกโบราณที่ขุดพบนั้นทำมาจากวัสดุต่างๆลูกปัดสีต่าง ๆ นี้อายุไม่ต่ำกว่า 500 – 1,000 ปีขึ้นไปในยุคทวาราวดี ศรีวิชัย ลูกปัดจำนวนมากมายบอกเล่าถึงรสนิยม ความเชื่อ ภูมิปัญญา ศิลปะ กระบวนการผลิต เส้นทางการค้า เศรษฐกิจ อายุหรือสมัยที่ผลิตและอาจสื่อถึงนัยยะการเมืองอีกด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ลูกปัดเป็นมากกว่าเครื่องประดับหรือเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของมนุษย์ ซึ่งคนโบราณได้สรรหาหินสีต่าง ๆ และหินแก้วศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่หายากยิ่งมาฝน กลึง เจาะ ทำเป็นลูกปัดคล้องคอและข้อมือ เพื่อป้องกันปัดเป่าภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น บันดาลโชคลาภ สวมใส่เพื่อเป็นสิริมงคล เป็นเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น ยิ่งผู้ใดทำบุญเป็นเนืองนิตย์ ผู้นั้นก็จะพบแต่ความสุข ความเจริญ จากเคราะห์ร้ายก็จะกลายเป็นดี ข้าวของเงินทองไหลมาเทมา ผู้ใดมีลูกปัดอยู่ในครอบครอง ไม่ว่าสีใดก็ตามบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของลูกปัดทวารวดี เมืองกำแพงเพชร 2) แหล่งค้นพบลูกปัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร 3) วัสดุผลิตภัณฑ์ และ 4) ประเภทการใช้งาน
คำสำคัญ : ลูกปัดเเก้ว, ลูกปัดทวารวดี
ประวัติความเป็นมาของลูกปัดทวารวดี เมืองกำแพงเพชร
ลูกปัดเเก้ว เป็นเรื่องราวของวัตถุที่มีลักษณะเป็นเม็ด มีหลายรูปทรง เจาะรูเพื่อใช้ร้อยเข้าไปในเส้นด้ายหรือเชือก ซึ่งเป็นวัสดุที่ทนและไม่ขาดง่าย ลูกปัดเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นและใช้เมื่อหลายพันและหลายหมื่นปีมาแล้ว มนุษย์ในสมัยแรกๆ ทำลูกปัดจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น กระดูกสัตว์ เขี้ยว เปลือกหอย เมล็ดพืช เปลือกไม้ ยางไม้ ต่อมามนุษย์ทำลูกปัดจากวัสดุที่ทำขึ้นเอง เช่น ดินเผา แก้ว สำริด ทอง เป็นต้น ลูกปัดถูกใช้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการขุดพบลูกปัดมากมายในแหล่งอารายธรรมเก่าแก่ทั้งหลาย ลูกโบราณที่ขุดพบนั้นทำมาจากวัสดุต่างๆ ลูกปัดเกิดพร้อมพัฒนาการของมนุษย์ในทุกๆมุมโลก ลูกปัดจำนวนมากมายบอกเล่าถึงรสนิยม ความเชื่อ ภูมิปัญญา ศิลปะ กระบวนการผลิต เส้นทางการค้า เศรษฐกิจ อายุหรือสมัยที่ผลิตและอาจสื่อถึงนัยยะการเมืองอีกด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ลูกปัดเป็นมากกว่าเครื่องประดับหรือเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของมนุษย์ ความสำคัญของลูกปัดโบราณ รองอธิบดีกรมศิลปากร เขมชาติ เทพไชย กล่าวว่า “การค้นพบลูกปัดโบราณนั้นคนทั่วไปอาจมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่นี่คือหลักฐานสำคัญที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตได้หลายเรื่อง อาทิ เส้นทางการค้าโบราณ ที่ทำให้รู้ว่าในอดีตมีการเชื่อมโยงกัน เพราะลูกปัดมีทุกทวีป ลูกปัด เป็นเครื่องบ่งบอกถึงอารยธรรมโบราณ ลูกปัดเป็นหนึ่งในสินค้าสำคัญที่เชื่อมโยงยุคสมัย และช่วยเปิดมุมมองด้าน การสร้างสรรค์ศิลปะที่ส่งผลถึงโลกในยุคปัจจุบันให้นักโบราณคดีได้รับทราบ ลูกปัดโบราณเม็ดหนึ่งมีเรื่องราวมากมายให้ค้นหา ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การผลิต การค้า และวิถีชีวิตของผู้คนยุคโบราณ ดังนั้นเมื่อค้นพบแล้วก็ไม่ควรจะสูญหายไป ลูกปัดโบราณ วัตถุโบราณทุกชิ้น สำหรับนักโบราณคดี ในทางโบราณคดีถือว่ามีคุณค่าทุกชิ้น เพราะเปรียบเสมือนเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เสมือนหนังสือเล่มหนึ่งที่บอกเรื่องราว เสมือนตำราการเรียนรู้เล่มโตที่ให้เราได้ศึกษาแง่มุมต่าง ๆ ดังนั้น ทุกชิ้นที่ค้นพบล้วนแล้วแต่มีคุณค่าสูงมาก ๆ จนไม่สามารถประเมินค่าออกมาเป็นตัวเงินได้ ลูกปัดโบราณจะไม่ใช่เพียงของเก่าเม็ดเล็กๆ ที่มีคุณค่าในแง่ของความเก่าเท่านั้น แต่มันมีคุณค่ามาก ลูกปัดเม็ดเล็กที่เดินทางผ่านกาลเวลามาจนถึงปัจจุบัน มีเรื่องราวมากมายแอบแฝงอยู่ ทำให้เราได้ศึกษาเรียนรู้อดีต ลูกปัดโบราณช่วยในการเชื่อมโยงภาพของการติดต่อสื่อสารกันระหว่างชุมชนในอดีตจากแหล่งที่ขุดค้นพบจากข้อมูลแวดล้อม ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ลูกปัดเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลกมาทุกยุคทุกสมัย การค้นคว้าเรื่องราวของลูกปัดนั้นเชื่อว่ามีมายาวนานนับหมื่นปี ซึ่งลูกปัดในยุคนั้นทำมาจากเมล็ดพืช กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และหินที่มีรูอยู่แล้วตามธรรมชาติ เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการมากขึ้น การทำลูกปัดก็ซับซ้อนขึ้น สวยงาม แปลกตาเพิ่มขึ้นเช่นการตกแต่งลวดลายลงไปบนเนื้อหินมีค่า เช่นอาเกตและคาร์เนเลียน ที่ถูกเรียกว่า เอตช์คาร์เนเลียนของอินเดีย และซีบีทของทิเบต เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว เชื่อว่ามีการผลิตลูกปัดแก้วเพื่อทดแทนลูกปัดจากหินมีค่า เช่น อาเกตและคาร์เนเลียนที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง ซึ่งหินเหล่านี้เริ่มหายากและราคาแพง ทำให้ผู้คนในยุคนโบราณใช้ลูกปัดแก้วที่ถูกผลิตขึ้นมา สวมใส่แทนลูกปัดที่ทำจากหินมีค่า ก่อนมาเป็นลูกปัดแก้วที่แท้จริงนั้น พบหลักฐานการใช้แก้วหรือการผลิตแก้ว นับว่ามีอายุการค้นพบเท่ากับประวัติศาสตร์ของมนุษย์ซึ่งมีประวัติความเป็นมาและการพัฒนาควบคู่กันไป เป็นที่เข้าใจกันว่า เมื่อประมาณ 75,000 ปี มาแล้ว มนุษย์ได้รู้จักนำแก้วธรรมชาติที่เกิดจากภูเขาไฟ ที่เรียกว่า obsidian นำมาทำเป็นหัวธนู หรืออาวุธต่างๆ ต่อมาประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ได้ค้นพบวิธีการผลิตแก้วโดยบังเอิญ ได้มีบันทึกกล่าวไว้ว่าชาวฟีนิเชียนได้ขนดินประสิวมาจากอียิปต์ ขณะเตรียมอาหารอยู่บนชายหาดริมแม่น้ำบีลัส ได้นำก้อนดินประสิวมาใช้แทนก้อนหินเพื่อทำเป็นฐานเตาไฟ เมื่อถูกความร้อน ก้อนดินประสิวเกิดการลุกไหม้และหลอมละลายผสมกับทรายในบริเวณนั้น เกิดของเหลวใสไหลออกมาซึ่งก็คือ แก้ว ส่วนในอียิปต์พบลูกปัดที่มีลักษณะกึ่งเคลือบ-กึ่งแก้วอายุประมาณ 6,000 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งสันนิษฐานว่าพัฒนามาจากการผลิตแก้วน้ำเคลือบหรือฟายองซ์ (Faience) ซึ่งมีลักษณะเหมือนแก้ว โดยนำมาเคลือบลูกปัดดินเผา แต่ฟายองซ์นั้นผลิตในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าแก้ว และต่อมาจึงได้พัฒนาเป็นแก้วที่แท้จริง ลูกปัดสีต่าง ๆ นี้อายุไม่ต่ำกว่า 500 – 1,000 ปีขึ้นไปในยุคทวาราวดี ศรีวิชัย ซึ่งคนโบราณได้สรรหาหินสีต่างๆ และหินแก้วศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่หายากยิ่งมาฝน กลึง เจาะ ทำเป็นลูกปัดคล้องคอและข้อมือ เพื่อป้องกันปัดเป่าภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น บันดาลโชคลาภ สวมใส่เพื่อเป็นสิริมงคล เป็นเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น ยิ่งผู้ใดทำบุญเป็นเนืองนิตย์ ผู้นั้นก็จะพบแต่ความสุข ความเจริญ จากเคราะห์ร้ายก็จะกลายเป็นดี ข้าวของ เงินทองไหลมาเทมา ผู้ใดมีลูกปัดอยู่ในครอบครอง ไม่ว่าสีใดก็ (วิรัช สินจินา, 2556, ออนไลน์) ฉะนั้นในการจำแนกลูกปัดจึงมีหลายรูปแบบต่างๆหลายสี และมีความหมายแตกต่างกันไปดังนี้ 1. ลายนกยุง จะมีหลายสีเรียกอีกอย่างว่า สีนานาชาติจะทำการสิ่งใดจะสำเร็จผลทุกอย่าง
ภาพที่ 1 ลายนกยูง
ที่มา : ลูกบัว เปี่ยมสิริ, 2562, ออนไลน์
2. ทวาหัวเทียน ที่หัวท้ายจะมีสีดำ ขาว น้ำตาล อยู่ยงคงกระพัน มีสติปัญญาดี
ภาพที่ 2 ทวาหัวเทียน
ที่มา : กาญจน์ กาญจนกิจ, 2557, ออนไลน์
3. ลูกยอน้ำทิพย์ มีหลายสี มีตารอบด้าน รู้เหตุการณ์ข้างหน้า ค้าขายดี
ภาพที่ 3 ลูกยอน้ำทิพย์
ที่มา : ศรเงิน กลิ่นมะลิ, 2556, ออนไลน์
4. อำพันทอง เงิน การงาน การค้า ทำให้เงินไหลมาไม่ขาดสาย
ภาพที่ 4 อำพันทอง
ที่มา : กรรณิกา เรืองอารีรัชต์, 2551, ออนไลน์
5. หยกเขียว อยู่ร่มเย็นเป็นสุข สุขกายและใจ เป็นมหามงคลเพิ่มพูน
ภาพที่ 5 หยกเขียว
ที่มา : ธีรวัจน์ พิทักษ์รณชัย, 2558, ออนไลน์
6. หยกเหลือง เมตตามหานิยม ค้าขายดี
ภาพที่ 6 หยกเหลือง
ที่มา : ดวงจันทร์ ลาดี, 2562, ออนไลน์
7. หยกขาว สีสะอาด ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บไข้ ดูไม่แก่ สดใส อายุยืน
ภาพที่ 7 หยกขาว
ที่มา : ธีรวัจน์ พิทักษ์รณชัย, 2558, ออนไลน์
8. ฟ้าแก่ ฟ้าอ่อน ฟ้าสวิง ร่ำรวยเงินทองพร้อมญาติมิตรการงานและการค้าดี
ภาพที่ 8 ฟ้าแก่ ฟ้าอ่อน ฟ้าสวิง
ที่มา : กรรณิกา เรืองอารีย์รัชต์, 2551, ออนไลน์
9. เหลืองตองอ่อน เสน่ห์แรงคนรักใคร่ คนรักซื่อตรง
ภาพที่ 9 เหลืองตองอ่อน
ที่มา : กรรณิกา เรืองอารีย์รัชต์, 2551, ออนไลน์
10. น้ำเงินเนื้อกษัตริย์ สีไพรินมีอำนาจวาสนา
ภาพที่ 10 น้ำเงินเนื้อกษัตริย์
ที่มา : กาญจน์ กาญจนกิจ, 2553, ออนไลน์
11. ดำทึบ เสริมโชคลาภ กันภัย มนต์ดำ ผีสาง และผู้ที่คิดร้ายต่อเรา
ภาพที่ 11 ดำทึบ
ที่มา : กฤตธัช วัฒนมะโน, 2559, ออนไลน์
12. ส้ม หรือส้มเงินแสนคือเรืองแสง ส่องสว่าง นึกคิดสิ่งใดสมความปรารถนาเป็นแสนเป็นล้าน
ภาพที่ 12 ส้มหรือส้มเงินแสนคือเรืองแสง
ที่มา : ดวงจันทร์ ลาดี, 2552, ออนไลน์
13. ส้มมันปู มีเงินทองคงกระพัน กันพิษสัตว์ร้าย
ภาพที่ 13 ส้มมันปู
ที่มา : ดวงจันทร์ ลาดี, 2552, ออนไลน์
14. สีแดงอิฐ แคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพันป้องกันภัยอันตรายต่างๆ
ภาพที่ 14 สีแดงอิฐ
ที่มา : กรรณิกา เรืองอารีย์รัชต์ , 2551, ออนไลน์
15. แดง มีโชคลาภ มีอำนาจบารมี บริวารเกรง
ภาพที่ 15 แดง
ที่มา : ดวงจันทร์ ลาดี, 2559, ออนไลน์
16. ม่วง คนเมตตา มหานิยม คนรักใคร่ นำทรัพย์สินมาให้มีคนอุปถัมภ์ตลอด ช่วยเสริมบารมี
ภาพที่ 16 ม่วง
ที่มา : ดนัย พรหมพฤกษ์, 2557, ออนไลน์