ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:39, 30 พฤษภาคม 2566 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''บทนำ'''== ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและเศรษ...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ

         ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ผู้คนต่างแข่งขันกันในทุกด้านเพื่อพัฒนาปรับปรุงตนเองให้อยู่รอดทั้งในด้านการดำรงชีวิต การทำงานทุกขณะ ทำให้ผู้คนมากมายเกิดความท้อแท้ ขาดที่พึ่ง ขาดกำลังใจเพราะไม่สามารถปรับตัวได้การศึกษาเล่าเรียน ให้สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในใหม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สิ้นหวังที่จะต่อสู้และใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างเป็นสุข เกิดภาวะต้องการที่พึ่ง ต้องการกำลังใจ จนกระทั่งในบางครั้งคิดหวังพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เพื่อทำให้ตนเองมีจิตใจที่เข้มแข็งเมื่อเกิดภาวะวิกฤติและมีกำลังใจที่จะสามารถเผชิญปัญหา

ที่กำลังประสบอยู่ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่น ดังจะสังเกตเห็นได้ทั้งในครัวเรือน เช่น ศาลพระภูมิ รูปเคารพ และในชุมชน เช่น ศาลเจ้า หรือในสถานที่ราชการ ที่ทำงาน เช่น รูปเคารพ เทวรูป เป็นต้น ที่ผู้คนสร้างไว้เพื่อก่อเกิดผลในในด้านจิตใจ และมีความหวังว่าหากบนบาน ขอร้อง หรือแสดงความเคารพนอบน้อมต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ผี หรือวิญญาณ ต่างๆแล้ว สิ่งคังกล่าวจะให้ความช่วยเหลือต่อผู้ให้ความเคารพในทุกสิ่งตามที่ปรารถนาและหากเป็นไปได้ดังที่ปรารถนาย่อมก่อทำให้เกิดกำลังใจและรู้สึกปลอดภัย จนกระทั่งมีการตอบแทนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ได้บนบานไว้ต่อไป

         ปัจจุบันการทรงเจ้าหรือการเข้าทรงได้มีการพัฒนาไปมาก โดยคนทรงมิได้ประกอบพิธีทรงเข้าเฉพาะในตำหนักทรงหรือหอผีเฉพาะในชุมชนตนเองเท่านั้น แต่ยังได้มีการพบปะสังสรรค์และได้มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทรงเจ้าในงานประจำปีที่คนทรงอื่นขัดขึ้น เช่น งานไหว้ครูประจำบีของบรรดาร่างทรง ที่มีอยู่ทั่วประเทศตามแต่ที่ได้รับการเชื้อเชิญอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ การกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ต่อกันให้เกิดขึ้นในกลุ่มของคนทรงแล้วยังเป็นการถ่ายทอดและตอกช้ำความเชื่อของคนที่มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติให้มั่นคงยิ่งขึ้นรวมทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งทรงเจ้าให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ: ร่างทรง, เข้าทรง, ความเชื่อและความศรัทธา

ความหมายของพิธีกรรมการเข้าทรง

         พิธีกรรมการเข้าทรง เป็นพิธีกรรมที่มีมานาน โดยมีหลายท่านให้ความหมายไว้ดังนี้ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2564) กล่าวว่า คนทรง หรือ ร่างทรง หมายถึง คนที่ให้เจ้าหรือผีมาเข้าสิงในตัว การเข้าสิงนั้นเรียกว่า "การเข้าทรง" Lan Anh -VOV5 (2557) กล่าวว่า การทรงเจ้าเป็นพิธีการสื่อสารกับเทพเจ้าต่าง ๆ ผ่านร่างทรง ลักษณะของการเข้าทรงก็คือ การกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่มีวิญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูงมาประทับร่างเพื่อประทานพรให้มนุษย์ ณิชาพร จำเนียร และ อรพรรณ พิศลยบุตร (2565) กล่าวว่า พิธีกรรมเข้าทรง หรือ ร่างทรง ในความหมายของคนทั่วไปคือ บุคคลที่สามารถจะรับจิต วิญญาณของผู้อื่นที่จากไปแล้ว หรือ จากจิตวิญญาณของผู้อื่นที่เป็นเทพ เทวดา มาสิงสถิตอยู่ในร่างกายของตัวเองได้
         สรุปความหมายของพิธีกรรมการเข้าทรง คือ การเข้าทรงเพื่อเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของเทพเจ้าต่างๆ ให้เข้ามาประทับร่างของมนุษย์เป็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมโลกของมนุษย์เข้ากับโลกของอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งมีร่างกายของร่างทรงในฐานะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การเชื่อมโลกสองโลกเข้าด้วยกัน

ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมการเข้าทรงของคนไทย

         พระครูโสภิตสิริธรรม (สิริธโร ทาอ่อน), บุญส่ง สินธุ์นอก และ สมเดช นามเกตุ (2564) กล่าวว่า ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมการเข้าทรงของคนไทยทุกภูมิภาคมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความเชื่อและพิธีกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่มีการถ่ายทอดซึ่งความเชื่อนั้นเป็นเรื่องนามธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนและระหว่างกลุ่มชนกับสภาพแวดล้อมแม้ว่าบุคคลแต่ละบุคคลจะมีความเชื่อเป็นของตนเองแต่ระบบความเชื่อของบุคคลก็เป็นพื้นฐานในการรองรับการอยู่ร่วมกันของกลุ่มเพราะบุคคลที่อยู่ในกลุ่มชนเดียวกันจะผ่านสถาบันแห่งการเรียนรู้ทางสังคมมาคล้ายคลึงกันและสื่อที่จะให้การเรียนรู้ทางสังคมก็จะนำจริยธรรมของศาสนาในสังคมนั้นๆ มาให้การกล่อมเกลาสมาชิกของกลุ่มชนเพื่อให้มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันในทางวัฒนธรรมสำหรับในส่วนของพิธีกรรมนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ตอกย้ำคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แสดงออกโดยการกระทำและถ้อยคำซึ่งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนพิธีกรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ความคิดเห็นความรู้สึกของสมาชิกในชุมชนนั้นด้วยการประกอบพิธีกรรมช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคมในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและมนุษย์กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติความเชื่อภายในชุมชนประกอบไปด้วยความเชื่อแบบผีพราหมณ์พุทธซึ่งความเชื่อแบบผีนี้นับเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่เป็นรากฐานความเชื่อของคนชนบทและมีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมากและยังคงยึดถือศรัทธามาจนถึงปัจจุบันเสมือนเป็นการให้คุณค่ากับธรรมชาติให้ความเคารพต่อบรรพบุรุษและความเชื่อความเกรงกลัวต่ออำนาจเหนือธรรมชาติโดยได้แสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่ทำให้เห็นว่าคนในสังคมนั้นมีความเชื่อในเรื่องใดบ้างเช่นการแสดงออกมาในรูปของกฎข้อห้ามข้อนิยมต่างๆคำสอนตลอดจนประเพณีพิธีกรรมต่างๆจนกลายเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตและพัฒนาการของคนในสังคมนั้นๆ ความเชื่อของในสังคมไทยแต่เดิมนั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากชนชาติอื่นๆกล่าวคือมีความเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นว่ามีอำนาจเหนือคนและสามารถบันดาลให้ทั้งคุณและโทษโดยความเชื่อในที่นี้ปรากฏมาในรูปเฉพาะของความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี อาทิ การนับถือผีเป็นเทวดาอารักษ์ เช่น รุกขเทวดา เจ้าทุ่ง เจ้าป่าเจ้าเขา การนับถือผีปู่ย่าตายายหรือผีบรรพบุรุษ การถือผีวีรบุรุษ เช่น ผีฟ้า การนับถือผีร้าย เช่น ผีห่า ผีกะ ผีปอบ เป็นต้น ถึงแม้ว่าในทางพุทธศาสนาจะถือว่า การเข้าทรงหรือการทรงเจ้าเป็นเดรัจฉานวิชาแต่กระนั้นความเชื่อเรื่องการเข้าทรงยังคงมีอยู่ในสภาพของสังคมในปัจจุบันที่เป็นสังคมแห่งการแข่งขันเป็นสังคมแห่งการแย่งชิงแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาความเจริญในด้านวัตถุความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตเป็นสังคมแห่งเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ทำให้ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของการดำรงชีวิตระหว่างสังคมชนบทและสังคมเมืองผู้คนในสังคมเริ่มเคยชินกับการอยู่คนเดียวหรือเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นเวลามีปัญหาต่างๆในชีวิตก็จะแก้ปัญหาด้วยตนเองหรือการที่หันไปพึ่งสิ่งที่ตนเองคิดว่าเป็นที่ปรึกษาที่รอบรู้และสามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างเช่นการไปหา “ร่างทรง” เพื่อขอให้ประกอบพิธีกรรมการ “เข้าทรง” เพื่อต้องการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงานเรื่องเงินเรื่องเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวหรือเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของตนเองที่กาลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบันอย่างเช่นบางคนเป็นโรคชนิดหนึ่งที่แพทย์ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอะไรหรือยังไม่มีวิธีการรักษาการเกิดภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่ไม่สามารถหาคาตอบได้สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คนหันหน้าไปพึ่งการเข้าทรงมากขึ้นจะเห็นได้จากตำหนักของร่างทรงที่มีจำนวนมากไม่ว่าตำหนักทรงเจ้าเสด็จพ่อ ร.5 ตำหนักทรงเจ้าพระแม่อุมาตำหนักทรงกุมารทองเป็นต้นกระจายไปในตามที่ต่างๆไม่ว่าจะอยู่ในเขตชนบทหรือในเมืองใหญ่แสดงให้เห็นถึงสภาวะการอ่อนแอทางจิตความต้องการหาที่พักพิงผู้ที่ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆเพราะมีความเชื่อว่าเทพที่มาเข้าทรงโดยผ่านร่างทรงเป็นเทพที่อยู่บนสวรรค์ต้องการมาช่วยเหลือมนุษย์ยามที่เดือดร้อนเป็นผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์สามารถดลปันดาลให้สิ่งที่ตนขอหรือร้องขอได้และเป็นผู้ที่ให้คำตอบทุกปัญหาโดยผ่านกระบวนการ “เข้าทรง”