กลุ่มชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมของไทยทรงดำ

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ

         ไทดำหรือไตดำ (Black tai) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น โซ่ง ซ่ง ไทยโซ่ง ไทยซ่ง ลาวโซ่ง ลาวซ่ง ลาวทรงดำ และ ลาวพุงดำ โดยสันนิษฐานว่าไทดำเป็นชื่อเรียกแต่แรกเริ่ม ส่วนชื่อที่เรียก “ลาวโซ่ง” และ “ไทยทรงดำ” เป็นคำเรียกคนไทดำที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยเป็นชนกลุ่มที่อพยพผ่านประเทศลาวเข้ามายังประเทศไทย ประกอบกับภาษาพูดที่ใช้มีความคล้ายคลึงกับภาษาพูดของคนลาว (กลุ่มนักศึกษาโครงการเรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชน, 2547) ซึ่งคำว่า “โซ่ง” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ซ่วง” ซึ่งแปลว่า กางเกง เพราะชาวไทดำนิยมนุ่งกางเกงและสวมใส่เสื้อผ้าสีดำ (สันติ, 2557) หากแต่ในการอพยพเข้าประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า “ไทย” นำหน้าชื่อกลุ่มชนหรือกลุ่มภาษา เพื่อการเน้นถึงความเป็นชาติและความเป็นไทย คนไทดำที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจึงมักเรียกชนกลุ่มของตนเองว่า “ไทยทรงดำ” ตั้งแต่นั้นมา (จุรีวรรณ, 2554)

คำสำคัญ : ไทยทรงดำ, ไทดำ, กลุ่มชาติพันธุ์ การอพยพถิ่นฐานของกลุ่มไทยทรงดำมายังจังหวัดกำแพงเพชร

         กลุ่มชาติพันธ์ไทยทรงดำ มีถิ่นฐานเดิมตั้งอยู่ที่เมืองแถน ซึ่งเดิมเป็นเมืองใหญ่ของแคว้นสิบสองจุไท ปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟูของประเทศเวียดนาม มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว ซึ่งเดิมคือแคว้นล้านช้าง ซึ่งชาวไทดำถูกต้อนอพยพโดยสมัครใจไปมาระหว่างสองอาณาจักรนี้ ครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกอพยพผู้คนไทดำมายังประเทศไทย เพื่อหนีสงครามโดยอพยพผ่านลงมาทางเวียดนามตอนเหนือ ลาว และเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี และอพยพเรื่อยมาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (งามพิศ, 2545) โดยอพยพให้ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยแห่งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี จากนั้นจึงกระจายการตั้งถิ่นฐานอพยพออกจากพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ไปตั้งหลักแหล่งในจังหวัดใกล้เคียงและขยายพื้นที่ออกไปไกลถึงจังหวัดเลย โดยทางเกวียนและรถไฟ นอกจากนี้ยังพบชาวไทยทรงดำที่อพยพจากจังหวัดเพชรบุรีไปอยู่ในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี สระบุรี ลพบุรี พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี (จุรีวรรณ, 2554) จากการสืบค้น พบว่า กลุ่มไทยทรงดำอพยพเข้าสู่จังหวัดกำแพงเพชรครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2480 -2490 โดยอพยพมาจากตำบลหัวถนน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม สามารถแสดงการอพยพย้ายถิ่นของชาวไทยทรงดำที่เข้ามายังจังหวัดกำแพงเพชร  ได้ดังตารางที่ 1 (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2561)

ตารางที่ 1 แสดงการอพยพของไทยทรงดำมายังจังหวัดกำแพงเพชร

ปีพุทธศักราช อพยพจาก อพยพไปที่
2480 – 2490 หัวถนน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม อำเภอบางเลน และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, จังหวัดสุพรรณบุรี, จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดพิจิตร
2492 วังหยวก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ วังน้ำ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
2495 จังหวัดสุพรรณบุรี วังน้ำ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
2499 จังหวัดนครสวรรค์ วังน้ำ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
2506 อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม หนองกระทิง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
2518 อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ที่มา : (สันติ อภัยราช, 2557) ไทยทรงดำบ้านท่าช้าง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

         กลุ่มชาติพันธ์ไทยทรงดำในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร กระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ เช่น บ้านวังน้ำ  บ้านหนองกระทิงและบ้านแม่ลาด ในเขตอำเภออำเภอคลองขลุง บ้านคลองแม่ลายและบ้านท่าช้าง ในเขตอำเภอคลองลาน ซึ่งถือเป็นกลุ่มไทยทรงดำที่ใหญ่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร สาเหตุการอพยพมีสาเหตุ       อย่างน้อยสองประการ คือ ประการแรกเนื่องจากสงครามที่ส่งผลให้ชาวไทยทรงดำถูกกว่าต้อนเข้ามา           ในประเทศไทย ประการที่อง เพื่อต้องการบุกเบิกพื้นที่ทำการเกษตร ประกอบอาชีพทำกิน โดยประกอบเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชที่นิยมปลูกไว้เพื่อบริภาในครัวเรือนและเพื่อขาย ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และ                               มันสำปะหลัง กระทั่งในปัจจุบันกลุ่มไทยทรงดำในหมู่บ้านท่าช้างมีจำนวนร่วม 500 หลังคาเรือน (สิริวรรณ และคณะ, 2559) และจากข้อมูลการให้สัมภาษณ์ของคนในชุมชน ได้ให้ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านไว้ว่า                       (ไพร เสนาพิทักษ์, สัมภาษณ์, 14 ธันวาคม 2560)
         “บ้านท่าช้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2500 ยังมีสภาพป่าสมบรูณ์ มีชื่อเดิมว่า ปางยางและมีผู้คนมาจับจองที่ทำกินมาจากหลายจังหวัด เช่น นครสวรรค์ สุโขมัย นครปฐม สุพรรณบุรี เพชรบุรี พิจิตร พิษณุโลก และอุทัยธานี นี้จะเป็นคนไทยได้มาอยู่รวมกันที่บ้านท่าช้าง และได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นมีหลวงตาชื่อ ปั่น อยู่จำวัด  อยู่ 3 ปี ก็ได้จากบ้านท่าช้างไป ต่อมา พ.ศ. 2504 ชาวบ้านท่าช้างก็ได้จัดที่เรียนให้เด็ก ๆ ที่ศาลาวัด และขอครูมาจากโรงเรียนคลองน้ำไหล 1 ท่าน ชื่อ ครูบัว อยู่ได้ 1 ปี ก็มีครูเก้าสอนอยู่ 3 ปี ครูสนาม 6-7 ปี ครูสำเนียงอยู่หลายปี
         ในด้านการปกครองเมื่อมาคนเข้าอยู่มากกำนันสุคำ  ปิ่งขอด ได้ตั้งให้พ่อพา ประสิทธิเขตกิจ                              เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านดูแลลูกบ้านท่าช้างและบ้านทุ่งหญ้าคา และเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านท่าช้างตั้งแต่นั้นมา จนถึง พ.ศ. 2521 ได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายเสาร์  เรืองทองสุข ทำหน้าที่ 15 ปี ลำดับที่ 2 นายสังเวียน อยู่อ้าง ทำหน้าที่ 2 ปี ลำดับที่ 3 นายเทียน  ประสิทธิเขตกิจ ทำหน้าที่ 10 ปี และคนปัจจุบันคือ นายไพร  เสนาพิทักษ์ อยู่ในวาระ 1 สมัย ปัจจุบันเกษียณอายุ จนได้มีความคิดร่วมกับคณะกรรมการไทยทรงดำจะสืบทอดวิถีชีวิตและประเพณีไทยทรงดำ เพื่อเด็กนักเรียนบ้านท่าช้างหรอเด็กๆ และคนทั่วไปที่สนใจในวิถีชีวิตประเพณีของไทดำ อยากจะเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีดั่งเดิมของบรรพบุรุษออกสู่สังคมภายนอก
         บ้านท่าช้างได้เริ่มต้นวัฒนธรรมไทดำ เมื่อ พ.ศ. 2541 มีอาจารย์ริคม  ฟูแก้ว ที่สอนอยู่โรงเรียนท่าช้างสมัยนั้น ต่อมา พ.ศ. 2543 ประธานไทดำ นายปี  ทองเย็น ได้ของบประมาณจากประธานองค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำไหล ในสมัยท่านสุนทร  ประสิทธิเขตกิจ ซึ่งท่านก็เป็นคนท่าช้างก็ได้ร่วมกันจัดงานไทดำผ่านมาได้ทุกปี หากบางปีงบประมาณน้อยผู้คนในหมู่บ้านก็ได้ออกเรี่ยไรแล้วก็จัดงานอย่างต่อเนื่องผ่านมา 15 ปี เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2555 นี้เอง เมื่อเรามาถึงวันนี้เราได้ความรักความสามัคคีที่มากขึ้นจริง ๆ โดยมีการดำเนินงานและการปฏิบัติคือ 1) สร้างจิตสำนึกร่วมกันในวิถีชีวิตประเพณีไทดำที่เป็นหลัก 2) ต่อสืบทอดวัฒนธรรมไทดำไปสู่ครู อาจารย์ เยาวชนเด็กๆ นักเรียนบ้านท่าช้าง โดยเฉพาะเด็ก ๆ ได้เรียนภาษาไทดำ พูดและเขียนหนังสือไทดำ และคณะครูพร้อมเด็ก ๆ แต่งกายชุดไทดำทุก ๆ วันศุกร์ และ 3) ชมรมไทดำบ้านท่าช้าง ได้จับมือกับชมรมไทดำภาคเหนือ 5 จังหวัด ว่าจะร่วมกันรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีนี้ไว้ร่วมกันตลอดไป”

สังคม ประเพณีและความเชื่อของไทยทรงดำ