ฐานข้อมูล เรื่อง ขนมข้าวตอกอัดนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:59, 29 มีนาคม 2567 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (ประวัติความเป็นมาของขนม)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่ออาหาร/ขนม/เครื่องดื่ม

         ข้าวตอกอัด

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         ข้าวตอกตัด

แหล่ง/ถิ่นอาหาร

         บ้านเลขที่ 73/3 หมู่ 4 ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร

ประเภทอาหาร/ขนม/เครื่องดื่ม

         ขนม

ผู้คิดค้น

         แม่สมถวิล เอกปาน

ข้อมูลจำเพาะ

ประวัติความเป็นมาของขนม

         ในปัจจุบันวิถีชีวิตในการรับประทานอาหารของคนไทยได้เปลี่ยนไปจากสมัยก่อน โดยมีการรับวัฒนธรรมชาวตะวันตกเข้ามา ทำให้คนไทยมีการปรับเปลี่ยนอาหารการกิน และเริ่มคุ้นเคยกับอาหารตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารประเภท Fast-Food เช่น แฮมเบอร์เกอร์ แซนวิช หรือสปาเก็ตตี้ เป็นต้น แต่ก็ยังมีอาหารอีกอย่างหนึ่งที่ประกบคู่มากับอาหารคาว คือ อาหารหวาน หรือขนมหวานต่าง ๆ เช่น ขนมเค้ก หรือขนมปัง ซึ่งค่อย ๆ เข้ามาแทนที่ขนมไทยโบราณ โดยในปัจจุบันมีร้านเบเกอรี่เปิดตัวขึ้นมาจำนวนมาก ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึง และหาซื้อได้ง่าย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของขนม ไว้ว่า ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าวกับกะทิหรือน้ำตาล ของหวานทางเหนือเรียกว่า ข้าวหนม จากการศึกษาข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า ขนมได้เข้ามามีบทบาทกับสังคมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านการค้าขายกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยมีการส่งเสริมการค้าขายกันและกันมาโดยตลอดจนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งต่อมาขนมได้รับความนิยมมากในสังคมไทยในปัจจุบัน และนิยามขอคำว่า “ขนม” มีดังนี้
         ขนม มาจากคำว่า “เข้าหนม” ความหมายของคำว่า “หนม” แปลว่า “หวาน” เข้าหนมจึงแปลว่า “เข้าหวาน” โดยความหวานที่ได้ก็มาจากน้ำอ้อย ต่อมาจึงเพี้ยนจาก “เข้าหนม”มาเป็น “ขนม” (Anonymous, 2556)
         ขนม มาจากคำว่า “เข้า” ปัจจุบันเขียนว่า “ข้าว” รวมกับคำว่า “หนม” ซึ่งมีสองความหมายที่สอดคล้องกันคือ ความหมายที่หนึ่งแปลว่า หวาน ข้าวหนมจึงหมายถึง ข้าวหวาน อีกความหมายหนึ่ง “หนม” ที่มาจากภาษาถิ่นของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และของบ้านแซบั้งไฟประเทศลาว ซึ่งเรียกกิริยาการนวดดินหรือ แป้งจ่า หนมดิน หนมแป้ง (สมบัติ พลายน้อย, 2527) ซึ่งขนมนั้นมีหลากหลายตามแต่ละภูมิประเทศและวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทย
         ขนม หมายถึง เป็นอาหารว่างประเภทหนึ่งที่มีมาตั้งแต่โบราณกาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งขนมกับเด็กมักเป็นสิ่งคู่กันเนื่องจากขนมโดยทั่วไปมักมีรสหวานหรือไม่ก็มันหรืออาจทั้งหวานและมัน (บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ, 2551)
         ดังนั้นผู้เขียนได้สรุปนิยาม คำว่า ขนม หมายถึง อาหารว่างชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยทั่วไปขนมมีรสชาติที่หวานหรือไม่ก็มัน หรือทั้งหวานทั้งมัน และต่อมามีการขยายคำจำกัดความของคำว่า ขนม มาจากคำว่า เข้าหนม คำว่า เข้า ปัจจุบันเขียนว่า ข้าว รวมกับคำว่า หนม โดยคำว่า หนม ที่แปลว่า หวาน โดยมาจากภาษาถิ่นของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และของบ้านแซมั้งไฟประเทศลาว ซึ่งเรียกกิริยาการนวดดินหรือแป้งจ่า หนมดิน หนมแป้ง เข้าหนมจึงแปลว่า เข้าหวาน หรือ ข้าวหวาน ที่ได้รับความหวานมาจาก น้ำอ้อย หลังจากนั้นได้เพี้ยนจากคำว่า เข้าหนม เป็นคำว่า ขนม ในปัจจุบัน
         จากการศึกษาประวัติของขนมไทย เป็นขนมที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ มีความละเอียดอ่อน ประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ประณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตาม ลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ ขนมไทยมีมานานแล้วตั้งแต่ประเทศไทยยังเป็นสยามประเทศ ส่วนหนึ่งเกิดจากการได้ ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติทำให้มีการค้าขายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอาหารการกินร่วมกัน โดยในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ไทยจึงได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารจากชาติต่าง ๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัตถุดิบและเครื่องไม้เครื่องมือ (Museum Thailand, ม.ป.ป.) โดยที่ขนมไทยในยุคแรกก่อนที่จะมาเป็นขนมไทยในปัจจุบัน แต่ก่อนขนมไทยนั้นมีส่วนประกอบแค่ข้าวที่ถูกตำหรือบดจนละเอียดกลายเป็นแป้ง จากนั้นนำไปผสมกับน้ำตาลเพื่อทำเป็นขนม ต่อมามีการผสมมะพร้าวลงไปด้วย ซึ่งทั้ง 3 อย่างที่ว่าเป็นสิ่งที่หาได้ทั่วไป พอเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการเจริญสัมพันไมตรีกับต่างประเทศทั้งชายตะวันออกและตะวันตก และเริ่มรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารชาติต่าง ๆ มาดัดแปลง ในการทำอาหารและขนมได้ง่ายขึ้น จึงมีผู้คิดค้นขนมที่หลากหลายแตกหน่อแตกแขนงจนแยกไม่ออกถึงความเป็นขนมไทยแท้ โดยยุคที่ขนมไทยมีความหลายหลายและเฟื่องฟูที่สุด คือ สตรีโปรตุเกส นามว่า “คัทรีน ดีทอร์ควีมา” ได้สมรสกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น “ท้าวทองกีบม้า” (Eartheaa, 2554)
3-1.jpg

ภาพที่ 1 1 ภาพปกหนังสือท้าวทองกีบม้า
(ศึกเดช กันตามระ, 2545)