ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว ของชาวจังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ[แก้ไข]

         จุดเริ่มต้นเฉาก๊วยชากังราว กว่าจะหาสูตรได้ลงตัวต้องใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่นาน จนกระทั่งวันหนึ่งเริ่มไปซื้อ ต้นเฉาก๊วยมาจากที่กรุงเทพฯ มาลองทำ พอทำสำเร็จในครั้งแรก ดร.เสริมวุฒิ  สุวรรณโรจน์ ได้นำไปแจกให้กันพนักงานที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ทำให้คนได้รู้จักกับ ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ จึงได้เริ่มคิดหาวิธีทำการผลิต ในรูปแบบใหม่ เริ่มหาสถานที่ในการผลิตเฉาก๊วยที่ใหญ่ขึ้น สมัยนั้นจึงได้ไปขอใช้สถานที่ วัดบ่อสามแสน และได้ขอยืมใช้อุปกรณ์ของวัด ทุกอย่างเริ่มเข้าที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้เริ่มซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัย และซึ่งคำว่า ชากังราว เป็นหนึ่งในชื่อเมืองกำแพงเพชรในอดีตจึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อบริษัทของ ดร.เสริมวุฒิ  สุวรรณโรจน์ และในเรื่องวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น หม้อต้มใหญ่ ถาดพักยาง ส่วนของกระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งานเป็นสิ่งที่ทำให้เฉาก๊วยชากังราวมีความอร่อย ได้แก่ การล้างต้นเฉาก๊วย 3 ครั้ง แล้วนำไปต้มที่อุณหภูมิ 120 องศา เคี่ยว 2 ชั่วโมง เสร็จทุกขั้นตอนแล้ว นำมาเทใส่ถาด ทิ้งไว้ 30 นาทีและนำมาตัดเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ และบรรจุใส่ถุงและใส่น้ำเชื่อมลงไปพร้อมส่งขายทั่วประเทศ และพูดถึงประเภทการใช้งานสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของน้ำแข็งใสได้ทำให้มีรสชาติหวานหอมละมุนเหนียวนุ่ม และสำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว มีช่องทางเพจ เฟสบุ๊ค, ไลน์ และ หมายเลขโทรศัพท์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ชากังราว 2) วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ 3) กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน 4) ประเภทการให้งาน และ 5) ช่องทางการจัดจำหน่าย             

คำสำคัญ : เฉาก๊วยกำแพงเพชร, เฉาก๊วยชากังราว, ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วย

ความเป็นมาของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว[แก้ไข]

         ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฉาก๊วยชากังราว จำกัด ซึ่งเป็นผู้ปั้นแบรนด์ เฉาก๊วย “ชากังราว” และผลิตเฉาก๊วยแปรรูปจนประสบความสำเร็จ แต่เดิม ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี มีภรรยา ชื่อ คุณอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ มีบุตร 2 คน  ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เล่าถึงความเป็นมาของเฉาก๊วยชากังราว ด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจว่า เฉาก๊วย “ชากังราว” ประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้ ต้องขอขอบคุณ “เฉาก๊วย ดอนเมือง” ที่เป็นแหล่งให้ความรู้เป็นที่แรก เพราะลูกชายของ   ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้จบการศึกษา ปวส. เมื่อปี พ.ศ.2539 และได้เข้าไปทำงานที่โรงงานเฉาก๊วยดอนเมืองและได้แรงบันดาลใจ จนทำให้เกิดจุดประกายความคิดว่าอยากให้คนกำแพงเพชรได้มีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร จึงทำให้เกิดรายได้ ที่ทำให้มี “เฉาก๊วยชากังราว” เกิดขึ้นและมีการพัฒนาสูตรเฉาก๊วยชากังราวมาจากเฉาก๊วยดอนเมืองสืบเนื่องมาจากการที่ลูกชายได้ไปทำงานที่โรงงานเฉาก๊วยดอนเมืองตั้งแต่สมัยที่ลูกชายพึ่งจบ ขณะนั้น ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ทำงานอยู่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ลูกของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เพิ่งจบ ปวส. ได้ไม่นาน วันหนึ่งลูกชายของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ที่เพิ่งจบการศึกษาก็มาบอกกับผู้เป็นพ่อว่าจะไปทำงานกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งดำเนินธุรกิจทำเฉาก๊วยด้วยความที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์  เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี จึงให้ลูกชายได้เข้าไปทำงานในบริษัท “เฉาก๊วยดอนเมือง” ก็จะสามารถนำมาสร้างธุรกิจเองได้ในอนาคต จนเวลาผ่านไปสองเดือนพ่อลูกครอบครัวสุวรรณโรจน์จึงไปซื้อเฉาก๊วยมาลองทำกันดู ผลปรากฏว่า ก็สามารถทำขายได้แต่รสชาติไม่แตกต่างกับท้องตลาดมากนักจึงมีการพัฒนาสูตรและรสชาติมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2545 ได้มีการจดทะเบียนเป็นชื่อ “ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว” จนถึงทุกวันนี้ (เสนอ เพชรพลาย, การสัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2563)
ภาพที่ 1 ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว.jpg

ภาพที่ 1 ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว (ข่าวภูมิภาค, 2564)

         เฉาก๊วย คือ ของหวานสีดำ ๆ เด้งดึงที่เคี้ยวหนึบหนับ และมีรสหวานจากนํ้าเชื่อม รวมถึงความเย็นฉ่ำจากนํ้าแข็งที่ใส่ผสมลงไป ทำให้ “เฉาก๊วย” กลายเป็นหนึ่งในของหวานยอดฮิตในช่วงหน้าร้อน แต่นอกจากความหวานเย็นที่กินแล้วสดชื่นขึ้นมาในทันใด เฉาก๊วยก็ยังมีสรรพคุณอื่น ๆ ที่ช่วยบำรุงร่างกาย อาทิ ช่วยลดความดัน โลหิตสูง ช่วยลดนํ้าตาลในเลือด อาการไข้ อาการอักเสบของกล้ามเนื้อและตับ และร้อนในกระหายนํ้า ฯลฯ ต้น เฉาก๊วยที่นำมาทำเฉาก๊วยมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือต้นเฉาก๊วยจากประเทศจีน ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม เมื่อกล่าวถึงความแตกด่างทางรสชาติของเฉาก๊วยแต่ล่ะสายพันธุ์ พบว่า เฉาก๊วยประเทศเวียดนาม มีความหวานมากกว่าเฉาก๊วยประเทศจีนและประเทศอินโดนีเซีย แต่ถ้าพูดถึงความเหนียวนุ่มเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซียจะเหนียวนุ่มมากกว่าเฉาก๊วยประเทศเวียดนาม และประเทศจีน ส่วนเฉาก๊วยประเทศจีนจะมีรสชาติที่กลมกล่อม มากกว่าเฉาก๊วยประเทศเวียดนาม และเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย คุณลักษณะเด่น ๆ เหตุเพราะมีความแตกด่างกันทางคุณลักษณะของเฉาก๊วยเวียดนาม คือ เฉาก๊วยเวียดนามจะมีความหวานมากกว่า และคนเวียดนาม เรียกเฉาก๊วยว่า ถั๊ตแดน (Thachden) ในประเทศเวียดนามแหล่งปลูกเฉาก๊วยที่ใหญ่อยู่ที่เมืองท้าวเคซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดหลั่งเซิน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศเวียดนาม มีชายแดนติดกับประเทศจีน และไร่เฉาก๊วยที่ปลูกมักจะอยู่บนหุบเขาสูง ลักษณะของต้นเฉาก๊วย คือ เฉาก๊วยเป็นพืชตะกูลเดียวกันกับสะระแหน่ กระเพรา โหรพา และแมงลัก เป็นพืชล้มลุกคลุมดินมีความสูงราว 15-100 ซม. โดยเฉพาะสายพันธุ์จากประเทศจีนและประเทศเวียดนามที่มีภูมิประเทศที่เหมาะสม อากาศเย็น ต้นเฉาก๊วยจึงสูงได้ถึง 1 เมตร แต่ที่ประเทศเวียดนาม จะปลูกกันบนยอดเขา อากาศเย็น ต้นจะไม่สูงมากแต่ก็มีใบเยอะ ใบมีลักษณะเป็นแฉก ๆ คล้ายใบสะระแหน่ มีขนตามใบ เราสามารถใช้ทุกส่วนมาทำเฉาก๊วย ยกเว้นราก ส่วนที่มียางเหนียว ๆ มากที่สุดคือ ใบ สิ่งที่ต้นเฉาก๊วยแตกด่างจากพืชในตระกูลเดียวกันก็คือ มีปริมาณนํ้ามันหอมระเหย และสารออกฤทธิ์ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า จึงทำให้ไม่มีกลิ่นฉุน แต่ทำให้มีความหอม หวานแทน (ศิริประภา เย็นยอดวิชัย, 2560) 
1 เฉาก๊วยเวียดนาม.jpg

ภาพที่ 2 ต้นเฉาก๊วยเวียดนาม

2 เฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย.jpg

ภาพที่ 3 ต้นเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย

         เฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย คือ จะให้ความเหนียวนุ่ม เฉาก๊วยอินโดนีเซีย เฉาก๊วยทำมาจากใบ ที่ต้องผ่านการตากแห้ง นานกว่า 5 เดือน ถึงจะสามารถนำมาต้มเป็นเฉาก๊วยได้และเฉาก๊วยที่มีคุณภาพจะต้องปลูกอยู่บนพื้นที่สูงและชื้น เช่น เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกต้นเฉาก๊วยเพราะเป็นดินภูเขาไฟซึ่งมีแร่ธาตุสูง จึงทำให้ได้น้ำยางเฉาก๊วยที่มีคุณภาพดี คุณลักษณะของเฉาก๊วยประเทศจีน คือ ใช้สำหรับผสมเพื่อให้รสกลมกล่อม เฉาก๊วย หรือ หญ้าเฉาก๊วย เป็น ในตระกูลเดียวกับมินต์ (พืชจำพวกสะระแหน่) มักพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ไต้หวัน ชอบขึ้นในหุบเขาที่ดินทรายแห้งมีหญ้าขึ้น มีความสูงราว 15-100 ซม. สำต้นและใบมีขนปกคลุม ใบมีรูปหยาดน้ำตาและขอบหยักคล้ายใบเลื่อย นิยมปลูกเพื่อใช้ทำเฉาก๊วยรับประทานเป็นอาหารว่าง การปลูกและการแปรรูป ต้นเฉาก๊วยปลูกบนพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อยในไต้หวัน พืชชนิดนี้มักปลูกใต้ต้นผลไม้ ในสวนผลไม้เพื่อเป็นรายได้เสริม สำหรับขั้นตอนการทำเฉาก๊วยนั้น เริ่มต้นจากการเก็บเกี่ยวส่วนที่อยู่เหนือดิน ทั้งหมดของต้นเฉาก๊วย จากนั้นนำมาทำให้แห้ง บางส่วนและสุมขึ้นเพื่อให้มันรวมตัวกับก๊าซออกซิเจน จนกระทั่งกลายเป็นสีดำ หลังจากรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนแล้ว ผลที่ได้จะลูกนำมาทำให้แห้งโดยตลอด และพร้อมที่จะขาย ต้นเฉาก๊วยสายพันธุ์ของประเทศจีน เป็นสายพันธุ์แรกที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ นำมาผลิตเป็นเฉาก๊วยชากังราว ส่วนที่จะนำสายพันธุ์ของประเทศเวียดนาม และ สายพันธุ์ของประเทศอินโดนีเซีย จึงได้ทราบว่ารสชาติของเฉาก๊วยทั้ง 3 สายพันธุ์ มีรสชาติที่แตกต่างกัน (เสนอ เพชรพลาย, การสัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2563)
3 เฉาก๊วยของประเทศจีน.jpg

ภาพที่ 4 ต้นเฉาก๊วยของประเทศจีน

         สรุปได้ว่า ต้นเฉาก๊วยทั้ง 3 สายพันธุ์ ให้รสชาติและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เฉาก๊วยของประเทศเวียดนาม คุณลักษณะ คือ จะมีความหวานมากกว่า เฉาก๊วยของประเทศอินโดนีเซีย คุณลักษณะคือจะให้ความเหนียวนุ่ม  เฉาก๊วยของประเทศจีน คุณลักษณะ คือ ใช้สำหรับผสมเพื่อให้รสกลมกล่อม เฉาก๊วยชากังราว ปัจจุบันเฉาก๊วยที่นำเข้ามาทำการผลิตจะนำมาจากประเทศอินโดนีเซียประเทศเดียวเพราะ ต้นเฉาก๊วยของประเทศอินโดนีเซีย ได้มาตรฐานกว่าและ จะให้ความเหนียวนุ่ม และมาเพิ่มความหวานด้วยน้ำเชื่อม และ ใบเตย เป็นส่วนประกอบหลัก ความพิเศษของเฉาก๊วยชากังราว กว่าจะได้ออกมาเป็นอาหารดับร้อน ยอดฮิตในเมืองไทย ได้นำความพิเศษของ เฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซียที่มีความเหนียวนุ่มไม่เหมือนใคร ต้นเฉาก๊วยที่ใช้ก็ต้องนำเข้าเพราะไม่สามารถปลูกในเมืองไทยได้ แต่ปัจจุบันทางบริษัท เฉาก๊วยชากังราวของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ก็ได้มีการทดลองปลูกต้นเฉาก๊วย จะทำคล้าย ๆ การปลูกแปลงผัก เด็ดและเอาไปจิ้มลงดินก็ขึ้นออกมาง่ายมาก แต่ต้องอาศัย อุณหภูมิเพราะการปลูกต้นเฉาก๊วย ต้องอาศัยอุณหภูมิที่มีความเย็น จึงจะสามารถทำให้ต้นเฉาก๊วยนั้น อยู่รอดได้ และปี พ.ศ.2563 ได้มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงทำให้มีผลกระทบต่อการผลิต และการขนส่ง จึงทำให้มีต้นทุนการการผลิต และการขนส่งเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากราคารับซื้อตันละ 250,000 เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว (เสนอ เพชรพลาย, การสัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2563)
4 เฉาก๊วยของอินโดนีเซีย.jpg

ภาพที่ 5 ต้นเฉาก๊วยของประเทศอินโดนีเซียที่ปลูกในประเทศไทย

         หลังจากการสัมภาษณ์ถึงจุดเริ่มต้นเฉาก๊วยชากังราว ที่ไม่ได้โปรยด้วยกลีบกุหลาบ กว่าจะหาสูตรได้ลงตัว ต้องใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่นาน จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้ไปอ่านข้อมูลที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเฉาก๊วยให้อร่อย เริ่มคือ ไปซื้อต้นเฉาก๊วยมาจากที่กรุงเทพฯ มาลองทำ พอทำสำเร็จในครั้งแรก ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ก็ได้นำไปแจกให้กับพนักงานที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และที่นำไปเผยแพร่เป็นที่แรก คือ งานศิลปหัตถกรรม ที่จังหวัดลำพูนให้หลาย ๆ คนได้รู้จักกับ ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวของจังหวัดกำแพงเพชร หลังจากนั้น ก็ได้ตั้งขายหลาย ๆ ที่ในจังหวัดกำแพงเพชร เช่น หน้า ธนาคาร จนหลายคนรู้เป็นที่รู้จัก และบอกต่อ ๆ กันมาซื้อ หลังจากนั้นมีคนสนใจเริ่มซื้อเยอะขึ้นเรื่อย ๆ จนผลิตไม่ค่อยทัน ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ จึงได้เริ่มคิดหาวิธีทำการผลิต หรือหาการพัฒนาในรูปแบบใหม่ เริ่มหาสถานที่ใหญ่ขึ้น สมัยนั้นจึงได้ไปขอใช้สถานที่ วัดบ่อสามแสน จังหวัดกำแพงเพชร และได้ขอยืมใช้อุปกรณ์ของวัด เช่น หม้อใหญ่ กะละมัง และหลังจากนั้น อะไร ๆ เริ่มเข้าที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้เริ่มซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยขึ้น และอีกทั้งยังสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เพราะแต่เดิมใช้เตาถ่านในการเคี้ยวเฉาก๊วย จึงไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ ก็คือชื่อของผลิตภัณฑ์ เฉาก๊วยชากังราว ซึ่งคำว่าชากังราวเป็นหนึ่งในชื่อเมืองกำแพงเพชรในอดีต จึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อบริษัทของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เอกลักษณ์ของผลิตกัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว คือ เหนียว หนึบ นุ่ม เป็นผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวที่ไม่เหมือนเจ้าอื่น เพราะได้คัดสรรต้นเฉาก๊วยของประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความเหนียวนุ่ม และเพิ่มความหอมหวานด้วยใบเตย และ น้ำเชื่อม ซึ่งเปรียบเทียบกับเจ้าอื่น คือจะไม่มี ความไม่เหนียว หนึบ นุ่ม เหมือนของเฉาก๊วยชากังราว เพราะเจ้าอื่นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จุดเด่น ของผลิตกัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวคือ ไม่ใส่สารกันบูด สามารถอยู่ได้ 7-10 วัน โดยใส่ไว้ในตู้เย็น ในอุณหภูมิ 1-2 องศา จะผลิตตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง จะไม่ผลิตรอออเดอร์ และในแต่ละล็อตที่ผลิตจะมีการตรวจเช็คคุณภาพ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เสมอ และมีการเช็คต้นเฉาก๊วยในแต่ละล็อตทุกวัน เพราะต้นเฉาก๊วยในแต่ละล็อตมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (เสนอ เพชรพลาย, การสัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2563)
         ผู้เขียนสรุปได้ว่า เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว ผู้ก่อตั้งเฉาก๊วยชากังราว คือ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ แต่เดิมท่านเป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาทำงานอยู่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในจังหวัดกำแพงเพชร อยากมีรายได้พิเศษ จึงเลือกเฉาก๊วยมาทำเป็นขนม เพราะเฉาก๊วยมีประโยชน์ และมีเฉาก๊วยดอนเมืองเป็นแนวทาง ตอนนั้นยังไม่เป็นเฉาก๊วยชากังราว ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับเฉาก๊วยและลองผิดลองถูกเพื่อหาสูตรต่าง ๆ ให้เฉาก๊วยออกมาอร่อย เป็นเวลา 4-5 ปี เริ่มแรก ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้ซื้อต้นเฉาก๊วยมาจากกรุงเทพมหานคร และได้ทำแจกชาวบ้าน เพื่อดูว่าการตอบรับของผู้บริโภคบริเวณใกล้เคียงจนเป็นที่รู้จัก และได้นำเฉาก๊วยไปเผยแพร่ที่งานศิลปหัตกรรม จังหวัดลำพูน เป็นที่แรก หลังจากนั้น ได้ตั้งขายหลาย ๆ ที่ภายในจังหวัดกำแพงเพชร เช่น หน้าธนาคาร จนเป็นที่รู้จัก และบอกต่อ ๆ กันมาซื้อ หลังจากนั้นมีคนสนใจเริ่มซื้อเยอะขึ้นเรื่อย ๆ จนผลิตไม่ค่อยทัน จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2544 ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้ลาออกจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในจังหวัดกำแพงเพชร จึงได้เริ่มคิดหาวิธีทำการผลิต หรือหาการพัฒนาในรูปแบบใหม่อย่างเต็มตัว เริ่มหาสถานที่ใหญ่ขึ้น สมัยนั้นจึงได้ไปขอใช้สถานที่วัดบ่อสามแสน จังหวัดกำแพงเพชร และได้ขอยืมใช้อุปกรณ์ของวัด เช่น หม้อใหญ่ กะละมัง และ หลังจากนั้น อะไร ๆ เริ่มเข้าที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้เริ่มซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยขึ้น อีกหนึ่งสิ่งสำคัญก็คือ ชื่อของผลิตกัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวซึ่งคำว่า ชากังราว เป็นหนึ่งในชื่อเมืองกำแพงเพชรในอดีต จึงถูกนำมาตั้งเป็น ชื่อบริษัทของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ จนได้มาเป็น ชื่อผลิตกัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว และเฉาก๊วยที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ นำมาผลิตเฉาก๊วยในปี พ.ศ.2544 มีตั้งหมด 3 สายพันธุ์ ต้นเฉาก๊วยทั้ง 3 สายพันธุ์ ให้ รสชาติและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เฉาก๊วย ของประเทศเวียดนาม คุณลักษณะคือ จะมีความหวานมากกว่าเฉาก๊วยของประเทศอินโดนีเซีย คุณลักษณะคือ จะให้ความเหนียวนุ่ม เฉาก๊วยประเทศของจีน คุณลักษณะคือ ใช้สำหรับผสมเพื่อให้รสกลมกล่อม ต้นเฉาก๊วยสายพันธุ์ของประเทศจีนเป็นสายพันธุ์แรกที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ นำมาผลิตเป็นเฉาก๊วยชากังราว ก่อนที่จะนำสายพันธุ์ของประเทศเวียดนาม และ สายพันธุ์ของประเทศอินโดนีเซีย จึงได้ทราบว่ารสชาติของเฉาก๊วย ทั้ง 3 สายพันธุ์ มีรสชาติที่แตกต่างกัน และในต้นปี พ.ศ.2563 ได้มีการระบาดของไวรัส โควิด-19 จึงทำให้มีผลกระทบต่อการผลิต และการขนส่ง จึงทำให้มีต้นทุนการผลิต และการขนส่ง เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากราคารับซื้อตันละ 250,000 บาท ปัจจุบันทางบริษัท เฉาก๊วยชากังราวของ ดร. เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ก็ได้มีการทดลองปลูกต้นเฉาก๊วย แต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะด้วยสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ที่ยัง    ไม่เอื้ออำนวย การปลูกต้นเฉาก๊วยนั้นจะทำคล้าย ๆ การปลูกแปลงผัก เด็ดและเอาไปจิ้มลงดิน ก็ขึ้นออกมาง่ายมาก แต่ต้องอาศัยอุณหภูมิ เพราะการปลูกต้นเฉาก๊วย ต้องอาศัยอุณหภูมิที่มีความเย็น จึงจะสามารถทำให้ต้นเฉาก๊วยนั้นอยู่รอดได้ และปัจจุบันทางบริษัทเฉาก๊วยชากังราว นำเข้าเฉาก๊วยจากประเทศอินโดนีเซียเป็นหลัก  
6 ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวปัจจุบัน.jpg

ภาพที่ 6 ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวปัจจุบัน (โรงงานเฉาก๊วยชากังราว, 2556)

         ถั๊ตแดน (Thachden) คือ คนเวียดนามเรียกเฉาก๊วยว่า ถั๊ตแดน (Thachden) หรือ Suong Sao ในประเทศเวียดนาม แหล่งปลูกเฉาก๊วยที่ใหญ่อยู่ที่เมืองท้าวเคซึ่งเป็นแขวง ๆ หนึ่งในจังหวัดหลั่งเซิน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเวียดนาม มีชายแดนติดกับประเทศจีน ไร่เฉาก๊วยจะอยู่บนหุบเขาสูง เฉาก๊วย ขนมที่ทำมาจากย่า เป็นคำจากภาษาจีน เฉาก๊วย เป็นคำจากภาษาจีนว่า เฉาท้วย แปลว่า ขนมหญ้า เนื่องจากทำจากพืชชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลโหระพา เมื่อแห้งจะมีลักษณะคล้ายหญ้า ขนมเฉาก๊วย ได้จากการนำต้นเฉาก๊วยแห้งมาต้ม จะได้น้ำที่มีลักษณะเป็นเมือกสีดำ กรองแล้วผสมแป้ง เช่น แป้งเท้ายายม่อม แป้งมันสำปะหลัง ตั้งทิ้งไว้จนเย็นจะมีลักษณะคล้ายวุ้น สีดำ มีกลิ่นหอม กินกับน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำเชื่อม ใส่น้ำแข็ง มีสรรพคุณทางยา ช่วยขับเสมหะ และคลื่นไส้ เบื่ออาหาร และแก้อาการปวดหลัง เฉาก๊วยทำมาจากต้นเฉาก๊วยพืชในตระกูลเดียวกับสะระแหน่โดยมีต้นกำเนิดจากประเทศจีนและยังพบมากในประเทศจีนอีกด้วย คำว่า เฉาก๊วย คนไทยก็เรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋ว เฉาก๊วยคือ การนำต้นเฉาก๊วยแห้งมาใส่ลงไปในน้ำ ต้มจนยางไม้และแพคตินละลายออกมาได้น้ำสีน้ำตาลดำ แล้วจึงนำมากรองเอาแต่น้ำไปผสมแป้ง สมัยก่อนนิยมใช้แป้งท้าวยายม่อมและแป้งมันสำปะหลัง ที่คนไทยนิยมรับประทานเป็นอาหารดับร้อน โดยสถานที่ตั้งบริษัท เฉาก๊วยชากังราว จำกัด คือ 141/3 บ่อสามแสน หมู่ 6 ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 โทรศัพท์ 055-854-821  มีโรงงานพร้อมรองรับยอดการผลิตได้ถึง 70,000 ถุงต่อวัน และ 2 ล้านกว่าถุงต่อเดือน บนพื้นที่โรงงานทำเฉาก๊วยขนาด ประมาณ 3 ไร่
7 ภาพสถานที่ตั้งบริษัท เฉาก๊วยชากังราว.jpg

ภาพที่ 7 สถานที่ตั้งบริษัท เฉาก๊วยชากังราว

วัตถุดิบและกระบวนการผลิต[แก้ไข]

         1. หม้อต้มใหญ่และนำมาทำมาเป็นหม้อต้มเพื่อแยกน้ำและแยกกากใบของเฉาก๊วย 
         2. กะละมังนำมาใช้สำหรับล้างน้ำแยกดินออกจากใบเฉาก๊วยเพื่อให้สะอาดต่อการทำขั้นตอนต่อไป      
         3. ถาดพักยางเฉาก๊วยไว้สำหรับเมื่อยางเฉาก๊วยกลายเป็นเนื้อหยุ่น ๆ ก็จะถูกนำมาเทใส่ถาดขนาดใหญ่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที พอเริ่มเย็นตัวลงก็จะเซ็ตตัว จากนั้นนำไปใส่ในเครื่องตัดเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำบรรจุในถุงพร้อมกับน้ำเชื่อม
         4. เครื่องปั่นต้นเฉาก๊วยนำมาล้างให้สะอาดในเครื่องปั่น คล้ายเครื่องซักผ้า ล้างเอาเศษดินออกให้หมด 3 รอบ
         5. เครื่องกรองยางเฉาก๊วย เป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งแปลกปลอมออกให้หมด ตอนนี้ยางเฉาก๊วยจะลื่น ๆ มีสีดำมันเงาตามธรรมชาติ ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมาก                                                                                             
         6. เครื่องบีบน้ำยางเฉาก๊วยนำมาสกัดแยกน้ำยางกับกากออกจากกันเพื่อนำไปทำเฉาก๊วย                              
         7. ถุงใส่ผลิตเฉาก๊วยชากังราวใช้สำหรับการบรรจุเข้าถุงเพื่อให้เกิดความสวยและดูดีและบ่งบอกยี่ห้อ           
         8. ถุงกระสอบใช้สำหรับการบรรจุเข้ากระสอบเพื่อสะดวกต่อการขนส่ง                                                   
         9. ต้นเฉาก๊วยนำมาทำเป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว                                                          
         10. แป้งมันสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในอัตราส่วนยางเฉาก๊วย 8 ส่วน ต่อ แป้งมัน 2 ส่วน                                     
         11. น้ำเปล่าใช้เป็นส่วนผสมหลัก สำหรับในการล้าง                                                                            
         12. น้ำเชื่อมทำให้เป็นส่วนผสมหลักเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวมีรสชาติที่หวานอร่อย ไม่เหมือนเจ้าอื่น                                                                                                                                             
         13. ใบเตยเป็นส่วนผสมอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้เพราะจะทำให้มีความหอมของกลิ่นใบเตย
         ผู้เขียนสรุปได้ว่า จากการใช้วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เหล่านี้จึงทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวของดีจังหวัดกำแพงเพชร อาทิ การใช้เครื่องปั่นต้นเฉาก๊วยนำมาล้างให้สะอาดในเครื่องปั่น นำมาล้างเอาเศษดินออกให้หมด 3 รอบและ เครื่องกรองยางเฉาก๊วยเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งแปลกปลอมออกให้หมด และเครื่องบีบน้ำยางเฉาก๊วยนำมาสกัดแยกน้ำยางกับกากออกจากกันเพื่อนำไปทำเฉาก๊วย สำหรับการใช้ถาดพักยางเฉาก๊วยไว้สำหรับเมื่อยางเฉาก๊วยกลายเป็นเนื้อหยุ่น ๆ ก็จะถูกนำมาเทใส่ถาดขนาดใหญ่ ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที พอเริ่มเย็นตัวลงก็จะเซ็ตตัว จากนั้นนำไปใส่ในเครื่องตัดเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำบรรจุในถุงพร้อมกับน้ำเชื่อม และถุงใส่ผลิตเฉาก๊วยชากังราวใช้สำหรับการบรรจุเข้าถุงเพื่อให้เกิดความสวยและดูดีและบ่งบอกยี่ห่อ สำหรับถุงกระสอบใช้สำหรับการบรรจุเข้ากระสอบเพื่อสะดวกต่อการขนส่ง

วิธีทำเฉาก๊วยชากังราว[แก้ไข]

         ส่วนผสมหลัก คือ น้ำเชื่อม และใบเตยเป็นส่วนผสมโดยนำต้นที่ตากแห้งมาต้มประมาณ 1-2 ชั่วโมง ให้ยางเฉาก๊วยออกมาแล้วกรองเศษเปลือกออก จากนั้นนำมาเคี่ยวอีก 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นกรองอีกครั้งก่อนผสมน้ำเชื่อมกวนจนเข้ากันดี กรองอีกครั้งก่อนกวนเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเทใส่ถาดพักไว้จนแข็งตัว นำไปตัดและใส่บรรจุภัณฑ์ออกวางขาย ทำให้มีลูกค้าจากทั่วทุกสารทิศมานำไปทำเป็นของหวานขายต่ออีกทอดหนึ่งหรือนำไปเพิ่มน้ำเชื่อมหรือใส่น้ำตาลทรายแดงสำหรับรับประทาน ก็ทำให้ได้รสชาติที่อร่อยไปอีกแบบ เพราะเฉาก๊วยชากังราว การันตีรสชาตินุ่มเหนียวเคี้ยวเพลินและยังให้รสชาติที่หวานกลมกล่อม ดังภาพที่ 8
13 ภาพการต้มเคี่ยวน้ำเฉาก๊วย.jpg

ภาพที่ 8 ภาพการต้มเคี้ยวน้ำเฉาก๊วย (health.kapook.com, 2563)

         1. นำมาล้างให้สะอาดในเครื่องปั่น คล้ายเครื่องซักผ้า ล้างเอาเศษดินออกให้หมด 3 รอบ 
         2. จากนั้นจะนำไปต้มที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เคี่ยวไปประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ เพื่อดึงเอาน้ำยาง ออกมา ระหว่างที่ต้มก็จะคนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ต้นและใบของเฉาก๊วย นิ่ม 
         3. นำมาสกัดแยกน้ำยางกับกากออกจากกัน น้ำยางจะไหลไปอีกทางหนึ่ง ส่วนกากจะผ่านเครื่องบีบเอาน้ำยางออกให้หมด น้ำยางส่วนนี้ต้องเอาไปกรองเอาเศษใบ ต้น สิ่งแปลกปลอม ออกให้หมด ตอนนี้ยางเฉาก๊วยจะลื่น ๆ มีสีดำมันเงาตามธรรมชาติ ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมาก  
         4. น้ำยางเฉาก๊วยบริสุทธิ์จะถูกนำไปแปรรูปโดยการกวน โดยมีการผสมแป้งมันลงไปเป็นตัวช่วยให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน ในอัตราส่วน ยางเฉาก๊วย 8 ส่วน ต่อแป้งมัน 2 ส่วน (โดยน้ำแป้งมันไปละลายในน้ำก่อน) เพราะยางเฉาก๊วยจะไม่สามารถรวมตัวกันเป็นเนื้อเฉาก๊วยได้ แป้งมันจึงเป็นตัวช่วยยึดให้น้ำยางรวมตัวกันกลายเป็นเนื้อเฉาก๊วย โดยน้ำแป้งมันไปละลายในน้ำก่อนแล้วค่อยเติมลงไป ใช้เวลากวนนาน 45 นาที 
         5. เมื่อยางเฉาก๊วยกลายเป็นเนื้อหยุ่น ๆ ก็จะถูกนำมาเทใส่ถาดขนาดใหญ่ ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที   พอเริ่มเย็นตัวลงก็จะเซ็ตตัว จากนั้นนำไปใส่ในเครื่องตัดเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำบรรจุในถุงพร้อมกับน้ำเชื่อม เพียงเท่านี้ก็พร้อมที่จะส่งจำหน่ายไปทั่วประเทศ แสดงให้เห็นได้ว่าการทำเฉาก๊วยชากังราวมีความพิถีพิถันในการทำความสะอาดในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างดี การล้างเพื่อเอาเศษดินออกต้องทำถึง 3 ครั้งในการล้างเพื่อความสะอาด จากนั้นจะนำไปต้มที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เคี่ยวไปประมาณ 2 ชั่วโมงเพื่อดึงเอาน้ำยาออกมาระหว่างที่ต้มก็จะคนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ต้นและใบของเฉาก๊วย นิ่ม และนำมาสกัดแยกน้ำยางกับกากออกจากกัน น้ำยางจะไหลไปอีกทางหนึ่งนำน้ำยางเฉาก๊วยบริสุทธิ์จะถูกนำไปแปรรูปโดยการกวน โดยมีการผสมแป้งมันลงไป เป็นตัวช่วยให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน หลังจากเสร็จทุกกระบวนการขั้นตอนแล้วนำมาเทใส่ถาด ทิ้งไว้ 30 นาทีแล้วนำมาตัดเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ เพื่อบรรจุใส่ถุงและใส่น้ำเชื่อมลงไป พร้อมส่งขายทั่วประเทศ
14 ภาพภายในโรงงานการผลิตเฉาก๊วยชากังราว.jpg

ภาพที่ 9 ภาพภายในโรงงานการผลิตเฉาก๊วยชากังราว

ช่องทางการจัดจำหน่าย[แก้ไข]

         ช่องทางการจัดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว ของจัดหวัดกำแพงเพชร มีหลายช่องทางให้สำหรับกลุ่มคนที่สนใจได้เลือกซื้อหา หลากหลายช่องทาง อาทิ ช่องทางเพจ เฟสบุ๊ค: แฟนเพจ สามารถเข้าไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ตลอด 24 ชั่วโมง ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวยังมีช่องทางสำหรับแอพพลิเคชั่นไลน์ให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวอีกด้วย และสามารถแอดไลน์ ได้ที่ไลน์ : มะปราง_ริว และอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถติดต่อสั่งซื้อ สามารถโทรได้ที่เบอร์โทรศัพท์ ที่หมายเลข 061-8849959 และสามารถติดต่อทางเพจและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด เพราะทางผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวเปิดรับยอดตลอด 24 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่า จุดกระจายสินค้าของภาคกลางจะอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ส่วนภาคอีสานอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนภาคเหนืออยู่ที่จังหวัดน่าน เชียงใหม่ และเชียงราย และภาคใต้อยู่ที่จังหวัดสงขลา สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางแอพพลิเคชั่นไลน์ และทางเพจเฟสบุ๊ค และทางเบอร์โทรศัพท์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง (เสนอ เพชรพลาย, สัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2563)

บทสรุป[แก้ไข]

         ความเป็นมาของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว พบว่า ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เป็นผู้ปั้นแบรนด์ เฉาก๊วย “ชากังราว” และผลิตเฉาก๊วยแปรรูปจนประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากการหาสูตรโดยการไปซื้อต้นเฉาก๊วยมาจากที่กรุงเทพฯ มาลองทำ พอทำสำเร็จในครั้งแรก ได้นำไปแจกให้กันพนักงานที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จนหลายคนได้รู้จักกับ ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว หลังจากนั้นก็ได้ตั้งขายหลาย ๆ ที่ เช่น หน้าธนาคาร ธกส. เมื่อปี พ.ศ. 2541 จนหลายคนเป็นที่รู้จัก จึงได้เริ่มคิดหาวิธีทำการผลิตในรูปแบบใหม่ เริ่มหาสถานที่ใหญ่ขึ้น สมัยนั้นจึงได้ไปขอใช้สถานที่วัดบ่อสามแสน และได้ขอยืมใช้อุปกรณ์ของวัด และหลังจากนั้นได้เริ่มซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัย และใช้คำว่า ชากังราว เป็นหนึ่งในชื่อเมืองกำแพงเพชรในอดีต จึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อบริษัท ต้นเฉาก๊วยที่นำมาผลิตมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ ต้นเฉาก๊วยจากประเทศจีน ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม ความแตกต่างทางรสชาติที่ผลิตจากเฉาก๊วย 3 สายพันธุ์พบว่า เฉาก๊วยประเทศเวียดนามมีความหวาน ประเทศอินโดนีเซียมีความเหนียวนุ่ม ส่วนเฉาก๊วยประเทศจีนจะมีรสชาติที่กลมกล่อม และปัจจุบันผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว ได้นำเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซียมาพัฒนาเพื่อผลิตให้เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ คือ เหนียว หนึบ นุ่ม  เพราะได้คัดสรรค์ เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความ หวานหอมหวาน ด้วย ใบเตย และน้ำเชื่อม ซึ่งเปรียบเทียบกับเจ้าอื่นคือจะไม่มีความ ไม่เหนียว หนึบ นุ่ม เหมือนของ เฉาก๊วยชากังราว เพราะเจ้าอื่นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปและใน วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ พบว่า การผลิตจากเฉาก๊วยชากังราวมีวัตถุดิบ คือ หม้อต้มใหญ่ กะละมัง ถาดพักยางเฉาก๊วย เครื่องปั่นต้นเฉาก๊วย เครื่องกรองยางเฉาก๊วย เครื่องบีบน้ำยางเฉาก๊วย ถุงใส่ผลิตเฉาก๊วยชากังราว ถุงกระสอบ ต้นเฉาก๊วย แป้งมันในอัตราส่วนยางเฉาก๊วย 8 ส่วนต่อแป้งมัน 2 ส่วน น้ำเปล่า น้ำเชื่อม และใบเตย ส่วนของ กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งานของผลิตภัณฑ์  เป็นสิ่งที่ทำให้เฉาก๊วยชากังราวมีความอร่อย ได้แก่ เทคนิคการล้างต้นเฉาก๊วย 3 ครั้ง แล้วนำไปต้มที่อุณหภูมิ 120 องศา เคี่ยว 2 ชั่วโมง จากนั้นนำมาเทใส่ถาด ทิ้งไว้ 30 นาทีต่อมานำมาตัดเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ เพื่อบรรจุใส่ถุงและใส่น้ำเชื่อมลงไป พร้อมส่งขายทั่วประเทศ ประเภทการใช้งาน พบว่า สามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของน้ำแข็งใสได้ ทำให้มีรสชาติหวานหอมละมุนเหนียวนุ่ม และสำหรับช่องทาง การจัดจำหน่าย พบว่า ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว มีช่องทางเพจ เฟสบุ๊ค, ไลน์ : มะปราง_ริว และหมายเลข Tel: 061-8849959 ซึ่งเปิดรับยอด ตลอด 24 ชั่วโมง

บรรณานุกรม[แก้ไข]

    ข่าวภูมิภาค. (2564). เฉาก๊วยชากังราว...OTOP เมืองกำแพงเพชร. เข้าถึงได้จาก http://www.rplnews.com/2013/07/otop.html
    โรงงานเฉาก๊วยชากังราว. (2563). เฉาก๊วยชากังราว. [Facebook]. เข้าถึงได้ https://www.facebook.com/ChakungraoGrassJelly/
    ศิริประภา เย็นยอดวิชัย. (2560). “ชากังราว” จากเฉาก๊วยเดินดิน ขึ้นแท่น เศรษฐีเงินล้าน. เข้าถึงได้จาก https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_21978 
    health.kapook.com. (2563). ประโยชน์ของเฉาก๊วย สรรพคุณมากกว่าช่วยดับกระหาย. เข้าถึงได้จาก http://inewshare.com/1133/