รำกระทบไม้
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่อการละเล่น[แก้ไข]
รำกระทบไม้
ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]
เต้นสาก (ทรูปลูกปัญญา, 2553)
ประเภทการละเล่น[แก้ไข]
-
โอกาสที่ใช้การละเล่น[แก้ไข]
ประเพณีต่าง ๆ เช่น เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ปกากะญอ วันลอยกระทง และหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือผลผลิตของชาวกะเหรี่ยง (ทรูปลูกปัญญา, 2553)
ผู้คิดค้น[แก้ไข]
-
สถานที่จัดกิจกรรม[แก้ไข]
หมู่บ้านขุนห้วยแม่ท้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก (ทรูปลูกปัญญา, 2553)
ข้อมูลการละเล่น[แก้ไข]
ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]
การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก หลังจากเลิกงาน จึงนำสากตำข้าวมากระทบกันเป็นเครื่องประกอบจังหวะ พร้อมกับมีการละเล่นให้เข้ากับจังหวะ แต่เดิมคงเป็นจังหวะตำข้าวในลักษณะยืนตำ 2 คน ต่อมาจึงลากไม้สากมาวางตามยาว มีคนจับปลายสาก หัว ท้าย ข้างละคน พร้อมทั้งใช้ไม้หมอนรองเคาะเป็นจังหวะ ภายหลังกรมศิลปากรได้ศึกษาการละเล่นชนิดนี้ และนำมาปรับปรุงจัดระเบียบแบบแผนเรียงลำดับท่ารำขึ้น โดยไม่ทิ้งเค้าแบบแผนเดิม และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2500 เนื่องในงานแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับราชอาณาจักรลาว ในการปรับปรุงครั้งนั้น เนื่องจากบทร้องของเก่าไม่เหมาะสมที่จะรำได้สวยงาม กรมศิลปากรจึงได้ขอให้อาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งบทร้อง และท่านผู้หญิงหม่อมแผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่ (ทรูปลูกปัญญา, 2553)
อุปกรณ์ประกอบ[แก้ไข]
1. เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำ นอกจากไม้เคาะจังหวะประกอบการร่ายรำแล้ว ปัจจุบันนี้ กรมศิลปากรได้นำวงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ บรรเลงลำนำ ทำนองเพลงให้ไพเราะด้วย 2. ไม้สาก
วิธีการเล่น[แก้ไข]
1. วางไม้ไผ่ตันไว้กับพื้นให้ห่างกันพอที่จะวางไม้ไผ่สีสุกลง แล้วเหลือปลายไว้ใช้จับประมาณ 2 คืบ 2. ผู้เล่น (2 คน) จับไม้ยาวเคาะเป็นจังหวะ โดยรั้งให้ไม้ยาวมากระทบกัน 1 ครั้ง แล้วจึงยกไม้ยาวแยกห่างกันออก เคาะไปที่ไม้สั้น 2 ครั้ง สลับกันไปตามจังหวะเพลง ช่วงระยะเคาะไม้สั้นจะเว้นช่องว่างระหว่างไม้ยาวประมาณ ครึ่งศอก เพื่อให้ผู้รำชาย – หญิง (ทรูปลูกปัญญา, 2553)
กฎกติกา/มารยาท[แก้ไข]
ได้หย่อนเท้าก้าวลงไปในช่องนั้น แล้วยกออกตามจังหวะเพลงได้อย่างสวยงาม และถ้าผู้รำเผลอก้าวพลาดผิดจังหวะ ไม้ไผ่คู่นั้นจะกระทบเท้าผู้รำทันที (ทรูปลูกปัญญา, 2553)
ระยะเวลา[แก้ไข]
จังหวะกระทบไม้จะเป็นจังหวะ 8 จังหวะ แล้วย้อนกลับไปใหม่เรื่อย ๆ จนจบเพลง (ทรูปลูกปัญญา, 2553)
ข้อมูลผู้เล่น[แก้ไข]
เพศผู้เล่น[แก้ไข]
เพศหญิงและเพศชาย
จำนวนผู้เล่น[แก้ไข]
จำนวนผู้เล่นมากกว่า 3 คน
ลักษณะผู้เล่น[แก้ไข]
เพศหญิงและเพศชาย
การแต่งกายของผู้เล่น[แก้ไข]
1. ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น มีผ้าคาดเอว และผ้าคาดไหล่ 2. หญิง นุ่งผ้าซิ่นป้ายข้างยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอก คอปิดห่มสไบทับเสื้อ ปล่อยผมทัดดอกไม้ สวมเครื่องประดับพองาม มีสร้อยคอ ต่างหู (ทรูปลูกปัญญา, 2553)
ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]
แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]
ทรูปลูกปัญญา. (19 กันยายน 2553). การละเล่นรำกระทบไม้. https://www.trueplookpanya.com/blogdiary/1610
วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]
21 ธันวาคม 2566
วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]
-
ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]
พรลดา พิมพ์แปลก ชฎาพร ฉัตรธรรม ณัฏฐ์ธิดา เทศวัง พันธ์นภา ทองเนตร วินิจสา รักษ์พงษ์ น้องทราย ใจดี
คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]
รำกระทบไม้ หมายถึง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์ เดิมเรียกว่า "เต้นสาก" ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก หลังจากเลิกงาน (ทรูปลูกปัญญา, 2553)