ฐานข้อมูล เรื่อง เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:42, 29 พฤศจิกายน 2564 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ==='''ชื่อเหตุการณ์'''=== เสด็จประพาสต้น...")
เนื้อหา
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเหตุการณ์
เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร
ชื่อเรียกอื่น ๆ
-
สถานที่เกิดเหตุการณ์
จังหวัดกำแพงเพชร
วันที่เกิดเหตุ
เมื่อวันที่ 25-29 สิงหาคม ร.ศ.125 ตรงกับ พ.ศ.2449
ความเป็นมาของเหตุการณ์
เสด็จประพาสต้นนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายไว้เมื่อพิมพ์ครั้งก่อนมีความว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชอัธยาศัยโปรดในการเสด็จประพาสตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาเสด็จประพาสแทบทุกปี เสด็จไปตามหัวเมืองน้อยใหญ่ในพระราชอาณาเขตบ้านเสด็จไปถึงต่างประเทศบ้าง ได้เคยเสด็จตามมณฑลหัวเมืองในพระราชอาณาเขตทั่วทุกมณฑลเว้นแต่มณฑลภาคพายัพ มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลอุดร และมณฑลอีสานเท่านั้น ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ 5 ทางคมนาคมถึงมณฑลเหล่านั้น จะไปมายังกันดารนักเปลืองเวลาและลำบากแก่ผู้อื่นจึงรออยู่มิได้เสด็จจนตลอดรัชกาลในการเสด็จประพาสหัวเมืองใหญ่น้อยในพระราชอาณาเขตนั้น บางคราวก็เสด็จไปเพื่อทรงตรวจจัดการปกครองจัดการรับเสด็จเป็นทางราชการบางคราวก็เสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถไม่โปรดให้จัดการรับเสด็จเป็นทางราชการที่เรียกว่า “ เสด็จประพาสต้น” อยู่ในการเสด็จเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถแต่โปรดให้จัดการที่เสด็จไปให้ง่ายยิ่งกว่าเสด็จไปประพาส เพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใด สุดแต่พอพระราชหฤทัยที่จะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่นบางทีก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จโดยสารรถไฟไปมิให้ใครรู้จักพระองค์ การเสด็จประพาสต้นเริ่มมีครั้งแรกเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 123 (พ.ศ.2547) รายการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้ นายทรงอานุภาพได้เขียนจดหมายเล่าเรื่องประพาสต้นไว้โดยพิสดาร ดังที่พิมพ์ไว้ในตอนต้นสมุดเล่มนี้ เหตุที่จะเรียกว่าประพาสต้นนั้น เกิดแต่เมื่อเสด็จในคราวนี้เวลาจะประพาสมิให้ใครรู้ว่าเสด็จไปทรงเรือมาดเก๋ง 4 แจวลำ 1 เรือนั้น ลำเดียวไม่พอบรรทุกเครื่องครัวจึงทรงซื้อเรือมาดประทุน 4 แจว ที่แม่น้ำอ้อมแขวงจังหวัดราชบุรีลำ 1 โปรดให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้นเจ้าหมื่นเสมอใจราชชื่อ อ้น จึงทรงดำรัสเรียกเรือลำนั้นว่า “ เรือตาอ้น” เรียกเร็ว ๆ เสียงเป็น“ เรือต้น” เหมือนในบทเห่ซึ่งว่า“ พระเสด็จโดยแดนชลทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย” ฟังดูก็เพราะดี แต่เรือมาดประทุนลำนั้นใช้อยู่ได้หน่อยหนึ่ง เปลี่ยนเป็นเรือมาดเก๋ง 4 แจวอีกลำ 1 จึงโปรดให้เอาชื่อเรือต้นมาใช้เรียกเรือมาดเก่ง 4 แจวที่ 14 สร้างด้วยสแกนเนอร์ สำหรับฉันลำที่เป็นเรือพระที่นั่งทรงอาศัยเหตุ นี้ถ้าเสด็จประพาสโดยกระบวนเรือพระที่นั่งมาดเก๋ง 4 แจว โดยพระราชประสงค์จะมิให้ผู้ใดทราบว่าเสด็จไป จึงเรียกการเสด็จประพาสเช่นนี้ว่า “ ประพาสต้น” คำว่า “ ต้น” ยังมีที่ใช้อนุโลมต่อมาจนถึงเครื่องแต่งพระองค์ในเวลาทรงเครื่องอย่างคนสามัญ เสด็จไปประพาสมิให้ผู้ใดเห็นแปลกประหลาดผิดกับคนสามัญดำรัสเรียกว่า “ ทรงเครื่องต้น” ต่อมาโปรดให้ปลูกเรือนฝากระดานอย่างไทยเช่นพลเรือนอยู่กันเป็นสามัญ ขึ้นในพระราชวังดุสิตก็พระราชทานนามเรือนนั้นว่า“ เรือนต้น” ดังนี้ การเสด็จประพาสต้นเมื่อราว ร.ศ.123 เป็นการสนุกยิ่งกว่าเคยเสด็จไปสำราญพระราชอิริยาบถแต่ก่อนมา ที่จริงอาจกล่าวว่าเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมืองได้อีกสถาน 1 เพราะเสด็จเที่ยวประพาสปะปนไปกับหมู่ราษฎรเช่นนั้นได้ทรงทราบคำราษฎรกราบทูลปรารภกิจสุขทุกข์ ซึ่งไม่สามารถจะทรงทราบได้โดยทางอื่นก็มากด้วยเหตุทั้งปวงนี้ ต่อมาอีก 2 ปีถึง ร.ศ.123 (พ.ศ.2445) จึงเสด็จประพาสต้นอีกคราว 1 เสด็จประพาสต้นคราวนี้หาปรากฏมาแต่ก่อน ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดได้เขียนจดหมายเหตุไว้เหมือนเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งแรกไม่ จนถึง พ.ศ.2467 พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎ ทรงพระปรารภจะใคร่พิมพ์หนังสือประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์ ตรัสปรึกษาสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้านิภานภดลกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี-สมเด็จหญิงน้อยพระธิดา ทรงค้นหนังสือเก่าซึ่งได้ทรงเก็บรวบรวมไว้พบสำเนาจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ โดยดำรัสให้องค์หญิงน้อยทรงเขียนไว้ในเวลาสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถ เป็นตำแหน่งราชเลขาธิการฝ่ายใน อยู่ในเวลาเมื่อเสด็จประพาสคราวนั้น จึงประทานสำเนามายังหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร และมีรับสั่งมาว่าหนังสือเรื่องสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ถึง 17 ปี แล้วผู้ซึ่งยังไม่ทราบเรื่องเสด็จครั้งนั้นมีมากด้วยกัน ถ้าแห่งใดควรจะทำคำอธิบายหมายเลขให้เข้าใจความยิ่งขึ้นได้ ก็ให้กรรมการช่วยทำคำอธิบายหมายเลขด้วย จึงได้จัดการทำถวายตามพระประสงค์ทุกประการ เสด็จครั้งที่ 1 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2449 ประทับแรมเมืองกำแพงเพชร อยู่ถึง วันที่ 27 สิงหาคม รวมทั้งสิ้น 10 วัน