รำกระทบไม้

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:52, 4 เมษายน 2567 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อการละเล่น

         รำกระทบไม้

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         เต้นสาก (ทรูปลูกปัญญา, 2553)

ประเภทการละเล่น

         -

โอกาสที่ใช้การละเล่น

         ประเพณีต่าง ๆ เช่น เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ปกากะญอ วันลอยกระทง และหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือผลผลิตของชาวกะเหรี่ยง (ทรูปลูกปัญญา, 2553) 

ผู้คิดค้น

         -

สถานที่จัดกิจกรรม

         หมู่บ้านขุนห้วยแม่ท้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก (ทรูปลูกปัญญา, 2553)

ข้อมูลการละเล่น

ประวัติความเป็นมา

         การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก หลังจากเลิกงาน จึงนำสากตำข้าวมากระทบกันเป็นเครื่องประกอบจังหวะ พร้อมกับมีการละเล่นให้เข้ากับจังหวะ แต่เดิมคงเป็นจังหวะตำข้าวในลักษณะยืนตำ 2 คน ต่อมาจึงลากไม้สากมาวางตามยาว มีคนจับปลายสาก หัว ท้าย ข้างละคน พร้อมทั้งใช้ไม้หมอนรองเคาะเป็นจังหวะ ภายหลังกรมศิลปากรได้ศึกษาการละเล่นชนิดนี้ และนำมาปรับปรุงจัดระเบียบแบบแผนเรียงลำดับท่ารำขึ้น โดยไม่ทิ้งเค้าแบบแผนเดิม และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2500 เนื่องในงานแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับราชอาณาจักรลาว ในการปรับปรุงครั้งนั้น เนื่องจากบทร้องของเก่าไม่เหมาะสมที่จะรำได้สวยงาม กรมศิลปากรจึงได้ขอให้อาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งบทร้อง และท่านผู้หญิงหม่อมแผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่ (ทรูปลูกปัญญา, 2553)

อุปกรณ์ประกอบ

         1. เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำ นอกจากไม้เคาะจังหวะประกอบการร่ายรำแล้ว ปัจจุบันนี้ กรมศิลปากรได้นำวงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ บรรเลงลำนำ ทำนองเพลงให้ไพเราะด้วย
         2. ไม้สาก

วิธีการเล่น

         1. วางไม้ไผ่ตันไว้กับพื้นให้ห่างกันพอที่จะวางไม้ไผ่สีสุกลง แล้วเหลือปลายไว้ใช้จับประมาณ 2 คืบ
         2. ผู้เล่น (2 คน) จับไม้ยาวเคาะเป็นจังหวะ โดยรั้งให้ไม้ยาวมากระทบกัน 1 ครั้ง แล้วจึงยกไม้ยาวแยกห่างกันออก เคาะไปที่ไม้สั้น 2 ครั้ง สลับกันไปตามจังหวะเพลง ช่วงระยะเคาะไม้สั้นจะเว้นช่องว่างระหว่างไม้ยาวประมาณ ครึ่งศอก เพื่อให้ผู้รำชาย – หญิง (ทรูปลูกปัญญา, 2553)

กฎกติกา/มารยาท

         ได้หย่อนเท้าก้าวลงไปในช่องนั้น แล้วยกออกตามจังหวะเพลงได้อย่างสวยงาม และถ้าผู้รำเผลอก้าวพลาดผิดจังหวะ ไม้ไผ่คู่นั้นจะกระทบเท้าผู้รำทันที (ทรูปลูกปัญญา, 2553)

ระยะเวลา

         จังหวะกระทบไม้จะเป็นจังหวะ 8 จังหวะ แล้วย้อนกลับไปใหม่เรื่อย ๆ จนจบเพลง (ทรูปลูกปัญญา, 2553)

ข้อมูลผู้เล่น

เพศผู้เล่น

         เพศหญิงและเพศชาย

จำนวนผู้เล่น

         จำนวนผู้เล่นมากกว่า 3 คน 

ลักษณะผู้เล่น

         เพศหญิงและเพศชาย 

การแต่งกายของผู้เล่น

         1. ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น มีผ้าคาดเอว และผ้าคาดไหล่ 
         2. หญิง นุ่งผ้าซิ่นป้ายข้างยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอก คอปิดห่มสไบทับเสื้อ ปล่อยผมทัดดอกไม้ สวมเครื่องประดับพองาม มีสร้อยคอ ต่างหู (ทรูปลูกปัญญา, 2553)

ข้อมูลการสำรวจ

แหล่งอ้างอิง

ทรูปลูกปัญญา. (19 กันยายน 2553). การละเล่นรำกระทบไม้. https://www.trueplookpanya.com/blogdiary/1610

วันเดือนปีที่สำรวจ

         21 ธันวาคม 2566

วันปรับปรุงข้อมูล

         -

ผู้สำรวจข้อมูล

         พรลดา พิมพ์แปลก
         ชฎาพร ฉัตรธรรม
         ณัฏฐ์ธิดา เทศวัง
         พันธ์นภา ทองเนตร
         วินิจสา รักษ์พงษ์
         น้องทราย ใจดี

คำสำคัญ (tag)

         รำกระทบไม้ หมายถึง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์ เดิมเรียกว่า "เต้นสาก" ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก หลังจากเลิกงาน (ทรูปลูกปัญญา, 2553)