ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว ของชาวจังหวัดกำแพงเพชร
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:56, 23 กรกฎาคม 2564 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''บทนำ'''== จุดเริ่มต้นเฉาก๊วยชากังราว กว่าจะหาสูตรไ...")
บทนำ
จุดเริ่มต้นเฉาก๊วยชากังราว กว่าจะหาสูตรได้ลงตัวต้องใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่นาน จนกระทั่งวันหนึ่งเริ่มไปซื้อ ต้นเฉาก๊วยมาจากที่กรุงเทพฯ มาลองทำ พอทำสำเร็จในครั้งแรก ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้นำไปแจกให้กันพนักงานที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ทำให้คนได้รู้จักกับ ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ จึงได้เริ่มคิดหาวิธีทำการผลิต ในรูปแบบใหม่ เริ่มหาสถานที่ในการผลิตเฉาก๊วยที่ใหญ่ขึ้น สมัยนั้นจึงได้ไปขอใช้สถานที่ วัดบ่อสามแสน และได้ขอยืมใช้อุปกรณ์ของวัด ทุกอย่างเริ่มเข้าที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้เริ่มซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัย และซึ่งคำว่า ชากังราว เป็นหนึ่งในชื่อเมืองกำแพงเพชรในอดีตจึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อบริษัทของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ และในเรื่องวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น หม้อต้มใหญ่ ถาดพักยาง ส่วนของกระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งานเป็นสิ่งที่ทำให้เฉาก๊วยชากังราวมีความอร่อย ได้แก่ การล้างต้นเฉาก๊วย 3 ครั้ง แล้วนำไปต้มที่อุณหภูมิ 120 องศา เคี่ยว 2 ชั่วโมง เสร็จทุกขั้นตอนแล้ว นำมาเทใส่ถาด ทิ้งไว้ 30 นาทีและนำมาตัดเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ และบรรจุใส่ถุงและใส่น้ำเชื่อมลงไปพร้อมส่งขายทั่วประเทศ และพูดถึงประเภทการใช้งานสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของน้ำแข็งใสได้ทำให้มีรสชาติหวานหอมละมุนเหนียวนุ่ม และสำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว มีช่องทางเพจ เฟสบุ๊ค, ไลน์ และ หมายเลขโทรศัพท์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ชากังราว 2) วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ 3) กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน 4) ประเภทการให้งาน และ 5) ช่องทางการจัดจำหน่าย
คำสำคัญ : เฉาก๊วยกำแพงเพชร, เฉาก๊วยชากังราว, ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วย
ความเป็นมาของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว
ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฉาก๊วยชากังราว จำกัด ซึ่งเป็นผู้ปั้นแบรนด์ เฉาก๊วย “ชากังราว” และผลิตเฉาก๊วยแปรรูปจนประสบความสำเร็จ แต่เดิม ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี มีภรรยา ชื่อ คุณอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ มีบุตร 2 คน ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เล่าถึงความเป็นมาของเฉาก๊วยชากังราว ด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจว่า เฉาก๊วย “ชากังราว” ประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้ ต้องขอขอบคุณ “เฉาก๊วย ดอนเมือง” ที่เป็นแหล่งให้ความรู้เป็นที่แรก เพราะลูกชายของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ได้จบการศึกษา ปวส. เมื่อปี พ.ศ.2539 และได้เข้าไปทำงานที่โรงงานเฉาก๊วยดอนเมืองและได้แรงบันดาลใจ จนทำให้เกิดจุดประกายความคิดว่าอยากให้คนกำแพงเพชรได้มีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร จึงทำให้เกิดรายได้ ที่ทำให้มี “เฉาก๊วยชากังราว” เกิดขึ้นและมีการพัฒนาสูตรเฉาก๊วยชากังราวมาจากเฉาก๊วยดอนเมืองสืบเนื่องมาจากการที่ลูกชายได้ไปทำงานที่โรงงานเฉาก๊วยดอนเมืองตั้งแต่สมัยที่ลูกชายพึ่งจบ ขณะนั้น ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ทำงานอยู่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ลูกของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เพิ่งจบ ปวส. ได้ไม่นาน วันหนึ่งลูกชายของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ที่เพิ่งจบการศึกษาก็มาบอกกับผู้เป็นพ่อว่าจะไปทำงานกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งดำเนินธุรกิจทำเฉาก๊วยด้วยความที่ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี จึงให้ลูกชายได้เข้าไปทำงานในบริษัท “เฉาก๊วยดอนเมือง” ก็จะสามารถนำมาสร้างธุรกิจเองได้ในอนาคต จนเวลาผ่านไปสองเดือนพ่อลูกครอบครัวสุวรรณโรจน์จึงไปซื้อเฉาก๊วยมาลองทำกันดู ผลปรากฏว่า ก็สามารถทำขายได้แต่รสชาติไม่แตกต่างกับท้องตลาดมากนักจึงมีการพัฒนาสูตรและรสชาติมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2545 ได้มีการจดทะเบียนเป็นชื่อ “ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว” จนถึงทุกวันนี้ (เสนอ เพชรพลาย, การสัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2563)
ภาพที่ 1 ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราว (ข่าวภูมิภาค, 2564)
เฉาก๊วย คือ ของหวานสีดำ ๆ เด้งดึงที่เคี้ยวหนึบหนับ และมีรสหวานจากนํ้าเชื่อม รวมถึงความเย็นฉ่ำจากนํ้าแข็งที่ใส่ผสมลงไป ทำให้ “เฉาก๊วย” กลายเป็นหนึ่งในของหวานยอดฮิตในช่วงหน้าร้อน แต่นอกจากความหวานเย็นที่กินแล้วสดชื่นขึ้นมาในทันใด เฉาก๊วยก็ยังมีสรรพคุณอื่น ๆ ที่ช่วยบำรุงร่างกาย อาทิ ช่วยลดความดัน โลหิตสูง ช่วยลดนํ้าตาลในเลือด อาการไข้ อาการอักเสบของกล้ามเนื้อและตับ และร้อนในกระหายนํ้า ฯลฯ ต้น เฉาก๊วยที่นำมาทำเฉาก๊วยมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือต้นเฉาก๊วยจากประเทศจีน ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม เมื่อกล่าวถึงความแตกด่างทางรสชาติของเฉาก๊วยแต่ล่ะสายพันธุ์ พบว่า เฉาก๊วยประเทศเวียดนาม มีความหวานมากกว่าเฉาก๊วยประเทศจีนและประเทศอินโดนีเซีย แต่ถ้าพูดถึงความเหนียวนุ่มเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซียจะเหนียวนุ่มมากกว่าเฉาก๊วยประเทศเวียดนาม และประเทศจีน ส่วนเฉาก๊วยประเทศจีนจะมีรสชาติที่กลมกล่อม มากกว่าเฉาก๊วยประเทศเวียดนาม และเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย คุณลักษณะเด่น ๆ เหตุเพราะมีความแตกด่างกันทางคุณลักษณะของเฉาก๊วยเวียดนาม คือ เฉาก๊วยเวียดนามจะมีความหวานมากกว่า และคนเวียดนาม เรียกเฉาก๊วยว่า ถั๊ตแดน (Thachden) ในประเทศเวียดนามแหล่งปลูกเฉาก๊วยที่ใหญ่อยู่ที่เมืองท้าวเคซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดหลั่งเซิน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศเวียดนาม มีชายแดนติดกับประเทศจีน และไร่เฉาก๊วยที่ปลูกมักจะอยู่บนหุบเขาสูง ลักษณะของต้นเฉาก๊วย คือ เฉาก๊วยเป็นพืชตะกูลเดียวกันกับสะระแหน่ กระเพรา โหรพา และแมงลัก เป็นพืชล้มลุกคลุมดินมีความสูงราว 15-100 ซม. โดยเฉพาะสายพันธุ์จากประเทศจีนและประเทศเวียดนามที่มีภูมิประเทศที่เหมาะสม อากาศเย็น ต้นเฉาก๊วย จึงสูงได้ถึง 1 เมตร แต่ที่ประเทศเวียดนาม จะปลูกกันบนยอดเขา อากาศเย็น ต้นจะไม่สูงมากแต่ก็มีใบเยอะ ใบมีลักษณะเป็นแฉก ๆ คล้ายใบสะระแหน่ มีขนตามใบ เราสามารถใช้ทุกส่วนมาทำเฉาก๊วย ยกเว้นราก ส่วนที่มียางเหนียว ๆ มากที่สุดคือ ใบ สิ่งที่ต้นเฉาก๊วยแตกด่างจากพืชในตระกูลเดียวกันก็คือ มีปริมาณนํ้ามันหอมระเหย และสารออกฤทธิ์ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า จึงทำให้ไม่มีกลิ่นฉุน แต่ทำให้มีความหอม หวานแทน (ศิริประภา เย็นยอดวิชัย, 2560)
ภาพที่ 2 ต้นเฉาก๊วยเวียดนาม
ภาพที่ 3 ต้นเฉาก๊วยประเทศอินโดนีเซีย