ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว ของชาวจังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ

         จุดเริ่มต้นเฉาก๊วยชากังราว กว่าจะหาสูตรได้ลงตัวต้องใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่นาน จนกระทั่งวันหนึ่งเริ่มไปซื้อ ต้นเฉาก๊วยมาจากที่กรุงเทพฯ มาลองทำ พอทำสำเร็จในครั้งแรก ดร.เสริมวุฒิ  สุวรรณโรจน์ ได้นำไปแจกให้กันพนักงานที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ทำให้คนได้รู้จักกับ ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ จึงได้เริ่มคิดหาวิธีทำการผลิต ในรูปแบบใหม่ เริ่มหาสถานที่ในการผลิตเฉาก๊วยที่ใหญ่ขึ้น สมัยนั้นจึงได้ไปขอใช้สถานที่ วัดบ่อสามแสน และได้ขอยืมใช้อุปกรณ์ของวัด ทุกอย่างเริ่มเข้าที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้เริ่มซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัย และซึ่งคำว่า ชากังราว เป็นหนึ่งในชื่อเมืองกำแพงเพชรในอดีตจึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อบริษัทของ ดร.เสริมวุฒิ  สุวรรณโรจน์ และในเรื่องวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น หม้อต้มใหญ่ ถาดพักยาง ส่วนของกระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งานเป็นสิ่งที่ทำให้เฉาก๊วยชากังราวมีความอร่อย ได้แก่ การล้างต้นเฉาก๊วย 3 ครั้ง แล้วนำไปต้มที่อุณหภูมิ 120 องศา เคี่ยว 2 ชั่วโมง เสร็จทุกขั้นตอนแล้ว นำมาเทใส่ถาด ทิ้งไว้ 30 นาทีและนำมาตัดเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ และบรรจุใส่ถุงและใส่น้ำเชื่อมลงไปพร้อมส่งขายทั่วประเทศ และพูดถึงประเภทการใช้งานสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของน้ำแข็งใสได้ทำให้มีรสชาติหวานหอมละมุนเหนียวนุ่ม และสำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว มีช่องทางเพจ เฟสบุ๊ค, ไลน์ และ หมายเลขโทรศัพท์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ชากังราว 2) วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ 3) กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน 4) ประเภทการให้งาน และ 5) ช่องทางการจัดจำหน่าย             

คำสำคัญ : เฉาก๊วยกำแพงเพชร, เฉาก๊วยชากังราว, ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วย

ความเป็นมาของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว

         ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฉาก๊วยชากังราว จำกัด ซึ่งเป็นผู้ปั้นแบรนด์ เฉาก๊วย “ชากังราว” และผลิตเฉาก๊วยแปรรูปจนประสบความสำเร็จ แต่เดิม ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี มีภรรยา ชื่อ คุณอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ มีบุตร 2 คน  ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เล่าถึงความเป็นมาของเฉาก๊วยชากังราว ด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจว่า เฉาก๊วย “ชากังราว” ประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้ ต้องขอขอบคุณ “เฉาก๊วย ดอนเมือง” ที่เป็นแหล่งให้ความรู้เป็นที่แรก เพราะลูกชายของ   ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้จบการศึกษา ปวส. เมื่อปี พ.ศ.2539 และได้เข้าไปทำงานที่โรงงานเฉาก๊วยดอนเมืองและได้แรงบันดาลใจ จนทำให้เกิดจุดประกายความคิดว่าอยากให้คนกำแพงเพชรได้มีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร จึงทำให้เกิดรายได้ ที่ทำให้มี “เฉาก๊วยชากังราว” เกิดขึ้นและมีการพัฒนาสูตรเฉาก๊วยชากังราวมาจากเฉาก๊วยดอนเมืองสืบเนื่องมาจากการที่ลูกชายได้ไปทำงานที่โรงงานเฉาก๊วยดอนเมืองตั้งแต่สมัยที่ลูกชายพึ่งจบ ขณะนั้น ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ทำงานอยู่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ลูกของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เพิ่งจบ ปวส. ได้ไม่นาน วันหนึ่งลูกชายของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ที่เพิ่งจบการศึกษาก็มาบอกกับผู้เป็นพ่อว่าจะไปทำงานกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งดำเนินธุรกิจทำเฉาก๊วยด้วยความที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์  เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี จึงให้ลูกชายได้เข้าไปทำงานในบริษัท “เฉาก๊วยดอนเมือง” ก็จะสามารถนำมาสร้างธุรกิจเองได้ในอนาคต จนเวลาผ่านไปสองเดือนพ่อลูกครอบครัวสุวรรณโรจน์จึงไปซื้อเฉาก๊วยมาลองทำกันดู ผลปรากฏว่า ก็สามารถทำขายได้แต่รสชาติไม่แตกต่างกับท้องตลาดมากนักจึงมีการพัฒนาสูตรและรสชาติมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2545 ได้มีการจดทะเบียนเป็นชื่อ “ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว” จนถึงทุกวันนี้ (เสนอ เพชรพลาย, การสัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2563)
ภาพที่ 1 ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว.jpg

ภาพที่ 1 ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว (ข่าวภูมิภาค, 2564)

         เฉาก๊วย คือ ของหวานสีดำ ๆ เด้งดึงที่เคี้ยวหนึบหนับ และมีรสหวานจากนํ้าเชื่อม รวมถึงความเย็นฉ่ำจากนํ้าแข็งที่ใส่ผสมลงไป ทำให้ “เฉาก๊วย” กลายเป็นหนึ่งในของหวานยอดฮิตในช่วงหน้าร้อน แต่นอกจากความหวานเย็นที่กินแล้วสดชื่นขึ้นมาในทันใด เฉาก๊วยก็ยังมีสรรพคุณอื่น ๆ ที่ช่วยบำรุงร่างกาย อาทิ ช่วยลดความดัน โลหิตสูง ช่วยลดนํ้าตาลในเลือด อาการไข้ อาการอักเสบของกล้ามเนื้อและตับ และร้อนในกระหายนํ้า ฯลฯ ต้น เฉาก๊วยที่นำมาทำเฉาก๊วยมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือต้นเฉาก๊วยจากประเทศจีน ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม เมื่อกล่าวถึงความแตกด่างทางรสชาติของเฉาก๊วยแต่ล่ะสายพันธุ์ พบว่า เฉาก๊วยประเทศเวียดนาม มีความหวานมากกว่าเฉาก๊วยประเทศจีนและประเทศอินโดนีเซีย แต่ถ้าพูดถึงความเหนียวนุ่มเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซียจะเหนียวนุ่มมากกว่าเฉาก๊วยประเทศเวียดนาม และประเทศจีน ส่วนเฉาก๊วยประเทศจีนจะมีรสชาติที่กลมกล่อม มากกว่าเฉาก๊วยประเทศเวียดนาม และเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย คุณลักษณะเด่น ๆ เหตุเพราะมีความแตกด่างกันทางคุณลักษณะของเฉาก๊วยเวียดนาม คือ เฉาก๊วยเวียดนามจะมีความหวานมากกว่า และคนเวียดนาม เรียกเฉาก๊วยว่า ถั๊ตแดน (Thachden) ในประเทศเวียดนามแหล่งปลูกเฉาก๊วยที่ใหญ่อยู่ที่เมืองท้าวเคซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดหลั่งเซิน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศเวียดนาม มีชายแดนติดกับประเทศจีน และไร่เฉาก๊วยที่ปลูกมักจะอยู่บนหุบเขาสูง ลักษณะของต้นเฉาก๊วย คือ เฉาก๊วยเป็นพืชตะกูลเดียวกันกับสะระแหน่ กระเพรา โหรพา และแมงลัก เป็นพืชล้มลุกคลุมดินมีความสูงราว 15-100 ซม. โดยเฉพาะสายพันธุ์จากประเทศจีนและประเทศเวียดนามที่มีภูมิประเทศที่เหมาะสม อากาศเย็น ต้นเฉาก๊วยจึงสูงได้ถึง 1 เมตร แต่ที่ประเทศเวียดนาม จะปลูกกันบนยอดเขา อากาศเย็น ต้นจะไม่สูงมากแต่ก็มีใบเยอะ ใบมีลักษณะเป็นแฉก ๆ คล้ายใบสะระแหน่ มีขนตามใบ เราสามารถใช้ทุกส่วนมาทำเฉาก๊วย ยกเว้นราก ส่วนที่มียางเหนียว ๆ มากที่สุดคือ ใบ สิ่งที่ต้นเฉาก๊วยแตกด่างจากพืชในตระกูลเดียวกันก็คือ มีปริมาณนํ้ามันหอมระเหย และสารออกฤทธิ์ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า จึงทำให้ไม่มีกลิ่นฉุน แต่ทำให้มีความหอม หวานแทน (ศิริประภา เย็นยอดวิชัย, 2560) 
1 เฉาก๊วยเวียดนาม.jpg

ภาพที่ 2 ต้นเฉาก๊วยเวียดนาม

2 เฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย.jpg

ภาพที่ 3 ต้นเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย

         เฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย คือ จะให้ความเหนียวนุ่ม เฉาก๊วยอินโดนีเซีย เฉาก๊วยทำมาจากใบ ที่ต้องผ่านการตากแห้ง นานกว่า 5 เดือน ถึงจะสามารถนำมาต้มเป็นเฉาก๊วยได้และเฉาก๊วยที่มีคุณภาพจะต้องปลูกอยู่บนพื้นที่สูงและชื้น เช่น เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกต้นเฉาก๊วยเพราะเป็นดินภูเขาไฟซึ่งมีแร่ธาตุสูง จึงทำให้ได้น้ำยางเฉาก๊วยที่มีคุณภาพดี คุณลักษณะของเฉาก๊วยประเทศจีน คือ ใช้สำหรับผสมเพื่อให้รสกลมกล่อม เฉาก๊วย หรือ หญ้าเฉาก๊วย เป็น ในตระกูลเดียวกับมินต์ (พืชจำพวกสะระแหน่) มักพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ไต้หวัน ชอบขึ้นในหุบเขาที่ดินทรายแห้งมีหญ้าขึ้น มีความสูงราว 15-100 ซม. สำต้นและใบมีขนปกคลุม ใบมีรูปหยาดน้ำตาและขอบหยักคล้ายใบเลื่อย นิยมปลูกเพื่อใช้ทำเฉาก๊วยรับประทานเป็นอาหารว่าง การปลูกและการแปรรูป ต้นเฉาก๊วยปลูกบนพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อยในไต้หวัน พืชชนิดนี้มักปลูกใต้ต้นผลไม้ ในสวนผลไม้เพื่อเป็นรายได้เสริม สำหรับขั้นตอนการทำเฉาก๊วยนั้น เริ่มต้นจากการเก็บเกี่ยวส่วนที่อยู่เหนือดิน ทั้งหมดของต้นเฉาก๊วย จากนั้นนำมาทำให้แห้ง บางส่วนและสุมขึ้นเพื่อให้มันรวมตัวกับก๊าซออกซิเจน จนกระทั่งกลายเป็นสีดำ หลังจากรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนแล้ว ผลที่ได้จะลูกนำมาทำให้แห้งโดยตลอด และพร้อมที่จะขาย ต้นเฉาก๊วยสายพันธุ์ของประเทศจีน เป็นสายพันธุ์แรกที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ นำมาผลิตเป็นเฉาก๊วยชากังราว ส่วนที่จะนำสายพันธุ์ของประเทศเวียดนาม และ สายพันธุ์ของประเทศอินโดนีเซีย จึงได้ทราบว่ารสชาติของเฉาก๊วยทั้ง 3 สายพันธุ์ มีรสชาติที่แตกต่างกัน (เสนอ เพชรพลาย, การสัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2563)
3 เฉาก๊วยของประเทศจีน.jpg

ภาพที่ 4 ต้นเฉาก๊วยของประเทศจีน

         สรุปได้ว่า ต้นเฉาก๊วยทั้ง 3 สายพันธุ์ ให้รสชาติและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เฉาก๊วยของประเทศเวียดนาม คุณลักษณะ คือ จะมีความหวานมากกว่า เฉาก๊วยของประเทศอินโดนีเซีย คุณลักษณะคือจะให้ความเหนียวนุ่ม  เฉาก๊วยของประเทศจีน คุณลักษณะ คือ ใช้สำหรับผสมเพื่อให้รสกลมกล่อม เฉาก๊วยชากังราว ปัจจุบันเฉาก๊วยที่นำเข้ามาทำการผลิตจะนำมาจากประเทศอินโดนีเซียประเทศเดียวเพราะ ต้นเฉาก๊วยของประเทศอินโดนีเซีย ได้มาตรฐานกว่าและ จะให้ความเหนียวนุ่ม และมาเพิ่มความหวานด้วยน้ำเชื่อม และ ใบเตย เป็นส่วนประกอบหลัก ความพิเศษของเฉาก๊วยชากังราว กว่าจะได้ออกมาเป็นอาหารดับร้อน ยอดฮิตในเมืองไทย ได้นำความพิเศษของ เฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซียที่มีความเหนียวนุ่มไม่เหมือนใคร ต้นเฉาก๊วยที่ใช้ก็ต้องนำเข้าเพราะไม่สามารถปลูกในเมืองไทยได้ แต่ปัจจุบันทางบริษัท เฉาก๊วยชากังราวของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ก็ได้มีการทดลองปลูกต้นเฉาก๊วย จะทำคล้าย ๆ การปลูกแปลงผัก เด็ดและเอาไปจิ้มลงดินก็ขึ้นออกมาง่ายมาก แต่ต้องอาศัย อุณหภูมิเพราะการปลูกต้นเฉาก๊วย ต้องอาศัยอุณหภูมิที่มีความเย็น จึงจะสามารถทำให้ต้นเฉาก๊วยนั้น อยู่รอดได้ และปี พ.ศ.2563 ได้มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงทำให้มีผลกระทบต่อการผลิต และการขนส่ง จึงทำให้มีต้นทุนการการผลิต และการขนส่งเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากราคารับซื้อตันละ 250,000 เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว (เสนอ เพชรพลาย, การสัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2563)