ฐานข้อมูล เรื่อง บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:20, 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ==='''ชื่อเรียกทางการ'''=== บ่อน้ำพุร้อน...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเรียกทางการ

         บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรียกอื่นๆ

         บึงสาป, บ่อน้ำร้อนบึงสาป  เขาไก่เขี่ย

ที่ตั้ง/ที่ค้นพบ

ภาพที่ 1 บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร

ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 13 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 101 สายกำแพงเพชร-พรานกระต่าย นํ้ำ พุร้อนพระร่วงมีพื้นที่โดยประมาณ 15 ไร่ สภาพแวดล้อมโดยล้อมรอบเป็นพื้นที่เกษตรและป่าละเมาะ บ่อนํ้ำร้อน มีลักษณะเป็นนํ้ำ แร่ร้อนธรรมชาติผุดจากแหล่งใต้ดิน จำ นวน 5 จุด มี ความร้อนประมาณ 40-65 องศาเซลเซียส เชื่อกันว่าเป็นแหล่งนํ้ำ แร่ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ===ที่ตั้งพิกัดทางภูมิ พิกัด UTM (WGS 1984) X 550091.284000, Y 1841819.557000ละติจูด 16.658351, ลองจิจูด 99.469744 ความสูงจากระดับนำทะเลปานกลาง 80.00 เมตร


สภาพธรณีวิทยา

ได้นำตัวอย่างน้ำแร่ร้อนที่บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงแห่งนี้ให้กับหน่วยงานในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร ทำการตรวจวิเคราะห์ผลปรากฏว่าไม่มีสารปนเปื้อนและไม่มีเชื้อโรคที่เป็นอันตราย อีกทั้งไม่มีกลิ่นกำมะถัน อุณหภูมิของน้ำร้อนอยู่ระหว่าง 45-60 องศาเซลเซียส ใช้อาบ แช่ตัวได้ และที่สำคัญดื่มได้อย่างปลอดภัย แร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำแร่ประกอบด้วย แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ โซเดียม ไบคาร์บอเนต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คลอไรด์ ซัลเฟต และไนเตรต ภาพที่ 2 น้ำภายในบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง

ประเภททรัพยากร

พืชพรรณ - ส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ประดับ สัตว์ป่า – ไม่มีข้อมูล

สถานะการขึ้นทะเบียน

- สถานภาพแหล่งธรรมชาติจากโครงการแนวทางการจัดการแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ปี 2547

5.1.8.หน่าวยงานที่ดูแลรักษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร




5.2.ข้อมูลจำเพาะทรัพยากรธรรมชาติ 5.2.1. ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน ภาพที่ 3 ภาพศาลพระร่วง ตามตำนานกล่าวว่า บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง แต่เดิมบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำขัง มีป่าโปร่งล้อมรอบสลับด้วยเนินเตี้ยๆ พื้นดินบางแห่งมีหินโผล่ขึ้นเป็นกลุ่มน้อยใหญ่สลับกันตำนานเล่าว่าครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จประพาสป่าล่าสัตว์มาถึงบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ วันหนึ่งพระองค์ทรงเห็นไก่ป่าตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงามและมีเสียงขันไพเราะมาก จึงทรงให้นายพรานที่ตามเสด็จ ต่อไก่ป่าตัวนั้นและได้ไก่ป่าสมพระราชประสงค์ โดยมีไก่ป่าตัวอื่นๆ ติดไปด้วยเป็นจำนวนมาก ในวันนั้นพระองค์และนายพรานล่าสัตว์อื่นไม่ได้เลย จึงทรงให้ทหารนำไก่ป่าตัวอื่นๆไปปรุงอาหารสำหรับเสวย แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นป่า ไม่มีบ้านเรือนราษฎร จึงไม่มีไฟใช้ทำอาหาร พระองค์จึงทรงสาปน้ำที่อยู่ในบึงบริเวณใกล้ๆ ให้เป็นน้ำร้อน บึงดังกล่าวจึงเรียกว่า“บึงพระร่วงสาป” ต่อมาภายหลังเรียกสั้นลงว่า “บึงสาป” และเป็นที่โจษขานกันว่าน้ำในบึงสาปนี้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคผิวหนังได้ จึงมีประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงพากันไปอาบ ดื่ม กิน และบางรายนำน้ำกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล บึงสาป เป็นบ่อน้ำพุร้อนตามธรรมชาติของกำแพงเพชร ที่มีชื่อเสียงมาก เดิมเรียกกันว่า บึงสาป มีลักษณะเป็นบึงขนาดใหญ่ มีเนื้อที่หลายไร่ ชาวบ้านแต่โบราณใช้น้ำจากบึงสาปนี้มาอาบกินซึ่งเชื่อกันว่า สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ บึงสาปมีชื่อที่เรียกกันเป็นทางการว่า บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ....บึงสาปมีตำนานเรื่องการต่อไก่ของพระร่วงเจ้า ในสมัยสุโขทัยว่า พระร่วงเจ้าเสด็จมาต่อไก่ บริเวณพรานกระต่าย ตามไก่มาถึงบึงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง พระองค์ต้องการที่จะลวกไก่ เพื่อถอนขน แต่ไม่มีน้ำร้อนลวกไก่ จึงสาปให้น้ำในบึง ร้อน เพื่อลวกไก่ เมื่อถอนขนไก่แล้ว ไม่มีน้ำเย็นสำหรับล้างไก่ จึงสาปอีกบ่อหนึ่งให้เป็นน้ำเย็น บึงที่พระร่วงสาปจึงกลายมาเป็นบึงสาปในปัจจุบันตามความเชื่อในตำนานของพระร่วง ซึ่งมีมากมายในบริเวณนี้

ภาพที่ 4 รูปปั้นพระร่วง

              บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง หรือบึงสาปแห่งนี้ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดกำแพงเพชรนำน้ำจากบึงนี้ไปประกอบพิธีสำคัญของบ้านเมืองตลอดมาเช่นในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เนื่องจากบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็นน้ำที่เกิดจาก แร่ธาตุและความร้อนภายในโลก ทำให้น้ำพุร้อนผุดขึ้นมาตลอดเวลา ซึ่งตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ น้ำแร่ธาตุนี้สามารถรักษาโรคได้หลายชนิด โดยเฉพาะโรคผิวหนัง

บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง อยู่ที่หมู่ 3 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากตัวเมือง 13 กิโลเมตร บนทางหลวง 101 สายกำแพงเพชร พรานกระต่าย แยกทางซ้ายไปประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นน้ำพุร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จำนวน 5 จุด อุณหภูมิประมาณ 40 -65 องศาเซลเซียส จากการตรวจสอบของกระทรวงสาธารณสุขปรากฏว่าไม่มีสารปนเปื้อนและเชื้อโรคอันตรายเกินมาตรฐาน

             องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ได้พัฒนาบึงสาปให้เป็นบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง 

ที่สามารถรับนักท่องเที่ยวได้จำนวนมาก โดยจัดทำให้สถานที่รื่นรมย์มากขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ให้ประชาชนที่มาใช้บริการ เมื่อเข้าไปจะพบกับบ่อน้ำร้อนและบ่อน้ำเย็นที่ปรับ ภูมิทัศน์จนงดงาม บ่อน้ำอุ่นแช่เท้า น่าสนใจมาก ทำให้สบายมากขึ้น มีประชาชนมาใช้บริการมากมาย น้ำกำลังอุ่นพอดี..... สถานที่อาบน้ำอุ่นราคาย่อมเยาเป็นส่วนตัว ช่วยบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ ให้หายได้อย่างทันตาเห็น จากคำบอกเล่าของท่านผู้มาใช้บริการ นอกจากบริการของบ่อน้ำร้อนแล้ว ยังมีบริการนวดแผนโบราณ ที่ประทับใจยิ่ง

               บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจมากแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ถ้าท่านว่างจากภารกิจ อยากจะพักผ่อนให้คลายจากความเครียดโปรดมาใช้บริการ จากบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงแล้วท่านจะประทับใจกลับไปอย่างมีความสุข
บึงสาปหรือบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงเดิมมีลักษณะเป็นที่ลุ่มน้ำขัง มีป่าโปร่งล้อมรอบสลับด้วยเนินเตี้ยๆ ในปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่สวยงาม โดยพัฒนาพื้นที่บริเวณบึงสาปให้เป็นบ่อน้ำร้อนแบบออนเซ็นหรือบ่อน้ำแร่แบบญี่ปุ่น และเปิดให้บริการอาบน้ำแร่แบบวารีบำบัดหรือ Hydrotherapy ซึ่งมีผลการวิจัยรองรับว่าสามารถใช้บำบัดรักษาอาการปวดเมื่อยได้จริง โดยเริ่มจากการอาบน้ำเย็นเพื่อชำระร่างกายก่อนที่จะลงแช่น้ำร้อนนานประมาณ ๘-๑๐ นาที หลังจากนั้นให้ขึ้นมาอาบน้ำเย็นราว ๑-๒ นาทีสลับกับน้ำร้อน ๘-๑๐ นาที ทำเช่นนี้สามรอบและปิดท้ายด้วยการอาบน้ำเย็น จะช่วยกระตุ้นให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อผ่อนคลาย เลือดลมไหลเวียนสะดวก ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี 

ภาพที่ 5 ห้องแช่น้ำร้อน ในบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง

น้ำพุร้อนเกิดจากอะไร สาเหตุการเกิดน้ำพุร้อนแต่ละชนิดมีกระบวนการอย่างไรบ้าง น้ำพุร้อน หมายถึง น้ำที่พ่นออกมาจากผิวดินขึ้นสู่อากาศ ด้วยความดันจากความร้อนใต้พิภพ ซึ่งน้ำพุร้อนนี้มีหลายขนาดและหลายประเภทแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศหรือปัจจัยการเกิดของน้ำพุร้อนนั้นๆ เช่นปริมาณแร่ธาตุที่ละลายผสมอยู่ในน้ำ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแบ่งน้ำพุร้อนออกเป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อย และวิธีการเกิดได้ดังต่อไปนี้ 1. น้ำพุร้อนไกเซอร์ (Geyser) เป็นน้ำพุร้อนที่มีขนาดใหญ่และกำลังแรงมาก อาจะพ่นน้ำได้สูงขึ้นไปในอากาศได้ถึง 60 เมตรเลยก็ได้ เกิดจากการสะสมความร้อนจากน้ำในโพรงดินใต้พื้นพิภพ และไม่สามารถระบายออกมาได้ เมื่อความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้ ก็จะสะสมกักเก็บจนมีแรงดันมหาศาลที่สามารถพ่นน้ำให้สูงขึ้นไปได้ในอากาศ และเมื่อความร้อนคลายออกไปจนหมดแล้ว จะเข้าสู่การเก็บสะสมความร้อนใหม่อีกครั้ง 2. น้ำพุร้อน ( Hot Spring ) เกิดจากน้ำที่ไหลออกมาจากทางน้ำใต้พื้นดิน ซึ่งมีอุณหภูมิที่สูงกว่าร่างกายมนุษย์ โดยมากน้ำที่ไหลออกมาจะเป็นลักษณะของการปลดปล่อยพลังงาน และเมื่อน้ำที่ไหลออกมานั้นคลายความร้อนหรือพลังงานลงก็จะไหลกลับคืนสู่แหล่งอีกครั้ง ซึ่งบ่อน้ำพุประเภทนี้มักจะมีแร่ธาตุต่างๆ เจือปนอยู่ด้วยทำให้มักมีสีหรือกลิ่นที่แตกต่างกันออกไป น้ำพุร้อนประเภทนี้พบได้มากใน ไทย ไอซ์แลนด์ นิวซีแลนด์ เป็นต้น 3. บ่อไอเดือดหรือพุก๊าซ (Fumarole) มีลักษณะที่เป็นปล่องหรือหลุม ซึ่งมักจะมีไอน้ำระเหยเป็นไออยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพราะในบริเวณนั้นมีน้ำน้อย แต่มีอุณหภูมิใต้พื้นดินที่มีความร้อนสูง ทำให้น้ำที่อยู่บริเวณนั้นระเหยกลายเป็นไออยู่ตลอดเวลา น้ำพุร้อนประเภทบ่อเดือดนี้พบได้มากในประเทศที่มีภูเขาไฟ 4. บ่อโคลนเดือด หรือบ่อพุเดือด (Mud pot) มีลักษณะเป็นบ่อที่มีน้ำผสมกับดินจนกลายเป็นดินเหลว ประกอบกับเมื่อมีความร้อนใต้ชั้นดินด้านล่างที่สูงจัด จนดันไอน้ำที่มีพลังงานความร้อนจัดขึ้นมาทะลุชั้นผิวที่เป็นโคลน ทำให้ดูเหมือนเป็นการระเบิดย่อยๆ บ่อชนิดนี้มักมีกำมะถันเจือปนอยู่ด้วย ดังนั้นจึงมักจะได้กลิ่นของกำมะถันกระจายอยู่ทั่วบริเวณ พบบ่อประเภทนี้ได้บ่อยมากในประเทศที่มีภูเขาไฟ น้ำพุร้อนในแต่ละที่นั้นมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไปนะครับ ตั้งแต่แค่อุ่นๆ จนไปถึงร้อนจัดจนสามารถต้มไข่สุกได้ในไม่กี่นาที สำหรับประเทศไทยเรานั้นสถานที่ท่องเที่ยวในเรื่องของน้ำพุร้อนจะอยู่ที่บริเวณภาคเหนือของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น น้ำพุร้อนพระร่วงกำแพงเพชร น้ำพุร้อนหินดาด กาญจนบุรี น้ำพุร้อนสันกำแพง โป่งเดือดป่าแป๋ เชียงใหม่ และที่อื่นๆ อีกมากมาย ภาพที่ 6 การบริการแช่เท้าจุดที่ 1 5.2.2.อายุทรัพยากร ความสำคัญของพื้นที่แห่งนี้ในประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า ๗๐๐ ปีของตำนานพระร่วงเจ้า 5.2.3.ข้อมูลจำเพาะทางวิทยาศาสตร์ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ส่งตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 ปราฎว่าไม่มีสารปนเปื้อนและเชื้อโรคอันตรายสามารถใช้บริโภคอุปโภคได้ไม่มีกลิ่นกำมะถัน มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 45-65 องศาเซลเซียส ให้ดื่มและอาบได้ ปลอภัย รักษาโรคได้ เช่น โรคปวดเมื่อยและโรคผิวหนัง แร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำแร่ 1. แคลเซียม แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบในเปลือกโลกประมาณ 5.4 % โดยมวล พบอยู่ในรูปของสารประกอบของ CaCO3 ที่เป็นองค์ประกอบของหินปูน หินงอก หินย้อย ดินมาร์ล เปลือกหอย และพบในสารประกอบซัลเฟต เช่น ยิปซั่ม แคลเซียม ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม จัดเป็นแร่ธาตุหลักที่เป็นส่วนประกอบในร่างกายของมนุษย์ซึ่งจำเป็นมากต่อการเจริญเติบโต ส่วนพืชจัดเป็นธาตุอาหารรองที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตเช่นกัน ในด้านสิ่งแวดล้อม แร่แคลเซียมนั้นพบมากในหินต่างๆตามธรรมชาติ สามารถแตกตัว ละลายน้ำ และทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น ทำให้เกิดสภาวะความเป็นกรด-ด่างของสภาพแวดล้อมนั้นๆ 2. เหล็ก เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่ง มีความสำคัญต่อการผลิตเฮโมโกลบินส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง, ไมโอโกลบินที่เป็นเม็ดสีแดงในกล้ามเนื้อ และเอนไซม์บางชนิดเฮโมโกลบินซึ่งเป็นที่สะสมของธาตุเหล็กส่วนใหญ่ในร่างกาย ถูกย่อยสลายและนำกลับมาใช้ใหม่ ตามวงจรชีวิตของเม็ดเลือดแดงซึ่งมีระยะเวลา 120 วัน ส่วนธาตุเหล็กที่เกาะกับโปรตีน (เฟอร์ริติน) และธาตุเหล็กในเนื้อเยื่อ (ในไมโอโกลบิน) ถูกเก็บสะสมในร่างกายในเพียงปริมาณเล็กน้อย

3. แมกนีเซียม

มีความจำเป็นต่อระบบการเผาผลาญของแคลเซียม และวิตามินซี เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม มก. มีความจำเป็นต่อการทำงานของเส้นประสาท และกล้ามเนื้อมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน และช่วยคลายความเครียดได้ด้วย ส่วนคนที่ดื่มสุราเป็นประจำมักจะขาดแมกนีเซียมผู้ใหญ่ต้องการประมาณ 250–500 มก. ทุกวัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร แนะนำ 300–355 มก. และร่างกายคนเรามีแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 21 กรัม
4. ฟลูออไรต์ 

ฟลูออไรต์ หรือฟลูออร์สปาร์ หรือที่เรียกว่า แร่พลอยอ่อน เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนักการเหมืองแร่และบุคคลทั่วไปเมื่อสามสิบกว่าปีมานี้เอง ประเทศไทยนับได้ว่าเป็นประเทศที่เคยมีการผลิตแร่ฟลูออไรต์ที่สำคัญของโลก แหล่งแร่ฟลูออไรต์ในประเทศที่สำคัญได้แก่ แหล่งแร่ในอำเภอบ้านโฮ่ง ป่าซาง และแม่ทา ที่จังหวัดลำพูน อำเภอฝาง แม่แจ่ม ฮอด และอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอปายและแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอศรีสวัสดิ์และพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอเขาย้อยและท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี นอกจากกนี้ยังมีแหล่งแร่ฟลูออไรต์ที่น่าสนใจในจังหวัดเชียงราย กำแพงเพชร สุโขทัย แพร่ กระบี่ และสุราษฎร์ธานี 5. โซเดียม เป็นอีกหนึ่งเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ใครๆก็น่าจะรู้จักกันในรูปของรสชาติความเค็มจากเครื่องปรุงติดบ้านของเราจำพวกน้ำปลา เกลือ หรือเครื่องปรุงอาหารรสชาติต่างๆ แต่ความเป็นจริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั้งในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันในหลายรูปแบบ และเป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น การควบคุมความดันกระแสเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวที่อยู่ภายในร่างกาย โดยมีหน้าที่ควบคู่ไปกับโพแทสเซียมและคลอไรด์ หรือพูดง่ายๆเลยว่า โซเดียมก็คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็กค่ะ โดยโซเดียมในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’ โดยที่เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างก็คือ โซเดียมกับคลอไรด์และก็น้ำปลา ซึ่งรสชาตินั้นจะต้องมีความเค็มอย่างแน่นอน และจากการสำรวจพบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรส โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละประมาณ 7 กรัม

6.ไบคาร์บอเนต แร่อนินทรีย์ที่ประกอบด้วยเส้นรัศมี HCO3- จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดสมาธิไบคาร์บอเนตไอออนและ pH ของเลือดมีระเบียบ โดยไต ระดับในเลือดคือ ดัชนีของด่างสำรองหรือบัฟเฟอร์ผลิต

7. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ เนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน

8. คลอไรต์ คลอไรด์. คลอไรด์พบอยู่ในน้ำตามธรรมชาติทั่ว ๆ ไปด้วยความเข้มข้นต่าง ๆ กันโดย. ปริมาณของคลอไรค์เพิ่มมากขึ้นเป็นสัดส่วนกับปริมาณของเกลือแร่ที่เพิ่มขึ้น น้ำตาม. ภูเขา และที่สูงๆมักจะมีปริมาณคลอไรค์น้อย ในขณะที่น้ำตามแม่น้ำและน้ำใต้ดินมี. ปริมาณของคลอไรค์มาก 9. ซัลเฟต

	 เกิดจากแร่ธาตุในธรรมชาติทำให้เกิดน้ำกระด้างถาวร  เป็นตะกรันในหม้อต้มอนุมูลนี้โดยลำพังไม่มีผลต่อสุขภาพอนามัย  แต่หากมีธาตุแมกนีเซียมสูงด้วยจะทำให้เกิดผลเหมือนยาระบาย  โดยทั่วไปซัลเฟตมีผลทำให้น้ำเกิดรสได้น้อยกว่าคลอไรด์ 

10. ไนเตรต

เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์โดยแบคทีเรียบางชนิดมีผลต่อสุขภาพอนามัย  โดยเฉพาะเด็กทารกซึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจน  มีอาการตัวเขียว  และอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้

ประโยชน์ของการอาบน้ำแร่ ด้วยอุณหภูมิของน้ำแร่ร้อนอยู่ที่ 45 – 60 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิของความร้อนดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการรักษาทางการแพทย์ ที่เรียกว่า “ธาราบำบัด”โดยอาศัยหลักการที่ว่า การใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงในระดับที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตมีผลต่อการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เป็นผลให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายรู้สึกสบายความตึงเครียดน้อยลง ย่อมมีผลต่อสภาพจิตใจ ถือเป็นการลดความเครียดได้อีกวิธีหนึ่ง

5.2.4.ทรัพยาการสิ่งแวดล้อม พื้นที่ - มีการถมที่จากที่นาเดิม และปูทางเท้าด้วยบล็อกตัวหนอน น้ำพุร้อน - น้ำใสไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปริมาณน้ำมีน้ำตลอดปี แต่ไม่มากจนล้น มีตะไคร่แข็ง ติดบริเวณขอบบ่อ

    ภูมิทัศน์ - มีการประดับตกแต่งสวน ทั่วบริเวณ และมีการจัดวางผังพื้นที่

5.3.ข้อมูลการสำรวจ 5.3.1. แหล่งอ้างอิง สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2558). บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (บึงสาป). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kamphaengphet.go.th/kp/index.php/site_content/9-gallery/124-phraruanghotspring. [2561, มีนาคม 5]. องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร. (2558). บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://travel.kpppao.go.th/travel/detail/2. [2561, มีนาคม 5].


5.3.2.วันเดือนปีที่สำรวจ 2 พฤษภาคม 2561 5.3.3.วันปรับปรุงข้อมูล - 5.3.4.ผู้สำรวจข้อมูล นายวุฒิชัย ตรุษลักษณ์ นางสาววรรณภา รอดจันทร์ นายสมศักดิ์ พูนใจสม 5.3.5.คำสำคัญ(tag) ทรัพยากรธรรมชาติ, บ่อน้ำพุร้อน, ท่องเที่ยวกำแพงเพชร